คอลัมน์เศรษฐกิจคิดง่ายๆ : การเปลี่ยนแปลง การปรับตัวและความพยายามปลอบใจตัวเอง : วันจันทร์ 8 มกราคม 2561

คอลัมน์เศรษฐกิจคิดง่ายๆ : การเปลี่ยนแปลง การปรับตัวและความพยายามปลอบใจตัวเอง : วันจันทร์ 8 มกราคม 2561 : นสพ.โพสต์ทูเดย์ ::

มีคำกล่าวไว้เสมอว่า สิ่งที่แน่นอนที่สุดคือการเปลี่ยนแปลง สิ่งที่ต้องรีบทำคือการปรับตัว แต่ส่วนใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นผู้คน กิจการ บริษัทห้างร้าน เอสเอ็มอี ล้วนใช้ความพยายามไปกับการปลอบใจตัวเอง ปลอบใจว่าอย่างไรครับ คำตอบคือ
– สถานการณ์ไม่น่าจะเลวร้ายแบบตายเป็นแถบ ตายยกรัง ตายทั้งอุตสาหกรรม
– เรายังมีเวลา ลูกค้ายังคงอยู่กับเรา คู่แข่งขันต้องใช้เวลากว่าจะมาถึงหน้าบ้านเรา
– เราเคยผ่านสถานการณ์ที่เลวร้าย กว่านี้มาแล้ว ใจเย็นๆ กินกาแฟก่อน อย่าไปวิตกเกินไป
– ที่ผ่านมาเราก็ปรับไปเยอะแล้วนะ (ซึ่งแท้จริงอาจไม่ได้ปรับปรุง ปรับตัวอะไรมากนัก) ถ้าทำมากกว่านี้มันจะกระทบกับโครงสร้างอำนาจ โครงสร้างการบริหารนะ
– เราจะไปกลัวอะไรกับไอ้พวกไก่อ่อนสตาร์ทอัพเหล่านั้น มันก็ดีแต่เล่นคอมพ์ เล่นโทรศัพท์ มันจะไปรู้อะไรเกี่ยวกับธุรกิจที่เราทำมาสิบๆ ปี
– ไม่มีใครจะมา Disrupt เราได้หรอกนะ ธุรกิจเราพิงหลังกับใบอนุญาต คนของเราทั้งนั้น พวกเขาเข้ามาไม่ได้หรอกนะ
– และอีกต่างๆ มากมายแต่สิ่งที่ผมได้พบเห็นบนข้อมูลข่าวสารคือ
(1) คนที่จับกระแสของวิกฤตในนิตยสาร เช่น คู่สร้างคู่สม คือแม่บ้าน ที่ทำความสะอาดประจำออฟฟิศ เพราะ เขาเหล่านั้นต้องนั่งรับโทรศัพท์และฉีกจดหมายที่แฟนนิตยสารส่งมา เมื่อมันไม่มีสิ่งเหล่านั้นเข้ามาร่วมลงในนิตยสาร กองบรรณาธิการจะเอาอะไรไปทำนิตยสารล่ะ ท่านเหล่านั้นปิดบัญชีเงินฝากครับ จากนั้นเก็บของ เตรียมตัวกลับบ้านต่างจังหวัด
(2) LG Electronics  วางแผนการขายหุ่นยนต์สำหรับทำงานด้านต่างๆ ที่ปัจจุบันเป็นงานของคนทั่วไป เป็นงานในโรงแรม สนามบิน ซูเปอร์มาร์เก็ต แม้ว่าจะต้องพัฒนาอีกพอควร แต่มันจะมาแน่นอน
โรงพยาบาลในมหาวิทยาลัย นาโกยา เริ่มทดลองเอาหุ่นยนต์มาเข้าเวรกะกลางคืนแทนพนักงาน ตามที่ปรากฏเป็นข่าว
(3) ภาคการศึกษาบางประเทศกำหนดวิสัยทัศน์ จะผลิตคนไปทำงานที่ยังไม่มีในปัจจุบัน โดยวิชาที่ยังไม่รู้ว่าจะสอนอย่างไร ด้วยเครื่องมือและเทคโนโลยีที่ยังไม่มีการผลิต เพื่อไปแก้ปัญหาที่ยังมาไม่ถึง
(4) ความเสี่ยงในไซเบอร์ ก็มีคนกล่าวว่า เรามีกิจการ 2 แบบ แบบที่ 1 คือ ถูกแฮ็กและรู้ตัวแล้ว กับอีกแบบคือ ถูกแฮ็กแต่ยังไม่รู้ตัว กล่าวคือไม่มีใครไม่ถูกแฮ็ก
