รวมให้แล้ว วางแผนลดหย่อนภาษีปี 2565 ต้องรู้อะไร เตรียมพร้อมยังไง มาดู!

เดือนธันวาคมวนกลับมาเจอกันอีกปี เป็นช่วงโค้งสุดท้ายของการวางแผนภาษี บุคคลธรรมดาจะวางแผนยังไงดี ให้เราได้เซฟเงินในกระเป๋ากันมากที่สุด

ช่วงของการเตรียมยื่นภาษีจะเกิดขึ้นในช่วงเดือนมกราคม-มีนาคมของทุกปี โดยขึ้นอยู่กับรายได้ของแต่ละคนว่าจะเสียภาษีมากน้อยแค่ไหน หากเรามีการเตรียมพร้อมตั้งแต่เนิ่น ๆ ก็จะสามารถประหยัดภาษีและช่วยประหยัดเงินในกระเป๋าได้อีกเท่าตัว

ดังนั้นเพื่อให้วางแผนภาษีได้อย่างชาญฉลาด คุ้มค่ากับเงินทุกบาท เรามาดูกันว่าในการวางแผนภาษีต้องเตรียมพร้อม และรู้อะไรบ้าง

1. รู้จักประเภทของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี

• เงินได้ประเภทที่ 1 คือเงินได้ที่มาจากการจ้างแรงงาน เช่น เงินเดือน ค่าจ้าง เบี้ยเลี้ยง โบนัส เบี้ยหวัด บำเหน็จ บำนาญ หรือทรัพย์สิน ประโยชน์ใดใดที่ได้มาจากการจ้างแรงงาน
• เงินได้ประเภทที่ 2 คือเงินได้ที่ได้จากหน้าที่ หรือตำแหน่งงานที่ทำ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่านายหน้า ค่าส่วนลด เงินอุดหนุนจากงานที่ทำ หรือทรัพย์สิน ประโยชน์ใดใดที่ได้มาจากหน้าที่ หรือตำแหน่งงานที่ได้รับ
• เงินได้ประเภทที่ 3 คือเงินได้ที่มาจากค่าแห่งกู๊ดวิลล์ ค่าแห่งลิขสิทธิ์ หรือเงินได้ที่มีลักษณะ เป็นเงินรายปีอันได้มาจากพินัยกรรม นิติกรรมอย่างอื่น หรือคำพิพากษาของศาล
• เงินได้ที่ประเภทที่ 4 คือเงินได้ที่มาจาก ดอกเบี้ย เงินปันผล เงินส่วนแบ่งกำไร เงินลดทุน เงินเพิ่มทุน ผลประโยชน์ที่ได้จากการโอนหุ้น ฯลฯ เป็นต้น
• เงินได้ประเภทที่ 5 คือเงินได้ที่มาจากการให้เช่าทรัพย์สิน
• เงินได้ประเภทที่ 6 คือเงินได้ที่มาจากวิชาชีพอิสระ เช่น วิชากฎหมาย การประกอบโรคศิลป วิศวกรรม สถาปัตยกรรม การบัญชี ประณีตศิลปกรรม หรืออื่น ๆ ที่พระราชกฤษฎีกากำหนด
• เงินได้ประเภทที่ 7 เงินได้ที่มาจากการรับเหมาที่ผู้รับเหมาต้องลงทุนด้วยการจัดหาสัมภาระ ในส่วนสำคัญนอกจากเครื่องมือ
• เงินได้ประเภทที่ 8 เงินได้ที่มาจากการธุรกิจ การพาณิชย์ การเกษตร การอุตสาหกรรม การขนส่ง การขายอสังหาริมทรัพย์ หรือการอื่นนอกจากที่ระบุไว้ในประเภทที่ 1 ถึงประเภทที่ 7

ข้อมูลจากกรมสรรพากร https://www.rd.go.th/553.html

2. รู้ฐานรายได้ของตนเอง

การยื่นภาษีเราจะต้องรู้ฐานรายได้ต่อปีของตนเอง โดยคำนวณด้วยสมการง่าย ๆ คือ
เงินได้ – ค่าใช้จ่าย – ค่าลดหย่อน = เงินได้สุทธิ
และจากนั้นนำไป
เงินได้สุทธิ x อัตราภาษี = เงินภาษีที่ต้องจ่าย

ขั้นตอนที่ 1
คิดอัตราภาษีแบบขั้นบันได

ขั้นตอนที่ 2 คำนวณภาษีแบบเหมา 0.5%
วิธีนี้จำถูกนำมาใช้ก็ต่อเมื่อมีรายได้นอกเหนือจากเงินเดือน (เงินได้ประเภทที่ 1) โดยนำรายได้ทางอื่นนั้นไปคำนวณกับ 0.5% ของยอดเงินได้พึงประเมิน
วิธีคำนวณคือ
เงินรายได้ทางอื่น x 0.5% = ค่าภาษี

