Blog Page 164

ตรวจเครดิตบูโร ฟรี! งาน “สัมมนาสนับสนุนด้านสินเชื่อกลุ่มเกษตรSME” วันที่ 20 เมษายน 2561 โรงแรมบรรจงบุรี จ.สุราษฎร์ธานี

เชิญตรวจเครดิตบูโร ฟรี! งาน “โครงการสัมมนามาตรการสนับสนุนด้านสินเชื่อกลุ่มเกษตรและเกษตรแปรรูป SME เกษตร” จ.สุราษฏร์ธานี
วันที่ 20 เมษายน 2561 เวลา 11.00 – 16.00 น. โรงแรมบรรจงบุรี จ.สุราษฎร์ธานี

(ฟรี!!…บริการตรวจเครดิตบูโร แต่ขอรับเป็นเงินบริจาคแทน พร้อมเปิดคลินิกเครดิตบูโรให้คำปรึกษา) ** เฉพาะรายการลูกค้าบุคคลธรรมดา ยื่นขอตรวจของตนเองเท่านั้น (ไม่รับกรณีรับมอบอำนาจ)

รู้ทันก่อนเป็นลูกหนี้! แบบไหนที่เป็น “หนี้ดี” และแบบไหนคือ “หนี้ที่ไม่ควรกู้”

การกู้ยืมเงิน ก็คือการนำเงินในอนาคตของเรามาใช้ ซึ่งไม่ใช่เรื่องผิดอะไร ถ้ามีเหตุผลที่ดีพอ และเรามีความรับผิดชอบมากพอที่จะชำระหนี้ อย่างไรก็ตาม บางสิ่งบางอย่างก็ไม่เหมาะกับการที่จะเอาเงินกู้ยืมไปใช้จ่าย เพราะอาจทำให้งานเข้าได้ในอนาคต มาดูกันว่ามีอะไรบ้าง ที่เราไม่ควรกู้เงินมาจ่าย

หนี้แบบไหน ที่พึงระวัง!
• สิ่งที่ไม่จำเป็น
อันนี้เรียกได้ว่าแน่นอนอยู่แล้ว หากคุณคิดจะกู้หนี้ยืมสินหรือรูดบัตรเพื่อไปซื้อของแบรนด์เนม ทานอาหารมื้อหรู เที่ยวต่างประเทศละก็ ควรเหยียบเบรกไว้ก่อนด่วน ๆ เพราะการก่อหนี้เป็นการสร้างภาระ วันพรุ่งนี้จะเกิดอะไรขึ้นก็ยังไม่รู้ อาจมีเหตุไม่คาดฝันทำให้เราไม่มีเงินจ่ายหนี้ก็ได้ ฉะนั้นเราไม่ควรเอาอนาคตทางการเงินของเราไปเสี่ยงเพิ่มขึ้นโดยแลกกับความฟุ่มเฟือยแค่ชั่วคราว ไม่คุ้มกันแน่นอน
• สิ่งที่ไม่ก่อรายได้
ก่อนจะตัดสินใจเป็นลูกหนี้ ลองถามตัวเองดูก่อนว่าเงินที่จะกู้มานี้จะเอาไปสร้างรายได้ให้งอกเงยได้ไหม ถ้าพิจารณาดูแล้วว่าเป็นอะไรที่ใช้แล้วหมดไป ไม่สร้างผลตอบแทน ไม่ก่อให้เกิดรายได้ แบบนี้โอกาสจะกลายเป็นหนี้เสียในอนาคตก็ยิ่งมากขึ้นไปอีก เห็นทีอย่าเสี่ยงจะดีกว่า
• การลงทุนระยะยาว
การลงทุนมีหลายแบบ มีทั้งแบบที่ให้ผลตอบแทนในระยะสั้น และแบบให้ผลตอบแทนในระยะยาว หนี้สินก็เช่นกัน คือมีระยะที่ต้องชำระคืนทั้งสั้นและยาว ปัญหาที่เกิดขึ้นบ่อยก็คือบางคนกู้ยืมหนี้สินระยะสั้น เอาไปลงทุนในสินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนในระยะยาว เช่น รูดบัตรเครดิต (ซึ่งเป็นหนี้สินหมนุเวียนระยะสั้น) ไปลงทุนในธุรกิจ (ซึ่งเป็นการลงทุนที่ให้ผลตอบแทนในระยะยาว) ผลก็คือ ยังไม่ทันได้ผลตอบแทนก็ถึงกำหนดต้องจ่ายหนี้ซะแล้ว ถ้าไม่มีเงินหมุนรับรองว่า “ช็อต” แน่ ๆ
• การลงทุนความเสี่ยงสูง
ระลึกไว้เสมอว่าการลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูง เช่น ตราสารอนุพันธ์ สลากกินแบ่งรัฐบาล ของสะสมเก็งกำไร หุ้น ฯลฯ ควรใช้ “เงินเย็น” ไม่ควรใช้เงินที่กู้ยืมมา เพราะโอกาสจะได้ผลกำไรจากการลงทุนนั้นไม่แน่นอน แต่สิ่งที่แน่นอนคือเงินต้นและดอกเบี้ยที่ต้องจ่าย ถ้าเกิดขาดทุนขึ้นมา อาจจะไม่มีเงินใช้หนี้ก็ได้ แบบนี้ย่อมไม่คุ้มที่จะเสี่ยง
• ทำบุญ / บริจาค
การทำนุบำรุงศาสนาหรือช่วยเหลือผู้อื่นนั้นเป็นเรื่องที่ดี แต่ควรทำเท่าที่กำลังเรามี ไม่ควรเลยจะต้องเดือดร้อนตัวเองไปกู้หนี้ยืมสินมา เพราะถึงแม้จะรู้สึกสบายใจในวันนี้ แต่จะพาลมาเดือดร้อนใจในวันที่ต้องใช้หนี้คืนนี่ล่ะ แบบนี้ไม่ดีแน่ ทำบุญไม่ต้องมากแต่ทำด้วยความสบายใจของทุกฝ่ายจะดีกว่า

