Blog Page 139

เศรษฐกิจคิดง่ายๆ (ดิจิทัล) “หยุดใช้จ่ายเกินตัว ยอดหนี้บัตรเครดิตโต30%” วันจันทร์ที่ 17 มิถุนายน 2562

เศรษฐกิจคิดง่ายๆ (ดิจิทัล) วันจันทร์ที่ 17 มิถุนายน 2562

เรื่อง “หยุดใช้จ่ายเกินตัว ยอดหนี้บัตรเครดิตโต30%”
โดย คุณสุรพล โอภาสเสถียร ผู้จัดการใหญ่ เครดิตบูโร
คลิกอ่านได้ที่ https://www.posttoday.com/finance/money/592218

เริ่มชื่อบทความของผมในครั้งนี้​ ขอยกเอาข้อความตอนหนึ่งของผู้บริหารสาวเก่งของสถาบันผู้ให้บริการสินเชื่อผ่อนชำระ​ พวกกู้เป็นก้อนผ่อนเป็นงวด​ หรือสินเชื่อบุคคล​ ที่เรารู้จักกันในชื่อ​ Non bank ที่มีฐานลูกค้าของตัวเองกว่า​ 2ล้านราย
ท่านผู้บริหารได้เปิดเผยข้อมูลในส่วนที่ท่านบริหารว่า​ ยอดการใช้จ่ายในช่วง​ 4 เดือนปี​ 2562​ ที่ผ่านบัตรเครดิตเติบโตสูงถึง​ 30% คิดเป็นยอดใช้จ่ายผ่านบัตรเฉลี่ย​ 8.5พันบาทต่อบัตร​ ส่วนสินเชื่อส่วนบุคคล ทั้งสินเชื่อผ่อนชำระและกดเงินสด เติบโตถึง 18% โดยคาดว่ายอดสินเชื่อคงค้างสิ้นปีจะเติบโต 11-12% ท่านได้ให้ข้อมูลต่อไปว่า
(1)ในส่วนของกรณีที่ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) กำหนดเพดานวงเงินและกำกับสถาบันการเงินในกลุ่มสินเชื่อบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคลในไตรมาส​ 3ปี​ 2560นั้น ยอมรับว่า จะกระทบกับลูกค้าที่ปล่อยสินเชื่อใหม่ซึ่งส่วนหนึ่งทางกิจการก็ได้เปิดตลาดลูกค้ากลุ่มใหม่ 8 อาชีพ เช่น ผู้ประกอบอาชีพอิสระหรือฟรีแลนซ์ ลูกจ้างทำงานชั่วคราว ลาล่ามูฟ วินมอเตอร์ไซค์ แม่บ้าน ซึ่งเป็นการเปิดให้คนที่ไม่มีโอกาสได้เข้าถึงบริการทางการเงิน แต่ยังคุมมาตรฐานการก่อหนี้สำหรับคุณภาพลูกค้ารายใหม่ควบคู่กันไปด้วย

(2)จุดที่สำคัญคืออัตราการอนุมัติอยู่ที่ 40%(หนึ่งร้อยใบสมัครจะอนุมัติได้ประมาณ​ 40ใบสมัคร) ส่วนเรื่องของสาเหตุยอดปฏิเสธสินเชื่อสูงถึง 60% เพราะสภาพหนี้เร่งตัวขึ้นกว่ารายได้ หรือสัดส่วนหนี้ต่อรายได้(DSR) สูงเกินไป​เป็นข้อมูลที่สะท้อนว่า ผู้ขอกู้มีหนี้มากกว่ารายได้ เพราะฉะนั้นถ้าเป็นหนี้โตไปเร็ว แต่รายได้โตไม่ทันแล้ว เรา(ตัวคนปล่อยกู้)​จะปล่อยกู้ใหม่ให้เขาได้อย่างไร

