Blog Page 141

ตรวจเครดิตบูโร..ฟรี งาน “กิจกรรม บสย. ออมสิน รักพี่วิน” วันที่ 30 เมษายน 2562 เวลา 9.00 – 13.00 น. โรงเรียนพิบูลวิทยาลัย (โดมใหญ่) จ.ลพบุรี

ตรวจเครดิตบูโร..ฟรี งาน “กิจกรรม บสย. ออมสิน รักพี่วิน”
วันที่ 30 เมษายน 2562 เวลา 9.00 – 13.00 น.
โรงเรียนพิบูลวิทยาลัย (โดมใหญ่) จ.ลพบุรี

ฟรี!!…บริการตรวจเครดิตบูโร แต่ขอรับเป็นเงินบริจาคแทน พร้อมเปิดคลินิกเครดิตบูโรให้คำปรึกษา
*เฉพาะรายการลูกค้าบุคคลธรรมดา ยื่นตรวจของตนเองเท่านั้น (ไม่รับกรณีรับมอบอำนาจ)

“ปลูกฝังวินัยการเงิน’คนรุ่นใหม่’ ลดปัญหาหนี้ครัวเรือน’ยั่งยืน’ ” นสพ.กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 29 เมษายน 2562

“ปลูกฝังวินัยการเงิน’คนรุ่นใหม่’ ลดปัญหาหนี้ครัวเรือน’ยั่งยืน’ “

นสพ.กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 29 เมษายน 2562

วิชชุลดา ภักดีสุวรรณ
กรุงเทพธุรกิจ
          

“คนไทยเป็นหนี้ตั้งแต่อายุยังน้อย เป็นหนี้เร็วขึ้น นานขึ้น จนเข้าสู่วัยเกษียณ ก็ยังมีภาระหนี้สินอยู่” นั่นคือสิ่งที่ธนาคาร แห่งประเทศไทย (ธปท.) สะท้อนให้เห็นภาพ ตลอดในระยะหลังๆ ส่วนหนึ่งมาจากการขาดทักษะ ขาดความรู้และความเข้าใจ ด้านการเงิน และขาดการวางแผนด้าน การบริหารจัดการทางการเงินที่ดี จึงไม่แปลกที่คนเป็นหนี้ตั้งแต่อายุยังน้อย จนแก่ก็ยัง เป็นหนี้อยู่ เพราะสิ่งเร้า และตัวกระตุ้น ให้คนเป็นหนี้มากขึ้น มีมากมายอย่าง นับไม่ถ้วน
          

โดยเฉพาะปัจจุบันที่เริ่มเห็นการหันไป เจาะตลาดใหม่ๆ อย่าง “วัยเริ่มทำงาน” ของผู้ให้บริการทางการเงิน หรือเด็กจบใหม่ ก็ล้วนเป็นสิ่งที่กระตุ้นให้คนเป็นหนี้ เร็วขึ้นได้ เพราะความอยากมี จึงต้องดึงเงินในอนาคตมาใช้ ดังนั้นหากไม่ตระหนักถึงการวางแผนทางการเงิน การชำระหนี้ให้ดี หรือการคำนวณรายรับรายจ่ายให้ดี ก็อาจตกอยู่ใน”วงจรหนี้” อย่างไม่จบสิ้นสุรพล โอภาสเสถียร ผู้จัดการใหญ่บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ หรือเครดิตบูโร เปิดเผยข้อมูลหนี้ค้างชำระตั้งแต่ 30 วันขึ้นไป พบว่า หนี้ค้างชำระส่วนใหญ่ หลักๆ แล้วอยู่ที่เจนวายที่มีอายุ 22-39 ปี และกลุ่ม เจนเอ็กซ์ อายุ 40-54 ปี  ประชาชนส่วนใหญ่ เข้าถึงสินเชื่อได้ตั้งแต่อายุยังน้อย ตั้งแต่เริ่มทำงาน หรือตั้งแต่อายุ 19-20 ปีซึ่งกลุ่มนี้เริ่มมีหนี้สินเชื่อส่วนบุคคล หรือสินเชื่อเงินผ่อน บัตรผ่อนชำระต่างๆ มากที่สุดังนั้น หากต้องการขจัดปัญหาหนี้ครัวเรือน และทำให้วงจรหนี้เหล่านี้ลดลง ต้องกำกับหรือลดหนี้สินเชื่อบุคคล หรือเงินผ่อนให้ได้!!
          

ไพบูลย์ กิตติศรีกังวาน รองผู้ว่าการ ด้านบริหาร ธปท. กล่าวว่า การเป็นหนี้ อย่างรวดเร็ว ตั้งแต่อายุยังน้อย ลากยาวไปจนแก่ เหตุผลหนึ่งมาจากการขาดความรู้ ขาดทักษะและการปลูกฝังวินัยด้านการเงินตั้งแต่ต้น ซึ่งถือเป็นทักษะที่สำคัญของชีวิต และเป็นพื้นฐานที่สำคัญที่ทำให้เศรษฐกิจของประเทศมั่นคง
          

