Blog Page 168

ตรวจเครดิตบูโร ฟรี! งาน “สคฝ. การคุ้มครองเงินฝากและความรู้ทางการเงินฯ จ.นราธิวาส ” วันที่ 23 มกราคม 2561 โรงแรมอิมพีเรียล จ.นราธิวาส

เชิญตรวจเครดิตบูโร ฟรี!

งาน “การสร้างความรู้ความเข้าใจเรื่องการคุ้มครองเงินฝากและการคุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงินให้กับประชาชน ภาคธุรกิจและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น” จังหวัดนราธิวาส

วันที่ 23 มกราคม 2561 เวลา 8.15 – 13.00 น.

โรงแรมอิมพีเรียล จ.นราธิวาส

(ฟรี!!…บริการตรวจเครดิตบูโร แต่ขอรับเป็นเงินบริจาคแทน พร้อมเปิดคลินิกเครดิตบูโรให้คำปรึกษา) ** เฉพาะรายการลูกค้าบุคคลธรรมดา ยื่นขอตรวจของตนเองเท่านั้น (ไม่รับกรณีรับมอบอำนาจ)

คอลัมน์เศรษฐกิจคิดง่ายๆ : ขายฝันผ่านเหรียญในระบบทุนนิยมดิจิทัล : วันจันทร์ 22 มกราคม 2561

คอลัมน์ เศรษฐกิจคิดง่ายๆ

ขายฝันผ่านเหรียญในระบบทุนนิยมดิจิทัล

นสพ.โพสต์ทูเดย์ วันจันทร์ 22 มกราคม 2561

 

ข่าวคราวผ่านสื่อที่มีการระบุถึงการดำเนินกลยุทธ์การระดมทุนผ่านจินตนาการ ความฝันทางธุรกิจ บนสิ่งสมมติที่เรียกว่า เหรียญดิจิทัล ได้บังเกิดขึ้นในบ้านเรา ในตลาดทุนบ้านเราแล้ว ผู้เขียนไม่ได้ตัดสินว่า สิ่งนี้ดีหรือไม่ดี แต่สิ่งที่เรียกโดยสรุปว่า สินทรัพย์เสมือนจริงที่ใครจะเข้าไปลงทุนนั้น คนที่เข้าไปลงทุนทราบถึงโอกาสและขนาดของความเสี่ยงหรือไม่ ถ้าทราบและคิดว่าเสี่ยงได้ ก็เป็นเรื่องที่ตัดสินใจกันเอง เพราะ “การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน”

กลับมาที่วิธีการระดมทุนที่เรียกว่า ICO-Initial Coin Offering คือ ระดมทุนด้วยการเสนอขายเหรียญดิจิทัลแก่ประชาชนทั่วไป ล้อกับ IPO แต่ IPO มีหุ้น ซึ่งมีมูลค่าซื้อขายแลกเปลี่ยนได้ในตลาดหลักทรัพย์ฯ แต่ ICO ยังไม่ชัดว่าเหรียญดิจิทัลที่ใครเข้าไปลงทุนนั้น ที่ซื้อมาในวันนี้ด้วยเงินดิจิทัล (Digital Currencies) จะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นสิบเท่าร้อยเท่าในอนาคต

เรามาคิดกันแบบนี้นะครับ ผิดถูกก็ไปหาข้อมูลกันต่อนะครับ

1.คนที่อยากระดมทุนมีโครงการ มีไอเดีย คิดแผนวาดฝัน จากนั้นก็เขียน White Paper เสนอออกมาให้ผู้คนที่สนใจ

2.ใน White Paper ก็จะเสนอผลตอบแทนที่จะให้กับคนสนใจผ่านสิ่งที่เรียกว่า Coin หรือเหรียญ ทั้งที่จริงในภาษาเทคนิคมันคือ Token ตรงนี้สำคัญ หลายคนไปคิดว่ามันเป็นเงินเพราะดันไปเขียนว่าเหรียญ เขียนว่า Coin เลยโน้มเอียงเชื่อว่าเป็นเงิน

เอาง่ายๆ แบบผู้เขียนคิดก็คือคูปองแล้วกัน รายละเอียดจะบอกว่าถือคูปองถือเหรียญแล้วจะได้อะไรบ้าง…ซึ่งใครจะรับปากรับคำว่ามันจะเป็นไปตามนั้นตลอดระยะเวลาที่ถือล่ะ

3.แต่การจะลงทุนครั้งนี้ ท่านนักลงทุนต้องเอาเงินจริงในปัจจุบันไปซื้อเงินดิจิทัลทางการบอกว่าไม่มีกฎหมายรองรับนะ เช่น เอาเงินบาทไปซื้อบิตคอยน์ ซื้อที่ไหน อย่างไร แล้วเอามาใส่ในกระเป๋าของโครงการ ICO ตามที่ระบุ บิตคอยน์นั้นก็จะไปจ่ายให้กับคนที่ต้องการระดมทุน ทางการก็ปวดหัวว่าเงินจริงถ้ามันมาจากกิจการสีดำ สีเทา ล่ะ มันฟอกเงินหรือไม่