3. เตรียมลดหย่อนภาษีด้วยรายการลดหย่อนภาษีปี 2565
ข้อดีของการลดหย่อนภาษี จะช่วยให้เราเซฟเงินในกระเป๋าของเรา โดยสามารถเลือกลดหย่อนภาษีได้ตามรายการดังนี้

3.1 ค่าลดหย่อนลดหย่อนภาษีส่วนตัวและครอบครัว
– ค่าลดหย่อนส่วนตัว 60,000 บาท
– ค่าลดหย่อนคู่สมรส 60,000 บาท
– ค่าลดหย่อนฝากครรภ์และคลอดบุตร ไม่เกินครรภ์ละ 60,000 บาท
– ค่าลดหย่อนภาษีบุตร คนละ 30,000 บาท กรณีบุตรคนที่ 2 ขึ้นไปที่เกิดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป สามารถลดหย่อนได้คนละ 60,000 บาท
– ค่าลดหย่อนสำหรับเลี้ยงดูบิดามารดาของตนเองและคู่สมรส จำนวนคนละ 30,000 บาท สูงสุดไม่เกิน 4 คน
– ค่าลดหย่อนภาษีกรณีอุปการะผู้พิการหรือบุคคลทุพลภาพ จำนวนคนละ 60,000 บาท และผู้พิการจะต้องมีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาท

3.2 ค่าลดหย่อนภาษีกลุ่มประกัน เงินออม และการลงทุน
– ประกันชีวิตและประกันสะสมทรัพย์ ลดหย่อนตามจริงไม่เกิน 100,000 บาท
– ประกันสุขภาพ ลดหย่อนตามจริงไม่เกิน 25,000 บาท
– ประกันสังคม ลดหย่อนตามจริงไม่เกิน 6,300 บาท
– ประกันสุขภาพของบิดามารดา ลดหย่อนตามจริงไม่เกิน 15,000 บาท
– ประกันชีวิตแบบบำนาญ ลดหย่อนตามจ่ายจริงไม่เกิน 200,000 บาท
– กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) ลดหย่อนภาษีได้ 30% สูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท
– กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) ลดหย่อนภาษีได้ 30% สูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท
– กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (PVD) / กองทุนบำเหน็จบำนาญราชการ (กบข.) / กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน ลดหย่อนภาษีได้ 15% สูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท
– กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 13,200 บาท

3.3 ค่าลดหย่อนภาษีกลุ่มเงินบริจาค
– เงินบริจาคทั่วไป ลดหย่อนตามจ่ายจริงไม่เกิน สูงสุดไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังจากหักค่าลดหย่อนภาษี
– เงินบริจาคเพื่อการศึกษา การกีฬา การพัฒนาสังคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ และบริจาคเพื่อสถานพยาบาลของรัฐ นำมาลดหย่อนได้ 2 เท่าของเงินบริจาคจริง ลดสูงสุดไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังจากหักค่าลดหย่อนภาษี
– เงินบริจาคให้กับพรรคการเมือง ลดหย่อนได้สูงสุดไม่เกิน 10,000 บาท

3.4 ค่าลดหย่อนภาษีกลุ่มโคงการของรัฐ
– โครงการช้อปดีมีคืน 2565 ลดหย่อนได้ไม่เกิน 30,000 บาท
– ดอกเบี้ยที่อยู่อาศัย ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท

4. ช่องทางการยื่นภาษี

สำหรับใครที่ต้องเตรียมพร้อมที่จะยื่นภาษี ต้องรู้ไว้ว่าช่องทางการยื่นภาษีสามารถทำได้ 3 ช่องทาง ดังนี้
– สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา
– เว็บไซต์ www.rd.go.th
– แอปพลิเคชัน RD Smart Tax

โดยในการยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจะต้องเตรียมเอกสาร ได้แก่ หนังสือรับรองภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย (ใบ 50 ทวิ), รายการลดหย่อนภาษีส่วนตัวและครอบครัว, เอกสารประกอบการลดหย่อนภาษีอื่น ๆ

การเตรียมพร้อมวางแผนภาษีตั้งแต่เนิ่น ๆ จะช่วยให้เราประหยัดภาษี และเซฟเงินในกระเป๋าเราไปอย่างมาก และยังไม่ต้องมาคอยปวดหัวในช่วงใกล้ ๆ ยื่นภาษีอีกต่อไป ใครที่ยังไม่ได้เริ่มวางแผนภาษีตอนนี้ยังทันอยู่นะ แต่รีบกันหน่อยแล้วข้อมูลจากกรมสรรพากร https://www.rd.go.th/62459.html