Blog Page 166

ตรวจเครดิตบูโร ฟรี! งาน “มหกรรมบ้านดี” จ.ระยอง วันที่ 2-4 มีนาคม 2561

เชิญตรวจเครดิตบูโร ฟรี! งาน “มหกรรมบ้านดี” จ.ระยอง
วันที่ 2-3 มีนาคม 2561 เวลา 11.00 – 19.00 น.
วันที่ 4 มีนาคม 2561  เวลา 10.00 – 18.00 น.
ห้างเซ็นทรัล พลาซ่า จ.ระยอง

(ฟรี!!…บริการตรวจเครดิตบูโร แต่ขอรับเป็นเงินบริจาคแทน พร้อมเปิดคลินิกเครดิตบูโรให้คำปรึกษา)

** เฉพาะรายการลูกค้าบุคคลธรรมดา ยื่นขอตรวจของตนเองเท่านั้น (ไม่รับกรณีรับมอบอำนาจ)

 

หยุดให้บริการตรวจเครดิตบูโรชั่วคราว วันพฤหัสบดีที่ 1 มีนาคม 2561

หยุดให้บริการตรวจเครดิตบูโรชั่วคราว เนื่องในวันมาฆบูชา

ขออภัยในความไม่สะดวกค่ะ

หยุดวันพฤหัสบดีที่ 1 มีนาคม 2561 เปิดทำการปกติวันศุกร์ที่ 2 มีนาคม 2561

  • ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (สำนักงานใหญ่) อาคาร 2 ชั้น 2
  • ปากซอยสุขุมวิท 25 อาคารกลาสเฮ้าส์  (ชั้นใต้ดิน)
  • อาคารเพิร์ล แบงก์ค็อก ชั้น 3 (โซนธนาคาร)

เปิดทำการปกติวันพฤหัสบดีที่ 1 มีนาคม 2561

  • BTS ศาลาแดง (ภายในสถานี)
  • ห้างเจ-เวนิว (นวนคร) ชั้น 4 ติดประกันสังคม

 

ข่าวเครดิตบูโร 001/2561 : ตรวจเครดิตบูโร

ข่าวเครดิตบูโร 001/2561

ตรวจเครดิตบูโร

พล.อ.อนันตพร กาญจนรัตน์ (ที่ 4 จากซ้าย) รมว.พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เยี่ยมชมและใช้บริการตรวจเครดิตบูโร โดยคุณธฤต ศรีอรุโณทัย (ที่ 3 จากซ้าย) ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด (เครดิตบูโร)    ให้การต้อนรับ ภายในงาน “ผู้สูงอายุไทย ก้าวไกลไทยแลนด์ 4.0” นวัตกรรมความรู้ทางการเงินเพื่อสังคมผู้สูงอายุ ภายใต้แนวคิด “สร้างวินัยการออม ชีวิตพร้อมเมื่อสูงวัย” เพื่อส่งเสริมการสร้างวินัยการออมสำหรับคนทุกช่วงวัย ด้วยการเตรียมความพร้อมก่อนเข้าสู่วัยสูงอายุที่มีคุณภาพ ณ ห้องประชุมศาสตราจารย์สังเวียน อินทรวิชัย ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย  ถ.รัชดาภิเษก วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2561

 

 

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมกรุณาติดต่อ

บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด (เครดิตบูโร) ฝ่ายธุรกิจสัมพันธ์และภาพลักษณ์องค์กร 02 095 5867

E-mail: ilovebureau@ncb.co.th / website: www.ncb.co.th / facebook: www.facebook.com/ilovebureau

พล.อ.อนันตพร กาญจนรัตน์ รมว.พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เยี่ยมชมและใช้บริการตรวจเครดิตบูโร

พล.อ.อนันตพร กาญจนรัตน์ (ที่ 4 จากซ้าย) รมว.พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เยี่ยมชมและใช้บริการตรวจเครดิตบูโร โดยคุณธฤต ศรีอรุโณทัย (ที่ 3 จากซ้าย) ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด (เครดิตบูโร)  ให้การต้อนรับ ภายในงาน “ผู้สูงอายุไทย ก้าวไกลไทยแลนด์ 4.0” นวัตกรรมความรู้ทางการเงินเพื่อสังคมผู้สูงอายุ ภายใต้แนวคิด “สร้างวินัยการออม ชีวิตพร้อมเมื่อสูงวัย” เพื่อส่งเสริมการสร้างวินัยการออมสำหรับคนทุกช่วงวัย ด้วยการเตรียมความพร้อมก่อนเข้าสู่วัยสูงอายุที่มีคุณภาพ ณ ห้องประชุมศาสตราจารย์สังเวียน อินทรวิชัย ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ถ.รัชดาภิเษก วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2561