4.คนลงทุนจะได้อะไรเป็นการตอบแทนในการถือเหรียญดิจิทัลหรือถือคูปองนี้ล่ะ ถ้าสิทธิประโยชน์ไม่ตรงกัน เข้าใจต่างกัน จะทำอย่างไร ใครจะจัดการให้ ที่สำคัญใครคือคนที่จะทำหน้าที่คุ้มครองคนลงทุนรายย่อยที่พลัดหลงเข้าไป จะด้วยความโลภหรือแสวงหาผลตอบแทนที่สูงแบบลืมๆ ความเสี่ยงที่ภาษาอังกฤษเรียก Search for Yield ล่ะ ถ้าเป็นเศรษฐีก็ปล่อยเขาไปเถอะ ก็อยากเสี่ยงเอง

5.สุดท้ายคือสังคมได้ประโยชน์จากการระดมทุนแบบนคืออะไร มันดีอย่างไรกับเศรษฐกิจในโลกความเป็นจริง (Real Economy) มันได้ทำให้ความเหลื่อมล้ำลดลงไหม ความยากจนลดลงไหม คนกินดีอยู่ดีไหม มีความร่มเย็นเป็นสุขไหม ประเทศชาติ ประชาชน มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน หรือไม่

ท่านที่มีทรัพยากรความรู้ ผนวกสรรพกำลัง อยู่ในองค์กรการกำกับดูแลครับ ท่านออกมาสื่อสาร พูด อธิบาย ให้คน คนบ้านๆ อย่างพวกผมได้ยิน ได้ฟัง ได้ซัก ได้ถาม บ้างได้ไหม ท่านเป็นปราการความรู้ที่เข้มแข็งทางวิชาการ ท่านเป็นที่พึ่ง ที่หวัง นะครับ ผมยืนยัน และหากท่านต้องการ Public Trust แล้วละก็ เวลานี้เหมาะที่สุดแล้วครับ กับคำตอบที่ว่า “อยู่ระหว่างการศึกษา” ฟังแล้วใจแทบสลาย เพราะในขณะที่คนบ้านๆ อย่างพวกผมกำลังวิ่งหนีสึนามิดิจิทัลกับดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ต่ำกว่าบาท จนไม่รู้จะไปทางไหนแล้วเพลานี้

สึนามิน้ำหนีขึ้นเขาจะรอดครับ สึนามิดิจิทัล รอท่านๆ บอกทางรอดอยู่ครับผม

คอลัมน์ ยังอีโคโนมิสต์ เรื่อง ‘ข้อมูลเครดิต’ของดีที่ต้องรักษา ส่วนกำกับข้อมูลเครดิต นสพ.ฐานเศรษฐกิจ ฉบับวันที่ 18-20 มกราคม 2561

คอลัมน์ ยังอีโคโนมิสต์ นสพ.ฐานเศรษฐกิจ ฉบับวันที่ 18-20 มกราคม 2561

‘ข้อมูลเครดิต’ของดีที่ต้องรักษา ส่วนกำกับข้อมูลเครดิต

สายกำกับสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย

ท่านเคยสงสัยหรือไม่ว่าเอกสารที่สถาบันการเงิน* ที่เป็นสมาชิกของบริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด หรือที่เรียกกันว่า “NCB” ส่งให้ภายในเดือนมกราคมของทุกปีคืออะไร และมีความสำคัญอย่างไร วันนี้เราจะมาเฉลยให้ทุกท่านทราบว่า เอกสารนั้นคือรายละเอียดที่สถาบันการเงินจะต้องแจ้งให้ลูกค้าทราบว่าได้ส่งข้อมูลของลูกค้าให้กับ NCB แล้ว ซึ่งข้อมูลเหล่านั้นเรียกกันว่า “ข้อมูลเครดิต” ที่จะบอกรายละเอียดว่าลูกค้าคือใคร มีประวัติการได้รับสินเชื่ออะไรบ้าง และมีพฤติกรรมการชำระหนี้ของแต่ละสินเชื่อเป็นอย่างไร

ข้อมูลเครดิตมีประโยชน์ต่อลูกค้าที่เป็นเจ้าของข้อมูล การที่ลูกค้ามีประวัติการชำระสินเชื่อตรงตามเวลาและรักษาเครดิตของตนมาอย่างต่อเนื่อง ก็ยิ่งมีโอกาสเข้าถึงสินเชื่อจากสถาบันการเงินได้ดียิ่งขึ้นและอาจเสียดอกเบี้ยในอัตราที่ต่ำลง เนื่องจากสถาบันการเงินย่อมอยากให้สินเชื่อกับคนที่มีวินัยทางการเงินมากกว่าคนที่มีฐานะแต่ชำระสินเชื่อไม่ตรงตามเวลา ด้วยเหตุผลดังกล่าวข้อมูลเครดิตจึงเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องรักษาให้ข้อมูลของตนมีประวัติการชำระหนี้ที่ดี นอกจากนั้น ข้อมูลเครดิตเป็นข้อมูลที่มีประโยชน์ต่อสถาบันการเงินในการใช้เป็นปัจจัยหนึ่งประกอบการพิจารณาอนุมัติสินเชื่อให้แก่ลูกค้า ช่วยให้หนี้ด้อยคุณภาพของระบบการเงินของไทยลดลงจาก 40% ในช่วงวิกฤติที่ผ่านมา เหลือเพียง 3-4% ในปัจจุบัน ระบบการเงินของไทยจึงมีเสถียรภาพมากขึ้นกว่าในอดีต