(3)มีการพบข้อมูลสำคัญว่าผู้ยื่นขอกู้ที่ถูกปฏิเสธคือ บางรายมีความพยายามจะกลับมายื่นขอกู้อีกครั้งใน 6 เดือนถัดไปบ้าง บางคนยื่นกู้ถึง 10 ครั้ง หรือมีความต้องการวงเงินมากเกินไป แต่ไม่ได้การอนุมัติซึ่งก็หมายความว่า เรา(คนที่ให้กู้)จะไปเพิ่มภาระหนี้ให้คนขอกู้ เพราะถ้ายังให้กู้เพิ่ม​ มันก็จะทำให้ DSR (อัตราส่วนภาระหนี้ต่อเดือนทุกบัญชีต่อรายได้ที่รับในแต่ละเดือนหรือ​ Debt​ Service Ratio )​สูงขึ้น คนให้กู้จึงจำเป็นต้องคุมคุณภาพหนี้พร้อมไปกับการปล่อยกู้รู้ด้วย

(4)โครงการที่จะให้ความรู้เรื่องทางการเงินที่ผ่านมาของคนให้กู้​จะเน้นเรื่องอย่าฟุ่มเฟือย​ คิดก่อนใช้​ หามาก่อนใช้​ ขณะเดียวกันต้องขยันหารายได้เพิ่ม มีการบอกผู้กู้หรือลูกค้าที่มาขอสินเชื่ออย่างตรงไปตรงมาว่า “ช่วงที่ไม่มีปัญหา อย่าสร้างปัญหา แนะนำให้อยู่นิ่งๆ พอมีรายได้เพิ่มค่อยไปยื่นขอกู้”

(5)ตามแผนของสถาบันการเงินเท่าที่ติดตามข่าวมาผู้เขียนพบว่า
5.1​ มีการดูภาระหนี้ในช่วงเวลาหนึ่งของคนกู้คนคนหนึ่งหรือภาระหนี้รวม​ ภาระหนี้ที่ต้องจ่ายต่อเดือนทุกสัญญา​ ข้อมูลนี้มาจากเครดิตบูโร​ ภายใต้ความยินยอมของลูกค้า​ เจ้าของข้อมูลที่บอกให้เครดิตบูโรเปิดเผยข้อมูลของเขาให้กับว่าที่เจ้าหนี้ที่ท่านเจ้าของข้อมูลไปยื่นขอกู้
5.2ประเด็นปัญหาคือ
กลุ่มที่​ 1 ผู้ขอกู้ไม่เคยมีประวัติทำธุรกรรมกับสถาบันการเงินจะยากในการตรวจสอบประวัติเครดิต เพราะไม่มีบันทึกในเครดิตบูโร ซึ่งต้องแสวงหาข้อมูลจากแหล่งอื่น ๆมาแทน
กลุ่มที่​ 2 สินเชื่อสหกรณ์ออมทรัพย์​ สินเชื่อเพื่อการศึกษา​ สินเชื่อสวัสดิการ​ ที่มันมียอดผ่อนในแต่ละเดือน​ มันไม่มีการรายงานส่งเข้าระบบเครดิตบูโร​ ดังนั้นก็อาจทำให้การคำนวณ​ DSR คลาดเคลื่อนไป​

การกำหนดความเหมาะสมคนที่จะกู้ได้คือ​ DSR ​ไม่ควรเกิน​ 50%ของรายได้​ กล่าวคือเอารายได้ที่ได้รับมาผ่อนหนี้ทุกก้อน​ ทุกสัญญาในแต่ละเดือนไม่เกิน​ 50%ของรายได้นั้น​ หนี้ที่คิดจะก่อเพิ่มแล้วทำให้สัดส่วนนี้สูงขึ้นก้ไม่ควรทำ​ และคนให้กู้ก็ไม่ควรให้กู้เพิ่ม
“ช่วงที่ไม่มีปัญหา อย่าสร้างปัญหา แนะนำให้อยู่นิ่งๆ พอมีรายได้เพิ่มค่อยไปยื่นขอกู้” คำแนะนำที่ควรฟังให้ได้ยินครับ