ปัจจุบัน “หนี้ครัวเรือน” มีทิศทางปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง โดยล่าสุดอยู่ที่ระดับ 78.6% ซึ่งถือเป็นสิ่งที่ธปท.เป็นห่วงมาโดยตลอด เพราะพบการก่อหนี้ที่สูงขึ้น หากเทียบกับรายได้  ต้นตอส่วนหนึ่ง มาจากผู้ให้บริการทางการเงิน และสถาบันการเงิน มีแรงจูงใจต่างๆ ในการแข่งขัน ปล่อยสินเชื่อมากขึ้น จากภาวะการเงิน ที่คล่องตัว บวกกับภาวะดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับต่ำในปัจจุบัน อาจกระตุ้นให้เกิด การสร้างหนี้ได้ง่ายขึ้น จึงไปกระตุ้นให้ประชาชนที่ไม่วางแผนทางการเงิน อยู่ใน ภาวะที่เป็น “หนี้” โดยที่ไม่รู้ตัว เมื่อถึงจุดหนึ่ง ที่เกิดปัญหาในชีวิต อาจประสบปัญหา การชำระคืน หรือกระทบต่อการประกอบอาชีพ ในอนาคตได้
          

กลุ่มที่ธปท.เป็นห่วงมากที่สุดคือ กลุ่มผู้มีรายได้น้อย ที่เป็นกลุ่มที่อ่อนไหว และมีโอกาสประสบปัญหาทางการเงินได้มากกว่ากลุ่มอื่นๆ  สิ่งที่สำคัญคือ แบงก์ หรือผู้ให้บริการทางการเงิน  ต้องให้ความสำคัญกับมาตรฐานการปล่อยกู้ และควรตระหนักถึงความรับผิดชอบ ต้องให้กู้ กับคนที่มีแนวโน้มจะชำระหนี้คืนได้มาก ที่ผ่านมาธปท.มีการสื่อสารกับสถาบันการเงิน และผู้ให้บริการทางการเงิน ให้รับทราบถึง ความเป็นห่วงนี้อย่างต่อเนื่อง ดังนั้นเชื่อว่า การช่วยกันทุกฝ่าย จะช่วยลดความร้อนแรงของ “หนี้ครัวเรือน” ให้ลดลงได้
          

ดังนั้น การสอนให้คนมีความรู้ มีทักษะด้านการบริหารการเงินถือเป็น สิ่งที่ควรทำอย่างยิ่ง โดยเฉพาะการปลูกฝังความรู้ทางการเงินให้กับประชาชนตั้งแต่ อายุน้อยๆ ธปท.จึงผลักดันโครการ”Fin.ดี We can do!!” Season2 จาก ความร่วมมือระหว่างหน่วยงานรัฐและ เอกชน ที่เห็นความสำคัญของการเร่ง สร้างความรู้ทางการเงินให้กับประชาชน ในกลุ่มต่างๆ ตั้งแต่อายุยังน้อย เช่น นักศึกษาอาชีวะ เป็นกลุ่มหนึ่งที่ควรให้ความสำคัญมากขึ้น เพื่อส่งเสริมให้เยาวชนมีภูมิคุ้มกันในการรับมือสิ่งที่ไม่คาดฝัน
          

ทรงธรรม ปิ่นโต ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายส่งเสริมความรู้ทางการเงิน ธปท. กล่าวว่า การจัดโครงการ “Fin.ดี We can do!!” Season2  เน้นเจาะกลุ่มเยาวชน อาชีวะทั่วประเทศกว่า 900 แห่ง ทั้งภาครัฐ และเอกชน เพื่อให้นักศึกษามีการพัฒนาทักษะทางการเงินผ่านการปฏิบัติการจริง จึงสนับสนุนในการสร้าง “ผลงานของ คนอาชีวะ” เพื่อให้นักศึกษานำความรู้ทางการการเงินไปประยุกต์ใช้ ทั้งการป้องกัน และแก้ไขปัญหาในสภาพแวดล้อมจริง ของสถานศึกษาหรือชุมชนได้
          

เมื่อถามว่า…ทำไมต้องเป็นเด็กอาชีวะ?เพราะทุกฝ่ายตระหนักดีกว่า กลุ่มนี้ ถือเป็นกลุ่มสำคัญในการพัฒนาประเทศ และเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานดังนั้นการสร้างความรู้ และทักษะทางการเงิน จึงเป็นการวางรากฐานของทักษะทางการเงิน อีกทั้งยังเป็นการวางรากฐานให้กับชีวิต ในระยะข้างหน้าให้เข้มแข็ง เพื่อสนับสนุนให้กลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่จะก้าวสู่วัยแรงงาน อย่างมีคุณภาพต่อไป
          

โครงการนี้จัดขึ้นเป็นครั้งที่สอง ต่อยอด มาจากโครงการแรกที่ธปท.เริ่มทำไปเมื่อ 1-2 ปีก่อน  โครงการเดิมเริ่มกับสถาบันอาชีวะศึกษาเพียง 17 แห่งจากทั่วทุกภูมิภาค และจากโครงการนี้ทำให้เริ่มเห็นพฤติกรรม ด้านการเงินของเยาวชน  นักศึกษา เด็กจบใหม่ มีความรู้ที่ดีขึ้น จึงมีการต่อยอดโครงการนี้ เป็นซีซั่น 2
          