แล้ว “หนี้ที่ดี” เป็นอย่างไร?
• หนี้ที่สร้างรายได้
ถ้าคุณมีแผนธุรกิจหรือแผนการลงทุนดี ๆ อยู่ แต่ยังขาดเงินทุนตั้งต้น การกู้ยืมก็เป็นตัวเลือกที่ดี เพราะจะต่อไปจะกลายเป็นรายได้คืนกลับมา เช่น กู้มาเพื่อซื้อเครื่องจักรผลิตสินค้า รถยนต์สำหรับส่งของ เป็นต้น
• หนี้เพื่ออนาคต
เช่น การกู้ยืมเพื่อการศึกษาของตัวเองหรือของบุตรหลาน เพื่อฝึกฝนทักษะใหม่ ๆ ที่เป็นประโยชน์ หาความรู้เพิ่มเติม เพิ่มโอกาสก้าวหน้าในหน้าที่การงาน ย่อมเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าแน่นอน
• หนี้เพื่อความมั่นคงระยะยาว
เช่น กู้เพื่อซื้อบ้าน คอนโด ที่ดิน ฯลฯ เพราะสินทรัพย์เหล่ามีความคงทนถาวร สามารถต่อยอดไปสร้างรายได้โดยการปล่อยเช่า ขายต่อ หรือเป็นมรดกให้ลูกหลานได้

แนวคิดดี ๆ ในการรับมือกับภาระหนี้แบบไม่เครียด

ทุกคนล้วนมีภาระและหน้าที่ที่แตกต่างกันไป รวมถึงภาระเรื่องเงิน ๆ ทอง ๆ ก็เช่นกัน หลายคนอาจจำเป็นต้องกู้หนี้ยืมสินมาเพื่อใช้จ่าย ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องเสียหายอะไร แต่ถ้าถึงคราวต้องใช้คืน แต่ลูกหนี้กลับมีเงินไม่พอ หรือยังไม่พร้อมด้วยเหตุผลใด ๆ ก็แล้วแต่ ย่อมทำให้ลูกหนี้เองเกิดความเครียด ท้อแท้ มืดแปดด้านขึ้นมาได้ มาดูกันว่ามีวิธีอะไรบ้าง ที่จะเตรียมใจเราให้พร้อมรับมือกับปัญหาหนี้สินได้โดยไม่เครียด

