เชิญตรวจเครดิตบูโร ฟรี! งาน “มหกรรมบ้านดี” จ.ชลบุรี
วันที่ 23-24 กุมภาพันธ์ 2561 เวลา 11.00 – 19.00 น.
วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2561 เวลา 10.00 – 18.00 น.
ห้างเซ็นทรัล พลาซ่า จ.ชลบุรี
(ฟรี!!…บริการตรวจเครดิตบูโร แต่ขอรับเป็นเงินบริจาคแทน พร้อมเปิดคลินิกเครดิตบูโรให้คำปรึกษา) ** เฉพาะรายการลูกค้าบุคคลธรรมดา ยื่นขอตรวจของตนเองเท่านั้น (ไม่รับกรณีรับมอบอำนาจ)
ตรวจเครดิตบูโร ฟรี! งาน “มหกรรมบ้านดี” จ.ชลบุรี วันที่ 23-25 กุมภาพันธ์ 2561
คอลัมน์ เศรษฐกิจคิดง่ายๆ : ถ้าคิดว่า ‘ออม’ คือวินัย คือการซ้อมก่อนกู้ เราจะ ‘กู้’ ได้ : วันจันทร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ 2561
คอลัมน์ เศรษฐกิจคิดง่ายๆ
ถ้าคิดว่า ‘ออม‘ คือวินัย คือการซ้อมก่อนกู้ เราจะ ‘กู้‘ ได้
นสพ.โพสต์ทูเดย์ วันจันทร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ 2561
บทความวันนี้มาจากการได้สนทนากับอาจารย์ซึ่งเป็นผู้ที่คร่ำหวอดในแวดวงการให้สินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ ตลอดจนได้มุมมองจากพี่ๆ ที่มีประสบการณ์จริงในภาคการปฏิบัติ
1.มันจริงหรือไม่ที่การกำหนดนโยบาย มาตรการ ในเรื่องอสังหาริมทรัพย์มันมาจากการอิงตำรา แต่ขาดมุมมองไปด้านความเป็นจริงของชีวิต
2.เราไม่ได้ตระหนักถึงความสำคัญของ Demand เช่น คนรุ่นใหม่ Gen Y เข้ามามีอิทธิพลกับเศรษฐกิจเมื่อปีไหน คน Gen X อ่อนล้าไปกับการปรับตัวทำงาน การแบกภาระหนี้ และอีก 10-15 ปีไทยจะเข้าสู่สังคมสูงอายุ ต้องตื่นมาให้ความสำคัญกับ Gen Y เพราะเป็นตัวสำคัญที่ก่อหรือเพาะเชื้อหนี้เสีย
จุดสำคัญคือ คน Gen Y อาจ ไม่กลัวการเป็นหนี้เสีย รักรถมากกว่า รักบ้าน ซื้อคอนโดราคาเป็นล้านบน รายได้ที่มากไม่พอ ซึ่งบัญชีสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ที่เปิดใหม่ในปี 2560 เกินกว่า 50% มาจากลูกหนี้คน Gen Y คือสินเชื่อซื้อคอนโด
3.การจัดการกับฝั่ง Demand ก็คือฝั่งคนที่จะกู้ซื้อบ้านที่ผูกกับรายได้ แต่ถ้าเขาเป็นผู้มีรายได้น้อย รายได้ไม่แน่นอน มันก็น่าจะต้องใช้มาตรการเรื่องการออมเข้ามาจัดการหรือไม่
อาจารย์ผมท่านเสนอแนวคิดที่ น่าสนใจว่าผู้มีรายได้น้อยและอาจไม่มีหลักฐานรายได้ หากออมรายเดือนได้ 20 เดือน เขาควรจะได้โบนัสเป็นเงินสมทบ 25-50% (50% สำหรับบ้านไม่เกิน 1 ล้านบาท 25% สำหรับบ้าน 1-2 ล้านบาท ของเงินที่ออมได้) ฟังดูอาจคิดว่าเยอะ แต่เป็นเงินเพียง 5 หมื่นบาท เช่น บ้านราคา 1 ล้านบาท ออมเงินดาวน์เดือนละ 5,00020 เดือน = 1 แสนบาท ให้โบนัส 50% = 5 หมื่นบาท รวมเป็นเงินดาวน์ 1.5 แสนบาท กู้ธนาคารของรัฐได้ 8.5 แสนบาท ผ่อนเดือนละ 5,100 บาท