คุณธฤต ศรีอรุโณทัย ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ เครดิตบูโร ร่วมบรรยายหัวข้อ “สร้างวินัยการออม ชีวิตพร้อมเมื่อสูงวัย” วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2561

คุณธฤต ศรีอรุโณทัย ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด (เครดิตบูโร) (ที่สองจากขวา) ได้รับเกียรติจาก กรมกิจการผู้สูงอายุ ร่วมเสวนาหัวข้อ “สร้างวินัยการออม ชีวิตพร้อมเมื่อสูงวัย” พร้อมออกบูธให้บริการตรวจเครดิตบูโร..ฟรี  ณ ห้องประชุมศาสตราจารย์สังเวียน อินทรวิชัย ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ถ.รัชดาภิเษก เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2561 เวลา 8.30 – 16.00 น.

คอลัมน์เศรษฐกิจคิดง่ายๆ : การเข้าถึงบริการทางการเงิน : วันจันทร์ที่ 26 กุมภาพันธ์ 2561

คอลัมน์ เศรษฐกิจคิดง่ายๆ

การเข้าถึงบริการทางการเงิน

นสพ.โพสต์ทูเดย์ วันจันทร์ที่ 26 กุมภาพันธ์ 2561

สองสัปดาห์ที่ผ่านมามีการพูดและนำเสนอมากมายเกี่ยวกับการตั้งตัวแทนการให้บริการทางการเงินพื้นฐาน อันได้แก่ การฝาก ถอน โอน และชำระค่าบริการ ซึ่งสอดคล้องกับแนวโน้มการลดจำนวนสาขาของธนาคารพาณิชย์ที่บางแห่งจะปรับลดค่อนข้างมากในช่วงสามปีข้างหน้าจากระดับพันกว่าสาขา เหลือเพียงสี่ร้อยแห่ง เป็นต้น

คำถามก็คือมันมีอะไรที่มาเป็นเหตุและปัจจัยจนต้องทำให้ธนาคารกลางต้องมีแนวนโยบายให้สถาบันการเงิน เช่นธนาคารสามารถมีตัวแทนการให้บริการ

เมื่อตามไปดูบทวิจัยของสถาบันเศรษฐกิจวิจัยป๋วย อึ๊งภากรณ์ ที่ระบุออกมาชัดเจนว่า ถ้าเราวัดการเข้าถึงบริการทางการเงินในระบบว่าต้องมีรัศมีการเดินทาง 5 กิโลเมตร (กม.) เป็นหลักแล้วจะพบว่า

(1) หมู่บ้านในกรุงเทพฯ และปริมณฑล เข้าถึงบริการทางการเงินในระบบสูงสุด 95% แต่ในต่างจังหวัด เช่น ภาคอีสานนั้น มีหมู่บ้านเข้าถึงน้อยสุดเทียบภาคอื่นแค่ 30%

(2) ข้อมูลครึ่งหลังปี 2559 จะพบว่าในประเทศไทยเรา ATM จำนวน 26.5 เครื่อง/1 แสนคน สาขาธนาคาร 20.9 สาขา/1 แสนคน สหกรณ์ 13 แห่ง/1 แสนคน

(3) เมื่อนำจุดพิกัดหมู่บ้านกว่า 6.74 หมื่นจุดมาวัดความใกล้และไกลในการเข้าถึงบริการทางการเงิน พบว่ามีค่าเฉลี่ยใกล้สุดเพื่อเข้าถึง ATM 6.6 กม. สาขาธนาคาร 6.9 กม. สถาบันสหกรณ์อยู่ที่ 5 กม. โรงจำนำ 27กม. สถาบันการเงินนอกระบบ เช่น สหกรณ์กลุ่มอาชีพต่างๆ 7.9 กม. สถาบันการเงินชุมชน 28.5 กม.(4) องค์กรที่น่าจะเหมาะเป็นตัวแทนให้บริการ โดยดูจากที่ตั้งและการหมุนเวียนของเงิน ได้แก่  4.1 ที่ทำการไปรษณีย์ที่มีระยะทางเข้าถึง 7.8 กม. 4.2 สถานีบริการน้ำมัน 5.4 กม. 4.3 ร้านสะดวกซื้อ 7.8 กม. 4.4 ผู้ให้บริการโทรคมนาคมตู้เติมเงิน 13.6 กม.