เมื่อมีประวัติดีแล้ว เจ้าของข้อมูลต้องหมั่นตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล เช่น ตรวจสอบข้อมูลเครดิตของตนเองก่อนที่จะยื่นขอสินเชื่อ หรือรายงานที่ได้รับในช่วงมกราคมของทุกปี โดยรายงานจะมีรายละเอียดว่าในปีที่ผ่านมา สถาบันการเงินได้ส่งข้อมูลของท่านในแต่ละบัญชีไปที่ NCB เช่น ประเภทสินเชื่อ วงเงินสินเชื่อ ยอดหนี้คงเหลือ ยอดเกินกำหนด วันที่เริ่มผิดนัด วันที่ทำสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ วันที่ชำระหนี้ครั้งสุดท้าย และสถานะบัญชี หากในระบบข้อมูลเครดิตเก็บข้อมูลที่ไม่ถูกต้องของท่านไว้ ก็ย่อมกระทบต่อโอกาสในการขอสินเชื่อหรือทำธุรกรรมทางการเงินของท่านในอนาคต

หากท่านไม่ได้รับเอกสารดังกล่าวหรือตรวจสอบแล้วพบข้อสงสัยว่าข้อมูลของท่านอาจไม่ถูกต้อง ท่านควรดำเนินการ ดังนี้
– ติดต่อสถาบันการเงินที่ให้สินเชื่อกับท่าน เพื่อสอบถามและให้ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล หรือติดต่อไปยัง NCB เพื่อแจ้งความจำนงขอตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล
– สถาบันการเงิน หรือ NCB จะมีหนังสือแจ้งผลการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลให้แก่ท่าน ภายใน 30 วันนับตั้งแต่วันที่ท่านได้ติดต่อขอตรวจสอบข้อมูล
– หากท่านยังไม่เห็นด้วยกับคำชี้แจงข้างต้น ท่านสามารถขอใช้สิทธิบันทึกข้อโต้แย้งได้ที่ สถาบันการเงิน หรือ NCB ซึ่งเมื่อท่านได้รับหนังสือแจ้งผลแล้ว และท่านยังไม่เห็นด้วยกับคำชี้แจง ท่านสามารถใช้สิทธิอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลเครดิต ได้ภายใน 60 วัน นับตั้งแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งผลดังกล่าว

ข้อมูลเครดิตมีความสำคัญ เจ้าของข้อมูลจึงต้องรักษาให้ตนเองมีประวัติการชำระหนี้ที่ดี เพื่อใช้ประโยชน์ในการขอสินเชื่อหรือทำธุรกรรมทางการเงิน จึงต้องตรวจสอบข้อมูลเครดิตของท่านว่ามีความถูกต้อง โดยการตรวจสอบเอกสารที่สถาบันการเงินส่งให้ท่านภายในเดือนมกราคมว่าถูกต้องหรือไม่ หรือหากท่านมีสินเชื่อแต่ยังไม่ได้รับเอกสารแจ้งข้อมูลเครดิตของท่าน ก็อย่านิ่งนอนใจ ต้องติดต่อสอบถามสถาบันการเงินที่ท่านใช้บริการอยู่ และหากท่านไม่เคยขอสินเชื่อแล้วได้รับข้อมูลว่าเป็นหนี้อยู่ ท่านก็ต้องรีบติดต่อสถาบันการเงินแห่งนั้นโดยเร็ว เพราะอาจมีผู้ไม่หวังดี แอบนำเอกสารส่วนตัวของท่านไปสมัครขอสินเชื่อได้ ปีใหม่นี้ หวังว่าทุกท่านจะมีข้อมูลเครดิตที่ดีและถูกต้องทุกคน

* หมายถึง สถาบันการเงินภายใต้พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจข้อมูลเครดิต พ.ศ. 2545 และที่แก้ไขเพิ่มเติม

บทความนี้เป็นข้อคิดเห็นส่วนบุคคลจึงไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับความเห็นของธนาคารแห่งประเทศไทย

รายการวิทยุ “คัดข่าวมาคุย”  ช่วง หัวใจเศรษฐี ทุกวันอังคาร  เวลา 10.15 – 10.30 น. สถานีวิทยุ FM 105 Smile Thailand

ติดตามการสัมภาษณ์สดผ่านรายการวิทยุ

รายการ “คัดข่าวมาคุย”  ช่วง หัวใจเศรษฐี

ทุกวันอังคาร  เวลา 10.15 – 10.30 น. สถานีวิทยุ FM 105 Smile Thailand

 

ผู้ให้สัมภาษณ์ : คุณสุรพล โอภาสเสถียร ผู้จัดการใหญ่ บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด

ผู้ดำเนินรายการ : คุณศลิลนา ภู่เอี่ยม

คอลัมน์เศรษฐกิจคิดง่ายๆ : สถาบันการเงินปรับตัวรับดิจิทัล ตั้งองค์กรกลาง-การพิสูจน์ตัวตน : วันจันทร์ 15 มกราคม 2561

คอลัมน์เศรษฐกิจคิดง่ายๆ

สถาบันการเงินปรับตัวรับดิจิทัล ตั้งองค์กรกลาง-การพิสูจน์ตัวตน

นสพ.โพสต์ทูเดย์ วันจันทร์ 15 มกราคม 2561

 

