ทำไมเครดิตบูโร ถึงเก็บประวัติการชำระหนี้ไว้ 3ปี ?

ทำไมเครดิตบูโรต้องเก็บข้อมูลไว้ 3 ปี?
บางคนอาจคิดว่านานไป แต่ 3 ปีคือ “มาตรฐานขั้นต่ำ” ที่บังคับใช้กันทั่วโลก เพราะอะไรถึงเป็นแบบนั้น ตามมาดูกันค่ะ

เพราะมีความจำเป็นต้องทำตามหลักการ 3 ประการ ว่าด้วย “มาตรฐานการจัดเก็บข้อมูลเครดิต”

ได้แก่…

1. มีระยะเวลาเพียงพอที่จะใช้ในการวิเคราะห์ความตั้งใจในการชำระหนี้

ว่าคนที่เป็นเจ้าของข้อมูลนั้น ได้ปฏิบัติกับสัญญาเจ้าหนี้รายก่อน ๆ อย่างไร เช่น ชำระปกติ ค้างชำระ ค้างนาน ค้างสั้น ค้างแล้วรีบเคลียร์ หรือค้างแล้วลากยาว เป็นต้น

2. หน่วยงานที่กำหนดระยะเวลาการเก็บข้อมูลเครดิต (3 ปี) คือ “คณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลเครดิต”

โดยมีผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นประธาน

3. ธนาคารโลก ได้วางหลักการให้การเก็บข้อมูลขั้นต่ำคือประมาณ 3 ปี

แต่ละประเทศบังคับระยะเวลาต่างกัน ขึ้นอยู่กับเศรษฐกิจ เช่น ประเทศเอธิโอเปียจะเก็บข้อมูลถึง 5 ปี ส่วนประเทศไทยได้ตัดสินแล้วว่าเก็บ 3 ปี (เท่ากับสิงคโปร์)

ถ้าเคยค้างชำระ แต่จ่ายหนี้ครบแล้ว และชำระหนี้ตรงเวลา ไม่ค้างชำระเลยต่อเนื่อง 3 ปี (36 เดือน) ประวัติค้างชำระก็จะหายไปจากเครดิตบูโร