มุมหนึ่งที่น่าคิดของการแก้หนี้ ครัวเรือนกลุ่มสินเชื่ อบางประเภท
ในการหาทางแก้ไขปัญหาหนี้ครั วเรือนที่สร้างความกดดันให้กั บผู้คน จากการได้ลงไปทำงานในการแก้ไขปั ญหาหนี้สินคุณครูและบุ คลากรทางการศึกษา พบข้อเท็จจริงบางประการว่า ลูกหนี้กลุ่มอาชีพนี้มีหนี้สิ นกับสหกรณ์ออมทรัพย์ที่บริ หารจัดการด้วยผู้คนในแวดวงอาชี พเดียวกัน หลายท่านอาจไม่ทราบว่ าจากการรวบรวมตัวเลขของคณะผู้ ศึกษาแนวทางการแก้ไขปัญหาพบว่า คุณครูและบุคลากรทางการศึกษามี หนี้กับสหกรณ์ออมทรัพย์ครู ประมาณ 800,000 ล้านบาท และก็ยังมีสถาบันการเงินของรั ฐให้สินเชื่ออีกหลายแห่งรวมๆกั นประมาณ 600,000 ล้านบาท รวมแล้วเบ็ดเสร็จประมาณ 1.4 ล้านล้านบาท อันนี้เฉพาะอาชีพเดียว สินเชื่อเงินหักหน้าซอง/สินเชื่ อสวัสดิการ มันได้ตามมาหลอกหลอนท่านที่เป็ นลูกหนี้มาก เพราะพอเงินเดือนออก จะมีรายการชำระหนี้เงินกู้ สหกรณ์ออมทรัพย์มารอตัด ตามด้วยสินเชื่อสวัสดิการที่หน่ วยงานต้นสังกัดไปร่วมมือกั บสถาบันการเงินของรัฐเอามาให้คุ ณครูกู้ เป้าหมายอาจสวยหรูว่าเป็ นการยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ สร้างอาชีพเสริม หากแต่ว่าในความจริงแม้มีกติ กาว่า การจะหักเงินเดือนหน้าซองจะต้ องเหลือเงินเข้าซองไม่น้อยกว่า 30% คิดง่ายๆคือเงินเดือน 30,000 บาทต่อเดือน หักชำระหนี้ได้สูงสุด 21,000 บาทต่อเดือน เหลือเข้าซอง 9,000 บาทต่อเดือน ไอ้ที่เข้าซองไปก็ต้องมีหนี้บั ตรเครดิต หนี้ส่วนบุคคล อีกหรือไม่ ถ้ามีก็ต้องไปจ่ายเจ้าหนี้เขา กติกาหรือระเบียบนี้ก็มีการปฏิ บัติอย่างไม่จริงจังหรือไม่ จนทำให้การก่อหนี้ การสร้างหนี้ การหักหนี้ มันทำให้เงินเหลือเข้าซองแบบว่ า เกือบเจ็ดหมื่น เข้าซองเจ็ดพัน หรือเจ็ดร้อย จนเป็นเรื่องราวกันอย่างที่ ทราบๆ
ผู้เขียนได้มีโอกาสรับฟังข้อมู ลจากนายธนาคารกลางที่มุ่งมั่ นแก้ไขปัญหานี้ครับ ท่านได้แสดงความเห็นไว้น่ าสนใจและขอนำมาส่งต่อเพื่อให้ เราๆ ท่านๆ และท่านที่อยู่บนหอคอยงาช้าง ซึ่งกำลังแก้ปัญหาในห้องทดลอง (Lab แห้ง คือ ใช้ความคิดปกติแบบเดิ มมาออกแบบแก้ปัญหาที่ไม่ปกติ บวกการฟังแต่ไม่ยอมได้ยิน) ได้ลองเปิดใจรับฟังสิ่งที่คนเดิ นถนนอย่างผู้เขียนได้นำเรียนดั งนี้นะครับ