แทนที่รัฐจะต้องไปหาเงินไปให้กู้ตั้ง 1 ล้านบาท เสียแค่ 5 หมื่นบาท บวกกับได้เห็นความตั้งใจที่จะมีบ้านผ่านการออมของเขาเหล่านั้นในระยะเวลาหนึ่ง และจะปลดเปลื้องภาระรัฐหรือไม่ในการช่วยจัดหาแหล่งเงินให้กับฝั่งคนให้กู้ (ด้าน Supply) ที่ทำกันมาตลอดที่ผ่านมา ถ้าจะให้มีพลังก็ต้องเอาธนาคารพาณิชย์เข้ามาร่วมวงด้วย
ระบบคิดแบบไทยๆ มักจะมองทางแก้ไขปัญหาโดยวิธี “เอาใจจนทำให้คนเสียคน” เช่น หาทางลบล้างประวัติเครดิตเสียเร็วๆ หรือการประกันสินเชื่อแบบมีคนมารับความเสี่ยงแทน โดยไม่ปรับพฤติกรรมซึ่งเป็นการส่งเสริมให้ ซับไพรม์ขยายตัวมากๆ แทนที่จะส่งเสริมให้คนประหยัดและออมเงิน
แทนที่จะขอผ่อนปรนการพิจารณาสินเชื่อ ทุกฝ่ายควรมาช่วยกันให้คนมีวินัยทางการเงินน่าจะดีกว่านะครับ เป็นการแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ ไม่อย่างนั้นผ่อนปรนไปก็ต้องมาแก้หนี้เสียกันอีก
ท้ายที่สุด คือ ต้องติดตามพฤติกรรม วินัยการเงินของ Gen Y ต่อเนื่อง เพราะคืออนาคตของชาติ ถ้ายังไม่ตระหนักถึงเรื่องวินัยการเงิน การวางแผนการเงินแล้ว จะส่งผลเสียกับทั้งตัวเองและระบบเศรษฐกิจในเวลาอันใกล้นี้แล้ว นี่คือความน่ากลัวที่รอเวลาเปิดออกมา
คุณธฤต ศรีอรุโณทัย ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ เครดิตบูโร บรรยายอบรมสมาชิกธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน) เรื่องความรู้ข้อมูลเครดิต วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2561
คุณธฤต ศรีอรุโณทัย ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด ได้รับเกียรติจาก ธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน) ในการบรรยายอบรมสมาชิกให้ความรู้เกี่ยวกับข้อมูลเครดิต พร้อมออกบูธให้บริการตรวจฟรี ณ สำนักงานคิวเฮ้าส์ สาทร เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2561 เวลา 13.30 – 16.30 น.
คอลัมน์ เศรษฐกิจคิดง่ายๆ : ยืนยันตัวตนจำเป็นบนโลกดิจิทัล : วันจันทร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ 2561
คอลัมน์ เศรษฐกิจคิดง่ายๆ
ยืนยันตัวตนจำเป็นบนโลกดิจิทัล
นสพ.โพสต์ทูเดย์ วันจันทร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ 2561
หากเราย้อนกลับไปประมาณปลายปี 2559 ต้นปี 2560 เราจะพบว่า มีกระแสการตื่นตัวการให้บริการ แบบอะไรๆ ก็ต้องมีคำว่าดิจิทัล ต่อท้าย โดยเฉพาะบริการทางการเงิน ไม่ว่าจะเป็นเงินฝาก สินเชื่อ การลงทุน การซื้อขายหลักทรัพย์ การประกันภัย ประกันชีวิต แล้วทุกฝ่ายไม่ว่ารัฐหรือเอกชนก็พบว่าหากจะทำ ให้สิ่งที่ต้องการดังกล่าวเกิดขึ้นจริง
โดยสถาบันการเงินทุกประเภทสามารถให้บริการผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ แท็บเล็ต หรืออุปกรณ์คอมพิวเตอร์อัจฉริยะ โดยผู้รับบริการไม่ต้องมาแสดงตัวที่สาขาหรือจุดให้บริการ (Non face to face) จะเกิดขึ้นได้ยากหรือเกิดขึ้นไม่ได้ถ้าไม่มีระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือ Digital ID platform มาใช้
