Blog Page 165

ตรวจเครดิตบูโรผ่านโมบายแอป ”ttb touch”

ตรวจเครดิตบูโรออนไลน์

ตรวจเครดิตบูโรผ่านโมบายแอป “ttb touch” (ธนาคารทีทีบี)
รับรายงานข้อมูลเครดิตรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (E-Credit report) ทางอีเมลภายใน 3 วันทำการ

รู้ผลทันใจ มั่นใจได้จริง อยู่ที่ไหน ก็รับข้อมูลเครดิตได้ทุกที่ ทุกเวลา

ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลด้านสินเชื่อ บัตรเครดิต หรือสถานะบัญชี ก็ตรวจได้ง่ายๆ ผ่าน โมบายแอป “ttb touch” พร้อมเลือกวิธีรับผลได้ดั่งใจ 2 วิธี

1.รับผลทางอีเมลภายใน 3 วันทำการ (ข้อมูลเครดิตรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์)

2.รับผลทางไปรษณีย์ลงทะเบียนภายใน 7 วันทำการ (ข้อมูลเครดิตรูปแบบเอกสาร)

หมายเหตุ 

กรณีชื่อ-สกุล อีเมล เบอร์โทรศัพท์มือถือ และที่อยู่ของท่านมีการเปลี่ยนแปลง กรุณาปรับแก้ไขในระบบให้ถูกต้อง ก่อนใช้บริการ

หมายเหตุ :
– หากไม่ได้รับภายในกำหนด โปรดติดต่อ consumer@ncb.co.th
– บริการยื่นคำขอตรวจเครดิตบูโรผ่านเคาน์เตอร์สาขา และ ATM ของธนาคารทีเอ็มบี พร้อมรับผลทางไปรษณีย์ลงทะเบียนได้เช่นเดิม

ตรวจเครดิตบูโรออนไลน์ตรวจเครดิตบูโรออนไลน์ผ่านโมบายแอป TMB TOUCH ตรวจเครดิตบูโรออนไลน์ผ่านโมบายแอป TMB TOUCH ตรวจเครดิตบูโรออนไลน์ผ่านโมบายแอป TMB TOUCH ตรวจเครดิตบูโรออนไลน์ผ่านโมบายแอป TMB TOUCH ตรวจเครดิตบูโรออนไลน์ผ่านโมบายแอป TMB TOUCH

คอลัมน์ เศรษฐกิจคิดง่ายๆ : “Big data กับความจริงและนโยบายที่ควรจะเป็นไป” : วันจันทร์ที่ 26 มีนาคม 2561

คอลัมน์ เศรษฐกิจคิดง่ายๆ

Big data กับความจริงและนโยบายที่ควรจะเป็นไป

นสพ.โพสต์ทูเดย์ วันจันทร์ที่ 26 มีนาคม 2561

เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์ หนึ่งในหน่วยงานในสังกัดธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้เผยแพร่งานวิจัย โครงสร้างตลาดสินเชื่อรายย่อยไทยและพฤติกรรมของสถาบันการเงิน จากข้อมูลที่ได้รับเครดิตบูโร ซึ่งเป็นข้อมูลธุรกรรมสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ สถาบันการเงินเฉพาะกิจ และผู้ใช้บริการที่ไม่ใช่สถาบันการเงินหรือนันแบงก์ จำนวนกว่า 90 แห่ง

สิ่งที่ค้นพบในงานดังกล่าวได้เปิดเผยถึงข้อเท็จจริงว่า

1.โครงสร้างตลาดสินเชื่อรายย่อย ของไทยตั้งแต่ปี 2552-2559 มีทั้งสิ้น 65 ล้านสัญญา หรือคิดเป็นผู้กู้ทั้งสิ้นที่ 19.3 ล้านคน ครอบคลุมหนี้ครัวเรือนไทยทั้งระบบถึง 87% พบว่า ส่วนแบ่งทางธุรกิจ 60% อยู่ที่สถาบันการเงิน 6 แห่ง คือ ธนาคารพาณิชย์ 3 แห่ง และธนาคารรัฐ 3 แห่ง จากผู้เล่นในตลาด 90 กว่าแห่ง

2.นันแบงก์ มีสัดส่วนจำนวนผู้กู้ที่มีหนี้เสียมากที่สุดถึง 17.7% หากเทียบกับจำนวนผู้กู้ทั้งหมด โดยหนี้เสียเฉลี่ย 41,886 บาท/คน โดยธนาคารพาณิชย์มีจำนวนผู้กู้ที่เป็นหนี้เสีย 9.7% หนี้เสียเฉลี่ยต่อคนอยู่ที่ 122,645 บาท