โดยโครงการนี้จะเปิดให้นักศึกษา ที่สนใจ ส่งผลงานเข้ามาสมัครได้ตั้งแต่ 16 พ.ค.-17 มิ.ย.2562 โดยครั้งนี้ ทีมที่ ผ่านเข้ารอบจะได้รับเงินทุนสนับสนุน เพื่อจัดทำผลงานและเงินรางวัลกว่า 1 ล้านบาท

เศรษฐกิจคิดง่ายๆ (ดิจิทัล) “ประเด็นที่น่าห่วงด้านหนี้ครัวเรือน ถ้าเศรษฐกิจชะลอลง” www.posttoday.com วันที่ 29 เมษายน 2562

เศรษฐกิจคิดง่ายๆ (ดิจิทัล) วันที่ 29 เมษายน 2562

“ประเด็นที่น่าห่วงด้านหนี้ครัวเรือน ถ้าเศรษฐกิจชะลอลง”

โดย คุณสุรพล โอภาสเสถียร ผู้จัดการใหญ่ เครดิตบูโร

คลิกอ่านได้ที่ https://www.posttoday.com/finance/money/587584

 

มีข่าวออกมามากมายว่าเศรษฐกิจไทยมีความเสี่ยงเพิ่มมากขึ้นที่จะชะลอตัวลงโดยเอาตัวเลขการเติบโตของ​ GDP​ ในระดับที่เต็มศักยภาพแถวๆ​ 4% มาเป็นเกณฑ์​ โดยมีสาเหตุหลักๆ ที่มีการกล่าวถึงดังนี้

1.การเติบโตของภาคการส่งออก​ มีการเติบโตติดลบจากเดือนก่อนหน้าต่อเนื่อง​บ้างก็ว่ามาจากสงครามการค้า​ บ้างก็ว่าค่าเงินแข่งไม่ได้​ บ้างก็ว่าเป็นปัญหาโครงสร้างที่สิ่งของที่เราผลิตนั้น​ คนซื้อในโลกต้องการน้อยลง

2.การเติบโตของภาคการท่องเที่ยว​ ไม่ดีเท่าที่ผ่านมาในอดีต​ จำนวนนักท่องเที่ยวหลักจากจีนจำนวนอาจไม่มากเท่าที่เราเคยเห็น​ โดยที่บางจุดเราก็เสียโอกาสจากปัญหาหมอกควันในภาคเหนือช่วงฤดูกาลท่องเที่ยวไปอย่างน่าเสียดาย

3.การเปลี่ยนผ่านจากรัฐบาลปัจจุบันไปสู่รัฐบาลหลังเลือกตั้งเกิดประเด็นปัญหาหลายอย่างที่คาดไม่ถึง​ มีความขัดแย้งมากในหลายจุด​ คะแนนเสียงที่ปริ่มน้ำของกลุ่มฝ่ายที่เกาะเกี่ยวกันที่ไม่ชนะกันเด็ดขาด​ จึงเกิดความสั่นไหวว่านโยบายการลงทุนสำคัญจะไม่ต่อเนื่อง​ ดีที่ว่ารัฐบาลชุดปัจจุบันไม่ใช่รัฐบาลรักษาการแต่เป็นรัฐบาลที่มีอำนาจเต็ม​ และมีมาตรา​ 44 อยู่ในมืออีกด้วย​ กระบวนการจัดทำงบประมาณยังคงเดินหน้าต่อไป​โดยเฉพาะเรื่อง​ EEC ในส่วนปัญหาเกียร์ว่างของระบบราชการก็ถูกขันน๊อตจากทีมเศรษฐกิจ​ และเมื่อเห็นระบบเศรษฐกิจมีแนวโน้มว่าจะมีการชะลอลง ก็มีการจัดมาตรการหยอดเงินในจุดที่จะทำให้เกิดการหมุนการใช้จ่าย

หากแต่จุดของหนี้ครัวเรือนไทยในมุมมองทางวิชาการและจากสิ่งที่เปิดเผยออกมาพอจะสรุปได้ดังนี้

1.สินเชื่อบุคคลและบัตรเครดิตถูกคุมเข้มปลายปี​ 2560  สินเชื่อที่อยู่อาศัยถูกวางกติกาเข้มข้นผ่านการส่งสัญญาณปลายปี ​2561​ พอต้นปี​ 2562​ ก็จัดหนักกับสินเชื่อรถแลกเงิน​ จากนั้นต่อมาก็ส่งสัญญาณว่าจะเข้มข้นเรื่องสินเชื่อรถยนต์ มีการพูดถึงการนำเอาอัตราส่วนหนี้ที่ต้องชำระกับรายได้​ หรือ​ Debt service ratio มาเป็นเกณฑ์ในการพิจารณาสินเชื่อ​ แต่ก็ไม่รู้ว่าจะออกมาแบบไหน

2.ครัวเรือนไทยที่มีการสำรวจโดยธนาคารกลางกับสถาบันจัด​ rating สื่อก็พบว่า​ ครัวเรือนที่มีหนี้แต่ไม่มีปัญหานั้นจะมีภาระที่ต้องชำระหนี้กี่บาทต่อเดือนหรือคิดเป็น​ 23% ของรายได้​ หมายถึงว่า​มีรายได้​ 100 บาท​ ต้องเอาไปชำระหนี้​ 23 บาท​ ขณะที่ครัวเรือนไทยที่มีหนี้แต่มีปัญหานั้นจะมีอัตรส่วนดังกล่าว​ 75% คือมีรายได้​ 100 บาทต่อเดือนต้องเอาไปชำระหนี้​ 75 บาท​เหลือ​ 25 บาทเอาไว้กินใช้​ แล้วมันจะพอเหรอ

