Blog Page 163

หยุดให้บริการตรวจเครดิตบูโรชั่วคราว  วันอังคารที่ 1 พฤษภาคม 2561 (เนื่องในวันแรงงาน )

หยุดให้บริการตรวจเครดิตบูโรชั่วคราว เนื่องในวันแรงงาน

หยุดวันอังคารที่ 1 พฤษภาคม 2561 

ขออภัยในความไม่สะดวกค่ะ

เปิดทำการปกติวันพุธที่ 2 พฤษภาคม 2561

  • ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (สำนักงานใหญ่) อาคาร 2 ชั้น 2
  • ปากซอยสุขุมวิท 25 อาคารกลาสเฮ้าส์  (ชั้นใต้ดิน)
  • อาคารเพิร์ล แบงก์ค็อก ชั้น 3 (โซนธนาคาร)

ตรวจเครดิตบูโร ฟรี! งาน “สัมมนาเปลี่ยนบ้านเป็นบูติคโฮเต็ลเงินล้าน” วันที่ 25 เมษายน 2561 เวลา 9.00 – 12.30 น. โรงแรม The Palazzo Bangkok (รัชดา)

เชิญตรวจเครดิตบูโร ฟรี!

งาน “สัมมนาเปลี่ยนบ้านเป็นบูติคโฮเต็ลเงินล้าน”

วันที่ 25 เมษายน 2561 เวลา 9.00 – 12.30 น.

โรงแรม The Palazzo Bangkok (รัชดา)

ฟรี!!…บริการตรวจเครดิตบูโร แต่ขอรับเป็นเงินบริจาคแทน พร้อมเปิดคลินิกเครดิตบูโรให้คำปรึกษา

คุณธฤต ศรีอรุโณทัย ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ เครดิตบูโร ร่วมบรรยายงาน”ตลาดนัดเงินทุน” ร่วมกับสภากาชาดและงานประจำปี จ.นราธิวาส วันที่ 24 เมษายน 2561

คุณธฤต ศรีอรุโณทัย (กลาง) ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ #เครดิตบูโร ร่วมบรรยายให้ความรู้ในโครงการพัฒนาผู้ประกอบการสู่เศรษฐกิจการแข่งขัน 4.0 ภายใต้กิจกรรม “ตลาดนัดเงินทุน” ร่วมกับสภากาชาดและงานประจำปี จ.นราธิวาส ณ บริเวณสวยสาธารณะเฉลิมพระเกียรติ ๖ รอบ พระชนมพรรษา (สวน ร.๕) อ.เมือง จ.นราธิวาส เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2561

แนวทางบริหารเงินแบบชิคๆ สไตล์หนุ่มสาว Gen Y

ยิ่งยุคสมัยเปลี่ยนไป การ “บริหารเงิน” ก็ยิ่งมีความสำคัญมากขึ้น โดยเฉพาะกับหนุ่มสาว Gen Y ที่เกิดมาในยุคเทคโนโลยีอำนวยความสะดวกล้อมรอบ และเติบโตมาพร้อมกับเทรนด์ดิจิทัล ทำให้คนกลุ่มนี้เข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้มาก ส่งผลให้พวกเขามีไลฟ์สไตล์ที่หลากหลายและสิ่งที่ต้องใช้จ่ายมากตามไปด้วย เป็นซะอย่างนี้คน Gen Y จะวางแผนบริหารเงินยังไงดี ให้มีความมั่นคงและมีความสุขได้ในแบบของตัวเอง?