ในที่สุดภาคเอกชนภายใต้การสนับสนุนภาครัฐจึงได้ร่วมจัดตั้ง นิติบุคคลโดยมีทุนจดทะเบียนรวม อยู่ที่ 100 ล้านบาท ซึ่งมี 7 องค์กรหรือสมาชิกในสมาคมวิชาชีพ ได้ร่วมลงทุนจัดตั้งบริษัทใหม่นี้ ซึ่งประกอบ ด้วย สมาคมธนาคารไทยที่มีสมาชิกเป็นธนาคารพาณิชย์ สมาคมประกันชีวิตไทย สมาคมประกันวินาศภัยไทย สมาคมบริษัทหลักทรัพย์ไทย บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ (เครดิตบูโร) เป็นต้น
ในส่วนโครงสร้างการถือหุ้น จะประกอบด้วย ธนาคารพาณิชย์สมาชิกสมาคมธนาคารไทย ถือหุ้น 42.5% (จัดสรรเงินลงทุนตามขนาดสินทรัพย์) เครดิตบูโร 20% อีก 37.5% จะมาจากสมาคมบริษัทหลักทรัพย์ สมาคมประกันชีวิตไทย สมาคมประกันวินาศภัยไทย เป็นต้น
นิติบุคคลนี้จะศึกษา พัฒนา จัดให้มี จัดสร้าง จัดตั้งระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยจะมีการเชื่อมโยงกับฐานข้อมูลต่างๆ กับหน่วยงานภาครัฐ เช่น กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กรมการกงสุล กรมบังคับคดี กรมการปกครอง เป็นต้น
โดยกลุ่มที่จะมาเป็นผู้ใช้บริการ ได้แก่ ธนาคารพาณิชย์ บริษัทประกันภัย-ประกันชีวิต บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน บริษัทหลักทรัพย์ และภาคเอกชน ที่ต้องการพิสูจน์และยืนยันตัวตนของลูกค้าที่มายื่นขอใช้บริการผ่านช่องทางต่างๆ
ตามแผนการที่กำหนดกันไว้มีเป้าหมายจะให้บริการได้ด้วยเทคนิคและข้อกำหนดของกฎหมาย บนข้อจำกัดของแหล่งข้อมูลตามที่มีอยู่และเป็นไปได้ภายในช่วงครึ่งปีหลังของ ปี 2561 คาดกันว่าบริการแรกๆ คือ การเปิดบัญชีแบบดิจิทัล การให้ความยินยอมแบบดิจิทัล ระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนแบบดิจิทัล (e-KYC)
การเชื่อมโยงที่สำคัญมากๆ คือการต่อเชื่อมกับระบบ Doing business portal ของภาครัฐภายใต้โครงการยกระดับขีดความสามารถของประเทศ หรือเพื่อให้ประเทศได้รับการประเมินจากธนาคารโลกในรายงาน Ease of doing business ได้รับการจัดอันดับที่สูงขึ้น (อันดับปัจจุบัน คือ 26)
สำหรับความกังวลในเรื่องกฎหมายและข้อจำกัดต่างๆ ทั้งที่เห็นด้วยเห็นต่างของใครๆ หลายคนนั้น จะมีข้อสรุปจากทีมงานด้านกฎหมายในส่วนที่เกี่ยวกับกระบวนการได้มาและการใช้ข้อมูลเพื่อพิสูจน์และยืนยันตัวตน
ผมได้รับทราบว่าขณะนี้ก็มีแผน การยกร่างกฎหมายให้แล้วเสร็จในเดือน เม.ย. 2561 นี้ และจะเสนอให้ รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ที่รับผิดชอบเรื่องนี้พิจารณาก่อนนำเสนอคณะรัฐมนตรี ในส่วนของการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลจะเป็นอีกส่วนหนึ่งที่อยู่ในกระบวนการเสนอกฎหมายอยู่ในเวลานี้
สถานะปัจจุบันของโครงการมีดังนี้ครับ
1.การศึกษาทางเทคนิคกำลังจะเสร็จสมบูรณ์
2.การจัดตั้งนิติบุคคลจะเสร็จสมบูรณ์ในเดือน ก.พ.
3.ข้อสรุปในโครงการนำร่องน่าจะจบในเดือน ก.พ.นี้ หรืออย่างช้า ในเดือน มี.ค.