3.สินเชื่อที่เป็นหนี้เสียและมีการเติบโตในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา คือ กลุ่มสินเชื่อ รถจักรยานยนต์ ส่วนสินเชื่อบัตรเครดิตและสินเชื่อรถยนต์ เป็นสินเชื่อที่แข่งกันดุเดือด ต้องเข้าใจว่า ตลาดสินเชื่อรถจักรยานยนต์มีผู้เล่นคนให้กู้เป็นจำนวนมาก ส่วนใหญ่เป็นนันแบงก์ และยังพบว่าสถาบันการเงินที่มุ่งเน้นปริมาณสินเชื่อ เพื่อขยายส่วนแบ่งตลาด ส่วนใหญ่จะมีคุณภาพสินเชื่อที่ต่ำกว่า หากแต่ว่าการเปิดรับกลุ่มลูกค้าที่มีความเสี่ยงสูง เพราะอยากได้ส่วนแบ่งการตลาดของฐานลูกค้า แต่ก็ป้องกันตัวโดยมีการคิดดอกเบี้ยในระดับสูงตามค่าความเสี่ยงที่ปล่อยกู้

4.สถาบันการเงินที่เป็นผู้ให้สินเชื่อมุ่งเน้นการขยายส่วนแบ่งทางการตลาดไปพร้อมกับการเลือกลูกค้าไม่ได้คิดแบบเดิมๆ ที่จะเสี่ยงเอาสินเชื่อคุณภาพไม่ดี หรือเอาลูกค้าไม่ดีหรือเอาอะไรก็ได้มาเข้าไปในฐานลูกค้าของตนเอง แต่ว่า การเข้าไปแข่งมากเกินไปในการหาลูกค้า ทั้งโฆษณาการสร้างแรงจูงใจ การใช้กลยุทธ์ดึงดูดให้มาใช้บริการต่างๆ อาจทำให้สถาบันการเงินบางแห่งผ่อนเงื่อนไขหลักเกณฑ์ หรือนโยบายการบริหารความเสี่ยงในการปล่อยกู้ เรื่องที่น่าห่วงคือ ไปดึงเอาลูกค้าผู้ที่สนใจจะกู้ที่ยังไม่พร้อม มีอายุน้อยไป มีรายได้ยังไม่มากนัก ที่เรียกว่าผู้กู้หน้าใหม่เข้ามาสู่วังวนคนเป็นหนี้ จนอาจก่อให้เกิดปัญหาในระยะถัดไปได้ จึงพบว่าในกลุ่มเป้าหมายที่มีการแข่งขันสูง ก็มักเป็นกลุ่มที่มีคุณภาพสินเชื่อด้อยลงไป

5.ผลวิจัยที่น่าตกใจพบว่า ที่ผ่านมามีสถาบันการเงินเร่งเข้าปล่อยกู้ในกลุ่มลูกค้าที่มีอายุน้อยกว่า 25 ปี โดยยอมแลกกับคุณภาพของสินเชื่อที่ต่ำลง จากข้อมูล พบว่าสัดส่วนจำนวนผู้กู้ที่มีหนี้เสียส่วนใหญ่อยู่ในอายุ 25-35 ปี ซึ่งมีสัดส่วน ถึง 20.2% เทียบกับผู้กู้ทั้งหมด หรือมีหนี้เฉลี่ยต่อคน 52,177 บาท/คน ในระยะ 4 ปีที่ผ่านมากลุ่มผู้กู้อายุน้อยกว่า 25 ปี สามารถเข้าถึงสินเชื่อส่วนบุคคล บัตรเครดิต หรือสินเชื่อรถยนต์มากที่สุด เนื่องจากมีการแข่งขันเพื่อขยายฐานลูกค้าใหม่ที่ไม่เคยก่อหนี้ หรือหาลูกหนี้หน้าใหม่มากขึ้น จนทำให้กลุ่มผู้กู้ที่มีอายุต่ำกว่า 25 ปี กลายเป็นกลุ่ม ที่มีปัญหาหนี้เสียมากที่สุด

“คนที่มีหนี้บัตรเครดิตหลายใบ จะมีความเสี่ยงน้อยกว่าคนที่มีบัตรใบเดียว ต่างกับสินเชื่อส่วนบุคคล หรือบัตรกดเงินสดที่คนมีหลายใบ เป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงมากกว่า เพราะการให้สินเชื่อบัตรเครดิตแบงก์มีความระมัดระวังในการให้ใบที่ 2-3 อยู่แล้ว แต่สินเชื่อบุคคลผู้ให้กู้ส่วนใหญ่เป็นนันแบงก์ ซึ่งมีความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อน้อยกว่า ธปท.จึงค่อนข้างเข้มด้านสินเชื่อบุคคล” นักวิชาการของสถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วยฯ พูดไว้