เศรษฐกิจคิดง่ายๆ (ดิจิทัล) “มอง P2P Lending แบบแชร์ดิจิทัล(มองแบบบ้านๆ)” วันจันทร์ที่ 10 มิถุนายน 2562

เศรษฐกิจคิดง่ายๆ (ดิจิทัล) วันจันทร์ที่ 10 มิถุนายน 2562

“มอง P2P Lending แบบแชร์ดิจิทัล(มองแบบบ้านๆ)”

โดย คุณสุรพล โอภาสเสถียร ผู้จัดการใหญ่ เครดิตบูโร

คลิกอ่านได้ที่ https://www.posttoday.com/finance/money/591637

เป็นเรื่องที่น่ายินดีมากที่ผู้เขียนได้เห็นความตื่นตัวในบรรดาผู้เล่นในระบบสถาบันการเงิน​ ซึ่งรวมไปถึงบรรดาผู้ประกอบธุรกิจทางการเงินที่อาศัยเทคโนโลยีเป็นตัวนำหรือที่เรียกง่ายๆว่ากลุ่มฟินเทค​ (Fintech) หรือพวก​ Platform ที่กำลังจะเกิดขึ้น​ ข่าวออกมาดังนี้ครับ
… ผู้บริหารระดับสูงของ​ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้เปิดเผยว่า ปัจจุบันมีผู้ประกอบการฟินเทคประมาณ 10 บริษัท สนใจทำธุรกิจระบบ หรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์สำหรับธุรกรรมสินเชื่อระหว่างบุคคลกับบุคคล (P2P lending platform) หลังจากที่ ธปท.ได้ออกประกาศหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการประกอบธุรกิจดังกล่าว โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 30 เมษายน 2562…

เงื่อนไขสำคัญก็คือการเตรียมความพร้อมของบรรดาผู้สมัครที่คิดจะยื่นขอใบอนุญาต​ ที่จะต้องเข้าสู่กระบวนการทดสอบ​ตัวอย่างเช่น
1.ระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทั้งแบบเห็นหน้าและแบบที่ไม่ได้มาพบหน้ากันโดยตรงมีความน่าเชื่อถือเพียงใด
2.ระบบการวิเคราะห์ตัวผู้ขอกู้ว่ามีความสามารถในการชำระหนี้​ มีความตั้งใจในการชำระหนี้​ การประเมินมูลค่าหลักประกัน(ถ้ามี)​
3.ระบบการบริหารลูกหนี้และระบบการติดตามลูกหนี้ตลอดช่วงสัญญาเงินกู้
4.ระบบการรับชำระและติดตามทวงถามหนี้ตลอดช่วงสัญญาเงินกู้

มองในมุมสถาบันการเงินในปัจจุบันที่มีความพร้อมที่จะลุยในธุรกิจนี้ก็ระบุว่า
ธนาคารสนใจจะทำธุรกิจ P2P lending platform ในระยะข้างหน้า เพราะจะช่วยลดต้นทุนการระดมเงิน จากปัจจุบันที่ต้องระดมเงินฝากมาปล่อยกู้ แต่หากทำ P2P lending platform จะเป็นการนำเงินคนอื่นที่อยากให้กู้มาปล่อยกู้โดยมีธนาคาร เป็น Platform ตัวกลาง เนื่องจาก ธนาคารมีระบบเก็บเงินรายเดือน ระบบบังคับจำนอง ส่วนการวิเคราะห์สินเชื่อก็ปกติ ธนาคารวิเคราะห์ให้ แล้วก็ประเมินหลักประกัน รับชำระหนี้เงินกู้ และติดตามหนี้ให้​ ซึ่งป้องกันปัญหาเรื่องการเรียกเก็บเงินและกรณีผิดนัดชำระหนี้ได้อยู่แล้ว