3.สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย​ อึ้งภากรณ์​ ก็มีรายงานออกมาว่าทุกช่วงวัยคนเป็นลูกหนี้ตั้งแต่​ 20-80 ปีอย่างน้อย​ 20% ของมูลหนี้ที่ตนเองมีนั้นต้องเป็นสินเชื่อส่วนบุคคล  หมายความว่าการผ่อนของได้เข้าไปอยู่ในชีวิตของลูกหนี้ทุกช่วงวัย

4.บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด (เครดิตบูโร) ออกมาระบุว่า​ หนี้ปรับโครงสร้างมีการเพิ่มขึ้นตลอดในช่วงหลายปีที่ผ่านได้กระโดดจาก​ 1.5 แสนล้าน​ ตอนนี้เวลานี้มันมาอยู่ที่มากกว่า​ 8.0 แสนล้าน​ ถ้าเกิดมีอะไรมาสะดุดเช่น ดอกเบี้ยฐาน หรือ​ MRR เพิ่มขึ้นมันจะทำให้มีภาระหนี้เพิ่มทันที​ มันจะไหวหรือไม่

สุดท้ายนะครับหนี้ครัวเรือนเราทะลุ​ 12 ล้านล้าน​ ในนั้นสหกรณ์ออมทรัพย์ปล่อยกู้ไป​ 2.0 ล้านล้าน​ พวกบัตรเครดิต​ เช่าซื้อ​ ลีสซิ่ง​ สินเชื่อบุคคลก็เกิน​ 1 ล้านล้าน​ นี่ยังไม่รวมธนาคารพาณิชย์​ และสถาบันการเงินเฉพาะกิจ​ และกองทุนเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) อีก 3-4 แสนล้าน​ และจากข้อมูลของเครดิตบูโรพบว่าปี ​2561​ มีการยื่นใบสมัครขอสินเชื่อ​ 1.3 ล้านใบต่อเดือน​ ปี 2562​ ไตรมาสแรกโตเป็น​ 1.4 ล้านใบต่อเดือน​ แน่นอนว่าคนที่จะไม่ได้สินเชื่อจะต้องผิดหวังมีจำนวนมากขึ้น

จากตัวเลขและข้อมูลทั้งหมดท่านผู้อ่านรู้สึกเป็นห่วงหรือไม่ ถ้าเกิดเหตุทำให้เศรษฐกิจชะลอลง​ สำหรับผมนะครับไม่ได้แค่เป็นห่วง​ แต่มันเกิดความหนาวในขั้วหัวใจเลยหล่ะครับ​ ประเด็นที่น่าห่วงด้านหนี้ครัวเรือนถ้าเศรษฐกิจชะลอลงก็มีด้วยประการนี้แล

โปรโมชั่นเดือนพฤษภาคม 2562 เมื่อท่านแต่งกายหรือสวมใส่เสื้อผ้าโทนสีเหลือง ลดทันที 50% ค่าตรวจเครดิตบูโร วันที่ 2-5 พฤษภาคม 2562 ณ ศูนย์ตรวจเครดิตบูโร 5 แห่ง

เครดิตบูโรเชิญร่วมกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช ๒๕๖๒

เมื่อท่านแต่งกายหรือสวมใส่เสื้อผ้าโทนสีเหลือง ลดทันที 50% ค่าตรวจเครดิตบูโร วันที่ 2-5 พฤษภาคม 2562 ณ ศูนย์ตรวจเครดิตบูโร 5 แห่ง

ศูนย์ตรวจเครดิตบูโรที่ร่วมรายการ และเวลาที่ให้บริการ
•ธนาคารอาคารสงเคราะห์ สำนักงานใหญ่ อาคาร 2 ชั้น 2 วันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 9.00 น. – 16.30 น.
•ศูนย์ตรวจเครดิตบูโร อาคารเพิร์ล แบงก์ค็อก ชั้น 3 วันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 9.00 น. – 18.00 น.
•สถานีรถไฟฟ้า BTS ศาลาแดง (ภายในสถานี) วันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 9.00 น. – 18.00 น.
•สถานีรถไฟฟ้า BTS อนุสาวรีย์ชัยฯ (ภายในสถานี) วันจันทร์ – อาทิตย์ เวลา 9.00 น. – 18.00 น.
•ห้างเจ-เวนิว (นวนคร) ชั้น 3 ติดประกันสังคม ทุกวันเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์ เวลา 9.00 น. – 18.00 น.