สถาบันการเงินปรับตัวรองรับโลกดิจิทัล ลงทุนตั้งองค์กรกลาง-การพิสูจน์ตัวตน โดยไม่ต้องเห็นหน้ากันในอนาคต
แม้ว่าในวันนี้ เวลานี้ จะมีกรณีที่มี มิจฉาชีพได้เข้าไปปลอมแปลงตัวเองผ่านการขโมยบัตรประชาชน + สวมหน้ากากอนามัย + ท้าทายกระบวนการเปิดบัญชี เพื่อการนำเงินเข้าและโอนเงินออกจากการกระทำความผิดนั้น
ผมเองก็เฝ้าติดตามว่าเรื่องนี้มันจะไปจบตรงไหน
ใครจะเป็นแพะ ใครจะเป็นแกะใครจะเป็นผู้ร้าย ใครจะเป็นพระเอก ที่สุดความจริงจะปรากฏ
มันยังไม่ถึงเวลาที่จะไปตำหนิว่าใครหย่อนยาน ใครไม่ทำอะไรอย่างที่ควรจะทำ
การออกตัวแรงๆ ของพี่ๆ ตามข่าวสารแบบฟันธง ผมในฐานะคนหัวโบราณอยากจะบอกว่า ระวังธงหัก ยังไม่ชัดอย่ารีบ สงครามยังไม่จบอย่าเพิ่งนับศพทหารนะครับ …
จากการให้ข้อมูลของผู้บริหารของกระทรวงมหาดไทย กล่าวถึงมาตรการป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาเหมือนกรณีที่บุคคลถูกนำบัตรประชาชนไปเปิดบัญชีว่า ภาคเอกชนและภาครัฐที่มีการนำบัตรประชาชนไปใช้ลงทะเบียนลูกค้าหรือผู้มาขอรับบริการนั้น มีสิ่งที่ต้องทำ 3 เรื่องอย่างเข้มข้น คือ
1.ต้องดูหน้าตาว่าผู้มาขอใช้บริการ หน้าตาเหมือนในบัตรหรือไม่ (Face to face)
2.ต้องตรวจสอบว่าบัตรประชาชนใบที่ใช้ทำธุรกรรมเป็นของจริงหรือปลอม (สามารถตรวจสอบได้โดยใช้เครื่องอ่านบัตรประชาชน)
3.ในกรณีมีการแจ้งบัตรหาย กระทรวงมหาดไทย โดยกรมการปกครองมีระบบให้คอมพิวเตอร์ของแต่ละหน่วยงานเข้ามาตรวจสอบได้ว่า บัตรใบนี้มีสถานภาพเป็นปกติ ถูกแจ้งหายหรือถูกยกเลิก
หากได้ทำครบทั้ง 3 ขั้นตอนจะสามารถยืนยันพิสูจน์ได้อย่างชัดเจนในโลกการทำธุรกิจแบบมาเจอหน้ากัน พิสูจน์กัน แล้วก็ตกลงทำรายการของกันและกัน
กลับมาเวลานี้ครับ ทางกระทรวงการคลังกับกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม โดยกระทรวงดิจิทัลฯ ได้มี คำสั่งที่ 75/2560 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล เมื่อวันที่ 20 ต.ค. 2560 โดยมีอำนาจหน้าที่ในการกำหนดแนวทางการพัฒนาระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศ
รวมถึงบูรณาการความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนเพื่อร่วมกันผลักดันให้เกิดการอำนวยความสะดวกในการพิสูจน์และตัวตน ซึ่งเป็นโครงสร้างพื้นฐานอันสำคัญใน Digital Economy และ Digital Transaction ในอนาคต
ขณะนี้งานได้เดินหน้ามาถึงขั้นตอน การจัดตั้งองค์กรเพื่อพัฒนาระบบดิจิทัลไอดี (Digital ID Platform) ในการพัฒนา ระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล มูลค่าการลงทุนตั้งต้น 100 ล้านบาท โดยภาคเอกชนและสมาคมธนาคารไทยได้รวบรวมหน่วยงานที่ สนใจร่วมลงทุนพร้อมสัดส่วนการลงทุน ให้แล้วเสร็จภายในไตรมาสแรกของปี 2561 แล้ว ซึ่งประกอบด้วย
* สมาชิกของสมาคมธนาคารไทย (TBA)
* สมาคมบริษัทหลักทรัพย์ไทย (ASCO)
* สมาคมประกันชีวิตไทย (TLAA)* สมาคมประกันวินาศภัยไทย (TGIA)
* สมาคมการค้าผู้ให้บริการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ไทย (TEPA)
* และเครดิตบูโร (NCB)ระบบดังกล่าวคาดว่าจะเข้ามาดำเนินการได้ในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2561 นี้เป็นต้นไป การตรวจสอบและ พิสูจน์ตัวตนของใครต่อใครก่อนทำธุรกรรมทางการเงินจะเข้มข้น ใช้ข้อมูล หลายรูปแบบในการเปรียบเทียบยืนยัน ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลพื้นฐานในบัตรประชาชน Biometric ประเภทลายนิ้วมือ ม่านตา เสียง หรืออื่นใดตามแต่จะจินตนาการ สิ่งนี้คงจะเข้ามาช่วยในการลดความเสี่ยงของการทำธุรกรรมลงไปได้มาก วันหลังผมจะมาเล่าถึงพัฒนาการต่อไปนะครับ

รายการวิทยุ “รู้รักสามัคคี ทำความดีเพื่อแผ่นดิน” FM 103 MHz ทุกวันศุกร์ เวลา 12.30 – 13.00 น.

