Blog Page 160

ตรวจเครดิตบูโร ฟรี! วันที่ 29 มิย.61 งาน”สัมมนาคุ้มครองเงินฝากฯ” โรงแรมริมปาว จ.กาฬสินธุ์

ตรวจเครดิตบูโร ฟรี!

งาน “สร้างความรู้ความเข้าใจเรื่องการคุ้มครองเงินฝากและการคุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงินให้กับประชาชน ภาคธุรกิจ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น” จ.กาฬสินธุ์

วันศุกร์ที่ 29 มิถุนายน 2561 เวลา 8.15 – 13.00 น.
โรงแรมริมปาว จ.กาฬสินธุ์

ฟรี!!…บริการตรวจเครดิตบูโร แต่ขอรับเป็นเงินบริจาคแทน พร้อมเปิดคลินิกเครดิตบูโรให้คำปรึกษา

เครดิตบูโร ขอร่วมเป็นกำลังใจให้น้องๆ ทีมหมูป่า 13 คน และทีมช่วยเหลือทุกคนปลอดภัยนะคะ #ถ้ำหลวง

เครดิตบูโร ขอร่วมเป็นกำลังใจให้น้องๆ ทีมหมูป่า 13 คน และทีมช่วยเหลือทุกคนปลอดภัยนะคะ #ถ้ำหลวง

โปรโมชั่นเดือนมิถุนายน61 : ชําระค่าบริการตรวจเครดิตบูโร ผ่าน QR Code รับกระปุกออมเงิน…ฟรี (มีจำนวนจำกัด) วันที่ 29 มิถุนายน 2561 ณ ศูนย์ตรวจเครดิตบูโร 5 แห่ง

ชําระค่าบริการตรวจเครดิตบูโร  (Bureau Easy Pay)ผ่าน QR Code … รับกระปุกออมเงิน…ฟรี (มีจำนวนจำกัด) วันที่ 29 มิถุนายน 2561 ณ ศูนย์ตรวจเครดิตบูโร 5 แห่ง 

 

 

*หมายเหตุ

  • กระปุกออมเงินมีจำนวนจำกัด แจกให้สำหรับท่านที่ตรวจเครดิตบูโรเท่านั้น (1 ท่านต่อกระปุกออมเงิน 1 ชิ้น)
  • โปรโมชั่น เฉพาะศูนย์ตรวจเครดิตบูโร 5 แห่ง
  • เฉพาะรายการลูกค้าบุคคลธรรมดา ยื่นขอตรวจของตนเองเท่านั้น (ไม่รับกรณีมอบอำนาจ)

ศูนย์ตรวจเครดิตบูโร 5 แห่ง

  1. ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) อาคาร 2 ชั้น 2 ทุกวันจันทร์ – ศุกร์ 9.00-16.30 น. หยุดวันนักขัตฤกษ์
  2. ปากซอยสุขุมวิท 25 อาคารกลาสเฮ้าส์ (ชั้นใต้ดิน) ทุกวันจันทร์ – ศุกร์ 9.00-16.30 น. หยุดวันนักขัตฤกษ์
  3. อาคารเพิร์ล แบงก์ค็อก ชั้น 3 (โซนธนาคาร) ทุกวันจันทร์ – ศุกร์ 9.00-18.00 น. หยุดวันนักขัตฤกษ์
  4. สถานีรถไฟฟ้า BTS ศาลาแดง (ภายในสถานี) ทุกวันจันทร์ – อาทิตย์ 9.00-18.00 น.
  5. ห้างเจ-เวนิว (นวนคร) ชั้น 3 ติดประกันสังคม ทุกวันจันทร์ – อาทิตย์ 9.00-18.00 น.

 

  • ใช้บัตรประชาชนของตนเอง
  • รอรับผลได้ภายใน15 นาที
  • พิเศษสุด ตลอดปี 2561 เมื่อชำระค่าตรวจเครดิตบูโร ผ่าน QR Code  รับส่วนลดทันที 10 บาท เหลือเพียง 90 บาท (จากปกติ 100 บาท) เฉพาะรายการลูกค้าบุคคลธรรมดา ยื่นขอตรวจของตนเองเท่านั้น 

เครดิตสกอริ่ง คืออะไร

Image of business objects with businessman hand signing contract near by

บริการตรวจเครดิตสกอริ่ง (คะแนนเครดิต)

 