แนวทาง บริหารเงิน สไตล์คน Gen Y

  • เพิ่มรายได้ ก็เพิ่มทางเลือก

    เงินอาจจะไม่ใช่ทุกสิ่ง แต่ต้องยอมรับว่าเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่งถ้าอยากมีชีวิตดี ๆ ฉะนั้นไม่ว่าคุณจะเป็น Gen Y สายทำงานประจำ มนุษย์เงินเดือน หรือทำธุรกิจส่วนตัว ก็อย่ามัวนิ่งนอนใจรับรายได้ทางเดียว เพราะถ้าเกิดผิดพลาดอะไรขึ้นมา จะได้มีแผนสองรองรับได้ทัน แถมสมัยนี้มีช่องทางมากมายที่เราสามารถหารายได้เสริมได้ในแบบยุค 4.0 ไม่ว่าจะเป็นเปิดร้านขายของออนไลน์ รับหิ้วของ รับเขียนบทความ ขายภาพถ่ายออนไลน์ เป็นต้น มีความถนัดอะไรอย่าเก็บไว้คนเดียว เอามาเปลี่ยนเป็นเงินกันดีกว่า!

  • จะเป็นลูกหนี้ คิดดีแล้วรึยัง?

    การเป็นหนี้ไม่ใช่เรื่องผิด ถ้าเงินที่กู้ยืมมานำมาใช้ในสิ่งที่เกิดประโยชน์จริง ๆ และมีกำลังพอจะรับผิดชอบภาระทั้งต้นและดอกที่จะงอกตามมาได้ แต่ถ้าคิดจะรูดบัตรเพื่อใช้จ่ายฟุ่มเฟือย เช่น ซื้อของแบรนด์เนม ทานอาหารราคาแพง ท่องเที่ยวเช็คอินเก๋ ๆ แบบนี้ไม่ดีแน่ หรือถ้าประเมินแล้วว่ามีแนวโน้มจะหักห้ามใจไม่ไหว อาจลองเปลี่ยนจากถือบัตรเครดิต มาเป็นบัตรเดบิตแทน เป็นการใช้จ่ายเท่าที่มี ไม่ต้องติดลบเพราะหนี้สิน

  • ออมก่อนใช้ อนาคตไม่อดอยาก

    อนาคตเป็นเรื่องไม่แน่นอน การมีเงินออมเอาไว้ก็เปรียบเสมือนมียางอะไหล่ติดรถไปด้วยเมื่อเดินทางไกล แถมยังเป็นการเตรียมพร้อมสำหรับใช้จ่ายเพื่อความมั่นคงในชีวิตอีกด้วย เช่น ซื้อบ้าน ศึกษาต่อ สร้างครอบครัว ฯลฯ หลักการออมเงินแบบง่าย ๆ ก็คือ “ออมก่อนใช้” ตั้งเป้าหมายเงินออมให้ชัดเจน เช่น 10-15% ของเงินเดือน หักเงินส่วนนั้นแยกบัญชีเก็บไว้เมื่อเงินเดือนออก เงินส่วนที่เหลือจากออมถึงนำไปใช้จ่ายส่วนอื่น ๆ

  • ลงทุนให้ถูกที่ถูกทาง

    ชาว Gen Y ส่วนใหญ่มีแนวโน้มจะมีนิสัยกล้าได้กล้าเสีย ใจร้อน คาดหวังผลลัพธ์รวดเร็ว ทางที่ดีควรลงทุนตามกำลังทรัพย์และระดับรายได้ เลือกลงทุนในหลาย ๆ ช่องทางเพื่อกระจายความเสี่ยง และที่สำคัญคือระลึกไว้เสมอว่าการลงทุนมีความเสี่ยงเสมอ ยิ่งผลตอบแทนมาก แปลว่าความเสี่ยงก็ย่อมสูงตาม ฉะนั้นอย่าพิจารณาแค่เพียงผลตอบแทนอย่างเดียว ถ้าเป็นการลงทุนที่อ้างว่าความเสี่ยงต่ำ แต่ให้กำไรสูงจนน่าแปลกใจ ดูง่ายดายจนน่าสงสัย ให้พึงระวังไว้ก่อนเลยว่าอาจจะเป็นเรื่องหลอกลวงก็เป็นได้