รายการวิทยุ “รู้รักสามัคคี ทำความดีเพื่อแผ่นดิน” 

ทุกวันศุกร์ เวลา 12.30 – 13.00 น.

FM 103 MHz และเครือข่ายกองทัพบกทั่วประเทศ 

หรือฟังออนไลน์ http://www.102radio.net/102radioOnline.php 

สัมภาษณ์สด : คุณสุรพล โอภาสเสถียร ผู้จัดการใหญ่ บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด

คอลัมน์เศรษฐกิจคิดง่ายๆ : การเปลี่ยนแปลง การปรับตัวและความพยายามปลอบใจตัวเอง : วันจันทร์ 8 มกราคม 2561

คอลัมน์เศรษฐกิจคิดง่ายๆ : การเปลี่ยนแปลง การปรับตัวและความพยายามปลอบใจตัวเอง : วันจันทร์ 8 มกราคม 2561 : นสพ.โพสต์ทูเดย์ ::

มีคำกล่าวไว้เสมอว่า สิ่งที่แน่นอนที่สุดคือการเปลี่ยนแปลง สิ่งที่ต้องรีบทำคือการปรับตัว แต่ส่วนใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นผู้คน กิจการ บริษัทห้างร้าน เอสเอ็มอี ล้วนใช้ความพยายามไปกับการปลอบใจตัวเอง ปลอบใจว่าอย่างไรครับ คำตอบคือ
– สถานการณ์ไม่น่าจะเลวร้ายแบบตายเป็นแถบ ตายยกรัง ตายทั้งอุตสาหกรรม
– เรายังมีเวลา ลูกค้ายังคงอยู่กับเรา คู่แข่งขันต้องใช้เวลากว่าจะมาถึงหน้าบ้านเรา
– เราเคยผ่านสถานการณ์ที่เลวร้าย กว่านี้มาแล้ว ใจเย็นๆ กินกาแฟก่อน อย่าไปวิตกเกินไป
– ที่ผ่านมาเราก็ปรับไปเยอะแล้วนะ (ซึ่งแท้จริงอาจไม่ได้ปรับปรุง ปรับตัวอะไรมากนัก) ถ้าทำมากกว่านี้มันจะกระทบกับโครงสร้างอำนาจ โครงสร้างการบริหารนะ
– เราจะไปกลัวอะไรกับไอ้พวกไก่อ่อนสตาร์ทอัพเหล่านั้น มันก็ดีแต่เล่นคอมพ์ เล่นโทรศัพท์ มันจะไปรู้อะไรเกี่ยวกับธุรกิจที่เราทำมาสิบๆ ปี
– ไม่มีใครจะมา Disrupt เราได้หรอกนะ ธุรกิจเราพิงหลังกับใบอนุญาต คนของเราทั้งนั้น พวกเขาเข้ามาไม่ได้หรอกนะ
– และอีกต่างๆ มากมายแต่สิ่งที่ผมได้พบเห็นบนข้อมูลข่าวสารคือ
(1) คนที่จับกระแสของวิกฤตในนิตยสาร เช่น คู่สร้างคู่สม คือแม่บ้าน ที่ทำความสะอาดประจำออฟฟิศ เพราะ เขาเหล่านั้นต้องนั่งรับโทรศัพท์และฉีกจดหมายที่แฟนนิตยสารส่งมา เมื่อมันไม่มีสิ่งเหล่านั้นเข้ามาร่วมลงในนิตยสาร กองบรรณาธิการจะเอาอะไรไปทำนิตยสารล่ะ ท่านเหล่านั้นปิดบัญชีเงินฝากครับ จากนั้นเก็บของ เตรียมตัวกลับบ้านต่างจังหวัด
(2) LG Electronics  วางแผนการขายหุ่นยนต์สำหรับทำงานด้านต่างๆ ที่ปัจจุบันเป็นงานของคนทั่วไป เป็นงานในโรงแรม สนามบิน ซูเปอร์มาร์เก็ต แม้ว่าจะต้องพัฒนาอีกพอควร แต่มันจะมาแน่นอน
โรงพยาบาลในมหาวิทยาลัย นาโกยา เริ่มทดลองเอาหุ่นยนต์มาเข้าเวรกะกลางคืนแทนพนักงาน ตามที่ปรากฏเป็นข่าว
(3) ภาคการศึกษาบางประเทศกำหนดวิสัยทัศน์ จะผลิตคนไปทำงานที่ยังไม่มีในปัจจุบัน โดยวิชาที่ยังไม่รู้ว่าจะสอนอย่างไร ด้วยเครื่องมือและเทคโนโลยีที่ยังไม่มีการผลิต เพื่อไปแก้ปัญหาที่ยังมาไม่ถึง
(4) ความเสี่ยงในไซเบอร์ ก็มีคนกล่าวว่า เรามีกิจการ 2 แบบ แบบที่ 1 คือ ถูกแฮ็กและรู้ตัวแล้ว กับอีกแบบคือ ถูกแฮ็กแต่ยังไม่รู้ตัว กล่าวคือไม่มีใครไม่ถูกแฮ็ก
(5) ผู้คนชาวจีน เวลานี้เดินออกจากบ้านพกเงินสดน้อยลงมาก พกแต่โทรศัพท์เคลื่อนที่ และชีวิตในการดำเนินไปไม่ว่าสื่อสาร ทำงาน หาข้อมูล ใช้จ่าย ซื้อของกิน ล้วนผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ผ่านคิวอาร์โค้ด
จนมีคนกล่าวว่าโจรไม่รู้จะปล้นเอาเงินสดจากคนเดินถนนได้อย่างไรแล้วเวลานี้
(6) สาขาธนาคาร จุดให้บริการของธนาคารมีการขอปิดให้บริการมากกว่าขอเปิด ขอขยายสาขาแล้ว สิ่งนี้ปรากฏการณ์นี้เป็นมาหลายปี แล้ว และค่อยๆ แรงขึ้นเรื่อยๆ ตามพฤติกรรมของลูกค้าที่อายุน้อยลง ชอบทำธุรกรรมเองแบบที่ไหน เมื่อไรก็ได้