6.ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายการกำกับดูแลไม่ให้มีการสะสมความเสี่ยงมากเกินไป จึงควรต้องออกแบบให้มีลักษณะเฉพาะเรื่อง เฉพาะกลุ่ม ไม่ใช้แบบยาสามัญกับทุกโรค หรือแบบ One size fits all ในลักษณะนโยบายเดียวครอบคลุมทุกสถาบันการเงิน ควรกำหนดในแบบเฉพาะเจาะจงกับบริบทของสถานการณ์ของแต่ละแห่ง

การเป็นหนี้ไม่ใช่ความผิด ไม่ใช่บาป เป็นหนี้ได้ เพราะหนี้ก็เหมือนไฟ หากใช้ เพื่อแสงสว่าง สร้างความอบอุ่น หุงหาอาหารก็ดีไป แต่ถ้ามากเกินไปจะเป็นไฟไหม้บ้านและอาจอันตรายถึงชีวิตได้ครับ

ตรวจเครดิตบูโร ฟรี! งาน “Commart Connect 2018” วันที่ 22-25 มีนาคม 2561  เวลา 10.00 – 20.00 น. เพลนารี ฮอลล์ (บูธ9) ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์

ตรวจเครดิตบูโร ฟรี! งาน “Commart Connect 2018”

วันที่ 22-25 มีนาคม 2561  เวลา 10.00 – 20.00 .

เพลนารี ฮอลล์ (บูธ9) ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์

 

รับเครื่องดื่ม..ฟรี

  1. เมื่อตรวจเครดิตบูโร รอรับรายงานเครดิตบูโร
  2. โชวรายงานเครดิตบูโรของท่าน แก่เจ้าหน้าที่ ณ เคาน์เตอร์บาร์ เครดิตบูโรคาเฟ่
  3. รับเครื่องดื่ม (1 ท่านต่อ 1 แก้ว)  (มีจำนวนจำกัด ในแต่ระรอบที่กำหนดไว้ในแต่ละวัน)

 

(ฟรี!!…บริการตรวจเครดิตบูโร แต่ขอรับเป็นเงินบริจาคแทน พร้อมเปิดคลินิกเครดิตบูโรให้คำปรึกษา)

** เฉพาะรายการลูกค้าบุคคลธรรมดา ยื่นขอตรวจของตนเองเท่านั้น (ไม่รับกรณีรับมอบอำนาจ)

คุณสุรพล โอภาสเสถียร ผู้จัดการใหญ่ เครดิตบูโร ร่วมเสวนาในหัวข้อ Data Analytics, Machine Learning, and AI : The Essential solution for Future Business ภายในงาน Bangkok Fintech Fair 2018 วันที่ 20 มีนาคม 2561

คุณสุรพล โอภาสเสถียร ผู้จัดการใหญ่ เครดิตบูโร
ได้รับเกียรติจาก ธนาคารแห่งประเทศไทย ร่วมเสวนาในหัวข้อ Data Analytics, Machine Learning, and AI : The Essential solution for Future Business ภายในงาน Bangkok Fintech Fair 2018 ณ Conference Hall เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2561

คอลัมน์ เศรษฐกิจคิดง่ายๆ Bangkok Fintech Fair 2018 วันจันทร์ที่ 19 มีนาคม 2561

คอลัมน์ เศรษฐกิจคิดง่ายๆ

Bangkok Fintech Fair 2018

วันจันทร์ที่ 19 มีนาคม 2561

 

ในวันที่บทความนี้เผยแพร่ก็น่าจะเป็นวันที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กำหนดจัดให้มีงานส่งเสริม สนับสนุน กระตุ้น และส่งสัญญาณถึงสิ่งที่กำลังจะมา สิ่งที่กำลังเปลี่ยนแปลง ผ่านการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในแวดวงการเงิน ที่มีเทคโนโลยีเป็นอีกด้านหนึ่งของเหรียญในการให้บริการทางการเงิน มีผู้คนในอุตสาหกรรมการเงินระบุไว้ว่า