หากจะเปรียบเทียบเรื่อง​ P2P​ ที่เป็นนวัตกรรม​ทางการเงินในยุคดิจิทัลกับแชร์หรือการเล่นแชร์ในอดีตก็น่าจะอธิบายได้ไม่ยาก​ ท่านผู้อ่านลองคิดตามดังนี้
1.ตัวของคนกลางที่จับคนอยากได้เงินกู้กับคนที่อยากให้กู้มาเจอกันก็คือ​ Platform​ ในวันนี้หรือเท้าเเชร์ในอดีตคือทั้งคู่ต้องมีความน่าเชื่อถือ​ เป็นที่นับหน้าถือตาของผู้คนพอสมควรระดับออกปากแล้วยากจะปฏิเสธได้
2.อัตราดอกเบี้ยคือตัวตัดสินใจระหว่างคนกู้กับคนให้กู้​ คนกลางคือ​ Deal maker ในอดีตจะเปียแชร์หรือประมูลดอกเบี้ยกันเท่าไหร่อาจต้องปรึกษากับเท้าแชร์นิดหน่อย
3.เท้าแชร์ได้ประโยชน์เป็นค่าธรรมเนียมในการ​ Matching ซึ่งก็เหมือนกับ​ P2P​ lending ที่บริหารโดย​ Platform และยังมีหน้าที่ไปตามเก็บเงินจากวงแชร์ไปส่งมอบให้กับคนที่เปียได้ และส่งดอกเบี้ยให้กับคนที่นำเงินมาให้กู้​
4.ถ้ามีรายการเบี้ยวหนี้​ เกิดหนีการจ่าย​ หรือลูกแชร์เป็นหนี้เสีย​ ผิดนัดชำระหนี้​ เท้าแชร์ก็อาจสอดรับเข้ามาชำระหนี้แทนแล้วไปตามไล่เบี้ยเอากับคนที่เบี้ยวหนี้​ ในระบบ​ P2P​ ก็อาจไปหาสถาบันมาค้ำประกันทั้งหมดหรือบางส่วนในหนี้ก้อนนี้ที่กำลังทำ​ Matching

สิ่งที่จะต่างกันบ้างเล็กน้อยคือคนที่เป็นเท้าแชร์จะรู้จักตัวตนของลูกแชร์ตัวเองอย่างลึกซึ้ง​ ต่อเนื่อง​ ยาวนาน​ มันมีความหมายมากกว่าการทำ​ KYC เพื่อให้บริการทางการเงิน​ อีกประการหนึ่งคือเทคโนโลยีและเครื่องมือครับ​ เครื่องมือของแชร์อาจแค่​ กลุ่มไลน์ไว้สื่อสาร​ พร้อมเพย์ไว้โอนเงิน​ และเลี้ยงโต๊ะจีนวันนัดเปียแชร์ที่เท้าแชร์ต้องเป็นเจ้าภาพ​

ถ้าเราตัดเอาเรื่องเครื่องมือทันสมัย​ กฎระเบียบที่เพิ่งออกมา​ และเรื่องที่เกิดในต่างประเทศ​ แล้วหันมามองนวัตกรรม​ในอดีตแบบบ้านๆที่แก้ไขปัญหาสภาพคล่องของ​ SME​ มาเป็นระยะยาวนาน​ ก็จะพบว่าเราๆท่านๆที่ทำมาค้าขาย​ ก็คงจะคิดตามได้ไม่ยากถึงความเหมือนความต่างของสิ่งที่เกิดในอดีตกับสิ่งที่กำลังจะเกิดในตลาดบ้านเรา​ ประเด็นที่ผู้เขียนอยากให้สนใจคือ
1.ประสบการณ์ในเรื่องนี้ทั้งบวกและลบที่เกิดในประเทศจีน​ ถ้ามันมาเกิดกับประเทศเราบ้าง​ ใครจะเป็นคนเรียกความเชื่อมั่นกลับคืนมา​ เพราะมันเป็นเรื่องเงินๆทองๆ​ มันไม่เข้าใครออกใครเสียด้วยสิครับ
2.ในบรรยากาศที่ดอกเบี้ยต่ำ​ มีพฤติกรรม​ Search for yield ที่เราๆท่านๆไม่อยากให้เกิด​ แต่เมื่อมีสิ่งนี้ขึ้นมาแล้ว​ มันจะไปมีส่วนส่งเสริมพฤติกรรมที่เราไม่ค่อยอยากให้เกิดหรือไม่​ ดอกเบี้ยที่คิดไว้สูงสุด​ 15% มันจะแพงสำหรับโครงการดี  แต่มันจะถูกมากสำหรับโครงการแย่ๆ แต่แปลงกายมา​ บาปเคราะห์ตรงนี้ถ้าเกิดจะมีผลกระทบขนาดไหน​ หรือเป็นราคาซื้อประสบการณ์​ของนักลงทุน​ ตามแนวคิด​ การลงทุนมีความเสี่ยง​ ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจ ขอขอบคุณท่านที่ให้ความสนใจทุกท่านครับ