4.ข้อกฎหมายก็ใกล้จบกันแล้วในโลกบริการดิจิทัลเราจำเป็นต้องมีระบบการพิสูจน์และยืนยัน ตัวตนแบบดิจิทัล เราจะได้เห็นกัน ในประเทศไทยครึ่งปีหลังนี้ครับ
คอลัมน์ เศรษฐกิจคิดง่ายๆ : การทำงานภาคสนาม : วันจันทร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ 2561
คอลัมน์ เศรษฐกิจคิดง่ายๆ
การทำงานภาคสนาม
นสพ.โพสต์ทูเดย์ วันจันทร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ 2561
มองดูความตั้งใจและการทำงานภาคสนามบ้าง อย่าเอาแต่อยู่ในห้องแอร์แล้วติติง
เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาผมได้มีโอกาสฟังการออกรายการของท่าน ผู้ที่บอกตัวเองและใครกับใครว่าฉันคือ นักวิชาการ ทำงานวิจัยมาสารพัด รู้เรื่องดีเกี่ยวกับคนที่มีรายได้น้อย มาให้ข้อมูลกับพิธีกรในรายการ ตินั่น ติงนี่ บอกว่าอันนั้นไม่น่าถูก อันนี้ไม่น่าจะทำ เรื่องนี้เสียเวลา เรื่องนั้นอาจไม่คุ้มค่างบประมาณบ้าง
ความรู้สึกผมในฐานะที่เป็นคนทำงาน ชอบทำงาน ชอบเจอกับปัญหาจริงๆ มากกว่าที่จะนั่งในห้องแอร์ แล้วอ่านงานวิจัยที่ทีมงานทำมาให้ จากนั้นก็คิดแล้วก็พูดออกมา
ปัญหาของความเหลื่อมล้ำ การมีรายได้น้อยเกินไป บนคำถามที่มีมาในหลายสิบปีคือ
คนจนเรามีเท่าใด คนจนเราอยู่ไหน เขาหน้าตาเป็นอย่างไร อะไรคือสิ่งที่ทำให้เขาจนคืออะไร จะทำให้เขาพ้นจนจะต้องทำอย่างไร และท้ายสุดจะป้องกันไม่ให้มีคนจนมากกว่านี้ ใครจะต้องทำอะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ อย่างไร
ท่านนักวิชาการครับ ท่านยอมรับไหมว่าก่อนที่ทางการจะจัดให้มีการลงทะเบียน เราไม่มีข้อมูลชัดๆ แบบว่านาย ก. นาย [http://ข.เลขที่บัตรประจำตัวประชาชนคนนี้เป็นคนจนหรือไม่] ใช่หรือไม่ เรามีแต่ข้อมูลสำรวจสำมะโน หรือจากการส่งคนไปเก็บแบบสอบถาม ไอ้ฐานข้อมูลแบบจะๆ อย่างที่ทางการทำขึ้นมา 11.4 ล้านราย ทำแบบสเกลทั่วประเทศ จับต้องได้มีการคัดกรองด้วยเงื่อนไขเป็นชั้นๆ เท่าที่กฎหมายแบบ 0.4 จะอนุญาตให้ทำได้ เมื่อมีข้อมูลแล้ว การทำให้สมบูรณ์ขึ้น ดีขึ้น คัดกรองมากขึ้น ก็จะตามมาแน่นอนมันไม่มีทางสำเร็จในวันเดียว หนเดียว ครั้งเดียวแน่นอน แต่มันดีกว่า ที่ผ่านมาใช่หรือไม่ การมาติติงว่าบางกลุ่มอาจไม่มาลงทะเบียน หรือ บางกลุ่มเป็นคนที่พยายามจะจนเพื่อให้ได้สิทธิ โดยเฉพาะสิทธิที่จะได้เงินสดจากการแจกมันเป็นเรื่องที่คนทำงานก็ทราบ แต่งานนี้มันคือการลงทะเบียนแบบสมัครใจ เขาไม่มา หรือเขาปลอมตัวมา มันคือนิสัย คือพฤติกรรมของผู้คนใช่หรือไม่ ท่านจะติติงไปถึงไหนกัน…ผมชอบคำพูดของคุณตูนที่พูดทำนองว่า “เขาชอบทำ เขาไม่ชอบพูด”