…ถึงผมไม่เข้าใจเทคโนโลยีมากนัก แต่มันก็จะเกิดขึ้น และมันจะเข้ามา รบกวนรูปแบบความเชื่อของลูกค้า รูปแบบธุรกิจเดิมภายใต้การบริหารของคณะกรรมการที่เราๆ นั่งดูแลกันอยู่ ถ้าธุรกิจที่เราดูแลบริหารจัดการจะรอด เห็นจะมีทางเดียวคือ “คิดให้มากกว่าการเป็นธนาคาร” ผมคิดว่าลูกค้าเขาไม่ได้ต้องการตัวธนาคาร แต่เขาต้องการเพียงบริการที่เคยทำโดยธนาคารมาตลอด ไม่ว่าจะเป็นฝากเงิน ถอนเงิน โอนเงิน ชำระเงิน จ่ายค่าบริการ สินเชื่อ กองทุน ประกัน และอีกสารพัด ซึ่งบริการเหล่านี้มันควรจะง่าย สะดวก และตอบโจทย์เขามากกว่านี้ มากกว่าที่เป็นอยู่ไม่ใช่หรือ มันคงไม่ใช่แบบต๊ะติ๊งโหน่งและเก็บค่าธรรมเนียม ค่าบริการแพงๆ อย่างที่ผ่านๆ มา ซึ่งเรื่องพวกนี้มันน่าจะต้องจบกันไปเสียที จบกันไป ได้แล้ว…
ผมทายได้ล่วงหน้าเลยว่า ผู้คนในงานจะบอกเป็นเสียงเดียวกันว่า อุปสรรคสำคัญคือกฎหมายที่ไม่สอดคล้องกับเทคโนโลยี และไม่สนับสนุนการนำข้อมูลไปใช้วิจัยและพัฒนา การจัดให้มีบริการใหม่ๆ ไปนำเสนอ การจัดความสัมพันธ์ในรูปแบบนิติกรรมใหม่ๆ บนเทคโนโลยีที่ไม่ใช่เอาสำเนาเอกสารสำคัญ รับรองสำเนาทุกหน้า เซ็นสด เซ็นกันต่อหน้า ต้องมาพบกันทั้งหมด ไม่ว่าเจ้าหน้าที่ธนาคาร สถาบันการเงิน ลูกค้า หรือบุคคล อ้างอิงตามแต่จะเป็นธรรมเนียมปฏิบัติ กันมาในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา เอาเข้าจริงมันคงเหมือนการเข้าใจ การยอมรับ การยอมใช้ เครื่องกรองน้ำในละครสุด ดังบุพเพสันนิวาส ที่บรรดาออเจ้า ทั้งหลายติดตามกันทั่วบ้านทั่วเมือง

ทำไมต้องมีกฎบัตร กฎหมายมา รองรับ ก็เพราะว่าผู้เล่นทุกคนใน Ecosystem ต้องการหลังพิงที่จะทำให้

1.ผู้ที่ต้องการทำธุรกรรมทางการเงินรวมถึงด้านหลักทรัพย์ด้วยวิธีการดิจิทัลสามารถทำได้โดยไม่ต้องกังวลว่ากฎหมายจะไม่รองรับ

2.ผู้ที่ต้องการทำ non face-to-face KYC อันเป็นจุดเริ่มของความไว้เนื้อ เชื่อใจกันก่อนให้บริการสามารถอ้างอิงได้ว่าทำอย่างไรจะถูกต้องตามกฎหมาย กฎหมายจะช่วยให้สถาบันการเงินเข้าถึงข้อมูลประกอบการทำกระบวนการพิสูจน์และยืนยันตัวตนของคนขอใช้บริการ (KYC) จากหน่วยงานของรัฐได้โดยสะดวกขึ้นด้วย

3.ทำให้การแชร์ข้อมูลที่ปกปิดความเป็นตัวตน หรือ Identity แล้ว ที่เรียกว่ากระบวนการ Anonymized Data ทำได้โดยชอบด้วยกฎหมาย

4.และยิ่งไปกว่านั้น สำหรับหน่วยงานรัฐที่มีข้อมูลอันจำเป็นในการอำนวยการให้ธุรกรรมทางการเงินผ่านเครื่องไม้เครื่องมืออัจฉริยะแบบ non face-to-face มีหน้าที่เปิดเผย Anonymized Data เหล่านั้นให้ผู้ให้บริการทางการเงินและด้านเทคโนโลยีได้นำไปใช้วิจัยและพัฒนาบริการ หรือที่เราเรียกกระบวนการนี้ว่า Open Data

นอกจากนี้ เป้าหมายการส่งเสริมให้บริการทางการเงินแบบดิจิทัลนี้จะช่วยให้ประชาชนเข้าถึงบริการทางการเงินอย่างทั่วถึง สะดวก และด้วยต้นทุนที่ลดลง

กฎหมายลักษณะแบบนี้จะเป็น ความพยายามไปแก้ไขเรื่องที่เป็นปัญหาเหมือนๆ กันของบริการทางการเงินหลายประเภท อย่างไรก็ดีก็ต้องยอมรับนะครับว่ายังมีปัญหาอุปสรรคอื่นๆ ที่ไม่สามารถแก้ด้วยกฎหมาย กฎระเบียบแต่อย่างเดียว เพราะในรายละเอียดนั้นเอาเข้าจริงยังคง เป็นหน้าที่ของแต่ละผู้กำกับดูแล หรือ Regulator ต้องไปทำภายใต้อำนาจของตัวเอง เช่น
1.การเปิดพื้นที่ให้ผู้เล่นรายใหม่เข้ามาแข่งขันได้
2.การลดภาระจากกติกาที่ไม่ได้จำเป็นต่อการคุ้มครองผู้ใช้บริการ
3.การสร้างความรู้ให้เกิดความ เท่าทันของผู้คนผู้ใช้บริการ