(5) ผู้คนชาวจีน เวลานี้เดินออกจากบ้านพกเงินสดน้อยลงมาก พกแต่โทรศัพท์เคลื่อนที่ และชีวิตในการดำเนินไปไม่ว่าสื่อสาร ทำงาน หาข้อมูล ใช้จ่าย ซื้อของกิน ล้วนผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ผ่านคิวอาร์โค้ด
จนมีคนกล่าวว่าโจรไม่รู้จะปล้นเอาเงินสดจากคนเดินถนนได้อย่างไรแล้วเวลานี้
(6) สาขาธนาคาร จุดให้บริการของธนาคารมีการขอปิดให้บริการมากกว่าขอเปิด ขอขยายสาขาแล้ว สิ่งนี้ปรากฏการณ์นี้เป็นมาหลายปี แล้ว และค่อยๆ แรงขึ้นเรื่อยๆ ตามพฤติกรรมของลูกค้าที่อายุน้อยลง ชอบทำธุรกรรมเองแบบที่ไหน เมื่อไรก็ได้
ธนาคารขนาดใหญ่ของไทยยังใหญ่ไม่พอไปแข่งนอกบ้าน ควรรวมกิจการกันอีกหรือไม่ ผู้บริหารระดับสูงของธนาคารบอกว่าต้องคิดให้มากกว่าความเป็นธนาคารในการจะอยู่กับลูกค้า เพราะคำกล่าวในอดีตที่ว่า ผู้คนต้องการทำธุรกรรมธนาคาร แต่อาจไม่ต้องการธนาคารมาเป็นคนทำให้ก็ได้นะ
กลับมาดูตัวเราเองบ้าง มีคำถามมากมายที่รอคำตอบ
(1) เวลานี้เรารู้แล้วว่าผู้มีรายได้
น้อยคือใคร อยู่ตรงไหน และเราจะแก้ให้หายเจ็บ หายจนผ่านมาตรการต่างๆ จากนั้นก็วัดผลออกมาชัดๆ ว่าเป็นอย่างไร
(2) เวลานี้มีใครรู้บ้างว่าเอสเอ็มอี 3 ล้านรายเป็นใคร อยู่ตรงไหน แบ่งเป็นกี่กลุ่มปัญหา มาตรการจะไปแก้ให้ตรงจุดอยู่ตรงไหน ไม่อยากเห็นแบงก์แย่งกันรีไฟแนนซ์กันไปมา พอจะทำ เรื่องข้อมูล SMEs Landscape ชัดๆ ก็จะเจอปัญหาหน่วยงานไม่ยอมแชร์ข้อมูล ทั้งที่ตัวเองไปออกกติกาบังคับให้สถาบันคนปล่อยกู้เอสเอ็มอีส่ง ข้อมูลมาให้ พอเขามาขอเอาไปทำวิจัยเพื่อมาตอบโจทย์ที่ท่านสั่งให้ไปช่ว ยเอสเอ็มอี ก็กลับบอกว่าแชร์กลับไม่ได้ เทคโนโลยีในการป้องกันปัญหา Privacy ก็มีหมดแล้ว อ้างแต่ข้อกฎหมาย 0.4 แต่อยากจะไป 4.0 ผมคนหนึ่งที่สับสนกับวิธีคิดจริงๆ
(3) ท่านผู้ใหญ่ในแวดวงธนาคารถามผมว่า เราจะทำอย่างไรให้ผู้คน สถาบัน ผู้ที่เกี่ยวข้อง เข้าใจว่าการจะพัฒนาประเทศมันต้องมาจากความรู้-ข้อมูล ไม่ใช่มาจากความเชื่อ แต่ข้อมูลจะมาได้ก็ต้องมีหลักการที่สมดุลว่า ความเป็นส่วนตัวในข้อมูลกับการเอาข้อมูลไปใช้ประโยชน์มันอยู่ตรงไหน ไม่มีข้อมูลแล้วเราจะใช้แต่ไสยศาสตร์เดินหน้าหรืออย่างไร แผนชาติ 20 ปี ต้องผ่านพิธีปลุกเสกด้วยเกจิทั่วประเทศหรืออย่างไรก่อนนำไปใช้ ก่อนที่คนจะเชื่อ
ท้ายสุดอุปสรรคที่ยิ่งใหญ่ของการปรับตัว คือความรู้ของคนที่ควรจะรู้ในเวลานี้ และความรู้ที่เป็นอุปสรรคมากที่สุดคือ คำกล่าวของท่านๆ เหล่านั้น (คนที่ควรจะรู้) คือคำกล่าวที่ว่า”รู้แล้ว” “ผมรู้แล้ว” “ผม ดร.นะ ผมรู้ดี คุณเชื่อผมสิ” เอวังก็มีด้วยประการละ…ฉะนี้