สัมภาษณ์สดทางวิทยุ “คัดข่าวมาคุย” ช่วง “หัวใจเศรษฐี” ทุกวันอังคารเว้นอังคารของเดือน วันที่ 11 และ 25 มิถุนายน 2562 เวลา 11.10 – 11.30 น. (

สัมภาษณ์สดทางวิทยุ “คัดข่าวมาคุย” ช่วง “หัวใจเศรษฐี”
ทุกวันอังคารเว้นอังคารของเดือน เวลา 11.10 – 11.30 น. (วันที่ 11 และ 25 มิถุนายน 2562)
– ทางคลื่น FM 105 Smile Thailand
– อออนไลน์ www.105smilethailand.com
– www.facebook.com/105smilethailand

ผู้ให้สัมภาษณ์ : คุณสุรพล โอภาสเสถียร ผู้จัดการใหญ่ บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด
ผู้ดำเนินรายการ : คุณศลิลนา ภู่เอี่ยม

ตรวจเครดิตบูโรผ่าน Mobile Application และ Internet Banking

ตรวจเครดิตบูโรผ่าน MobileApplication และ Internet Banking

คุณสามารถการยื่นคำรายงานเครดิตบูโรได้ผ่านระบบ Mobile Application ของธนาคารต่างๆ (รับรายงายทางอีเมล) ได้ดังนี้

Bualuang mBanking
ธนาคารกรุงเทพ

รับรายงานทางอีเมลได้ทันที

 
 

คลิกเพื่ออ่านรายละเอียด

KKP Mobile
ธนาคารเกียรตินาคินภัทร

รับรายงานทางอีเมลได้ทันที

 
 

คลิกเพื่ออ่านรายละเอียด

TLT Simply
บริษัท โตโยต้า ลิสซิ่ง (ประเทศไทย) จำกัด

รับรายงานทางอีเมลได้ทันที

 

คลิกเพื่ออ่านรายละเอียด

 

MyMo
ธนาคารออมสิน
รับรายงานทางอีเมลภายใน 24 ชั่วโมง
 

คลิกเพื่ออ่านรายละเอียด

Krungthai NEXT
ธนาคารกรุงไทย
รับรายงานทางอีเมลภายใน 24 ชั่วโมง
 

คลิกเพื่ออ่านรายละเอียด

เป๋าตังเปย์
บนแอปเป๋าตัง
รับรายงานทางอีเมลภายใน 24 ชั่วโมง
 

คลิกเพื่ออ่านรายละเอียด

Flash Express
(Flash Money)
รับรายงานทางอีเมลภายใน 24 ชั่วโมง
 

คลิกเพื่ออ่านรายละเอียด

BAAC Mobile
ธ.ก.ส.
รับรายงานทางอีเมลภายใน 24 ชั่วโมง
 

คลิกเพื่ออ่านรายละเอียด

SME D Bank
ธพว.
รับรายงานทางอีเมลภายใน 3 วันทำการ
 
 