ไปฟัง ไปดู ให้เห็นเป็นประจักษ์ ที่งานนะครับ งาน Bangkok Fintech Fair 2018 งานที่ออเจ้าทั้งมวลมิควรพลาด

โปรโมชั่น “ฟรี…ค่าบริการ ตรวจเครดิตบูโร (สำหรับพี่หมื่นและออเจ้าที่ใส่ชุดไทย)” วันที่ 16-31 มี.ค. 61 ณ ศูนย์ตรวจเครดิตบูโร 5 แห่ง

โปรโมชั่นประจำเดือนมีนาคม 2561 

“ฟรี…ค่าบริการ ตรวจเครดิตบูโร (สำหรับพี่หมื่นและออเจ้าที่ใส่ชุดไทย)”

เครดิตบูโรร่วมภูมิใจในความเป็นไทย  เชิญออเจ้าใส่ใจเครดิต ใส่ชุดไทย มาตรวจเครดิตบูโร

วันที่ 16-31 มีนาคม 2561 ณ ศูนย์ตรวจเครดิตบูโร 5 แห่ง

1. เงื่อนไขการใช้บริการ ::
ฟรี…ค่าบริการ ตรวจเครดิตบูโร (สำหรับพี่หมื่นและออเจ้าที่ใส่ชุดไทย)”  เมื่อใส่ชุดไทย มาตรวจเครดิตบูโร วันที่ 16-31 มีนาคม 2561  ณ ศูนย์ตรวจเครดิตบูโร 5 แห่ง

2.ศูนย์ตรวจเครดิตบูโรที่ร่วมรายการ และเวลาที่ให้บริการ
•ธนาคารอาคารสงเคราะห์ สำนักงานใหญ่  อาคาร 2 ชั้น 2 วันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 9.00 น. – 16.30 น.
•สถานีรถไฟฟ้า BTS ศาลาแดง (ภายในสถานี) วันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 9.00 น. – 18.00 น.
•ปากซอยสุขุมวิท 25  ชั้นใต้ดิน  อาคารกลาสเฮ้าส์  วันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 9.00 น. – 16.30 น.
•ห้างเจ-เวนิว (นวนคร) ชั้น  4  ติดประกันสังคม  ทุกวันเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์  เวลา 9.00 น. – 18.00 น.
•ศูนย์ตรวจเครดิตบูโร อาคารเพิร์ล แบงก์ค็อก ชั้น3 วันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 9.00 น. – 18.00 น.

3. เฉพาะรายการของลูกค้าบุคคลธรรมดาที่ยื่นขอตรวจของตนเองที่ศูนย์ตรวจเครดิตบูโรที่ร่วมรายการ

คอลัมน์ เศรษฐกิจคิดง่ายๆ : เริ่มเห็นความหวังเรื่องหนี้สินจากมุมมองสภาพัฒน์ : วันจันทร์ที่ 12 มีนาคม 2561

คอลัมน์ เศรษฐกิจคิดง่ายๆ

เริ่มเห็นความหวังเรื่องหนี้สินจากมุมมองสภาพัฒน์

นสพ.โพสต์ทูเดย์ วันจันทร์ที่ 12 มีนาคม 2561

ได้เห็นข่าวสารของสภาพัฒน์ หรือ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการ เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ที่ได้เปิดเผยออกมาในช่วงปลายสัปดาห์ ถึงสถานการณ์หนี้ครัวเรือนไทยล่าสุดไตรมาส 3 ปีที่แล้ว (พ.ศ. 2560) ว่า

1.มีอัตราการเพิ่มที่ชะลอลง (จำนวนหนี้ที่เพิ่มวิ่งช้าลงกว่าแต่ก่อน) คือ ภาระหนี้สินครัวเรือนมีมูลค่าเท่ากับ 11.7 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 3.7% ชะลอลงจาก ที่ขยายตัว 4.2% ในช่วงเดียวกันของปี ที่ผ่านมา โดยมีสัดส่วน 78.3% ต่อจีดีพี

2.ความสามารถในการชำระหนี้โดย รวมดีขึ้น ดูได้จากไหนหรือครับ ตัวเลขที่ น่าสนใจ คือ 2.1) สัดส่วนหนี้เพื่อการอุปโภคบริโภคที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (หนี้ NPL) ต่อสินเชื่อรวม พบว่าลดลงจาก 2.7% ในไตรมาส 3/2560 เป็น 2.6% ในไตรมาส 4 โดยลดลงในสินเชื่อเกือบทุกกลุ่ม 2.2) การผิดนัดชำระหนี้เกิน 3 เดือนขึ้นไปของสินเชื่อส่วนบุคคล (หนี้ NPL) มีอัตราการลดลงถึง 16.3% ต่อเนื่องจากไตรมาส 2 และ 3 ที่ลดลง 15.5% และ 21.1% ตามลำดับ คิดเป็นสัดส่วนหนี้ NPL ต่อหนี้รวมอยู่ที่ 2.5% ของสินเชื่อส่วนบุคคลคงค้าง 2.3) สินเชื่อบัตรเครดิตที่ค้างชำระเกิน 3 เดือน หรือเป็น NPL บัตรเครดิตมีอัตราลดลง 27.2% และมีสัดส่วนหนี้ NPL เท่ากับ 1.9% ของยอดสินเชื่อบัตรเครดิตคงค้าง