เคล็ดลับเหล่านี้ไม่จำกัดแค่ชาว Gen Y ไม่ว่าจะวัยไหนก็สามารถเอาไปปรับใช้ให้เหมาะกับสถานการณ์การเงินของตัวเองได้ ขอเพียงมองการณ์ไกล ขยันเพิ่มรายได้ ขยายฐานเงินออม หลีกเลี่ยงการเป็นหนี้ และรักษาประวัติเครดิตของตัวเองให้ดีเลิศ ความมั่นคงในชีวิตก็อยู่ไม่ไกลเกินฝัน

เคล็ดลับเปลี่ยนนิสัย ให้เป็นสุดยอดนักบริหารเงิน

ทำงานมาก็ตั้งนาน แต่เงินเก็บยังไปไม่ถึงไหน เพราะชอบเผลอไผลจ่ายเกินงบอยู่เรื่อย แบบนี้จะทำไงดีนะ! มาดูกันว่าเราจะเปลี่ยนนิสัยตัวเองยังไง ให้กลายเป็นคนรักการออม รับรองว่ามีเงินเก็บเยอะสมใจแน่ ๆ

• เปลี่ยน “ใช้ก่อนออม” เป็น “ออมก่อนใช้”
แต่ก่อนเรามักติดภาพว่าเงินออมคือเงินที่เหลือจากการใช้จ่าย นั่นเท่ากับว่าถ้าเราใช้จนหมด ก็จะไม่เหลือเงินไว้ออมเลย คราวนี้ลองมาเปลี่ยนความคิดกันใหม่เป็น “ออมก่อนใช้” กันบ้างดีกว่า เพียงตั้งเป้าหมายเงินออมในแต่ละเดือนเอาไว้ พอเงินเดือนออกก็หักส่วนที่ต้องการจะออมแยกบัญชีเก็บไว้ทันที แล้วเงินที่เหลือจากนั้นค่อยนำไปใช้จ่าย ทำแบบนี้รับรองว่าไม่พลาดโอกาสออมแน่ ๆ

• “การกู้ยืม” คือการยืมเงินในอนาคตมาใช้
ลองนึกภาพว่าถ้าคุณสามารถเลือกทานมื้อเย็นได้มากเป็น 2 เท่า แต่ต้องอดมื้อเช้าของวันถัดไป คุณจะโอเคไหม? การรูดบัตรเครดิตก็เช่นกัน แม้ว่าวันนี้คุณจะสามารถรูดใช้จ่ายได้อย่างสะดวกสบายมือ แต่แท้จริงแล้วมันคือการเอาเงินของวันพรุ่งนี้มาใช้ เพราะถึงอย่างไรก็ต้องใช้คืน ถ้าเผลอรูดมากไป หรือเกิดเหตุไม่ขาดฝันทำให้ขาดรายได้ ก็เท่ากับว่าคุณอาจต้องยอมอดเพื่อใช้หนี้ รู้อย่างนี้แล้ว ถามใจให้ดีว่ามีความรับผิดชอบพอไหม และพร้อมแค่ไหนที่จะรับความเสี่ยงตรงนี้

• รู้จักแยกแยะ “หนี้ดี” กับ “หนี้พึงระวัง”
“หนี้” ไม่ใช่ผู้ร้ายเสมอไป เพราะถ้าเงินที่กู้ยืมมาสามารถเอามาต่อยอดสร้างกำไร สร้างความมั่นคง หรือสร้างอนาคต เรียกได้ว่าเป็น “หนี้ดี” เช่น เอามาลงทุนในธุรกิจ ซื้อบ้าน เป็นทุนศึกษาต่อ เป็นต้น แต่ถ้าเรากู้มาเพื่อเอาไปใช้กับของฟุ่มเฟือย ความสุขระยะสั้น เกินฐานะ ใช้แล้วหมดไป นี่เรียกว่า “หนี้พึงระวัง” เช่น ซื้อรถหรู ทานอาหารมื้อหรู ซื้อสินค้าแบรนด์เนม เที่ยวต่างประเทศ เป็นต้น รู้อย่างนี้แล้วก่อนตัดสินใจเป็นลูกหนี้ ตอบตัวเองให้ได้ก่อนว่าเป็นหนี้ประเภทไหน ถ้าเป็นแบบหลังล่ะก็ แนะนำว่ายั้งมือไว้ก่อนจะดีกว่า