คลิกเพื่ออ่านรายละเอียด

ttb touch
ธนาคารทีทีบี
รับรายงานทางอีเมลภายใน 3 วันทำการ
 
 

คลิกเพื่ออ่านรายละเอียด

 

 

ตรวจเครดิตบูโรผ่าน Internet Banking

ท่านสามารถยื่นคำขอรายงานเครดิตบูโรได้ผ่านช่องทาง Internet Banking ได้ด้วยตนเอง ผ่านบริการกรุงศรีออนไลน์

แอป “Krungsri App” และ กรุงศรีออนไลน์
รับรายงานทางไปรษณีย์ลงทะเบียน ภายใน 7 วันทำการ
 

คลิกเพื่ออ่านรายละเอียด

 

ธนาคารกรุงศรี 

ดาวน์โหลดคู่มือการขอรายงานเครดิตบูโรของ ธนาคารกรุงศรี ที่นี่

ตรวจเครดิตบูโร..ฟรี : งาน “Thailand Smart Money 2019” จ.ระยอง : วันที่ 8-9 มิถุนายน 2562 ณ ศูนย์การค้าเซ็นทรัล พลาซา จ.ระยอง

ตรวจเครดิตบูโร..ฟรี

งาน “Thailand Smart Money 2019” จ.ระยอง

วันที่ 8-9 มิถุนายน 2562 ณ ศูนย์การค้าเซ็นทรัล พลาซา จ.ระยอง

*เฉพาะรายการลูกค้าบุคคลธรรมดา ยื่นตรวจของตนเองเท่านั้น (ไม่รับกรณีรับมอบอำนาจ)

เศรษฐกิจคิดง่ายๆ (ดิจิทัล) : “อะไรคือลักษณะที่อาจไม่พึงประสงค์สำหรับคนที่เขามีหน้าที่พิจารณาให้เงินกู้” : วันที่ 3 มิถุนายน 2562

เศรษฐกิจคิดง่ายๆ (ดิจิทัล) วันที่ 3 มิถุนายน 2562

“อะไรคือลักษณะที่อาจไม่พึงประสงค์สำหรับคนที่เขามีหน้าที่พิจารณาให้เงินกู้”

โดย คุณสุรพล โอภาสเสถียร ผู้จัดการใหญ่ เครดิตบูโร

คลิกอ่านได้ที่ https://www.posttoday.com/finance/money/590959

มันเป็นเรื่องที่จะว่าง่ายก็ง่าย​ จะว่ายากก็ยากในยุคนี้เวลานี้ที่การยื่นขอสินเชื่อเพื่อนำเงินไปซื้อบ้าน​ ซื้อคอนโด​ ซื้อรถยนต์​ กู้เอาไปใช้จ่ายทั้งที่เป็นเรื่องค่าใช้จ่ายอันจำเป็นบ้าง เช่น ค่าเทอมลูกหลาน​ เกิดอุบัติเหตุ​ โรคภัยไข้เจ็บ​ ต่อเติมบ้าน​ ซ่อมแซม​ หรือจะเป็นพวกค่าใช้จ่ายที่อาจไม่จำเป็นเช่นซื้อของแพงๆ​ โดยที่บางครั้งของพวกนั้นก็มีแล้วเช่น​ โทรศัพท์​มือถือ​ กระเป๋าแบรนด์เนม​ รองเท้าโน่นนั่นนี่​ หรือที่เลวร้ายหน่อยคือกู้ไปทำอะไรที่บันเทิงเริงรมย์​ แต่ต้องมาทุกข์​ตรมตอนจ่ายหนี้ เช่น​ กู้ไปกินเลี้ยงวันครบรอบวันเกิดอะไรอย่างนี้​ เที่ยวไปก่อนผ่อนทีหลัง​ หนักๆ เข้าก็ประเภทวินาศไม่ว่าแต่ข้าต้องได้ชื่อ​ เป็นต้น​ เรื่องพวกนี้​ อันนี้คือเหตุเริ่มต้นของการมีความจำเป็นต้องมีหนี้​ มีทั้งหนี้ดีและหนี้ที่จะก่อให้เกิดปัญหาในอนาคต