หมายเหตุ
1. โปรโมชั่น เฉพาะศูนย์ตรวจเครดิตบูโร 5 แห่ง
2. เฉพาะรายการลูกค้าบุคคลธรรมดา ยื่นขอตรวจของตนเองเท่านั้น (ไม่รับกรณีมอบอำนาจ)

หยุดให้บริการตรวจเครดิตบูโร (ชั่วคราว) ประจำเดือนพฤษภาคม 2562 : วันที่ 1 พฤษภาคม 2562 วันที่ 6 พฤษภาคม 2562 และ วันที่ 20 พฤษภาคม 2562 : ขออภัยในความไม่สะดวกค่ะ ::

หยุดให้บริการตรวจเครดิตบูโร (ชั่วคราว) ประจำเดือนพฤษภาคม 2562

วันที่ 1 พฤษภาคม 2562 วันที่ 6 พฤษภาคม 2562 และ วันที่ 20 พฤษภาคม 2562

ขออภัยในความไม่สะดวกค่ะ ::

ข่าวเครดิตบูโร 004/2562 : เครดิตบูโรร่วมให้ความรู้สถานการณ์หนี้ครัวเรือน ในการประชุมคณะอนุกรรมาธิการด้านการเงินฯ

ข่าวเครดิตบูโร 004/2562

เครดิตบูโรร่วมให้ความรู้สถานการณ์หนี้ครัวเรือน ในการประชุมคณะอนุกรรมาธิการด้านการเงินฯ

26 เมษายน 2562 : ดร.วรพล โสคติยานุรักษ์ (ที่ห้าจากซ้าย) ประธานคณะอนุกรรมาธิการด้านการเงิน การธนาคาร สถาบันการเงินและตลาดทุน ในคณะกรรมาธิการการเศรษฐกิจ การเงินการคลัง สภานิติบัญญัติแห่งชาติ จัดการประชุมเรื่อง “สถานการณ์หนี้ครัวเรือนและผลกระทบต่อเสถียรภาพการเงิน” พร้อมด้วยนางสาวปรียานุช จึงประเสริฐ (ที่สองจากขวา) ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายนโยบายการกำกับสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย และคณะอนุกรรมาธิการด้านการเงินฯ โดยมี นายสุรพล โอภาสเสถียร (ที่ห้าจากขวา) ผู้จัดการใหญ่ บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด (เครดิตบูโร) ให้การต้อนรับและบรรยายในหัวข้อดังกล่าว ณ สำนักงานเครดิตบูโร เมื่อเร็วๆ นี้

เศรษฐกิจคิดง่ายๆ (ดิจิทัล) : “เมื่ออยากกู้วันนี้ แต่สิ่งที่เราทำไว้ในอดีตจะตามมาให้แก้ไข” : www.posttoday.com วันจันทร์ที่ 22 เมษายน 2562

เศรษฐกิจคิดง่ายๆ (ดิจิทัล)

เมื่ออยากกู้วันนี้​ แต่สิ่งที่เราทำไว้ในอดีตจะตามมาให้แก้ไข

โดย คุณสุรพล โอภาสเสถียร ผู้จัดการใหญ่ เครดิตบูโร

คลิกอ่านได้ที่ https://www.posttoday.com/finance/money/586881

“เนื่องจากเราชำระหมดกับเจ้าหนี้ที่รับซื้อหนี้ของเราจากธนาคารแล้ว แต่สถานะเราในรายงานเครดิตบูโรยังเป็น​ 42 อยู่ อยากจะทำการแก้ไขสถานะเป็นปิดบัญชีได้ไหม โดยการส่งแฟ็กซ์ เอกสารไปทำการแก้ไขได้ไหม​
ตอนนี้เราอยากจะกู้ซื้อบ้าน​เรารู้ตัวแล้วว่า​ สิ่งที่เราทำไปในอดีตในการไม่ชำระหนี้มันเป็นอย่างไร เราอยากได้โอกาสแก้ตัว​ ช่วยบอกเราหน่อยว่าต้องทำอย่างไร” ข้อความลักษณะนี้ได้หลั่งไหลเข้ามาที่แผนกรับเรื่องการ
ให้บริการลูกค้าของเครดิตบูโรเป็นจำนวนมาก​ ในช่วงที่ทางการมีโครงการช่วยเหลือผู้คนให้ได้สินเชื่อบ้าน​ ขณะเดียวกันในช่วงไตรมาสที่สี่ของปีที่แล้ว (2561) ต่อเนื่องมาจนถึงไตรมาสที่หนึ่งของปีนี้ (2562) ก็เป็นไปอย่างต่อเนื่องเหตุ

เพราะมาตรการควบคุมสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ (LTV) ผ่านการกำหนด​ของธนาคารแห่งประเทศไทยกำลังจะเริ่มต้นในเดือนเมษายน​ 2562​ ผมจึงอยากใช้โอกาสนี้อธิบายและทำความเข้าใจดังนี้ครับ

1. สถานะ 42 คือ การโอนขายหนี้ให้กับนิติบุคคลผู้รับโอนหนี้ พิจารณาได้ 2 แบบ แบบที่1 จ่ายชำระปกติ ไม่ค้างชำระ แบบที่ 2 ค้างชำระ หรือ NPLหมายถึงการที่ตัวเจ้าของข้อมูลที่เป็นลูกหนี้​ ไม่ได้ชำระหนี้ในบัญชีสินเชื่อ​ แน่นอนว่าต้องเป็นการค้างชำระที่ต่อเนื่อง​ ยาวนานพอควร​ และเป็นบัญชีหนี้เสีย (NPL​ Account)​ เรียกได้ว่าเจ้าหนี้ตามจนอ่อนอกอ่อนใจ เช่น​ ค้างชำระเกิน​ 180 วัน​ ค้างชะระเกิน​ 300 วัน​ ไม่ว่าด้วยเหตุผลใดก็ตาม​ เมื่อไม่ชำระหนี้​ สัญญาไม่เป็นสัญญา​ ผลตามมาคือการเสียความน่าเชื่อถือในเรื่องวินัยทางการเงินและเสียความน่าเชื่อถือหากจะพยายามก่อหนี้ใหม่อีกครั้ง​ นานๆ เข้าเจ้าหนี้สถาบันการเงินดังกล่าวก็ขายบัญชีลูกหนี้นั้นออกไปให้กับนิติบุคคลที่รับซื้อหนี้มาบริหารต่อไม่ว่าจะเป็นการตามหนี้​ การฟ้องให้ชำระหนี้​ เพราะเมื่อเขาซื้อสิทธิเรียกร้องมาแล้วเขาก็ต้องหาตัวลูกหนี้ให้เจอ​ เจรจาให้