• อย่าวางใจกับรายได้ทางเดียว
แม้ว่าคุณจะมีงานประจำที่มั่นคง หรือธุรกิจที่ดูไปได้สวย ก็ไม่ควรนิ่งนอนใจกับการพึ่งพารายได้ทางเดียว เพราะในอนาคตอะไร ๆ ก็เกิดขึ้นได้ ควรมองหาลู่ทางสร้างรายได้เสริม โดยเฉพาะในยุคดิจิทัลแบบนี้ เราสามารถเปลี่ยนความถนัดเป็นเงินได้ง่ายขึ้น ไม่ว่าจะเป็นขายของออนไลน์ รับหิ้วสินค้า รับจ้างเขียนบทความ ขายภาพถ่ายออนไลน์ รับแปลเอกสาร เป็นต้น

• “ความเสี่ยงต่ำ ผลตอบแทนสูง” ไม่มีอยู่จริง
กฎข้อสำคัญของการลงทุนใด ๆ ในโลกนี้ ก็คือ “ผลตอบแทนแปรผันตรงกับความเสี่ยงเสมอ” เช่น การลงทุนในบัญชีออมทรัพย์ของธนาคารได้ผลตอบแทนน้อยก็เพราะความเสี่ยงน้อย การลงทุนในสลากกินแบ่งรัฐบาลได้ผลตอบแทนมหาศาลก็เพราะความเสี่ยงมหาศาลนั่นเอง หากมีใครหรือหน่วยงานไหนอ้างว่ามีช่องทางการลงทุนที่ความเสี่ยงต่ำแต่ผลตอบแทนสูง ให้สงสัยไว้ก่อนเลยว่าไม่ชอบมาพากล อาจเป็นการหลอกลวง

เพียงท่อง 5 ข้อนี้เอาไว้ในใจ และเตือนตัวเองทุกครั้งก่อนตัดสินใจเรื่องการเงิน คุณสามารถมีสุขภาพการเงินที่แข็งแรงได้ไม่ยากเลย

ตรวจเครดิตบูโร ฟรี! งาน “มหกรรมเข้าถึงแหล่งเงินทุน” จ.พิษณุโลก วันที่ 26 เมษายน 2561 เวลา 8.30 – 16.30 น. จ.พิษณุโลก

เชิญตรวจเครดิตบูโร ฟรี!

งาน “มหกรรมเข้าถึงแหล่งเงินทุน” จ.พิษณุโลก

วันที่ 26 เมษายน 2561 เวลา 8.30 – 16.30 น.
โรงแรมเดอะพาร์ค จ.พิษณุโลก

(ฟรี!!…บริการตรวจเครดิตบูโร แต่ขอรับเป็นเงินบริจาคแทน พร้อมเปิดคลินิกเครดิตบูโรให้คำปรึกษา)

** เฉพาะรายการลูกค้าบุคคลธรรมดา ยื่นขอตรวจของตนเองเท่านั้น (ไม่รับกรณีรับมอบอำนาจ)

ตรวจเครดิตบูโร ฟรี! งาน “ตลาดนัดเงินทุน” จ.นราธิวาส วันที่ 24 เมษายน 2561 เวลา 8.00 – 13.00 น. จ.นราธิวาส

ตรวจเครดิตบูโร ฟรี!