• ยอมรับความจริง!
ทุกปัญหาจะแก้ได้ต้องเริ่มต้นจากการยอมรับให้ได้ก่อนว่าปัญหานั้นเกิดขึ้นแล้ว หนี้สินก็เช่นกัน เมื่อมีภาระหนี้สินผูกพันซะแล้ว การแสร้งทำเป็นลืม ๆ ไปไม่ใช่ทางออกที่ดีเลย เพราะถึงแม้จะทำให้สบายใจได้ในวันนี้ แต่ไม่ว่าจะพรุ่งนี้หรือวันไหน ๆ หนี้ก็ยังอยู่ถ้ายังไม่รู้จักแก้ไขให้ถูกต้อง หันกลับมาเผชิญหน้าความจริงตั้งแต่วันนี้ดีกว่าปล่อยไว้จนสายเกินแก้

• “คนมีหนี้” ไม่ได้แปลว่าเป็น “คนล้มเหลว”
หลายคนรู้สึกท้อแท้ที่จะรับมือกับหนี้สิน เพราะมองว่าหนี้เกิดจากความไม่เอาไหนของตัวเอง ซึ่งไม่จริงเสมอไป ทุกคนต่างมีความจำเป็นของตัวเอง ในโลกนี้มีคนมากมายที่ต้องพบกับปัญหาแบบนี้แช่นเดียวกับคุณ และหลายคนก็สามารถผ่านพ้นมาได้สำเร็จ อย่ามัวโทษตัวเองอยู่เลย รีบลุกขึ้นสู้ไปด้วยกันเถอะ

• ทำความเข้าใจเหตุผลที่แท้จริง
ลองตอบตัวเองให้ได้ว่าหนี้ที่มีนั้นเกิดมาจากอะไรกันแน่ เป็นเพราะความจำเป็นจริง ๆ หรือเพราะความฟุ่มเฟือยกันแน่ ถ้ามาจากความจำเป็นก็อย่าเสียใจ จำไว้ว่าคุณได้ทำดีที่สุดแล้ว และพร้อมจะรับผิดชอบผลของมันอย่างกล้าหาญ แต่ถ้ามาจากความฟุ่มเฟือย รูดบัตรเพลินเกินตัวล่ะก็ รีบดัดนิสัยตัวเองโดยด่วน ก่อนจะเกิดหนี้ก้อนใหม่ตามมาติด ๆ

• จำไว้ว่าคุณไม่ได้อยู่ตัวคนเดียว
ไม่ว่าปัญหาจะยิ่งใหญ่แค่ไหน มันก็จะเบาลงได้ถ้ามีคนช่วยแชร์ อย่าเอาแต่แบกรับความกลุ้มใจไว้เพียงคนเดียว ลองหันไปปรึกษาคนในครอบครัวหรือเพื่อนที่ไว้ใจได้ พวกเขาต้องพร้อมเป็นกำลังใจให้คุณแน่นอน หรือคุณอาจจะลองเข้ากลุ่มสังคมออนไลน์กับคนที่ประสบปัญหาหนี้สินเหมือน ๆ กัน อาจจะได้คำแนะนำดี ๆ ก็ได้ เห็นไหมว่าคุณไม่ได้โดดเดี่ยวเลย

• “หนี้” เป็นแค่อุปสรรคเล็ก ๆ ในชีวิตเท่านั้น
คนเราเกิดมากว่าจะตายย่อมต้องเจออุปสรรคมากมายเป็นธรรมดา ซึ่งถ้าพิจารณาให้ดีจะเห็นว่าหนี้สินที่มีตอนนี้ก็เป็นแค่ปัญหาจุดเล็ก ๆ จุดหนึ่งในชีวิตคุณเท่านั้น คุณยังโชคดีกว่าอีกหลายคนบนโลกนี้เยอะ ฉะนั้นจะยอมแพ้ง่าย ๆ ไม่ได้นะ

• ลงมือแก้ปัญหาอย่างเป็นรูปธรรม
มองโลกในแง่ดีแล้ว อย่าลืมวางแผนการเงินอย่างชาญฉลาด และลงมือจัดการกับหนี้สินอย่างจริงจัง เช่น ลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น หารายได้เสริม และเจรจากับเจ้าหนี้เพื่อหาข้อตกลงที่ลงตัวกับทั้งสองฝ่าย เพียงเท่านี้ คำว่า “ปลอดหนี้” ก็อยู่ไม่ไกลเกินเอื้อม

มีหนี้ไม่ใช่เรื่องใหญ่ ที่สำคัญคือต้องมีสติ และมีกำลังใจที่จะสู้ต่อ จำไว้ว่าฟ้าหลังฝนนั้นสดใสเสมอ!