วิธีการอ่านเครดิตสกอริ่ง

ตรวจเครดิตสกอริ่งได้ที่ไหน

ข่าวเครดิตบูโร 002/2561 : ชำระค่าตรวจเครดิตบูโร Bureau Easy Pay ผ่าน QR CODE รับยุคดิจิทัล

ข่าวเครดิตบูโร 002/2561       

ชำระค่าตรวจเครดิตบูโร Bureau Easy Pay ผ่าน QR CODE รับยุคดิจิทัล

27 มิถุนายน 2561 :  เครดิตบูโร ขานรับนโยบาย QR Payment เพิ่มการให้บริการชำระค่าตรวจเครดิตบูโร Bureau Easy Pay ผ่าน QR Code ณ ศูนย์ตรวจเครดิตบูโรทุกแห่ง พร้อมรับส่วนลด 10 บาท ตลอดปี 2561 ตอบโจทย์การชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ในสังคมไร้เงินสด สะดวก รวดเร็วให้ลูกค้ายุคดิจิทัล

 นายสุรพล โอภาสเสถียร ผู้จัดการใหญ่  บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด (เครดิตบูโร)  กล่าวว่า ” เครดิตบูโรตระหนักและให้ความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาเทคโนโลยีด้านระบบการชำระเงิน เพื่อร่วมขับเคลื่อนประเทศไทยตามนโยบาย Thailand 4.0  ในครั้งนี้เครดิตบูโรได้เพิ่มการให้บริการชำระค่าตรวจเครดิตบูโร Bureau Easy Pay ผ่าน QR Code  ถือเป็นการตอบสนองรูปแบบพฤติกรรมและความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปสู่สังคมไร้เงินสด  และเพื่ออำนวยความสะดวกผู้บริโภคในปัจจุบันที่ต้องการความสะดวก รวดเร็วในชีวิตประจำวัน ที่นิยมใช้โทรศัพท์มือถือแบบสมาร์ทโฟนในการทำธุรกรรมทางการเงินที่เพิ่มมากขึ้น”

ในปัจจุบันการชำระเงินผ่าน QR Code มีความปลอดภัยตามมาตรฐานสากลและมีการอัพเดทระบบอยู่อย่างสม่ำเสมอ โดยขั้นตอนการชำระค่าตรวจเครดิตบูโรนั้น จะเริ่มจากผู้ใช้ต้องเปิดสัญญาณอินเทอร์เน็ตก่อน แล้วเปิด Application ของธนาคารที่ท่านมีบัญชีอยู่  ให้สแกน QR Code ของเครดิตบูโรที่โชว์อยู่บริเวณเคาน์เตอร์ จะปรากฏชื่อ “National Credit Bureau” ให้ระบุจำนวนเงิน และกดยืนยัน หลังจากนั้นระบบธนาคารจะส่งการแจ้งเตือน หรือ SMS เพื่อเป็นหลักฐานยืนยันการชำระเงิน จึงมั่นใจว่าปลอดภัยแน่นอน  สำหรับข้อแนะนำข้อระวังนั้น ผู้ใช้บริการควรตรวจสอบข้อมูลให้ถูกต้องก่อนการยืนยันจ่ายเงินทุกครั้ง เช่น ชื่อผู้รับต้องตรงกับชื่อที่ระบุไว้ที่ QR Code และจำนวนเงินถูกต้อง

ทั้งนี้ การชำระค่าตรวจเครดิตบูโรผ่าน QR Code ดังกล่าว เริ่มให้บริการแล้วตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ได้ที่ศูนย์ตรวจเครดิตบูโรทุกแห่ง ได้แก่

1) ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) อาคาร 2 ชั้น 2 ทุกวันจันทร์ -ศุกร์ 9.00-16.30 น.

2) อาคารกลาสเฮ้าส์ (ชั้นใต้ดิน) ปากซอยสุขุมวิท 25 ทุกวันจันทร์-ศุกร์ 9.00-16.30 น.

3) อาคารเพิร์ล แบงก์ค็อก ชั้น 3 (โซนธนาคาร) ทุกวันจันทร์-ศุกร์ 9.00-18.00 น.  

4) สถานีรถไฟฟ้า BTS ศาลาแดง (ภายในสถานี) ทุกวันจันทร์-อาทิตย์ 9.00-18.00 น.