จึงไม่แปลกใจที่มีผู้คนออกมาคิดกันไปต่างๆ นานาว่าการให้คนในพื้นที่ห่างไกลเข้าถึงบริการทางการเงินดีขึ้น่าจะใช้สถานีบริการน้ำมัน ร้านค้าโชห่วย ร้านสะดวกซื้อ ร้านที่มีเครื่องรูดบัตร

ไม่นับที่ทำการไปรษณีย์ที่ทำได้อยู่แล้ว ลองคิดดูสิครับว่าจากตัวเลขรายได้ปี 2560 รายได้ร้านเซเว่นอีเลฟเว่น ต่อสาขาเฉลี่ย 78,706 บาท/วัน รายได้ต่อบิลต่อครั้งที่เข้ามาซื้อของตกประมาณ 65 บาท เฉลี่ยคนเข้าร้านประมาณ 1,216 คน/วัน มากกว่าสาขาธนาคารเยอะมาก

(5) ธนาคารควรร่วมกันทำ ATM สีขาวแบบในต่างประเทศลักษณะ คือ ไม่ใช่ ATM ของธนาคารใดธนาคารหนึ่งติดตั้งในพื้นที่ห่างไกล และลดจำนวน ATM ที่กระจุกตัวมากเกินไป ซึ่งทำให้สามารถลดต้นทุนได้

(6) รัฐบาลกำลังออกกฎหมาย “สถาบันการเงินชุมชน” เพื่อให้บริการทางการเงินระดับชุมชน เช่น กลุ่มออมทรัพย์ กลุ่มสัจจะออมทรัพย์ ยกระดับเป็นนิติบุคคล ให้ ธ.ก.ส.และธนาคารออมสินเป็นพี่เลี้ยงหน้าตาของรูปแบบการให้บริการทางการเงินไม่นานคงจะชัดเจนมากขึ้น และช่วยให้เข้าถึงบริการทางการเงินได้ดีขึ้น

“รายงานข้อมูลเครดิต” เกี่ยวข้องกับ “Blacklist” หรือไม่!

“รายงานข้อมูลเครดิต” เกี่ยวข้องกับ “Blacklist” หรือไม่!

กรณีที่ลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้ รายงานก็จะแสดงข้อมูลว่าลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้ไว้ในระบบข้อมูลของบริษัทข้อมูลเครดิตเช่นกัน

“รายงานข้อมูลเครดิต” คือการรายงานประวัติการชำระสินเชื่อตามข้อเท็จจริง

กรณีลูกหนี้ชำระหนี้ได้ ไม่ค้างชำระ รายงานก็จะแสดงว่า “สถานะบัญชีเป็นปกติ”

ไม่มีการรายงานว่าลูกหนี้คนใดติด “Blacklist”

3 สิ่งต้องห้ามเพื่อสุขภาพการเงินแข็งแรง

“การออม = การซ้อมก่อนกู้”

จะทำอะไรให้ได้ดี ย่อมต้องมีการฝึกซ้อมให้ชำนาญ มาออมเงินกันตั้งแต่วันนี้ และยึดหลัก 3 สิ่งต้องห้ามเพื่อสุขภาพการเงินที่แข็งแรงในอนาคตข้างหน้ากันดีกว่า

  1. หน้าใหญ่ไร้เงินออม : ทำตัวหน้าใหญ่ จ่ายให้เพื่อนตลอด แต่จริงๆ แล้วไม่มีเงินออมเลยซักบาท
  2. ก่อร่างสร้างหนี้ : กู้หนี้ยืมสิน เพียงเพื่อซื้อของฟุ่มเฟือย ของไม่จำเป็น
  3. ซื้อของไม่ดูความคุ้มค่า : ไม่รู้จักใช้เงิน ซื้อของที่ไม่คุ้มกับจำนวนเงินที่เสียไป

ไปตรวจเครดิตบูโรแล้วพบว่ามีข้อมูลไม่ถูกต้อง ทำยังไงดี?

ไปตรวจเครดิตบูโรแล้วพบว่ามีข้อมูลไม่ถูกต้อง ทำยังไงดี?

คุณสามารถยื่นเรื่องขอตรวจสอบและแก้ไขข้อมูลเครดิตได้ โดยการรวบรวมเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้อง และยื่นเรื่องโดยกรอกแบบฟอร์ม “คำขอใช้สิทธิตรวจสอบ/แก้ไขข้อมูลเครดิต” พร้อมแนบเอกสารหลักฐาน และส่งมาที่บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ เพื่อแจ้งไปยังสถาบันการเงินที่เป็นสมาชิกผู้นำส่งข้อมูลให้ตรวจสอบข้อเท็จจริงตามคำขอ โดยจะมีการแจ้งผลการตรวจสอบหรือแก้ไขให้เจ้าของข้อมูลรับทราบภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันที่ได้รับคำขอ#เครดิตบูโร

เรื่องน่าอ่าน