ธนาคารขนาดใหญ่ของไทยยังใหญ่ไม่พอไปแข่งนอกบ้าน ควรรวมกิจการกันอีกหรือไม่ ผู้บริหารระดับสูงของธนาคารบอกว่าต้องคิดให้มากกว่าความเป็นธนาคารในการจะอยู่กับลูกค้า เพราะคำกล่าวในอดีตที่ว่า ผู้คนต้องการทำธุรกรรมธนาคาร แต่อาจไม่ต้องการธนาคารมาเป็นคนทำให้ก็ได้นะ
กลับมาดูตัวเราเองบ้าง มีคำถามมากมายที่รอคำตอบ
(1) เวลานี้เรารู้แล้วว่าผู้มีรายได้
น้อยคือใคร อยู่ตรงไหน และเราจะแก้ให้หายเจ็บ หายจนผ่านมาตรการต่างๆ จากนั้นก็วัดผลออกมาชัดๆ ว่าเป็นอย่างไร
(2) เวลานี้มีใครรู้บ้างว่าเอสเอ็มอี 3 ล้านรายเป็นใคร อยู่ตรงไหน แบ่งเป็นกี่กลุ่มปัญหา มาตรการจะไปแก้ให้ตรงจุดอยู่ตรงไหน ไม่อยากเห็นแบงก์แย่งกันรีไฟแนนซ์กันไปมา พอจะทำ เรื่องข้อมูล SMEs Landscape ชัดๆ ก็จะเจอปัญหาหน่วยงานไม่ยอมแชร์ข้อมูล ทั้งที่ตัวเองไปออกกติกาบังคับให้สถาบันคนปล่อยกู้เอสเอ็มอีส่ง ข้อมูลมาให้ พอเขามาขอเอาไปทำวิจัยเพื่อมาตอบโจทย์ที่ท่านสั่งให้ไปช่ว ยเอสเอ็มอี ก็กลับบอกว่าแชร์กลับไม่ได้ เทคโนโลยีในการป้องกันปัญหา Privacy ก็มีหมดแล้ว อ้างแต่ข้อกฎหมาย 0.4 แต่อยากจะไป 4.0 ผมคนหนึ่งที่สับสนกับวิธีคิดจริงๆ
(3) ท่านผู้ใหญ่ในแวดวงธนาคารถามผมว่า เราจะทำอย่างไรให้ผู้คน สถาบัน ผู้ที่เกี่ยวข้อง เข้าใจว่าการจะพัฒนาประเทศมันต้องมาจากความรู้-ข้อมูล ไม่ใช่มาจากความเชื่อ แต่ข้อมูลจะมาได้ก็ต้องมีหลักการที่สมดุลว่า ความเป็นส่วนตัวในข้อมูลกับการเอาข้อมูลไปใช้ประโยชน์มันอยู่ตรงไหน ไม่มีข้อมูลแล้วเราจะใช้แต่ไสยศาสตร์เดินหน้าหรืออย่างไร แผนชาติ 20 ปี ต้องผ่านพิธีปลุกเสกด้วยเกจิทั่วประเทศหรืออย่างไรก่อนนำไปใช้ ก่อนที่คนจะเชื่อ
ท้ายสุดอุปสรรคที่ยิ่งใหญ่ของการปรับตัว คือความรู้ของคนที่ควรจะรู้ในเวลานี้ และความรู้ที่เป็นอุปสรรคมากที่สุดคือ คำกล่าวของท่านๆ เหล่านั้น (คนที่ควรจะรู้) คือคำกล่าวที่ว่า”รู้แล้ว” “ผมรู้แล้ว” “ผม ดร.นะ ผมรู้ดี คุณเชื่อผมสิ” เอวังก็มีด้วยประการละ…ฉะนี้
มีคำกล่าวไว้เสมอว่า สิ่งที่แน่นอนที่สุดคือการเปลี่ยนแปลง สิ่งที่ต้องรีบทำคือการปรับตัว แต่ส่วนใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นผู้คน กิจการ บริษัทห้างร้าน เอสเอ็มอี ล้วนใช้ความพยายามไปกับการปลอบใจตัวเอง ปลอบใจว่าอย่างไรครับ คำตอบคือ
– สถานการณ์ไม่น่าจะเลวร้ายแบบตายเป็นแถบ ตายยกรัง ตายทั้งอุตสาหกรรม
– เรายังมีเวลา ลูกค้ายังคงอยู่กับเรา คู่แข่งขันต้องใช้เวลากว่าจะมาถึงหน้าบ้านเรา
– เราเคยผ่านสถานการณ์ที่เลวร้าย กว่านี้มาแล้ว ใจเย็นๆ กินกาแฟก่อน อย่าไปวิตกเกินไป
– ที่ผ่านมาเราก็ปรับไปเยอะแล้วนะ (ซึ่งแท้จริงอาจไม่ได้ปรับปรุง ปรับตัวอะไรมากนัก) ถ้าทำมากกว่านี้มันจะกระทบกับโครงสร้างอำนาจ โครงสร้างการบริหารนะ
– เราจะไปกลัวอะไรกับไอ้พวกไก่อ่อนสตาร์ทอัพเหล่านั้น มันก็ดีแต่เล่นคอมพ์ เล่นโทรศัพท์ มันจะไปรู้อะไรเกี่ยวกับธุรกิจที่เราทำมาสิบๆ ปี
– ไม่มีใครจะมา Disrupt เราได้หรอกนะ ธุรกิจเราพิงหลังกับใบอนุญาต คนของเราทั้งนั้น พวกเขาเข้ามาไม่ได้หรอกนะ
– และอีกต่างๆ มากมายแต่สิ่งที่ผมได้พบเห็นบนข้อมูลข่าวสารคือ
(1) คนที่จับกระแสของวิกฤตในนิตยสาร เช่น คู่สร้างคู่สม คือแม่บ้าน ที่ทำความสะอาดประจำออฟฟิศ เพราะ เขาเหล่านั้นต้องนั่งรับโทรศัพท์และฉีกจดหมายที่แฟนนิตยสารส่งมา เมื่อมันไม่มีสิ่งเหล่านั้นเข้ามาร่วมลงในนิตยสาร กองบรรณาธิการจะเอาอะไรไปทำนิตยสารล่ะ ท่านเหล่านั้นปิดบัญชีเงินฝากครับ จากนั้นเก็บของ เตรียมตัวกลับบ้านต่างจังหวัด