… สินเชื่อที่หักจ่ายเงินเดือนหน้ าซอง ซึ่งมีความเสี่ยงต่ำ เป็นที่หมายปองของเจ้าหนี้
ในด้านหนึ่งยากที่จะปฏิเสธว่ าการที่คุณครูจำนวนไม่น้อยมี ภาระหนี้ค่อนข้างสูงส่วนสำคั ญเป็นเพราะคุณครูมีความต้ องการสินเชื่อเพื่อจับจ่ายใช้ สอยในเรื่องต่างๆ (demand) แต่อีกด้านหนึ่งซึ่งที่ผ่ านมาอาจจะไม่ได้พูดถึงมากนัก คือการแข่งขันกันของเจ้าหนี้ ในการปล่อยสินเชื่อให้คุณครู (supply) ซึ่งก็ยากที่จะปฏิเสธเช่นกันว่ าการแข่งขันของเจ้าหนี้เป็นต้ นเหตุที่มีความสำคัญไม่แพ้กันที่ ทำให้คุณครูมีหนี้ค่อนข้างจะสู ง
นับตั้งแต่เริ่มบรรจุในวันแรก คุณครูสามารถที่จะกู้เงินเพื่ อนำไปจับจ่ายใช้สอยซื้อเครื่ องใช้ต่างๆ ที่จำเป็น และเมื่ออาชีพการงานก้าวหน้ าไปตามลำดับและเงินเดือนที่ได้ สูงขึ้น
สหกรณ์ออมทรัพย์ครู ซึ่งถือเป็นเจ้าหนี้รายใหญ่ที่ สุดของคุณครูพร้อมที่จะให้คุ ณครูกู้รายละหลายล้านบาท ในขณะที่สถาบันการเงินก็พร้อมที่ จะให้สินเชื่อสวัสดิการ เช่น สินเชื่อที่อยู่อาศัย ที่เป็นเช่นนี้เพราะเจ้าหนี้ต่ างหมายปองสินเชื่อที่หักเงินเดื อนหน้าซองของคุณครูเนื่องจากเป็ นสินเชื่อมีความเสี่ยงต่ำ นายจ้างหรือหน่วยงานต้นสังกัด หรือกระทรวงศึกษาธิการจะเป็นผู้ ทำหน้าที่หักเงินเดือนเพื่อจ่ ายหนี้แก่เจ้าหนี้เป็นประจำทุ กเดือน (collection) และสินเชื่อหักเงินเดือนหน้ าซองของคุณครู ถือเป็นสินเชื่อหักเงินเดือนกลุ่ มที่ใหญ่ที่สุดของประเทศไทย
อย่างไรก็ดี แม้สินเชื่อที่หักเงินเดือนหน้ าซองมีความเสี่ยงต่ำ แต่พบว่าสถาบันการเงินและสหกรณ์ ออมทรัพย์ครูคิดดอกเบี้ยเงินกู้ จากครูสูงต่ำแตกต่างกันขึ้นอยู่ กับประเภทของสินเชื่อและเจ้าหนี้
จากการสำรวจของกรมส่งเสริ มสหกรณ์ พบว่าสหกรณ์ออมทรัพย์ครูคิ ดดอกเบี้ยเงินกู้โดยเฉลี่ยอยู่ ที่ประมาณ 6-9% ในขณะที่ฝั่งสถาบันการเงินของรั ฐคิดอัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ 4-10% โดยรวมแล้วอาจจะกล่าวได้ว่าอั ตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่เจ้าหนี้ กลุ่มต่างๆคิดจากคุณครูถือว่ าเป็นอัตราที่ค่อนข้างสูง เมื่อพิจารณาว่าความเสี่ยงด้ านสินเชื่อ (credit cost) หรือความเสี่ยงที่คุณครูจะผิดนั