ทีนี้มามองคนที่ทำหน้าที่ในการวิเคราะห์​ พิจารณาคำขอกู้​ ซึ่งต้องคนหาตัวตนที่แท้จริงของคนที่มาขอกู้​ โดยเฉพาะเรื่องที่สำคัญดังนี้
1.รายได้และแหล่งที่มาของรายได้​ จุดที่สำคัญมากคือ​ คำว่ามากพอที่จะเชื่อว่าสามารถมีเงินมาชำระหนี้ได้​ มีความสม่ำเสมอ​ ไม่วูบวาบเกินไป​ ที่สำคัญแหล่งที่มาของรายได้ เช่น กิจการของนายจ้าง​ ทำเลที่ทำมาหากินเป็นอย่างไร

2.ขีดความสามารถในการชำระหนี้​ ในตรงนี้จะดูแต่ว่ามีรายได้อย่างเดียวไม่ได้ครับ​ ต้องเอารายได้ที่มีมาหักด้วยหนี้ที่จะต้องจ่ายในแต่ละเดือน เช่น​ ค่าผ่อนบ้าน​ ค่างวดผ่อนรถยนต์​ ค่าผ่อนสินเชื่อ​0% ค่าผ่อนบัตรเครดิต​ มาหักออกจากรายได้​ แล้วดูว่าเงินรายได้สุทธิจะเป็นเท่าใด​ ยกตัวอย่าง มีรายได้​ 18,000 บาทต่อเดือน​ มีหนี้บัตรเครดิต​ 3ใบๆ ละ​ 30,000 บาท รวมเป็นยอดหนี้​ 90,000 บาท​  ถ้าผ่อนขั้นต่ำก็ต้องจ่ายหนี้รายเดือน​ 9,000 บาท​ จาก​ 18,000 -​ 9,000 = 9,000 บาทต่อเดือน​ เอา​ 30วันไปหาร​ ก็จะได้ว่ารายได้หลังหักหนี้บัตรแล้ว​เหลือเงินกินใช้​ 300 บาทต่อวัน​ คำถามคือไหวหรือไม่ในกรุงเทพฯ

การเอายอดผ่อนหนี้ทุกสัญญาต่อเดือนมาหารด้วยรายได้รายเดือน​ เขาเรียกกันว่าอัตราส่วนความสามารถในการชำระหนี้หรือ​ Debt service ratio หรือ​ DSR

3.ลักษณะนิสัยการชำระหนี้ในบัญชีหนี้สินต่างๆ ที่ตนเองได้ไปกู้ไว้ในอดีตว่าเมื่อได้ก่อหนี้รายการนั้นๆ แล้ว​ ได้ทำตามสัญญาไหม เป็นหนี้แล้วใช้หนี้ไหม ใช้หนี้ครบตามจำนวนไหม ใช้หนี้ตรงเวลาไหม มีหนี้เกินวงเงินไหม ตัวอย่างเช่น​ มีบางบัญชีในบางเดือนค้างชำระแต่ต่อมาก็รีบไปชำระในเดือนถัดไปแล้วจากนั้นจนถึงปัจจุบันไม่มีการค้างอีกเลย​ มีการค้างชำระแล้วก็ไปจ่ายชำระแต่เป็นอย่างนี้บ่อยๆในช่วง​ 6 เดือนหรือช่วง​ 12 เดือนที่ผ่านมาหรือไม่ มีการยื่นขอปรับโครงสร้างหนี้หรือไม่ มีการปิดบัญชีไปบ้างหรือไม่​ ปิดไปนานหรือยัง​ มีการไปค้างชำระยาวนานต่อเนื่องจนเจ้าหนี้ตามไม่ไหวตัดใจขายให้คนอื่นมาตามหนี้หรือไม่ มีการพักชำระหนี้หรือไม่ในบัญชีใดบัญชีหนึ่ง​ มีการถูกติดตามทวงถามจนถึงขั้นเจ้าหนี้บางแห่งฟ้องร้องดำเนินคดีหรือไม่​ ที่เลวร้ายคือมีการค้างชำระต่อเนื่องเกิน​ 90วันหรือ​ 3เดือนก็จะกลายเป็นลูกหนี้​ NPL​ อาการแบบนี้จะบอกลักษณะ​ มีเงินแต่เหนียวหนี้​ ไมทวงสุดๆ