3.สำหรับไตรมาส 4/2560 ที่ต่อเนื่องมาภาระหนี้สินของครัวเรือนยังคง มีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้นดูได้จากยอดคงค้างสินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภคส่วนบุคคลของธนาคารพาณิชย์ที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นจาก 5.6% ในไตรมาส 3/2560 เป็น 6.1% ในไตรมาส 4/2560 (ย้ำว่า มีสัดส่วน 1 ใน 3 นะครับจากข้อมูลของ ผู้เขียน เนื่องจากยังมีผู้เล่นอื่นๆ เช่น non bank หรือธนาคารเฉพาะกิจ หรือเช่าซื้อ)

4.จุดเด่นคือสินเชื่อเพื่อซื้อหรือเช่าซื้อรถยนต์เพิ่มขึ้นถึง 8.4% เป็นไปตามยอดขายรถยนต์ที่มีการขยายตัวต่อเนื่อง หลังสิ้นสุดระยะเวลา 5 ปี ในการถือครองรถยนต์ตามอภิมหาโครงการรถยนต์คันแรก

5.ข่าวไม่ค่อยดี คือ จากข้อมูลของเครดิตบูโรพบว่าคนเป็นหนี้ที่มีประวัติการก่อหนี้ การชำระหนี้ในฐานข้อมูลของเครดิตบูโรที่มีอยู่ทั้งหมดทุกวัยจำนวน 29 ล้านลูกหนี้นั้น กลุ่มคนทำงานที่มีอายุประมาณ 37 ปี คือ ตอนปลาย Gen Y หรือตอนต้น Gen X ในจำนวน 100 คน ที่เป็นหนี้นั้น พบว่า มีประมาณ 20 คน ที่มีอย่างน้อยหนึ่ง บัญชีค้างชำระเกินกว่า 90 วัน คำถามคือเขาเหล่านั้นที่กำลังหาทางขึ้นมาจากบ่อหนี้จะมีสมาธิในการทำงานหรือไม่ อย่างไร

สภาพัฒน์ได้ให้ข้อมูลต่อว่า การลดลงของหนี้ครัวเรือนนั้นมาจาก 2 ส่วน คือ

1.สภาพการณ์ทางเศรษฐกิจที่ดีขึ้นส่งผลต่อความสามารถในการชำระหนี้ รวมทั้งรัฐบาลมีมาตรการต่างๆ เพื่อแก้ไขปัญหาหนี้ครัวเรือน เช่น มาตรการปรับปรุงแนวทางการกำกับดูแลสินเชื่อบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับ ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เพื่อดูแลการก่อหนี้ของภาคครัวเรือนให้เหมาะสมและจัดโครงการแก้ปัญหาหนี้ส่วนบุคคลที่ไม่มีหลักประกัน (คลินิกแก้หนี้) เพื่อให้การช่วยเหลือลูกหนี้ให้สามารถหาข้อยุติกับเจ้าหนี้ตามความสามารถทางการเงิน ซึ่งจากการดำเนินการตั้งแต่วันที่ 1 มิ.ย.-31 ธ.ค. 2560 มีประชาชนคนเป็นหนี้ติดต่อสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับโครงการทั้งสิ้น 5.54 หมื่นราย (ต้องตามไปดูต่อว่าแก้ไขได้กี่ราย)

2.มาตรการแก้หนี้นอกระบบผ่านโครงการสินเชื่อรายย่อย เพื่อใช้จ่ายฉุกเฉินของธนาคารของรัฐนับตั้งแต่เดือน มี.ค. 2560-31 ม.ค. 2561 โดยธนาคารออมสินและธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรเป็นแกนกลางได้อนุมัติสินเชื่อแล้ว 2.23 แสนราย เป็นเงิน 9,915 ล้านบาท รวมทั้งดำเนินคดีกับเจ้าหนี้นอกระบบที่ทำผิดกฎหมายรวม 2,061 ราย

สิ่งที่น่าเป็นห่วงมากๆ คือ ในปี 2561 การกู้ยืมของภาคครัวเรือนน่าจะเริ่มสูงขึ้น เห็นได้จากตั้งแต่ไตรมาส 4 ปี 2560 สินเชื่อรถยนต์ (กู้ซื้อรถยนต์) มีเพิ่มขึ้นมากขึ้นและรวมกับความเชื่อมั่นที่ดีขึ้นจะทำให้ความต้องการใช้จ่ายปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยที่มีเรื่องของรายได้ของประชาชน น่าจะสูงขึ้นตามแนวโน้มค่าจ้างที่คาดว่าจะเพิ่มเฉลี่ย 4%