มีคำกล่าวไว้เสมอว่า สิ่งที่แน่นอนที่สุดคือการเปลี่ยนแปลง สิ่งที่ต้องรีบทำคือการปรับตัว แต่ส่วนใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นผู้คน กิจการ บริษัทห้างร้าน เอสเอ็มอี ล้วนใช้ความพยายามไปกับการปลอบใจตัวเอง ปลอบใจว่าอย่างไรครับ คำตอบคือ
– สถานการณ์ไม่น่าจะเลวร้ายแบบตายเป็นแถบ ตายยกรัง ตายทั้งอุตสาหกรรม
– เรายังมีเวลา ลูกค้ายังคงอยู่กับเรา คู่แข่งขันต้องใช้เวลากว่าจะมาถึงหน้าบ้านเรา
– เราเคยผ่านสถานการณ์ที่เลวร้าย กว่านี้มาแล้ว ใจเย็นๆ กินกาแฟก่อน อย่าไปวิตกเกินไป
– ที่ผ่านมาเราก็ปรับไปเยอะแล้วนะ (ซึ่งแท้จริงอาจไม่ได้ปรับปรุง ปรับตัวอะไรมากนัก) ถ้าทำมากกว่านี้มันจะกระทบกับโครงสร้างอำนาจ โครงสร้างการบริหารนะ
– เราจะไปกลัวอะไรกับไอ้พวกไก่อ่อนสตาร์ทอัพเหล่านั้น มันก็ดีแต่เล่นคอมพ์ เล่นโทรศัพท์ มันจะไปรู้อะไรเกี่ยวกับธุรกิจที่เราทำมาสิบๆ ปี
– ไม่มีใครจะมา Disrupt เราได้หรอกนะ ธุรกิจเราพิงหลังกับใบอนุญาต คนของเราทั้งนั้น พวกเขาเข้ามาไม่ได้หรอกนะ
– และอีกต่างๆ มากมายแต่สิ่งที่ผมได้พบเห็นบนข้อมูลข่าวสารคือ
(1) คนที่จับกระแสของวิกฤตในนิตยสาร เช่น คู่สร้างคู่สม คือแม่บ้าน ที่ทำความสะอาดประจำออฟฟิศ เพราะ เขาเหล่านั้นต้องนั่งรับโทรศัพท์และฉีกจดหมายที่แฟนนิตยสารส่งมา เมื่อมันไม่มีสิ่งเหล่านั้นเข้ามาร่วมลงในนิตยสาร กองบรรณาธิการจะเอาอะไรไปทำนิตยสารล่ะ ท่านเหล่านั้นปิดบัญชีเงินฝากครับ จากนั้นเก็บของ เตรียมตัวกลับบ้านต่างจังหวัด
(2) LG Electronics วางแผนการขายหุ่นยนต์สำหรับทำงานด้านต่างๆ ที่ปัจจุบันเป็นงานของคนทั่วไป เป็นงานในโรงแรม สนามบิน ซูเปอร์มาร์เก็ต แม้ว่าจะต้องพัฒนาอีกพอควร แต่มันจะมาแน่นอน
โรงพยาบาลในมหาวิทยาลัย นาโกยา เริ่มทดลองเอาหุ่นยนต์มาเข้าเวรกะกลางคืนแทนพนักงาน ตามที่ปรากฏเป็นข่าว
(3) ภาคการศึกษาบางประเทศกำหนดวิสัยทัศน์ จะผลิตคนไปทำงานที่ยังไม่มีในปัจจุบัน โดยวิชาที่ยังไม่รู้ว่าจะสอนอย่างไร ด้วยเครื่องมือและเทคโนโลยีที่ยังไม่มีการผลิต เพื่อไปแก้ปัญหาที่ยังมาไม่ถึง
(4) ความเสี่ยงในไซเบอร์ ก็มีคนกล่าวว่า เรามีกิจการ 2 แบบ แบบที่ 1 คือ ถูกแฮ็กและรู้ตัวแล้ว กับอีกแบบคือ ถูกแฮ็กแต่ยังไม่รู้ตัว กล่าวคือไม่มีใครไม่ถูกแฮ็ก