ทีนี้คนที่มีลักษณะชำระหนี้ดี​ ใครๆก็อยากคบคือ​ ทุกบัญชีมีหนี้ไม่เต็มวงเงิน​ มีบัญชีบัตรเครดิตแบบใช้​ 100จ่าย​ 100 มีบัญชีจำนวนไม่มาก​ ยอดผ่อนทุกบัญชีรวมกันเทียบกับรายได้ก็ไม่เกิน​ 40-50%

คนที่เขาต้องตัดสินใจนั้น​ เขาคิดเสมอว่าการจะให้เงินกู้ใครนั้น
1.เงินนั้นไม่ใช่ของเขา​ ไม่ใช่ของแบงก์ แต่เป็นของผู้ฝากเงิน​
2.การตัดสินใจนั้นต้องอธิบายได้ว่าทำไมจึงตัดสินใจแบบนั้น​ ไม่ว่าจะให้หรือไม่ให้
3.มันมีกฏกติกา​ มารยาท​ ระเบียบเข้ามาเกี่ยวข้องเช่น​ ราคาหลักประกันเทียบกับวงเงินกู้แล้วต้องไม่เกิน​ 90%, 75%บ้างเป็นต้น
4.การตัดสินใจนั้นต้องมีข้อมูลที่เพียงพอเหมาะสม​ ที่จทำให้การตัดสินใจมีคุณภาพ
5.ต้องมั่นใจว่าเมื่อให้กู้ไปแล้วต้องไม่ไปเป็นภาระของคนกู้มากเกินกว่าขีดความสามารถของเขา​ คือผ่อนได้​ ได้ประโยชน์จากการกู้​ ให้กู้แล้วชีวิตลูกหนี้เขาควรจะดีขึ้น​ ไม่ใช่แย่ลง

อะไรคือลักษณะที่อาจไม่พึงประสงค์สำหรับคนที่เขามีหน้าที่พิจารณาให้เงินกู้จึงมาถึงตรงจุดสรุปว่ามันคือลักษณะพฤติกรรมที่​ ก่อหนี้แบบไม่เหตุผล​ ไม่วางแผนการใช้จ่าย​ พฤติกรรมในอดีตมีความเสี่ยงว่าจะเอามาใช้ในอนาคตกับเจ้าหนี้ใหม่ที่กำลังยื่นขอกู้​ ท่านผู้อ่านดูข้อ​ 2  ขีดความสามารถในการชำระหนี้กับข้อ 3 ลักษณะนิสัยในอดีตของการชำระหนี้​ที่ตนเองก่อเอาไว้

กรรมเป็นเครื่องชี้เจตนา
อดีตเป็นเหตุ​ ปัจจุบันเป็นผล
ปัจจุบันเป็นเหตุ​ อนาคตเป็นผล
สัญญาต้องเป็นสัญญา
เป็นหนี้ต้องใช้หนี้
พูดคำไหนก็ทำแบบนั้น

มันไม่ได้ยากในการตีความว่าต้องทำตนแบบไหน​ แต่มันจะยากมากถ้าคิดจะหลอกว่าเราจะไม่ทำแบบนั้นอีกแล้ว​ แต่ขาดสิ่งที่จะมายืนยันให้คนพิจารณาสินเชื่อเขาเชื่อได้ว่า​เราจะทำตามนั้น​ ทั้งๆ ที่ในอดีต​ สิ่งนั้นมันบ่งบอกแบบตรงข้ามกัน

เรื่องน่าอ่าน