ดชำระหนี้มีอยู่ต่ำมาก และเจ้าหนี้แทบที่จะไม่มีมีค่ าใช้จ่ายในตามเก็บหนี้ (operation cost) เลย เนื่องจากกระทรวงศึกษาธิ การทำหน้าที่หักค่างวดชำระหนี้ ที่คุณครูต้องจ่ายจากเงินเดื อนของคุณครูเป็นประจำทุกเดื อนเพื่อส่งเจ้าหนี้ ในขณะที่ต้นทุนของการระดมทุน (funding cost) ทั่วโลกอยู่ในระดับที่ต่ำเป็ นประวัติการณ์สะท้อนจากอั ตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารแห่ งประเทศไทยอยู่ที่เพียงร้อยละ 0.5 ต่อปี ซึ่งถือเป็นอัตราที่ต่ำที่สุ ดในประวัติศาสตร์เศรษฐกิ จของประเทศไทย…
คำถามคือ ถ้าเดินด้วยดอกเบี้ยเงินกู้ แบบนี้ในสถานการณ์แบบนี้มันเกิ นเลยไปหรือไม่ มันควรต้องลดลงตามความเสี่ ยงของการเก็บหนี้ที่ตนเองไม่ต้ องมีต้นทุนหรือไม่ การลดดอกเบี้ย ลดค่าผ่อนลง ยืดหนี้ออกไป ลดการส่งค่าหุ้น ลดดอกเบี้ยเงินฝากลงมาเพื่อไม่ ให้ดอกเบี้ยเงินกู้มันสูงแบบนี้ ในเวลานี้ควรต้องทำหรือไม่ การปรับโครงสร้างหนี้ถ้าทำฝั่ งเดียวคือสถาบันการเงิน เงินก่อนหักหน้าซองจะมีเหลือเพิ่ ม คนที่มีสิทธิหักหน้าซองโดยอ้ างกฎหมายที่ออกแบบมาตั้งแต่ ในอดีตก็จะหักได้เท่าเดิมหรื อเพิ่มขึ้น ไม่มีแรงจูงใจให้เขาต้องลงมาช่ วยลูกหนี้เพิ่ม เพราะเจ้าหนี้อื่นถูกกดดันให้ช่ วยลูกหนี้แล้ว อีกทั้งตนเองก็ไม่ได้อยู่ ในกำกับของธนาคารกลาง
ผู้เขียนใคร่ขอเสนอความเห็ นแบบหักดิบดังนี้นะครับ ทำได้หรือไม่ก็ว่ากัน
1.ลดดอกเบี้ยเงินฝากให้เหลือไม่ เกิน 1.5-2% เพราะดอกเบี้ยได้รับการยกเว้ นภาษีอยู่แล้ว
2.ดอกเบี้ยเงินกู้ไม่ให้เกิน 4-4.5%
3.ลดการนำส่งค่าหุ้นให้เหลือเป็ นขั้นต่ำ 100 บาทต่อเดือน ใครจะมากกว่านี้ก็ได้ สถานภาพสมาชิกไม่กระเทือน
4.เงินปันผล/เงินเฉลี่ยคืนไม่ เกิน 4%
5.รายที่เป็นหนี้วิกฤติให้เอาหุ้ นที่ลงไว้แล้วมาหักหนี้เพื่อยุ บหนี้ปัจจุบันลงไปโดยสามารถไถ่ ถอนได้ไม่เกิน 500,000 บาทต่อรายเป็นต้นและให้ทำครั้ งเดียว
6.ไม่มีการให้มาตรการสินเชื่ อดอกเบี้ยต่ำ (soft loan) มาสนับสนุนเพราะเป็นเรื่ องการบริหารจัดการของแต่ละแห่ง
ผู้เขียนคิดแบบผ่าทางตันแล้วครั บ ท่านจะด่าว่าอย่างไรก็พร้อมน้ อมรับ แต่เห็นแววตาของคุณครูที่เป็ นหนี้แล้วไปต่อไม่ได้ หรือไปได้ยากแล้วมันทุกข์ใจ
ขอบคุณครับ