“ประเด็นของภาคครัวเรือนปีนี้น่าจะมาอยู่ที่เรื่องทางสังคม สุขภาพ คุณภาพชีวิต มากกว่าเรื่องหนี้ หรือเรื่องปัญหาทางเศรษฐกิจ” เลขาธิการสภาพัฒน์ กล่าว

พวกเราไม่ว่าท่านว่าผมจะยากดีมีจนอย่างไร ก็ต้องไปกันต่อนะครับ แต่พอจะดีใจขึ้นมาเมื่อเริ่มเห็นความหวังในเรื่อง หนี้สินจากมุมมองสภาพัฒน์ครับ

 

คอลัมน์ เศรษฐกิจคิดง่ายๆ : คำตอบอยู่ที่ชาวบ้าน : วันจันทร์ที่ 5 มีนาคม 2561

คอลัมน์ เศรษฐกิจคิดง่ายๆ

คำตอบอยู่ที่ชาวบ้าน

นสพ.โพสต์ทูเดย์ วันจันทร์ที่ 5 มีนาคม 2561 

จากเรื่องราวที่เป็นบทสนทนาในแวดวงสังคมไทยผ่านช่วงระยะเวลาหนึ่งอันประกอบด้วย เรื่องหวย 30 ล้านบาทที่แย่งชิงความเป็นเจ้าของ เรื่องการเข้าป่าล่าสัตว์ของเจ้าของธุรกิจใหญ่เรื่องการทุบรถยนต์ที่จอดปิดทางเข้าออกจนสะเทือนไปถึงการเปิดทำตลาดที่ผิดระเบียบ การออกมาให้ข้อมูลเรื่องการสวมสิทธิโกงเงินช่วยเหลือคนพิการคนด้อยโอกาส

บัดนี้โลกยุคใหม่ ยุคที่ข้อมูลข่าวสารไหลเวียนโดยไม่ต้องรอสื่อ ไม่ต้องรอนักข่าวนำเสนอ ประชาชนผู้พบเห็นเหตุการณ์ต่างเป็นผู้นำเสนอ ผู้คนที่รับสารต่างก็มีปฏิกิริยาตอบโต้ บ้างก็กดดัน บ้างก็ด่าทอต่อว่า บางก็คุกคาม ในด้านร้ายเราก็จบพบว่าหากความจริงยังไม่ปรากฏออกมา

แต่การตัดสิน การตัดสินใจเกิดไปแล้ว ดังที่มีคนพูดว่า เรามีศาลเฟซบุ๊ก ศาลยูทูบ และคำพิพากษา ทวิตเตอร์ไปแล้ว ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นได้ก่อให้เกิดธุรกรรมต่างๆ มากมายทั้งที่เป็นเรื่องเศรษฐกิจหรือไม่ใช่เรื่องเศรษฐกิจ แต่ผู้คนในสังคมต่างต้องรับผล ไม่ว่าใครจะเอาไม้บรรทัดมาตรวัดของหลักกู เผ่ากู ไปฟาด ไปตีเผ่าอื่น กลุ่มอื่น ก็ดูเหมือนจะเป็นเรื่องปกติ เหมือนๆ กับพอเวลาการแสดงดนตรีขึ้นเพลงบัวลอย ก็จะเริ่มการตีกันของวัยรุ่นทันที
ผมได้สนทนากับเพื่อนๆ ในรุ่นราวคราวเดียวกัน เพื่อนคนนี้ได้ปลีกวิเวกไปอยู่ที่บ้านเขาใหญ่ ทำงานบุญงานกุศลกับชุมชน หมู่บ้าน ทิ้งความเป็นคนเมืองไปอยู่กับธรรมชาติ เขาได้ตอบคำถามเวลาที่ผมบอกว่า “หมดหวังกับสังคมเวลานี้” แต่คำตอบของเพื่อนคนนี้ทำให้ใจคนเมือง คนทำงานได้กลับมาคิดถึงสิ่งที่ต้องทำ สิ่งที่ควรทำ และสิ่งที่ต้องไม่ทำ ดังนี้ครับ