กลับมาที่โครงการนี้ครับ การบูรณาการงานหน่วยงานของรัฐบาล เพื่อแก้ปัญหาความยากจนทุกจังหวัดทั่วประเทศ ครอบคลุมการให้สวัสดิการเท่าที่งบประมาณเอื้ออำนวย “ตั้งแต่ครรภ์มารดาถึงเชิงตะกอน” คือ เนื้องานที่ทางการกำลังเร่งดำเนินการ และยังมีเรื่องการทำวิจัยที่หา คำตอบในโจทย์พี่น้องประชาชน และการวัดผลบนตัวชี้วัดความสำเร็จ ที่เป็นรูปธรรมคือ การดำเนินการแก้ไขทำให้คนในโครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 11.4 ล้านคนพ้นทุกข์ โดยการลดภาระค่าใช้จ่าย ต่อไปคือ การพัฒนาอาชีพให้มีรายได้มากขึ้น
“1 ปีนี้เป็นเวลาที่ไม่นานและก็ไม่เร็วเกินไป สำหรับความยากจนความเหลื่อมล้ำ ซึ่งเป็นปัญหาสะสมมาเป็นเวลากว่า 50 ปีแล้ว แต่ เชื่อว่า 1 ปีที่เหลืออยู่นี้น่าจะทำได้หลายๆ อย่าง โดยเฉพาะเราจะ ยกระดับชีวิตของเขาได้อย่างไร”
ท่านรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีได้เปิดเผยตามสื่อมวลชนสิ่งที่ผมติดตามและอยากให้ท่าน [http:// งานทั้งหลายช่วยกัน ติดตามและไปร่วมด้วยช่วยกันกับภาครัฐก็คือ ร่าง พ.ร.บ.สถาบันการเงินประชาชน] เพื่อสนับสนุนการจัดตั้งและยกระดับสถาบันการเงินชุมชนให้มีมาตรฐาน มีสถานะความเป็นนิติบุคคลให้สามารถออกกฎเกณฑ์ กำหนดเงื่อนไขตอบโจทย์ความต้องการของสมาชิกอย่างที่สถาบันการเงินอื่นทำไม่ได้ เช่น (ก) คุณสมบัติของผู้ที่จะยื่นขอกู้ยืมไม่ต้องตรวจเครดิตบูโร แต่ใช้ชุดข้อมูลอื่น เช่น การชำระหนี้ค่าสาธารณูปโภคแทนได้หรือไม่
(ข) ผู้ยื่นขอกู้ไม่จำเป็นต้องมีบัญชีเงินเดือน เพราะในชีวิตจริงท่านเหล่านั้นมีรายได้ไม่ประจำ เป็นต้น
(ค) เราจะสามารถมีสถาบันการเงินระดับฐานราก ระดับตำบลได้ประมาณ 7,000 สาขาทั่วประเทศ โดยมี ธ.ก.ส.และธนาคารออมสินเป็นพี่เลี้ยง โดยไม่ให้มีประเด็นปัญหาแบบสหกรณ์ออมทรัพย์บางแห่งดังที่เป็นข่าวได้อย่างไร
(ง) การทบทวนพิจารณา พ.ร.บ.ขายฝาก เป็นอีกเรื่องที่เราน่าจะได้เห็นการเปลี่ยนแปลง
มองดูความตั้งใจและการทำงานภาคสนามบ้าง อย่าเอาแต่อยู่ในห้องแอร์แล้วติติง มองดูคนที่ทำงานใช้มือ ใช้เท้า ใช้ใจ ทำงาน หากเรามองด้วยใจที่เป็นธรรม มันไม่ง่าย ไม่ง่ายเท่ากับอ่านงานวิจัยที่ทีมงานทำแล้วมาแสดงความคิดเห็นออกสื่อ …อย่างน้อยคนเราควรมีน้ำใจและน้ำคำที่ส่งเสริมกัน เพราะชั่วดีถี่ห่างก็คือไทยเราทุกท่านทุกคน
มันอาจถึงเวลาที่ต้องปฏิรูปพฤติกรรมของนักวิชาการบ้างหรือไม่ ผมอยากเห็นนักวิชาการ 4.0 ครับ
เชิญตรวจเครดิตบูโร ฟรี! : วันที่ 2-4 กุมภาพันธ์ 2561 : งาน “มหกรรมบ้านดี” จ.ชลบุรี
เชิญตรวจเครดิตบูโร ฟรี!
งาน “มหกรรมบ้านดี” จ.ชลบุรี
วันที่ 2-3 กุมภาพันธ์ 2561 เวลา 11.00 – 19.00 น.
วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2561 เวลา 10.00 – 18.00 น.