(5) ผู้คนชาวจีน เวลานี้เดินออกจากบ้านพกเงินสดน้อยลงมาก พกแต่โทรศัพท์เคลื่อนที่ และชีวิตในการดำเนินไปไม่ว่าสื่อสาร ทำงาน หาข้อมูล ใช้จ่าย ซื้อของกิน ล้วนผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ผ่านคิวอาร์โค้ด
จนมีคนกล่าวว่าโจรไม่รู้จะปล้นเอาเงินสดจากคนเดินถนนได้อย่างไรแล้วเวลานี้
(6) สาขาธนาคาร จุดให้บริการของธนาคารมีการขอปิดให้บริการมากกว่าขอเปิด ขอขยายสาขาแล้ว สิ่งนี้ปรากฏการณ์นี้เป็นมาหลายปี แล้ว และค่อยๆ แรงขึ้นเรื่อยๆ ตามพฤติกรรมของลูกค้าที่อายุน้อยลง ชอบทำธุรกรรมเองแบบที่ไหน เมื่อไรก็ได้
ธนาคารขนาดใหญ่ของไทยยังใหญ่ไม่พอไปแข่งนอกบ้าน ควรรวมกิจการกันอีกหรือไม่ ผู้บริหารระดับสูงของธนาคารบอกว่าต้องคิดให้มากกว่าความเป็นธนาคารในการจะอยู่กับลูกค้า เพราะคำกล่าวในอดีตที่ว่า ผู้คนต้องการทำธุรกรรมธนาคาร แต่อาจไม่ต้องการธนาคารมาเป็นคนทำให้ก็ได้นะ
กลับมาดูตัวเราเองบ้าง มีคำถามมากมายที่รอคำตอบ
(1) เวลานี้เรารู้แล้วว่าผู้มีรายได้
น้อยคือใคร อยู่ตรงไหน และเราจะแก้ให้หายเจ็บ หายจนผ่านมาตรการต่างๆ จากนั้นก็วัดผลออกมาชัดๆ ว่าเป็นอย่างไร
(2) เวลานี้มีใครรู้บ้างว่าเอสเอ็มอี 3 ล้านรายเป็นใคร อยู่ตรงไหน แบ่งเป็นกี่กลุ่มปัญหา มาตรการจะไปแก้ให้ตรงจุดอยู่ตรงไหน ไม่อยากเห็นแบงก์แย่งกันรีไฟแนนซ์กันไปมา พอจะทำ เรื่องข้อมูล SMEs Landscape ชัดๆ ก็จะเจอปัญหาหน่วยงานไม่ยอมแชร์ข้อมูล ทั้งที่ตัวเองไปออกกติกาบังคับให้สถาบันคนปล่อยกู้เอสเอ็มอีส่ง ข้อมูลมาให้ พอเขามาขอเอาไปทำวิจัยเพื่อมาตอบโจทย์ที่ท่านสั่งให้ไปช่ว ยเอสเอ็มอี ก็กลับบอกว่าแชร์กลับไม่ได้ เทคโนโลยีในการป้องกันปัญหา Privacy ก็มีหมดแล้ว อ้างแต่ข้อกฎหมาย 0.4 แต่อยากจะไป 4.0 ผมคนหนึ่งที่สับสนกับวิธีคิดจริงๆ
(3) ท่านผู้ใหญ่ในแวดวงธนาคารถามผมว่า เราจะทำอย่างไรให้ผู้คน สถาบัน ผู้ที่เกี่ยวข้อง เข้าใจว่าการจะพัฒนาประเทศมันต้องมาจากความรู้-ข้อมูล ไม่ใช่มาจากความเชื่อ แต่ข้อมูลจะมาได้ก็ต้องมีหลักการที่สมดุลว่า ความเป็นส่วนตัวในข้อมูลกับการเอาข้อมูลไปใช้ประโยชน์มันอยู่ตรงไหน ไม่มีข้อมูลแล้วเราจะใช้แต่ไสยศาสตร์เดินหน้าหรืออย่างไร แผนชาติ 20 ปี ต้องผ่านพิธีปลุกเสกด้วยเกจิทั่วประเทศหรืออย่างไรก่อนนำไปใช้ ก่อนที่คนจะเชื่อ
ท้ายสุดอุปสรรคที่ยิ่งใหญ่ของการปรับตัว คือความรู้ของคนที่ควรจะรู้ในเวลานี้ และความรู้ที่เป็นอุปสรรคมากที่สุดคือ คำกล่าวของท่านๆ เหล่านั้น (คนที่ควรจะรู้) คือคำกล่าวที่ว่า”รู้แล้ว” “ผมรู้แล้ว” “ผม ดร.นะ ผมรู้ดี คุณเชื่อผมสิ” เอวังก็มีด้วยประการละ…ฉะนี้