เมื่อพูดถึงโครงการ National e-payment หนึ่งในผลงานของรัฐบาลชุดนี้ ในการสร้างโครงสร้างพื้นฐานระบบการเงิน เพื่อให้ภาคประชาชน ภาคธุรกิจอุตสาหกรรมมีต้นทุนในการทำธุรกรรม ไม่ว่าจะเป็นการซื้อขาย จ่ายโอน
ไทยเป็นประเทศแรกในโลก ที่ทำระบบบาตเนต (BAHTNET-Bank of Thailand Automated High-value Transfer Network) เป็นประเทศแรกในโลก นับเป็นการยกระดับการโอนเงินมูลค่าสูงๆ หรือโอนเงินรายย่อย บอกเลยว่าประเทศไทยเรานำหน้ามากๆ ในเรื่องนี้
ทราบหรือไม่ว่าการใช้เงินสดมีต้นทุนมหาศาล จีดีพี (GDP) ของประเทศไทยอยู่ที่ประมาณ 14-15 ล้านล้านบาท แต่เราใช้บัตร ATM กดเงินสดมาใช้จ่าย ปีหนึ่งประมาณ 7-8 ล้านล้านบาท ยังไม่นับที่เบิกถอนกันที่หน้าสาขา
ดร.อนุชิต อนุชิตานุกูล นักการธนาคารหนุ่มที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของระบบการชำระเงินของประเทศ บอกว่า ไทยมี ATM มากลำดับต้นๆ ในโลก จะเป็นรองก็แต่บราซิล ลองคิดว่ามีเงินค้างอยู่ในตู้ละ 2 ล้านบาท ทุกวันๆ จึงมีเงินแสนกว่าล้านบาทนอนนิ่งอยู่ในตู้ แต่ถ้าเงินนี้อยู่ในรูปอิเล็กทรอนิกส์ สามารถนำมาปล่อยกู้หรือสนับสนุนเศรษฐกิจได้ ทุกคนจะได้ประโยชน์มากกว่านี้
ตู้ ATM ยังมีต้นทุนซ่อนไว้เป็น Hidden Cost เช่น ค่าเช่า ค่าใช้จ่ายในการเอาเงินไปเติมในตู้ มันเป็นต้นทุนทางเศรษฐกิจ เพราะสุดท้ายธนาคารผู้ให้บริการก็เอาต้นทุนนั้นมาผ่องถ่ายให้ประชาชนเป็นคนจ่าย
ประเด็นที่ควรทราบ ก็คือ สิงคโปร์ เอาแนวคิด National e-payment ที่ไทยทำมาพัฒนาโครงการ มาสร้างโปรแกรมที่คล้ายมากกับที่ประเทศเราออกแบบ มีการใช้ Vendor เดียวกัน ที่แตกต่างคือเขา (สิงคโปร์) เร่งให้มีการใช้งานอย่างรวดเร็ว แต่ประเทศไทยเราเองกลับเดินหน้าได้ช้ากว่า
อดีตไทยเคยเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคล 30% จากกำไรสุทธิ ตอนนี้ลดลงมาอยู่ที่ 20% ส่วนสิงคโปร์เก็บ 17% ต่อไปเราก็อาจต้องลดลงมาอยู่ที่ 15% เพื่อแข่งขันและจูงใจให้มาทำธุรกิจในไทย
การทำระบบ e-Payment จะทำให้เกิดการขยายตัวของฐานภาษี และช่วยลดอัตราภาษีลง
ถึงเวลาแล้วที่ต้องช่วยกันให้ระบบการชำระเงินเราไปได้ไกล ไปด้วยกัน สำเร็จเป็นมรรคเป็นผล มีประโยชน์ร่วมกัน ก่อนเสียท่าให้กับต่างชาติอีกครั้ง
สาระดีกับเครดิตบูโร คอลัมน์ เศรษฐกิจคิดง่ายๆ: ระบบการชำระเงินทำประโยชน์ให้ประเทศ : วันที่ 20 พฤศจิกายน 2560