(2) LG Electronics วางแผนการขายหุ่นยนต์สำหรับทำงานด้านต่างๆ ที่ปัจจุบันเป็นงานของคนทั่วไป เป็นงานในโรงแรม สนามบิน ซูเปอร์มาร์เก็ต แม้ว่าจะต้องพัฒนาอีกพอควร แต่มันจะมาแน่นอน
โรงพยาบาลในมหาวิทยาลัย นาโกยา เริ่มทดลองเอาหุ่นยนต์มาเข้าเวรกะกลางคืนแทนพนักงาน ตามที่ปรากฏเป็นข่าว
(3) ภาคการศึกษาบางประเทศกำหนดวิสัยทัศน์ จะผลิตคนไปทำงานที่ยังไม่มีในปัจจุบัน โดยวิชาที่ยังไม่รู้ว่าจะสอนอย่างไร ด้วยเครื่องมือและเทคโนโลยีที่ยังไม่มีการผลิต เพื่อไปแก้ปัญหาที่ยังมาไม่ถึง
(4) ความเสี่ยงในไซเบอร์ ก็มีคนกล่าวว่า เรามีกิจการ 2 แบบ แบบที่ 1 คือ ถูกแฮ็กและรู้ตัวแล้ว กับอีกแบบคือ ถูกแฮ็กแต่ยังไม่รู้ตัว กล่าวคือไม่มีใครไม่ถูกแฮ็ก
(5) ผู้คนชาวจีน เวลานี้เดินออกจากบ้านพกเงินสดน้อยลงมาก พกแต่โทรศัพท์เคลื่อนที่ และชีวิตในการดำเนินไปไม่ว่าสื่อสาร ทำงาน หาข้อมูล ใช้จ่าย ซื้อของกิน ล้วนผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ผ่านคิวอาร์โค้ด
จนมีคนกล่าวว่าโจรไม่รู้จะปล้นเอาเงินสดจากคนเดินถนนได้อย่างไรแล้วเวลานี้
(6) สาขาธนาคาร จุดให้บริการของธนาคารมีการขอปิดให้บริการมากกว่าขอเปิด ขอขยายสาขาแล้ว สิ่งนี้ปรากฏการณ์นี้เป็นมาหลายปี แล้ว และค่อยๆ แรงขึ้นเรื่อยๆ ตามพฤติกรรมของลูกค้าที่อายุน้อยลง ชอบทำธุรกรรมเองแบบที่ไหน เมื่อไรก็ได้
ธนาคารขนาดใหญ่ของไทยยังใหญ่ไม่พอไปแข่งนอกบ้าน ควรรวมกิจการกันอีกหรือไม่ ผู้บริหารระดับสูงของธนาคารบอกว่าต้องคิดให้มากกว่าความเป็นธนาคารในการจะอยู่กับลูกค้า เพราะคำกล่าวในอดีตที่ว่า ผู้คนต้องการทำธุรกรรมธนาคาร แต่อาจไม่ต้องการธนาคารมาเป็นคนทำให้ก็ได้นะ
กลับมาดูตัวเราเองบ้าง มีคำถามมากมายที่รอคำตอบ
(1) เวลานี้เรารู้แล้วว่าผู้มีรายได้
น้อยคือใคร อยู่ตรงไหน และเราจะแก้ให้หายเจ็บ หายจนผ่านมาตรการต่างๆ จากนั้นก็วัดผลออกมาชัดๆ ว่าเป็นอย่างไร
(2) เวลานี้มีใครรู้บ้างว่าเอสเอ็มอี 3 ล้านรายเป็นใคร อยู่ตรงไหน แบ่งเป็นกี่กลุ่มปัญหา มาตรการจะไปแก้ให้ตรงจุดอยู่ตรงไหน ไม่อยากเห็นแบงก์แย่งกันรีไฟแนนซ์กันไปมา พอจะทำ เรื่องข้อมูล SMEs Landscape ชัดๆ ก็จะเจอปัญหาหน่วยงานไม่ยอมแชร์ข้อมูล ทั้งที่ตัวเองไปออกกติกาบังคับให้สถาบันคนปล่อยกู้เอสเอ็มอีส่ง ข้อมูลมาให้ พอเขามาขอเอาไปทำวิจัยเพื่อมาตอบโจทย์ที่ท่านสั่งให้ไปช่ว ยเอสเอ็มอี ก็กลับบอกว่าแชร์กลับไม่ได้ เทคโนโลยีในการป้องกันปัญหา Privacy ก็มีหมดแล้ว อ้างแต่ข้อกฎหมาย 0.4 แต่อยากจะไป 4.0 ผมคนหนึ่งที่สับสนกับวิธีคิดจริงๆ
(3) ท่านผู้ใหญ่ในแวดวงธนาคารถามผมว่า เราจะทำอย่างไรให้ผู้คน สถาบัน ผู้ที่เกี่ยวข้อง เข้าใจว่าการจะพัฒนาประเทศมันต้องมาจากความรู้-ข้อมูล ไม่ใช่มาจากความเชื่อ แต่ข้อมูลจะมาได้ก็ต้องมีหลักการที่สมดุลว่า ความเป็นส่วนตัวในข้อมูลกับการเอาข้อมูลไปใช้ประโยชน์มันอยู่ตรงไหน ไม่มีข้อมูลแล้วเราจะใช้แต่ไสยศาสตร์เดินหน้าหรืออย่างไร แผนชาติ 20 ปี ต้องผ่านพิธีปลุกเสกด้วยเกจิทั่วประเทศหรืออย่างไรก่อนนำไปใช้ ก่อนที่คนจะเชื่อ
ท้ายสุดอุปสรรคที่ยิ่งใหญ่ของการปรับตัว คือความรู้ของคนที่ควรจะรู้ในเวลานี้ และความรู้ที่เป็นอุปสรรคมากที่สุดคือ คำกล่าวของท่านๆ เหล่านั้น (คนที่ควรจะรู้) คือคำกล่าวที่ว่า”รู้แล้ว” “ผมรู้แล้ว” “ผม ดร.นะ ผมรู้ดี คุณเชื่อผมสิ” เอวังก็มีด้วยประการละ…ฉะนี้