2.ทีนี้พอจะไปยื่นขอกู้ที่ใหม่โดยยังไม่ได้ตามไปชำระเจ้าหนี้คนใหม่ที่ซื้อหนี้ของเรามันก็เป็นปัญหาสิว่า​ เราเป็นคนอย่างไร​ คนที่กำลังพิจารณาคำขอของเราก็คิดในทางลบไว้ก่อนว่า​ ถ้าสถานะยังเป็น​ 42 ก็ต้องถือว่าเป็นหนี้ค้าง​
เป็นหนี้เสีย​ และยังไม่มีการชำระหนี้​ เขาคงทำใจลำบากที่จะอนุมัติเงินกู้ใหม่ที่เรากำลังยื่นขอในเวลานี้

3.ทางแก้คือต้องไปชำระหนี้กับเจ้าหนี้คนใหม่ที่ซื้อหนี้ของตัวเราจากธนาคารหรือเจ้าหนี้คนเก่า​ แล้วเอาเอกสารยืนยันการชำระหนี้ที่เรียกภาษาชาวบ้านว่า​ “ใบปิดหนี้” มาแสดงกับสถาบันการเงินคนที่เรากำลังยื่นขอกู้ในปัจจุบัน​
เพื่อยืนยันว่า​ ฉันได้ชำระหนี้ที่ค้างไว้นานแล้วนะ​ ฉันชำระไปเมื่อไหร่​ นานแล้วหรือยัง​ และชำระไปด้วยจำนวนเท่าใด​ คนที่กำลังพิจารณาคำขอของเราจะเชื่อไม่เชื่อ​ เราก็บังคับเขาไม่ได้

4.จากนั้นท่านควรติดต่อเครดิตบูโรครับ​ ติดต่อทำไม​ ติดต่อเพื่อขอปรับสถานะจาก​ 42​ ไปเป็​น​ 43 สำหรับบัญชีนั้น​ เพื่อเป็นการบ่งบอกชัดๆ ในระบบว่า​ บัญชีที่เราค้างชำระ​ ไม่จ่ายหนี้​ ถูกขายออกไป​ เราได้ตามไปชำระหนี้จนหมดสิ้นแล้ว​ ไม่มีหนี้ต่อกันแล้ว​ จริงแท้แล้วคือการเอาเงินไปปิดยอดหนี้​ ปิดบัญชีเจ้าปัญหากับเจ้าหนี้คนที่รับซื้อหนี้ไปนั่นเอง​ เวลาที่คนพิจารณาสินเชื่อเข้ามาดูข้อมูลในระบบก็จะเชื่อถือได้ว่า​ ตัวเราได้ชำระหนี้ที่เป็นประเด็นปัญหาหมดไปแล้ว

5.เมื่อเครดิตบูโรได้รับคำขอและเอกสารที่ ถูกต้อง ครบถ้วนแล้ว บริษัทจะดำเนินการประสานงานตรวจสอบกับสถาบันการเงิน คนที่ขายหนี้ว่าขายจริง​ คนที่รับชำระหนี้ว่าได้รับชำระจริง
และเมื่อได้รับคำชี้แจงจากสถาบันการเงินแล้ว บริษัทจะแจ้งผลให้เราได้ทราบ (ทางไปรษณีย์ลงทะเบียน) ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับคำขอของเราตามที่กฎหมายกำหนด

6.เอกสารที่ต้องการกรณีที่ตัวเรามีความประสงค์ ยื่นคำขอแก้ไขรหัสสถานะบัญชี (เนื่องจากได้ชำระหนี้ให้แก่นิติบุุคคลผู้รับโอนหนี้เสร็จสิ้นแล้ว)
เครดิตบูโรขอสงวนสิทธิ์ในการรับเรื่อง โดยจะรับเป็นเอกสารต้นฉบับเท่นั้น ทั้งนี้ตัวเราสามารถยื่นคำขอแก้ไขรหัสสถานะบัญชี พร้อมเอกสารที่เกี่ยวข้องด้วยตนเอง หรือ จัดส่งเอกสารมาทางไปรษณีย์ลงทะเบียนซึ่งเอกสารประกอบด้วย
1. แบบคำขอแก้ไขรหัสสถานะบัญชี กรอกรายละเอียดให้ครบถ้วน  สามารถ​ Download จาก​ www.ncb.co.th
2. สำเนาบัตรประชาชน ลงลายมือชื่อรับรองสำเนาถูกต้อง
3. สำเนาหนังสือยืนยันการชำระหนี้ปิดบัญชี ลงลายมือชื่อรับรองสำเนาถูกต้อง
4. สำเนาใบเปลี่ยน ชื่อ-นามสกุล ในกรณีที่มีการเปลี่ยน ชื่อ-นามสกุล ลงลายมือชื่อรับรองสำเนาถูกต้อง