ฮาเบอร์ มอลล์ แหลมฉบัง จ.ชลบุรี
(ฟรี!!…บริการตรวจเครดิตบูโร แต่ขอรับเป็นเงินบริจาคแทน พร้อมเปิดคลินิกเครดิตบูโรให้คำปรึกษา)
** เฉพาะรายการลูกค้าบุคคลธรรมดา ยื่นขอตรวจของตนเองเท่านั้น (ไม่รับกรณีรับมอบอำนาจ)
เชิญตรวจเครดิตบูโร ฟรี! : วันที่ 1-4 กุมภาพันธ์ 2561 : งาน “บ้าน คอนโด และวัสดุตกแต่ง 61” จ.สงขลา
เชิญตรวจเครดิตบูโร ฟรี!
งาน “บ้าน คอนโด และวัสดุตกแต่ง 61” ครั้งที่ 8 จ.สงขลา
วันที่ 1-3 กุมภาพันธ์ 2561 เวลา 10.00 – 19.00 น.
วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2561 เวลา 10.00 – 16.00 น.
ศูนย์ประชุมนานาชาติฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี จ.สงขลา (ภายในบูธ ธอส.)
(ฟรี!!…บริการตรวจเครดิตบูโร แต่ขอรับเป็นเงินบริจาคแทน พร้อมเปิดคลินิกเครดิตบูโรให้คำปรึกษา)
** เฉพาะรายการลูกค้าบุคคลธรรมดา ยื่นขอตรวจของตนเองเท่านั้น (ไม่รับกรณีรับมอบอำนาจ)
คอลัมน์ เศรษฐกิจคิดง่ายๆ : แวดวงธุรกิจการเงิน กับยอดคลื่นสึนามิดิจิทัล : วันจันทร์ 29 มกราคม 2561
คอลัมน์ เศรษฐกิจคิดง่ายๆ
แวดวงธุรกิจการเงิน กับยอดคลื่นสึนามิดิจิทัล
นสพ.โพสต์ทูเดย์ วันจันทร์ 29 มกราคม 2561
มีสองข่าวใหญ่ที่สร้างความสั่นสะเทือนแม้เป็นเพียงการประกาศวิสัยทัศน์ แนวทาง หรือแผนงานที่กำลังดำเนินไปในช่วงต้นปี 2561 ซึ่งเหลือเวลาอีกเพียง 11 เดือนก็จะหมดไป สิ่งที่เกิดขึ้นไม่ใช่สิ่งที่เหนือการคาดเดา เพียงแต่ผู้คนในธุรกิจการเงินอาจจะยังทำใจไม่ได้ ถ้าจะเปรียบก็เหมือนกับการเห็นชายหาดอยู่ดีๆ น้ำก็หายไปเป็นทางยาว
พอดีมีคนหนึ่งที่เป็นหัวหน้าหมู่บ้านส่องกล้องแล้วมองเห็นยอดคลื่นยักษ์สีขาวกำลังพุ่งเข้าใส่ฝั่ง ขนาดของคลื่นก็ประมาณยอดต้นมะพร้าว แน่นอนในความคิดของคนที่เป็นผู้นำ ต้องตัดสินใจจากภาพที่ตนเองเห็น เพราะเป็นหน้าที่ที่ต้องพาผู้คนและองค์กรไปให้รอดปลอดภัย เรามาลองฟัง 2 CEO และธนาคารกลางดังนี้
(1) ท่านแรกเปิดเผยว่า ธนาคารกำลังพิจารณาให้มีโครงการเกษียณอายุก่อนกำหนด (ER) เพื่อปรับลดพนักงานให้ได้ประมาณ 1,000 คนภายใน 3 ปีตามเป้าหมาย ทั้งที่ประกาศเพิ่มสาขาธนาคาร ท่ามกลางสถานการณ์ที่ธนาคารทั้งระบบเพิ่มจำนวนการปิดสาขา เพื่อเป้าหมายลดต้นทุนและรับมือโลกยุคดิจิทัล แม้ว่าแต่ละปีจะมีพนักงานลาออกประมาณ 200-300 คน และแน่นอนพนักงานที่เหลือก็คงจะโยกย้ายมาทำหน้าที่ขายทุกรูปแบบ เช่น บัตรเดบิต บัตรเครดิต กองทุนรวม สลากออมทรัพย์ ประกันชีวิต สินเชื่อที่อยู่อาศัย
(2)”Going Upside Down”เป็นคำที่น่าสนใจมาก ภายใต้ สถานการณ์การแข่งขันที่เข้มข้นของธุรกิจธนาคารและการรุกเข้ามาของแพลตฟอร์ม เช่น พวก e-Commerce เช่น อาลีบาบา เป็นต้น