5) ห้างเจ-เวนิว (นวนคร) ชั้น 3 ติดประกันสังคม ทุกวันจันทร์-อาทิตย์ 9.00-18.00 น.

โดยยื่นตรวจเครดิตบูโรพร้อมบัตรประชาชนของตนเอง และสามารถรอรับผลได้ทันที

พิเศษสุด ตลอดปี 2561 เมื่อชำระค่าตรวจเครดิตบูโร Bureau Easy Pay ผ่าน QR Code  รับส่วนลดทันที 10 บาท เหลือเพียง 90 บาท (จากปกติ 100 บาท) เฉพาะลูกค้าบุคคลธรรมดาที่มายื่นตรวจด้วยตนเองเท่านั้น  หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Call Center 0-2643-1250 ในวันและเวลาทำการ

(ภาพข่าว)  บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด (เครดิตบูโร) เพิ่มทางเลือกการชำระค่าตรวจเครดิตบูโร Bureau Easy Pay ผ่าน QR Code รับยุคดิจิทัล ณ ศูนย์ตรวจเครดิตบูโรทุกแห่ง  พิเศษสุดตลอดปี 2561 รับส่วนลดทันที 10 บาท เหลือเพียง 90 บาท (จากปกติ 100 บาท) เฉพาะรายการลูกค้าบุคคลธรรมดายื่นขอตรวจของตนเองเท่านั้น  โดยยื่นตรวจเครดิตบูโรพร้อมบัตรประชาชนของตนเอง และสามารถรอรับผลได้ทันที

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมกรุณาติดต่อ

บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด (เครดิตบูโร) ฝ่ายธุรกิจสัมพันธ์และภาพลักษณ์องค์กร 02 095 5867

E-mail: ilovebureau@ncb.co.th / website: www.ncb.co.th / facebook: www.facebook.com/ilovebureau

ไม่ใช่แค่จด! ทำบัญชีรายรับ–รายจ่ายอย่างไรให้ได้ผล ปลอดหนี้ มีเงินออมได้จริง

ไม่ใช่แค่จด! ทำบัญชีรายรับ–รายจ่ายอย่างไรให้ได้ผล ปลอดหนี้ มีเงินออมได้จริง

เห็นใคร ๆ ก็บอก ว่าถ้าอยากปลดหนี้ มีเงินเก็บ ให้ทำ “บัญชีรายรับรายจ่าย” ซึ่งก็นับเป็นการเริ่มต้นที่ดี แต่รู้หรือไม่ว่าการจะทำบัญชีให้ได้ผลจริงอย่างว่า ต้องไม่ใช่แค่การจดรายรับกับรายจ่ายลงสมุดไปวัน ๆ เท่านั้นนะ! มาดูกันว่าเราจะทำบัญชีรายรับรายจ่ายยังไงให้ได้ผลเกินคาด ประสิทธิภาพเกินขั้น

• จดบันทึกตามความจริง
ฟังดูเป็นเรื่องพื้นฐานเอามาก ๆ จนหลายคนอาจคิดว่า “ก็ต้องจดตามจริงอยู่แล้วสิ ไม่เห็นต้องบอกเลย” แต่ในความจริงแล้ว บางคนอาจละเลยที่จะบันทึกรายการเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่มูลค่าไม่กี่สิบหรือไม่กี่ร้อย เพราะเห็นว่าไม่สำคัญ บางครั้งก็จดแค่ตัวเลขกลม ๆ คร่าว ๆ เพราะเห็นแก่ความสะดวก หรือบางครั้งก็แอบเนียนจงใจลืมจดบางรายการลงไปซะอย่างนั้น เพราะกลัวจะเห็นตัวเลขแดงโร่ตอนสิ้นเดือน แบบนี้ไม่ดีแน่ ทางที่ดีควรลงบัญชีให้ครบถ้วนและถูกต้องที่สุดเท่าที่จะทำได้ ไม่อย่างนั้นการทำบัญชีจะมีความหมายอะไรล่ะ