จ่าหน้าถึง บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด
ส่วนรับเรื่องร้องเรียน เลขที่ 63 ชั้น 2 อาคาร 2
ธนาคารอาคารสงเคราะห์ สำนักงานใหญ่ ถ.พระราม 9
เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10310 นะครับ​

เมื่ออยากกู้วันนี้​ แต่สิ่งที่เราทำไว้ในอดีตจะตามมาให้แก้ไขครับ​ เป็นหนี้ต้องใช้หนี้​ สัญญาต้องเป็นสัญญาครับ

ยอดปรับโครงสร้างพุ่ง-ไหลกลับเป็น’เอ็นพีแอล’40% ‘ไอเอ็มเอฟ’ห่วงหนี้ครัวเรือน นสพ.กรุงเทพธุรกิจ : วันที่ 17 เมษายน 2562

ยอดปรับโครงสร้างพุ่ง-ไหลกลับเป็น’เอ็นพีแอล’40% ‘ไอเอ็มเอฟ’ห่วงหนี้ครัวเรือน

นสพ.กรุงเทพธุรกิจ : วันที่ 17 เมษายน 2562

เครดิตบูโร“ชี้เจนวายเจนเอ็กซ์ แชมป์เบี้ยวหนี้
กรุงเทพธุรกิจ “เครดิตบูโร“เผย “ไอเอ็มเอฟ” ห่วงหนี้ครัวเรือนไทยพุ่ง หลังพบยอดปรับโครงสร้างหนี้โตต่อเนื่อง ทั้งยัง ไหลกลับเป็นหนี้เสียราว 40% สะท้อนคุณภาพหนี้เปราะบาง  ชี้กลุ่ม”เจนวาย-เอ็กซ์” ครองแชมป์เบี้ยวหนี้สูง พบสินเชื่อรถยนต์ สินเชื่อบุคคลแย่ลงต่อเนื่อง ดันหนี้ครัวเรือน โตกระฉูด หนี้ครัวเรือนที่กลับมาเร่งตัวขึ้น โดยล่าสุด ณ  สิ้นปี 2561 มียอดคงค้างอยู่ที่ 12.82 ล้านล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 78.6% ของตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ(จีดีพี) ขณะที่คุณภาพหนี้เริ่มลดลง ส่งผลให้สถาบันการเงินและผู้ให้บริการทางการเงินต่างๆ เรียกดูข้อมูลเครดิตของลูกค้าทั้งจากลูกค้าเก่าและลูกค้าใหม่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง

โดยไตรมาสแรกปี 2562 พบว่า มียอด ขอตรวจข้อมูลเครดิตลูกค้าใหม่จาก บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด หรือ “เครดิตบูโร” เพิ่มขึ้นแตะระดับ 4.36 ล้านครั้ง เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงที่ผ่านมา ขณะที่ ในปี 2561 มียอดขอดูข้อมูลเครดิต ลูกค้าใหม่รวม 16 ล้านครั้ง เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าที่อยู่ระดับ 14.29 ล้านครั้ง ขณะที่ยอดตรวจข้อมูลลูกค้าเก่าในปี 2561 เพิ่มขึ้นก้าวกระโดดมาอยู่ที่ 53.97 ล้านครั้ง จากปีก่อนหน้าที่ 43.85 ล้านครั้ง ส่วนไตรมาสแรกปีนี้ มียอดขอดูข้อมูลรวม 12.59 ล้านครั้ง สะท้อนว่า ผู้ปล่อยสินเชื่อมีความกังวลในการปล่อย สินเชื่อ และไม่มั่นใจในคุณภาพหนี้ จึงขอดูข้อมูลประวัติลูกค้าเก่าถี่ขึ้น

นายสุรพล โอภาสเสถียร ผู้จัดการใหญ่ เครดิตบูโร กล่าวว่า ช่วงที่ผ่านมา กองทุนการเงินระหว่างประเทศ(ไอเอ็มเอฟ) เริ่มสอบถามข้อมูลคุณภาพหนี้ครัวเรือนมากขึ้น ทั้งสินเชื่อบุคคล รถยนต์ บ้าน และบัตรเครดิต โดยเฉพาะข้อมูลหนี้ที่อยู่ระหว่างการปรับโครงสร้างหนี้ซึ่งพบว่าเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ทั้งจำนวนลูกค้าและวงเงินหนี้  ล่าสุดหนี้ที่อยู่ระหว่างการปรับโครงสร้าง เพิ่มขึ้นมาอยู่ราว 8.1-8.2 แสนล้านบาท เทียบกับช่วงปลายปีที่ผ่านมา ซึ่งอยู่ระดับ 8 แสนล้านบาท การเพิ่มขึ้นดังกล่าว สะท้อนความเปราะบางที่มากขึ้นของคุณภาพหนี้ และหากดูสถิติจะพบว่าหนี้กลุ่มนี้หลังการปรับโครงสร้าง ยังคงไหลกลับมาเป็นหนี้เสียราว 40%  “หนี้ที่อยู่ระหว่างปรับโครงสร้างหนี้ ยังไหลไม่หยุดเป็นสิ่งที่ไอเอ็มเอฟถามเยอะและให้ความสนใจมาก ส่วนใหญ่หนี้ที่เข้าสู่การปรับโครงสร้างเป็นหนี้บ้าน และสินเชื่อส่วนบุคคลเหล่านี้เป็นการสะสมความเสี่ยง เพิ่มขึ้น หากดอกเบี้ยขยับกลุ่มนี้แย่แน่นอนซึ่งข้อเป็นห่วงของไอเอ็มเอฟนี้ ทางเราได้รายงานให้ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)รับทราบแล้ว”