คอลัมน์ เศรษฐกิจคิดง่ายๆ “การปฏิรูปองค์กรจะเกิดได้ตั้งคำถามให้ถูก” วันจันทร์ที่ 16 เมษายน 2561

คอลัมน์ เศรษฐกิจคิดง่ายๆ 

การปฏิรูปองค์กรจะเกิดได้ตั้งคำถามให้ถูก

นสพ.โพสต์ทูเดย์ วันจันทร์ที่ 16 เมษายน 2561

มีผู้คนถามผมมาอยู่ไม่น้อยว่า

(1) ภายใต้ความเปลี่ยนแปลงของกระแสการใช้ชีวิต วิธีคิดของผู้คน ความก้าวหน้าของเทคโนโลยี ความแตกต่างระหว่างผู้คน ระบบเศรษฐกิจ การเมือง สังคม และการมองสิ่งต่างๆ ที่ไม่เหมือนกันของผู้คนที่เกี่ยวข้องในระบบนิเวศ (Ecosystem) และในบางครั้งก็มีความสุดโต่งอย่างไม่น่าเชื่อว่าจะเป็นไปได้ถึงขนาดนั้น
(2) ตัวเรา กิจการของเรา ความรับผิดชอบในองค์กรของเรา หรือกิจการ ที่เราดูแลบริหารจะไปรอดหรือไม่ จะ ล้มหายตายจากในช่วงเวลาที่ตัวเรา รับผิดชอบหรือไม่ ไอ้ที่เคยประสบความสำเร็จจะยังสำเร็จหรือไม่ จะเจอกับการเปลี่ยนแปลงจนไปต่อไม่ได้หรือไม่ จะถูกคุกคาม รบกวน หรือ Disrupt จากผู้เล่นหน้าใหม่ใจถึง (Start Up) จนยากที่จะประสบความสำเร็จเช่นเดิมหรือไม่
(3) แล้วอะไรคือคำตอบที่จะนำพาความอยู่รอดของตัวเรา องค์กรเรา ในยุคนี้ ยุคที่ความรู้ที่เคยมีมาในอดีตแทบจะเอามาใช้ต่อสู้ฟาดฟันในโลกธุรกิจที่เรากำลังลุยกันอยู่ในเวลานี้ให้ประสบความสำเร็จนั้นล้วนมีน้อยลงไปเรื่อยๆ
(4) การตั้งคำถามกับตัวเองกับองค์กรของตนเองอย่างถูกต้อง ไม่อ้อมค้อมกับความจริง ความเสี่ยง และโอกาสที่จะเกิดขึ้น เพราะถ้าเราไม่ตั้งคำถามที่โหดร้ายเพียงพอ ความโหดร้ายเวลามันมาถึงมันอาจจะทำให้เราต้องเสียใจ ตัวอย่างเช่นคำถามที่ว่า “ในอนาคตผู้คนยังต้องการทำธุรกรรมทางการเงิน แต่เขาจะไม่ต้องการธนาคารนะ” พอมาถึงเวลานี้ท่านผู้อ่านคงมองเห็นแล้วว่าเรื่องแบบนี้มันมาจริงๆ เช่น การโอนเงิน การชำระเงิน บางกรณีมันไม่ได้ทำโดยธนาคารอีกต่อไปแล้วเป็นต้น อีกตัวอย่างที่เราเห็นในประเทศไทยก็คือการตั้งคำถามของธนาคารขนาดใหญ่ที่ว่า “เราจะเป็นอะไรที่มากกว่าแบงก์ได้หรือไม่” ทั้งๆ ที่ก่อตั้งกันมาเป็นร้อยปีในรูปแบบที่เรียกว่า ธนาคารหรือแบงก์ก็ตาม
(4) คนทำงานในปัจจุบันที่ต้อง ขับเคลื่อนองค์กรจะเจอกับความโหดของผู้นำองค์กรในคำถามดังนี้
(4.1) อันไหนคือความคิดใหม่ๆ ที่คุณสามารถคิดออกมาได้ เพื่อช่วยพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันขององค์กรที่จ้างคุณมา
(4.2) ไอ้ความคิดใหม่ๆ ที่ว่ามาในข้อ (4.1) นั้นจะทำมันให้เป็นจริงได้ยังไง ไหนบอกมาเป็นขั้นเป็นตอนหน่อยได้ไหม
(4.3) เมื่อได้ข้อสรุปใน (4.1)+(4.2) แล้ว ช่วยบอกหน่อยว่าเมื่อไหร่มันจะเสร็จ เพราะเรารอไม่ได้ คู่แข่งกำลังหายใจรดต้นคอเราอยู่นะ
การตั้งคำถามที่ถูกเท่านั้นเราจึงจะรอด การตอบคำถามให้ถูกบนคำถามที่ผิด ถึงจะตอบถูกแทบทุกข้อ ผลของมันคือหายนะ ดังที่เราๆ ท่านๆ ก็เห็นมาไม่น้อยในหลายธุรกิจที่ล้มหายตายจากไปอย่างไม่น่าเชื่อ คำถามที่ “ถูกต้อง” ไม่ใช่ตั้งคำถามที่ “ถูกใจ” ผู้นำองค์กร องค์กรจึงจะไปรอดถ้าตอบคำถามได้ แต่ถ้าตั้งคำถามได้ถูกแล้ว หากยังตอบผิด ผู้นำองค์กร จะไปโทษใครไม่ได้แล้วนะครับ
การบริหารเศรษฐกิจที่มีโจทย์ว่าตัวเลขเศรษฐกิจในภาพใหญ่มันออกมาดี แต่ทำไมปัญหาความเหลื่อมล้ำมันดูจะไม่ค่อยดีเอาเลย ขณะเดียวกันผู้คนระดับล่างๆ ลงมา คนทำมาค้าขายทำไมจึงบ่นว่าขายไม่ดี ขายไม่คล่อง คนชั้นล่างลงไปอีกต่างอยู่ในภวังค์ชักหน้าไม่ค่อยจะถึงหลังกัน ประเด็นนี้จึงเป็นอะไรที่สำคัญมากๆ ในเชิงของการกำหนดจังหวะ ช้า-เร็ว-หนัก-เบา ในมาตรการเชิงกลยุทธ์ต่างๆ ที่กำลังถูกผลักดันออกมาอย่างต่อเนื่อง เข้มข้นในเวลานี้และอนาคตอันสั้นครับ