งาน “ตลาดนัดเงินทุน” จ.นราธิวาส

วันที่ 24 เมษายน 2561 เวลา 8.00 – 13.00 น.
ณ สวนสาธารณะเฉลิมพระเกียรติ จ.นราธิวาส

(ฟรี!!…บริการตรวจเครดิตบูโร แต่ขอรับเป็นเงินบริจาคแทน พร้อมเปิดคลินิกเครดิตบูโรให้คำปรึกษา)

** เฉพาะรายการลูกค้าบุคคลธรรมดา ยื่นขอตรวจของตนเองเท่านั้น (ไม่รับกรณีรับมอบอำนาจ)

คอลัมน์เศรษฐกิจคิดง่ายๆ “การกำกับดูแลสหกรณ์ออมทรัพย์ ทิศทางเป็นไปด้วยดี” วันจันทร์ที่ 23 เมษายน 2561

คอลัมน์ เศรษฐกิจคิดง่ายๆ

“การกำกับดูแลสหกรณ์ออมทรัพย์ ทิศทางเป็นไปด้วยดี”

วันจันทร์ที่ 23 เมษายน 2561

ผมใคร่ขอชื่นชมท่านผู้บริหารกรม ส่งเสริมสหกรณ์ในส่วนของการก้าวเข้ามากำกับดูแลการนำเงินที่เกินจากการให้กู้ยืมแก่สมาชิก เนื่องจากมีกระแสรับฝากเงินมากกว่าเงินที่ปล่อยกู้ออกไปให้กับสมาชิก เงินที่เป็นสภาพคล่อง ดังกล่าวได้ถูกผันมาลงทุนในตลาดตราสารหนี้หรือตราสารทุน (หุ้น) ใช้วิธีการ

(1) ดำเนินการบริหารจัดการด้วยตนเอง

(2) มอบหมายให้บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรับไปดำเนินการในรูปแบบการบริหารกองทุนส่วนบุคคล (Private Fund Management) ทั้งนี้ทุกสหกรณ์ มีเป้าหมายเพื่อสร้างรายได้ตามเป้าแต่ก็ต้องเป็นไปตามเกณฑ์ที่คณะกรรมการสหกรณ์แห่งชาติกำหนด โดยหุ้นที่จะซื้อนั้นจะต้องถูกจัดอันดับ (Rating) ไม่ต่ำกว่าระดับ A- ดังคำกล่าวของผู้บริหารจากภาครัฐที่ระบุว่า

“ลงทุนได้แต่ต้องไม่ต่ำกว่า A- ถามว่าเสี่ยงไหม ความเสี่ยงก็คือถ้าอัตราดอกเบี้ยในตลาดผันผวนนั่นแหละเป็นความเสี่ยง ที่คุมได้ในเวลานี้ก็คือคุมให้เขา (หมายถึงสหกรณ์ที่มีเงินเหลือ) ลงตามประกาศของคณะกรรมการฯ ต่ำกว่านี้ไม่ได้ ตอนนี้เรายังไม่จำกัดตัวเงินว่าลงได้เท่าไหร่ แต่เราคุมคุณภาพหุ้นต้องไม่ต่ำกว่า A- แต่เงินเรา (หมายถึงตัวกรมส่งเสริมฯ ในฐานะนายทะเบียน) ไม่ได้คุม เพราะว่าแต่เดิมปัญหาพวกนี้ไม่มี เพิ่งมามี 3-4 ปีนี่เอง หลังที่เงินในระบบสหกรณ์มันล้นมาก”