ที่สำคัญคือการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภคในการใช้เทคโนโลยี เช่น โทรศัพท์เคลื่อนที่ จนกระทบกับการให้บริการทางการเงินของธนาคารในปัจจุบัน ถึงขนาดที่ว่าบริการในปัจจุบันจะแข่งไม่ได้เอา “ในปี 2561 เป็นจุดเริ่มต้นในการปรับตัวครั้งใหญ่อีกครั้ง มิใช่เพียงให้อยู่รอดได้เท่านั้น แต่เพื่อให้ธนาคารเป็นที่รักของลูกค้า และลูกค้าอยากมาใช้บริการของเรา
ธนาคารจึงต้องการที่จะเป็นแพลตฟอร์มเชื่อมต่อทุกสังคมเข้าด้วยกัน ภายใต้กลยุทธ์ “Going Upside Down” (กลับหัวตีลังกา) ที่มีแนวทางในการดำเนินงานที่สำคัญ 5 เรื่อง ได้แก่ 1.Lean the Bank (เพิ่มประสิทธิภาพธนาคาร) 2.High Margin Lending (ปล่อยสินเชื่อธุรกิจที่ให้ผลตอบแทนสูง) 3.Digital Acquisition (การดำเนินธุรกิจในโลกดิจิทัล) 4.Data Capabilities (เพิ่มขีดความสามารถในการใช้ข้อมูล) 5.New Business Model (ธุรกิจรูปแบบใหม่) โดยรายได้หลักของธนาคารจะยังคงมาจากธุรกิจ 3 ส่วนหลัก ได้แก่ สินเชื่อธุรกิจ สินเชื่อเพื่อการบริโภค และการบริหารความมั่งคั่ง (Wealth Management)
(3) ด้านธนาคารกลางก็เปิดเผยว่า แนวโน้มการปิดสาขาของธนาคารพาณิชย์มีเพิ่มมากขึ้น เป็นไปตามการเปลี่ยนแปลงของระบบการเงินทั้งในประเทศไทยและ ต่างประเทศ สถาบันการเงิน พนักงาน และประชาชนจึงต้องเข้าใจ และปรับตัวเองให้ทันกับสถานการณ์
“…ดิจิทัลแบงก์กิ้งเป็นรูปแบบการให้บริการใหม่ของธนาคาร ที่จะตอบโจทย์ให้ลูกค้าคนรับบริการมีความสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น รวมไปถึงค่าธรรมเนียมในการใช้บริการก็ควรจะต้องถูกลงตามต้นทุนของสถาบันการเงินด้วย…”
ไม่ใช่แต่การสูญเสียงานของพนักงานเท่านั้น แต่ธนาคารแต่ละแห่งก็มีการสูญเสียมือดี มีการโยกย้ายคนเก่งจากที่หนึ่งไปที่หนึ่ง จะเห็นว่าคนที่เก่งจะนำเอาเทคโนโลยีมาร่วมใช้พัฒนาผลิตภัณฑ์ อีกด้านคือคนเก่งที่ดูแลสาขาเพื่อบริการลูกค้า รายย่อยก็จะมีค่าตัวเพิ่มมากขึ้น
ในวิกฤตย่อมมีโอกาสเสมอ คนในธุรกิจการเงินในยามเห็นยอด คลื่นสึนามิดิจิทัลอยู่ไกลๆ จึงต้องมอง ตัวเองให้ออกดีกว่ามาตีอกชกลมตัวเอง
ตรวจเครดิตบูโร ฟรี! “Asia Digital Expo 2018” วันที่ 25-27 มกราคม 2561 ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ (ภายในบูธ บสย.)
เชิญตรวจเครดิตบูโร ฟรี!
งาน “Asia Digital Expo 2018”
วันที่ 25-27 มกราคม 2561 เวลา 10.00 – 18.00 น. ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ (ภายในบูธ บสย.)
(ฟรี!!…บริการตรวจเครดิตบูโร แต่ขอรับเป็นเงินบริจาคแทน พร้อมเปิดคลินิกเครดิตบูโรให้คำปรึกษา)
** เฉพาะรายการลูกค้าบุคคลธรรมดา ยื่นขอตรวจของตนเองเท่านั้น (ไม่รับกรณีรับมอบอำนาจ)