• ใช้สมุดเล่มเล็ก หรือแอปพลิเคชั่นมือถือ
อุปสรรคข้อใหญ่ในการทำบัญชีรายรับรายจ่ายให้ได้ผล ก็คือความขี้หลงขี้ลืมของเราเองนี่แหละ พอกลับมาถึงบ้านก็ลืมหมดว่าทั้งวันใช้จ่ายอะไรไปบ้าง จำนวนเท่าไร ลงบัญชีผิด ๆ ถูก ๆ ลองเปลี่ยนจากสมุดบัญชีเล่มใหญ่ มาเป็นจดลงสมุดเล่มเล็กที่พกติดตัวได้ หรือดาวน์โหลดแอปพลิเคชั่นบัญชีรายรับรายจ่ายมาใช้แทนการจดด้วยมือ แล้วก็ลงบัญชีทันทีทุกครั้งที่จ่ายหรือรับเงิน แค่นี้ก็หมดปัญหาเรื่องหลงลืมแล้ว

• แยก “เงินกู้ยืม” ออกจากรายได้
โดยทั่วไปเรามักจะแยกบัญชีเป็น 2 ส่วนใหญ่ ๆ คือ “รายรับ” กับ “รายจ่าย” เท่านั้น แล้วถ้าเป็นเงินที่ได้มาจากการหยิบลืมล่ะ จะใส่ไว้ตรงไหนดี? บางคนอาจใส่จำนวนนี้ไว้ในรายรับ ซึ่งไม่ถูกต้อง เพราะอาจทำให้เราใช้จ่ายเพลินจนเผลอลืมไปว่าเงินส่วนนี้จะต้องจ่ายคืนในอนาคต รู้ตัวอีกทีก็ไม่มีเงินจ่ายหนี้ซะแล้ว ดังนั้นทางที่ดีควรแบ่งบัญชีออกเป็น 3 ส่วน คือ รายรับ รายจ่าย และหนี้สิน แล้วอย่าลืมระบุลงไปให้ชัดด้วยว่าเป็นหนี้สินที่กู้ยืมมาเพื่อใช้จ่ายอะไร ดอกเบี้ยเท่าไร และกำหนดจ่ายคืนตอนไหน

• แยกหมวดระหว่าง “รายจ่ายจำเป็น” และ “รายจ่ายไม่จำเป็น”
ต่อจากข้อที่แล้ว นอกจากจะแยกบัญชีออกเป็น 3 ส่วนแล้ว ถ้าจะให้ดีขึ้นไปอีก ควรแยกหมวดรายจ่ายออกเป็น “รายจ่ายจำเป็น” เช่น ค่าอาหาร ค่าเดินทางไปทำงาน ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ ค่าเทอมลูก ฯลฯ และ “รายจ่ายไม่จำเป็น” เช่น ค่าของขวัญปีใหม่ ค่าเสื้อผ้าแบรนด์เนม ค่าตั๋วหนัง ฯลฯ แบบนี้สุดท้ายเราจะได้รู้ว่าเงินที่จ่ายออกไปนั้น เป็นของไม่จำเป็นมากน้อยแค่ไหน และอะไรที่ควรตัดออกบ้าง

• หมั่นวิเคราะห์พฤติกรรมใช้จ่ายของตัวเองเสมอ
การทำบัญชีรายรับรายจ่ายเป็นการเริ่มต้นที่ดี แต่ถ้าจะให้ดีสุด ๆ ก็ควรเอาสิ่งที่เราจดเอาไว้มาปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้จ่ายของตัวเองควบคู่ไปด้วย หมั่นพิจารณาดูว่ายอดรายรับ รายจ่าย หนี้สิน เงินออม ของตัวเองในแต่ละเดือนเป็นอย่างไร เพิ่มขึ้นหรือลดลงจากเดือนก่อน ๆ ยังไง และมีรายจ่ายส่วนไหนที่สามารถตัดออกได้บ้าง ทำแบบนี้เรื่อย ๆ รับรองว่าสุขภาพทางการเงินของเราจะดีขึ้นในระยะยาวแน่นอน

คอลัมน์ เศรษฐกิจคิดง่ายๆ : เรื่องที่มีการฟัง แต่ไม่เคยได้ยิน กับพฤติกรรมทางการเงินของคนไทย : วันจันทร์ที่ 25 มิถุนายน 2561

คอลัมน์ เศรษฐกิจคิดง่ายๆ

“เรื่องที่มีการฟัง แต่ไม่เคยได้ยิน กับพฤติกรรมทางการเงินของคนไทย”