ถามต่อไปว่าแล้วขนาดของเงินที่จะไปลงทุนมันควรมีเกณฑ์ไหม ไม่ใช่จะลงทุนเท่าไหร่ก็ได้ หรือไปกู้ที่อื่นมาลงทุนได้ตามอำเภอใจ เพราะจะเป็นลักษณะค้าเงิน ค้าหุ้น โดยไม่เสียภาษี มากกว่าการบริหารสภาพคล่อง บริหารผลตอบแทนแน่นอน ทีนี้ถ้าเกิดไปเข้มมาก กำหนดให้ต่ำเกินไป สหกรณ์เงินเหลือมาก หรือลงทุนเกินไปแล้วก่อนกติกาออกมาทีหลังปัญหาก็จะเกิดทันที เพราะเขาก็ต้องเร่งเอาเงินเหลือนั้นไปปล่อยกู้ คุณภาพก็อาจดูน้อยลงไปหรือถ้าเอาไปปล่อยให้สหกรณ์ตามบ้านนอกกู้ก็เหมือน “สามล้อถูกหวย” เพราะสหกรณ์ที่รับไปกู้ต่อ พอได้เงินไปก็เอาไปปล่อยกู้ต่อ ตอนนี้หนี้ครัวเรือนของสมาชิกแต่ละคนตามบ้านนอกมันก็หนักอยู่แล้ว พอได้เงินล้น เงินเหลือให้มาปล่อยกู้ต่อ มันก็เหมือนไปซ้ำเติมปัญหาหนี้สินสมาชิกเข้าไปอีกคล้ายๆ กับโรคซ้ำกรรมซัด

ทั้งนี้ปัจจุบัน ธนาคารแห่งประเทศไทย โดยกระทรวงการคลังเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อกำหนดเกณฑ์ออกมาให้คุมสหกรณ์ที่ไปลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ว่าไม่ให้เกิน 20% ของทุนเรือนหุ้นหรือทุนสำรอง ซึ่งขณะนี้กรมส่งเสริมสหกรณ์กำลังอยู่ในระหว่างการพิจารณาร่างประกาศกำหนด แต่ยังไม่ได้ประกาศออกไป เนื่องจากเกรงว่าจะเกิดผลกระทบต่อสหกรณ์ออมทรัพย์10 กว่าแห่ง ที่ได้นำเงินไปลงทุนในส่วนนี้เกินเกณฑ์ที่กำหนด จะต้องดึงเงินกลับออกมาเป็นจำนวนแสนล้านบาท แล้วสหกรณ์ที่เงินได้ถูกดึงกลับมาก็ไม่รู้ว่าจะเอาเงินส่วนนี้ไปไว้ตรงไหน

ในเรื่องของการบริหารจัดการหากจะลงทุนจะต้องผ่านที่ประชุมใหญ่ให้ได้รับความเห็นชอบจากสมาชิกก่อนจึงจะนำเงินดังกล่าวไปลงทุนได้ เพื่อให้ตัวสหกรณ์ กรรมการบริหาร และสมาชิกสหกรณ์ได้รับรู้ว่าถ้าเอาไปลงทุนแล้วเกิดความเสียหายจะต้องรับผิดชอบร่วมกัน
“…ข้อควรคิดคือการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์จำนวนเป็นแสนๆ ล้านบาทนั้น มีความเสี่ยง ถ้าการเจริญเติบโตเศรษฐกิจของประเทศดี การลงทุนก็จะมีผลตอบแทนสูงพอควร แต่ถ้าเมื่อไรเศรษฐกิจไม่ค่อยดี การลงทุนแทนที่จะได้ผลตอบแทน 5-6% ก็อาจจะได้เพียง 2-3% หากแต่จากมุมมองบนความคาดหวังของสมาชิกว่าจะได้เงินปันผลเท่านั้นเท่านี้ มันก็อันตรายต่อความเชื่อมั่น ความเชื่อถือ และความมั่นคง ผู้บริหารกรมส่งเสริมฯ ยังเชื่อมั่นว่า ก.ล.ต. เขายังคุมตลาดทุนได้ จึงไม่ค่อยน่าห่วงเท่าไหร่…”