ทั้งนี้ ไอเอ็มเอฟเข้ามาตรวจเครดิตบูโร เมื่อวันที่ 1 พ.ย.2561 และเข้ามาอีกครั้ง 8 ก.พ.2562 และเครดิตบูโรแจ้งข้อเป็นห่วง ของทางไอเอ็มเอฟไปยังธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) เมื่อเดือนมี.ค.ที่ผ่านมา สำหรับเอ็นพีแอลรวมของทั้งระบบ ยังอยู่ในระดับสูงที่ 6.9% หรือคิดเป็นมูลค่าเอ็นพีแอลเกือบ 8 แสนล้านบาท และหากดูช่วงอายุของคนเป็นหนี้พบว่า ช่วงอายุเฉลี่ย 30 ปี มีสัดส่วนการเป็นเอ็นพีแอล เท่ากับ 21.3% แต่หากคิดจำนวนหัว พบว่า อายุ 35ปีเป็นกลุ่มที่มีหนี้เอ็นพีแอลมากที่สุด

ทั้งนี้หากดูหนี้แต่ละประเภท สินเชื่อ บ้าน ยอดปล่อยกู้ปีก่อน อยู่ที่ 4.3 แสนบัญชี เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าที่อยู่ราว 3.6 แสนบัญชี โดยส่วนใหญ่กลุ่มเจนวาย (อายุ 22-39ปี) เป็นกลุ่มที่ได้สินเชื่อมากที่สุดถึง 58% พบว่าหนี้ค้างชำระตั้งแต่ 30วันขึ้นไป ปรับ เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยรวมทั้ง 3 กลุ่ม เจนวาย เจนเอ็กซ์ และเบบี้บูมเมอร์ มียอดค้างชำระถึง 2.2แสนบัญชี หรือคิดเป็นมูลค่าหนี้ อยู่ที่ราว 2.4แสนล้านบาท หากเทียบกับปีก่อนที่มีมูลค่าหนี้ค้างชำระเพียง 2.2แสนล้านบาท โดยหนี้ค้างชำระมากที่สุดในกลุ่มเจนวาย และเจนเอ็กซ์ ส่วนหนี้ค้างชำระในกลุ่มสินเชื่อรถยนต์ พบว่ายอดค้างชำระทุกกลุ่ม อยู่ที่ใกล้ 1 ล้านบัญชี โดยอยู่ในกลุ่มเจนวายและเจนเอ็กซ์ราว 8.5 แสนคันที่เป็นหนี้มีปัญหา หรือคิดเป็นมูลหนี้ค้างชำระ ทุกกลุ่มที่อยู่ราว 2.6 แสนล้านบาท โดยหนี้ค้างชำระมากที่สุดอยู่ที่เจนวาย เกือบ 1.3 แสนล้านบาท

ขณะที่เครดิตการ์ด พบว่ากลยุทธ์แบงก์มุ่งไปเจาะกลุ่มเริ่มทำงานใหม่ 1-2ปีมากขึ้น โดยยอดการอนุมัติสินเชื่ออยู่ในกลุ่มเจนวายเกือบ 60% จากยอดอนุมัติบัตรทั้งสิ้น 2.4 ล้านบัญชีปีก่อน ซึ่งเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากปีก่อนหน้าที่มียอดอนุมัติ1.7 ล้านบัญชี ซึ่งหากดูบัตรเครดิตรวมทั้งหมดพบว่าปัจจุบันอยู่ที่ราว 20 ล้านใบ แต่มียอดแอคทีฟอยู่จริงเพียง 14 ล้านใบ ซึ่งในนี้มีจำนวนบัญชีที่มีปัญหาหรือค้างชำระถึง 1ล้านใบ ส่วนใหญ่มาจากกลุ่มเจนวาย และเจนเอ็กซ์
สุดท้ายคือ สินเชื่อบุคคล ที่พบว่า มียอดค้างชำระตั้งแต่ 30วันเพิ่มขึ้น ต่อเนื่อง ซึ่งหนี้ที่มีปัญหารวมทุกกลุ่มแล้วอยู่ที่ 2.8 ล้านบัญชี โดยมากที่สุดอยู่ในกลุ่มเจนวาย ที่มีบัญชีที่ค้างชำระกว่า 1.5 ล้านบัญชี ขณะที่คิดเป็น วงเงินพบอยู่ที่กว่า 2.6 แสนล้านบาท โดยมากที่สุดอยู่ในกลุ่มเจนเอ็กซ์ กว่า 1.2แสนล้านบาท และเจนวาย อีก 9 หมื่นล้านบาท

เรื่องน่าอ่าน