นสพ.โพสต์ทูเดย์ วันจันทร์ที่ 25 มิถุนายน 2561

เข้าหูซ้าย…ทะลุหูขวา

วัวหาย…แล้วจึงล้อมคอก

ไม่เห็นโลงศพ…ไม่หลั่งน้ำตา

เมื่อธนาคารได้ลุกขึ้นมาบอกกับท่านที่เป็นลูกค้าและสาธารณะว่า พฤติกรรมทางการเงินของคนไทยเรานั้น อยู่ในอาการ “ออมไม่พอ…ใช้จ่ายไม่จำเป็น…ออมผิดที่…ป้องกันความเสี่ยงในระดับต่ำ”
ความรู้สึกแรกที่ผู้เขียนได้อ่านข่าวสารที่เผยแพร่ ซึ่งระบุไว้น่าสนใจว่า

ผลการศึกษาวิจัยพฤติกรรมทางการเงินของคนไทยส่วนใหญ่
(1) มีเงินออมไม่พอใช้ สาเหตุ จากชีวิตเน้นไลฟ์สไตล์ รวดเร็ว ติด โซเชียลมีเดียเพิ่มขึ้น แถมมีค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นจำพวกสุรา บุหรี่ในสัดส่วนสูง
(2) ยังออมผิดที่ผิดทาง ป้องกันความเสี่ยงระดับต่ำ
(3) มีเงินเหลือใช้ไม่ถึง 6 เดือน เมื่อหยุดทำงาน

ท่านผู้อ่านรู้สึกจุกที่คอหอย แน่นที่หน้าอก และรู้สึกชาหน้าไหมกับผลการศึกษาที่ทำโดยผู้ให้บริการทางการเงินหลายคนจะตอบแบบมีอารมณ์ ว่า…ทำไมหรือ ก็มันชีวิตของฉัน ฉันก็อยากกิน อยากใช้ อยากซื้อ อยากเที่ยว เหมือนคนที่เขามีเงินทั่วไป คนอื่นเขาโชว์ในเฟซบุ๊กได้ ทำไมฉันจะทำไม่ได้ เมื่อเงินยังไม่มา มันก็ต้องกู้สิ ธนาคารมาเสนอบัตรเครดิต สินเชื่อบุคคลทำไมล่ะ เสนอขายมาแล้วก็ได้ดอกเบี้ยตั้ง 18% ได้ขายของ ขายประกันไม่ใช่หรือ แล้วจะมาว่าอะไรว่าไม่ออม ออมไม่เป็น มันก็เป็นอย่างนี้กันทั้งโลก ใครมันจะมาเก็บเงินไว้ไปกินไปเที่ยวยามแก่ กินเที่ยวมันต้องทำตอนยังมีเรี่ยวแรงสิ เที่ยวตอนแก่มันจะทำอะไรได้นอกจากนั่งบนรถ บนเรือ กับเข้าห้องน้ำ ตอนสุดท้ายถ้าเอาแบบของจริงที่ผู้เขียนเจอก็จะบอกว่า ก็เพราะใครต่อใครที่ไม่ใช่ตัวเองบริหารเศรษฐกิจไม่ดี เลยทำให้ฉันมีเงินมีรายได้ไม่พอ และการที่ฉันจะกู้ แถมก็กู้ได้ด้วยนั้น มันหนักอะไรของใครหรือ…เรื่องจริงของบทสนทนามันเป็นแบบนี้ครับ

สิ่งที่ผู้เขียนคิดว่าน่าสนใจมากที่สุด คือ “จากการวิเคราะห์สถานการณ์ทางการเงินของคนไทยตลอดเส้นทางทั้งการออม การใช้จ่าย การลงทุนการป้องกันความเสี่ยง ในด้านเงินออมเราพบว่าคนไทยส่วนใหญ่มีเงินออมพอใช้ไม่ถึง 6 เดือน จากฐานข้อมูลจำนวนผู้ประกอบอาชีพ 35 ล้านคน

เราแบ่งคนที่มีเงินออมเหลือจากการใช้จ่ายออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มมีเงินออมไม่พอมีสัดส่วนถึง 80% ซึ่งเป็นกลุ่มที่เงินออมเหลือไม่พอใช้จ่ายไปอีก 6 เดือน” จุดนี้อันตรายมากนะครับ ถ้ามันเป็นจริงดังว่า เพราะในโลกที่ไม่แน่นอนนี้ เราอาจเจ็บไข้ได้ป่วย อุบัติเหตุ อุบัติภัย เกิดอะไรที่เสียหายได้ทุกเมื่อ ยิ่งไม่ได้มีการประกันภัย ยามฉุกเฉินอย่างน้อย 6 เท่าของค่าใช้จ่ายที่ต้องจ่ายในทุกวันทุกเดือนมันต้องมีให้ได้ ไม่ใช่ไปคิดว่าไม่มีก็รูดบัตรไปก่อน แล้วไปตายเอาดาบหน้า (จริงๆ แล้วดาบมันอยู่ข้างหน้าและตัวเราก็ได้หยิบมาเชือดคอตนเองไปแล้ว)