…การต่อสู้กับความไม่ถูกต้องที่ขัดกับมโนธรรมหรือศีลธรรม มันไม่มีกาละ คือ ไม่มีเวลากำหนดว่าเมื่อไหร่ต้องทำ ไม่มีข้อจำกัดว่าหนุ่มสาว หรือแก่ชรา หากใช้เงื่อนไขอายุหรือเวลามาเป็นกำแพงตั้งกรอบไว้ สังคมนี้คงหมดความหวัง เพราะเรายังมีความหวัง เรายังมีความฝัน เราจึงไม่ใช่แค่ซากศพที่เดินได้ต้องเริ่มจากตัวเรา เริ่มจากการให้ที่ไม่สิ้นสุด เริ่มจากระเบียบวินัยในตัวเอง เริ่มจากการรอคิวเข้าแถวให้เป็นระเบียบจัดแยกขยะโดยไม่ต้องให้ใครบอก ไม่จอดรถแบบมักง่ายทำอะไรอย่าพยายามหาทางลัด ทางสะดวก

ทำผิดกฎจราจรอย่ายัดเงินให้เจ้าหน้าที่เอาลูกเข้าโรงเรียนอย่าใช้เส้นสายเลิกวิ่งเต้นเข้าหลักสูตรสายสัมพันธ์ เพื่อต่อยอดธุรกิจแบบเก็บแต้มแกรนด์สแลม (คือเข้ามันทุกหลักสูตร) เราเริ่มสร้างสังคมที่น่าอยู่ได้จากครอบครัว ผมไม่กังวลเรื่องลูกๆ จะมีลูกหลาน (ตรงนี้เพื่อนโต้แย้งผมเพราะผมไม่อยากให้ลูกมีหลานๆ เพราะหมดหวังกับสังคมเวลานี้) เพราะผมเชื่อมั่นจิตสำนึกที่ดีของคนในสังคมนี้แม้เพียงส่วนน้อย เริ่มจากวันนี้ จากตัวเรา จากครอบครัวเรา เราไปรอด…

ผมคิดต่อว่าหลายคนทำไมจึง ตกผลึกความคิดหลังจากไปใช้ชีวิตกับชาวบ้าน ทำไมความเป็นเมืองจึงทำให้ใจคนไม่นิ่ง ไม่เกิดปัญญา ทำไมคำตอบจึงอยู่ที่ป่าเขา อยู่ที่ชนบท อยู่ที่ต่างจังหวัด

จนผมได้พบคำของท่านอาจารย์ ป๋วย ที่เคยกล่าวไว้ว่า

ไปหาชาวบ้านไปอยู่กับเขาเรียนรู้จากเขา วางแผนกับเขาทำงานกับเขา

เริ่มจากสิ่งที่เขารู้ สร้างจากสิ่งที่เขามีสอนโดยชี้ให้เห็น เริ่มจากการทำไม่ใช่เพื่อโอ้อวด แต่เพื่อเป็นแบบแผน

ไม่ใช่สิ่งละอันพันละน้อย แต่เป็นระบบ

ไม่ใช่ทำทีละอย่าง แต่ใช้หลักผสมผสาน

ม่ใช่ตามใจ แต่ช่วยให้เปลี่ยนแปลงไม่ใช่โอบอุ้ม แต่ช่วยสร้างพลังประเทศ เศรษฐกิจ สังคม การเมือง การปกครอง การอยู่ร่วมกัน มีแต่ต้องใช้ใจที่มีวินัย จึงจะเดินไปข้างหน้าได้…ขอบคุณครับ

ชำระหนี้ครบหมดแล้ว ทำไมในรายงานข้อมูลเครดิต ยังปรากฎข้อมูลค้างชำระอยู่

จ่ายหนี้ครบหมดแล้ว ทำไมเมื่อไปตรวจเครดิตบูโร ข้อมูลเครดิตของเราถึงยังมีประวัติค้างชำระอยู่ 

รายงานข้อมูล เปรียบเสมือน “สมุดพกด้านสินเชื่อ” โดยจะเก็บข้อมูลประวัติการชำระเงินตามข้อเท็จจริงทั้ง ในกรณี “ค้างชำระ” และ “ไม่ค้างชำระ” โดยไม่สามารถแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงได้ ทั้งนี้กฎหมายกำหนดให้เครดิตบูโรเก็บข้อมูลเป็นระยะเวลา 3 ปี หรือ 36 เดือน โดยข้อมูลจะทยอยเลื่อนออกจากฐานข้อมูลเมื่อลูกหนี้ได้ชำระหนี้ครบ และทำการปิดบัญชีเรียบร้อยแล้ว สถาบันการเงินที่เป็นสมาชิกเครดิตบูโร มีหน้าที่นำส่งข้อมูลการปิดบัญชีมายังเครดิตบูโรในเดือนถัดไป โดยเครดิตบูโรจะใช้เวลาดำเนินการประมาณ 30 วันเพื่ออัพเดตข้อมูล ซึ่งในช่วงระหว่างนี้ถ้าเรารักษาวินัยทางการเงินไม่ผิดนัดชำระหนี้อีก ก็จะสามารถมีประวัติเครดิตที่ดีได้อีก #เครดิตบูโร

เรื่องน่าอ่าน