ผมขอชื่นชมในการทำงานแบบ บัวไม่ให้ช้ำ น้ำไม่ให้ขุ่น ไม่หักด้ามพร้าด้วยเข่า ดูอย่างรอบด้านก่อนลงมือ เพราะเราทุกคนต่างรู้ว่า ความเชื่อถือ เชื่อมั่นสมาชิก คือสิ่งสำคัญที่สุดนั่นเอง

ข้อมูลเครดิต สำคัญต่อใคร และอย่างไรบ้าง

ข้อมูลเครดิตสำคัญอย่างไร

เครดิตบูโรเปรียบเสมือนเป็น “ถังข้อมูลที่บ่งบอกพฤติกรรมในเรื่องการก่อหนี้ การชำระหนี้” ที่ใหญ่ที่สุดของระบบการเงินไทย หากใครก็ตามที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับธุรกรรมสินเชื่อในระบบ ก็สามารถขอตรวจสอบข้อมูลเครดิตเหล่านี้ได้จากเครดิตบูโร

1.ระบบเศรษฐกิจไทย

– เป็นสัญญาณเตือนภัยของระบบการเงิน คือ สามารถนำเอาข้อมูลเชิงสถิติมาวิเคราะห์ให้เห็นทิศทางและความเสี่ยงของธุรกรรมสินเชื่อในระบบ

– เป็นเครื่องมือในการอ่านสัญญาณเศรษฐกิจของสถาบันต่างๆ เพื่อไปคิดต่อว่าควรต้องออกมาตรการหรือต้องไปทำอะไรในเชิงการบริหารความเสี่ยง

– เป็น “โครงสร้างพื้นฐาน” ของระบบการเงิน คือ เป็นแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ของระบบสถาบันการเงินในการนำมาใช้บริหารความเสี่ยงด้านการให้สินเชื่อ

2.สถาบันการเงินในฐานะผู้ให้กู้ หรือเจ้าหนี้

– มีระบบการบริหารความเสี่ยงในการให้กู้ยืม ป้องกันการเกิดหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ ซึ่งอาจส่งผลต่อปะัญหาความไม่มั่นคงแก่ระบบสถาบันการเงิน และระบบเศรษฐกิจไทยโดยรวม ผ่านการใช้ข้อมูลเครดิตบูโร

– ตรวจเช็คอาการของลูกหนี้ เพื่อวิเคราะห์หรือทบทวนสินเชื่อ จึงจำเป็นต้องทราบฐานะทางการเงินและประวัติการชำระหนี้ของผู้กู้อย่างเพียงพอ ว่ามีประวัติการชำระหนี้อย่างไร และมีภาระหนี้อยู่กับสถาบันการเงินอื่นมากน้อยเพียงใดในขณะใดขณะหนึ่ง

3.ผู้กู้หรือลูกหนี้

– ตรวจเช็คข้อมูลเครดิต หรือตรวจเช็คสุขภาพทางการเงินของตัวเอง เพื่อเตรียมพร้อมวางแผนก่อนจะไปขอกู้

– ตรวจเช็กประวัติการชำระทุกข้อมูลบัญชีสินเชื่อ หากข้อมูลไม่ถูกต้อง ขอแก้ไขได้

– มีโอกาสที่จะได้ลดดอกเบี้ยเงินกู้ให้ผู้กู้ที่มีประวัติผ่อนชำระดี

ป้องกันการเกิดความล่มสลายอย่างที่เกิดมาในอดีต หากระบบทุกส่วนตรงนี้ดีมีประสิทธิภาพ เชื่อว่าระบบการเงินจะไม่มีปัญหารุนแรงถึงขั้นต้องไปยุ่งกับการค้ำประกันเงินฝาก เพราะปัญหาจะถูกจัดการตั้งแต่ต้นมือ อีกทั้งก่อนที่เหตุการณ์ต่างๆ จะไปถึงจุดนั้น ต้องผ่านระบบการบริหารความเสี่ยงของสถาบันการเงินที่เข้มงวดเป็นอย่างมาก

เรื่องน่าอ่าน