ในข่าวยังระบุต่อไปอีกว่า (1) ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มวัยเริ่มทำงาน (Gen Y) หรือ (2) กลุ่มคนที่มีประสบการณ์ทำงานมากกว่า (Gen X) ยังคงวนเวียนอยู่กับปัญหาเงินออมไม่พอ และพบว่าคนที่มีเงินออมไม่พอส่วนใหญ่เป็นพนักงานเอกชนและจ้างงานอิสระ อ่านมาถึงตรงนี้ ต้องยอมรับเลยนะครับว่าเป็นห่วงตั้งแต่คนในครอบครัว ญาติมิตร เพื่อนฝูง ลูกหลาน พนักงานในกิจการของตน นักเรียน-นักศึกษา และคนวัยทำงาน เพราะประเทศจะขับเคลื่อนได้อย่างไร ถ้าคนในประเทศเป็นหนี้เร็ว เป็นหนี้ตอนอายุยังน้อย เป็นหนี้มาก เป็นหนี้นาน บริหารไม่ดี บริหารไม่เป็น และไม่คิดจะบริหาร

การขาดวินัยในการออม

การออมก่อนใช้ การคิดก่อนใช้ การแยกและจดบันทึกการใช้ การเก็บ การใช้ก่อนออม กู้ก่อนผ่อนทีหลัง เที่ยวก่อนผ่อนทีหลัง ยังก่อนในเรื่องออม ยังวนเวียนไม่รู้จบ ในรายงานระบุต่อจุดที่เสี่ยงสุดๆ คือ …โดยเฉลี่ยคนไทยมีการใช้จ่าย 76% ของรายได้ต่อเดือนที่เหลือเป็นการออม 21% และป้องกันความเสี่ยง 3% และถ้าเป็นกลุ่มที่มีเงินออมไม่พอจะมีการใช้จ่ายสูงถึง 82% ขณะที่การออมลดลงเหลือ  14% ทั้งนี้ ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการใช้จ่ายของคนไทยที่สำคัญคือ

(1) ไลฟ์สไตล์ที่เปลี่ยนแปลงไปเน้นความสะดวกสบายและรวดเร็ว ติดหรู เช่น ทานอาหารนอกบ้านมากขึ้นเน้นบรรยากาศชิลๆ

(2) มากกว่า 50% ของคนที่มีบัตรเครดิตไม่สามารถจ่ายบิลรายเดือนได้เต็มจำนวน และอีกประมาณ 48% เคยผ่อนสินค้าแบบยอมเสียดอกเบี้ย

ในมุมของการใช้จ่าย

(3) พบว่าคนไทยส่วนใหญ่มีค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นสูงถึง 1 ใน 4 ของรายได้ต่อเดือน โดยเฉพาะกลุ่มคนที่มีเงินออมไม่พอ นอกจากจะเน้นใช้จ่ายไปกับด้านความบันเทิงแล้ว ยังมีการบริโภคสุราและสูบบุหรี่มากกว่าคนที่เงินออมพอถึงสองเท่า โดยในจำนวนเงินที่เป็นค่าใช้จ่ายไม่จำเป็นมีมูลค่าพอๆ กับค่าใช้จ่ายจำเป็นอย่างการประกันความเสี่ยงและการศึกษา

ต้องขอขอบคุณธนาคารและ คณะผู้วิจัยที่ขมวดปมออกมาได้ชัดในสามปัจจัยข้างต้น มันตรงตามเนื้อข่าวจนยากจะปฏิเสธความจริง

ขอบคุณจากใจอีกครั้งครับ

หยุดให้บริการตรวจเครดิตบูโร (ชั่วคราว) :วันที่ 23-24 มิถุนายน 2561 : ขออภัยในความไม่สะดวกค่ะ

หยุดให้บริการตรวจเครดิตบูโร (ชั่วคราว)