หยุดให้บริการตรวจเครดิตบูโร (ชั่วคราว) วันที่ 13-16 เมษายน 2561 เนื่องในเทศกาลสงกรานต์

หยุดให้บริการตรวจเครดิตบูโรชั่วคราว เนื่องในเทศกาลสงกรานต์

หยุดวันที่ 13-16 เมษายน 2561 

ขออภัยในความไม่สะดวกค่ะ

เปิดทำการปกติวันอังคารที่ 17 เมษายน 2561

  • ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (สำนักงานใหญ่) อาคาร 2 ชั้น 2
  • ปากซอยสุขุมวิท 25 อาคารกลาสเฮ้าส์  (ชั้นใต้ดิน)
  • อาคารเพิร์ล แบงก์ค็อก ชั้น 3 (โซนธนาคาร)
  • BTS ศาลาแดง (ภายในสถานี)
  • ห้างเจ-เวนิว (นวนคร) ชั้น 3 ติดประกันสังคม

เปิดทำการปกติวันเสาร์ที่ 21 เมษายน 2561

  • CITI (เดอะมอลล์ บางกะปิ, เดอะมอลล์ งามวงศ์วาน, เมกา บางนา)

โปรโมชั่นเดือนเมษายน  2561 :  “เครดิตดี รับปีใหม่ไทย” ตรวจเครดิตบูโร วันที่ 9-12 เมษายน 2561 รับพัดเครดิตบูโร..ฟรี (มีจำนวนจำกัด)  ณ ศูนย์ตรวจเครดิตบูโร 5 แห่ง

โปรโมชั่นประจำเดือนเมษายน  2561 :  “เครดิตดี รับปีใหม่ไทย”