วันที่ 23-24 มิถุนายน 2561

ขออภัยในความไม่สะดวกค่ะ

เปิดทำการปกติวันจันทร์ที่ 25 มิถุนายน 2561

  • ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (สำนักงานใหญ่) อาคาร 2 ชั้น 2
  • ปากซอยสุขุมวิท 25 อาคารกลาสเฮ้าส์  (ชั้นใต้ดิน)
  • อาคารเพิร์ล แบงก์ค็อก ชั้น 3 (โซนธนาคาร)
  • BTS ศาลาแดง (ภายในสถานี)
  • ห้างเจ-เวนิว นวนคร ชั้น 3

เปิดทำการปกติวันเสาร์ที่ 30 มิถุนายน 2561

  • CITI (เดอะมอลล์ บางกะปิ , เดอะมอลล์ งามวงศ์วาน , เมกา บางนา)

คอลัมน์เศรษฐกิจคิดง่ายๆ “เก็บตกสัมมนาวิชาการ สำนักงาน ธปท.ภาคเหนือ” วันจันทร์ที่ 11 มิถุนายน 2561

คอลัมน์ เศรษฐกิจคิดง่ายๆ

“เก็บตกสัมมนาวิชาการ สำนักงาน ธปท.ภาคเหนือ”

นสพ.โพสต์ทูเดย์ วันจันทร์ที่ 11 มิถุนายน 2561 

บทความวันนี้เก็บตกงานสัมมนาวิชาการของสำนักงานแบงก์ชาติ ภาคเหนือที่บนเวที วิทยากรท่านหนึ่งได้ให้ข้อคิดน่าสนใจว่า แบงก์และการให้บริการทางการเงินในช่วงเวลาที่ผ่านมานั้น แม้ว่าจะทำได้ดีในอดีต เช่น การนำ ATM มาให้บริการ แต่เวลานี้ปัจจุบันดูจะน่าเบื่อ และตัวแบงก์เองก็รู้ว่ามีประเด็นแน่ๆ ในการแข่งขัน เช่น โอนเงิน 200 บาท ลูกค้าต้องจ่ายค่าธรรมเนียม 25 บาท มันไม่มีเหตุผลเพียงพออยู่แล้วในมุมของลูกค้า และแม้ว่าจะพยายามเร่งเปลี่ยนแปลงให้เร็ว ให้ทันกับสิ่งที่เกิดขึ้น พร้อมๆ ไปกับการปรับกระบวนการทำงาน การให้บริการ แต่โชคร้ายลูกค้ากลับเปลี่ยนเร็วกว่า เพราะลูกค้าได้ข้อมูลทุกวัน ได้ข้อมูลทุกทาง ได้ข้อมูลฟรี ใช้บริการของพวก Platform ไม่ว่าจะหาข้อมูล โทรหากัน เดินทาง ซื้อขาย แลกเปลี่ยน พบปะ พูดคุย สื่อสาร ส่งภาพ ทุกสิ่งล้วนฟรี ฟรี ไม่คิดเงิน อาการที่คุณลูกค้ารอไม่ได้ ต้องการเดี๋ยวนี้ ตั้งคำถามว่า ทำไมถึงทำไม่ได้ เมื่อก่อนรอได้ 3 วัน 7 วัน เวลานี้แค่ 30 นาที ก็สามารถเอาไปด่า เอาไปบ่น เอาไปคอมเมนต์ในสื่อสังคมออนไลน์แล้ว และที่สำคัญ คือ ทุกสิ่งอย่างนั้นคุณลูกค้าจะทำผ่านทางโทรศัพท์มือถือ

ต่อด้วยข้อมูลเพิ่มเติมของผมว่า…มีนายธนาคารอาวุโสท่านหนึ่งบอกเล่าให้ผมฟังว่า เวลานี้มีลูกค้าแบ่งเป็นสัก 3 กลุ่ม

(1) ลูกค้าที่ไม่อยากมาที่ธนาคาร ไม่อยากมาที่สาขา อยากทำธุรกรรมผ่านเครื่องมือสื่อสารเท่านั้น และศึกษาข้อมูลเอง เปรียบเทียบเอง

(2) ลูกค้าที่ต้องการคนของธนาคารคุยเฉพาะเรื่อง บางเรื่อง ไม่ใช่ทุกเรื่อง อาจผ่านทาง Call Center หรือ Customer Service แต่ถ้าต้องการอื่นๆ ก็จะทำรายการผ่านเครื่องมือ ผ่านระบบด้วยตนเอง

(3) ลูกค้าที่ต้องการพูดคุย รับบริการแบบเห็นหน้าเห็นตา (Face to Face Service) เพราะไม่มั่นใจ ไม่คุ้นเคย และเน้นถามมาตอบไปจนกว่าจะเข้าใจ เราจึงเห็นพฤติกรรมของมนุษย์ลุง มนุษย์ป้า ผ่านคลิป ผ่านสื่อสังคมออนไลน์อยู่บ่อยๆ แถมมีคอมเมนต์ให้เจ็บๆ คันๆ อีกด้วย

ท่านผู้บริหารธนาคารท่านนั้นบอกผมว่า แบงก์จ้างคนทำงานได้ชุดเดียว ต้นทุนสูงด้วย แต่ต้องรับมือกับลูกค้าอย่างน้อย 3 ประเภทข้างต้น แล้วจะให้ทำอย่างไรกับความคาดหวังของคุณลูกค้าในเวลานี้…

มันจึงเกิดปรากฏการณ์ คิดแบบกลับหัว คิดแบบรื้อปรับระบบ คิดแบบปฏิรูปโครงสร้างจนถึงกระบวนการทำงาน พอส่วนหัวขยับเพราะมองว่า ถ้ายังไปแบบเดิมๆ แม้จะมีกำไรแต่ในระยะยาวแล้วจบเห่แน่นอน

จึงเกิดการขยับทั้งองค์กร มีการประกาศปรับลดสาขา ปรับลดคนทำงาน โยกย้ายหน้าที่คน เรียกว่า คน งาน เงิน ต้องเอามาจัดสรรกันใหม่ มีการขนเอาเทคโนโลยีเข้ามาใช้แบบว่า ตอบโจทย์ โดนใจ ใช้ได้จริง วิ่งไปให้ทันกับความคาดหวังของคุณลูกค้า ยิ่งดักได้ก่อนหน้ายิ่งจำเป็น

บริการธนาคาร (Banking Service) ในวันนี้จึงต้องเป็นอะไรที่มากกว่าแบงก์ในรูปแบบเดิม เพื่อตอบโจทย์ที่อะไรๆ ก็ต้องเดี๋ยวนี้ เวลานี้ และไม่คิดเงินด้วยนะ แบบฟรีได้หรือเปล่า ไม่ฟรีไม่ใช้ “การเป็นมากกว่าธนาคาร การคิดให้ออกจากกับดักความเป็นธนาคาร เพราะการบริหารจัดการเป็นไปตามโครงสร้างตามแนวดิ่ง แต่ชีวิตจริงของลูกค้าที่ต้องเจอมันเป็นแนวขวาง” การหลอมรวมบริการทางการเงินให้อยู่บนแอพพลิเคชั่นของโทรศัพท์มือถือจึงต้องเร่งออกมา ต้องเอาบริการมาเป็นตัวตั้ง แล้วจึงเอาเรื่องธนาคารไปรับใช้ เช่น จะกินข้าว จะดูหนัง จะเดินทาง ทำอย่างไรให้ง่าย แล้วพอตอนจะจ่าย จะใช้เงิน ค่อยเอาธนาคารมาตอบโจทย์ มันถึงจะไปต่อได้ในเวลานี้

ข้อความและข้อมูลข้างต้นบางส่วน ผมสรุปมาจากผู้บริหารระดับสูงด้านการตลาดของธนาคารพาณิชย์อันดับ 1 ใน 3 ของประเทศในงานการสัมมนาของธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ท่านผู้อำนวยการอาวุโส สำนักงานภาคเหนือ จ.เชียงใหม่ ได้จัดให้มีขึ้นเพื่อแชร์ข้อมูลดีๆ กับนักธุรกิจและผู้คนในระดับผู้นำทางธุรกิจและสังคมของ จ.เชียงใหม่ และภาคเหนือได้รับรู้ อันเป็นผลสืบเนื่องจากงาน Bangkok Fintech Week ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยในส่วนกลางได้จัดขึ้นไปแล้ว เรื่องดีๆ จากการสร้างสรรค์ของคนเก่งๆ ของธนาคารกลางแบบนี้ เราต้องช่วยกันชื่นชมและสนับสนุน

เรื่องน่าอ่าน