ตรวจเครดิตบูโร วันที่ 9-12 เมษายน 2561

รับพัดเครดิตบูโร..ฟรี (มีจำนวนจำกัด)  ณ ศูนย์ตรวจเครดิตบูโร 5 แห่ง
ศูนย์ตรวจเครดิตบูโรที่ร่วมรายการ และเวลาที่ให้บริการ
•ธนาคารอาคารสงเคราะห์ สำนักงานใหญ่  อาคาร 2 ชั้น 2 วันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 9.00 น. – 16.30 น. (หยุดวันนักขัตฤกษ์)
•สถานีรถไฟฟ้า BTS ศาลาแดง (ภายในสถานี) วันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 9.00 น. – 18.00 น.
•ปากซอยสุขุมวิท 25  ชั้นใต้ดิน  อาคารกลาสเฮ้าส์  วันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 9.00 น. – 16.30 น. (หยุดวันนักขัตฤกษ์)
•ห้างเจ-เวนิว (นวนคร) ชั้น  3  ติดประกันสังคม  ทุกวัน เวลา 9.00 น. – 18.00 น.
•ศูนย์ตรวจเครดิตบูโร อาคารเพิร์ล แบงก์ค็อก ชั้น 3 วันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 9.00 น. – 18.00 น. (หยุดวันนักขัตฤกษ์)

เฉพาะรายการของลูกค้าบุคคลธรรมดาที่ยื่นขอตรวจของตนเองที่ศูนย์ตรวจเครดิตบูโรที่ร่วมรายการ

หมายเหตุ
– พัดมีจำนวนจำกัด แจกให้สำหรับท่านที่ตรวจเครดิตบูโรเท่านั้น (1 ท่านต่อพัด 1 เล่ม)
– โปรโมชั่น เฉพาะศูนย์ตรวจเครดิตบูโร 5 แห่ง
– เฉพาะรายการลูกค้าบุคคลธรรมดา ยื่นขอตรวจของตนเองเท่านั้น  (ไม่รับกรณีมอบอำนาจ)

ตรวจเครดิตบูโร ฟรี! งาน “มหกรรมเข้าถึงแหล่งเงินทุน” จ.พะเยา วันที่ 4 เมษายน 2561

เชิญตรวจเครดิตบูโร ฟรี!

งาน “มหกรรมเข้าถึงแหล่งเงินทุน” จ.พะเยา

วันที่ 4 เมษายน 2561
เวลา 12.00 – 16.30 น.
โรงแรมเกทเวย์ จ.พะเยา

(ฟรี!!…บริการตรวจเครดิตบูโร แต่ขอรับเป็นเงินบริจาคแทน พร้อมเปิดคลินิกเครดิตบูโรให้คำปรึกษา)

** เฉพาะรายการลูกค้าบุคคลธรรมดา ยื่นขอตรวจของตนเองเท่านั้น (ไม่รับกรณีรับมอบอำนาจ)

หยุดให้บริการตรวจเครดิตบูโร (ชั่วคราว) วันศุกร์ที่ 6 เมษายน 2561 เนื่องในวันจักรี

หยุดให้บริการตรวจเครดิตบูโรชั่วคราว เนื่องในวันจักรี

ขออภัยในความไม่สะดวกค่ะ

หยุดวันศุกร์ที่ 6 เมษายน 2561 เปิดทำการปกติวันจันทร์ที่ 9 เมษายน 2561

  • ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (สำนักงานใหญ่) อาคาร 2 ชั้น 2
  • ปากซอยสุขุมวิท 25 อาคารกลาสเฮ้าส์  (ชั้นใต้ดิน)
  • อาคารเพิร์ล แบงก์ค็อก ชั้น 3 (โซนธนาคาร)

เปิดทำการปกติวันศุกร์ที่ 6 เมษายน 2561

  • BTS ศาลาแดง (ภายในสถานี)
  • ห้างเจ-เวนิว (นวนคร) ชั้น 3 ติดประกันสังคม

ย้ายศูนย์ตรวจเครดิตบูโร ห้างเจ-เวนิว นวนคร ไปยังชั้น 3

ย้ายการให้บริการ ศูนย์ตรวจเครดิตบูโร (ห้างเจ-เวนิว นวนคร) จากชั้น 4 มาที่ ชั้น 3

ย้ายศูนย์ตรวจเครดิตบูโร ห้างเจ-เวนิว นวนคร ไปยังชั้น 3

ย้ายการให้บริการ ศูนย์ตรวจเครดิตบูโร (ห้างเจ-เวนิว นวนคร) จากชั้น 4 มาที่ ชั้น 3

แจ้งย้ายการให้บริการ ศูนย์ตรวจเครดิตบูโร (ห้างเจ-เวนิว นวนคร) จากชั้น 4 มาที่ ชั้น 3
ตั้งแต่วันที่ 2 เมษายน 2561 เป็นต้นไป
*ขออภัยในความไม่สะดวกค่ะ

เรื่องน่าอ่าน