ชำระหนี้ครบแล้ว และปิดบัญชีกับสถาบันการเงินหรือผู้รับโอนหนี้จากสถาบันการเงิน ต้องทำอย่างไรต่อไป

ชำระหนี้ครบแล้วและปิดบัญชีกับสถาบันการเงินหรือผู้รับโอนหนี้จากสถาบันการเงิน ต้องทำอย่างไรต่อไป

กรณีชำระหนี้ปิดบัญชีกับสถาบันการเงินที่เป็นสมาชิกของเครดิตบูโร เมื่อท่านชำระหนี้ครบถ้วนและปิดบัญชีกับสถาบันการเงินเรียบร้อยแล้ว ท่านไม่ต้องทำอะไร เนื่องจากสถาบันการเงินมีหน้าที่ตามกฎหมายในการนำส่งข้อมูลมาที่เครดิตบูโรในเดือนถัดไป ว่าท่านชำระหนี้ครบถ้วนแล้ว ภาระหนี้เท่ากับ 0 (ศูนย์) บาท สถานะบัญชีของท่านคือ “ปิดบัญชี” (11 : ปิดบัญชี)

กรณีสถาบันการเงินโอนหรือขายหนี้ ของท่านไปยังผู้รับโอนซึ่งเป็นนิติบุคคลและไม่ได้เป็นสมาชิกของเครดิตบูโร เมื่อท่านชำระหนี้ให้แก่ผู้รับโอนเสร็จสิ้นแล้ว ขอให้ท่านนำหนังสือยืนยันการชำระหนี้เสร็จสิ้นจากนิติบุคคลผู้รับโอน มายื่นคำร้องขอแก้ไขสถานะปิดบัญชี จาก “โอนหรือขายหนี้” เป็น “ลูกค้าได้ชำระหนี้เสร็จสิ้นแล้ว” ได้ที่ศูนย์ตรวจเครดิตบูโรทั้ง 5 แห่ง (เนื่องจากนิติบุคคลผู้รับโอนไม่ใช่สมาชิกเครดิตบูโร จึงไม่สามารถนำข้อมูลการชำระหนี้มาที่เครดิตบูโรได้)
ศูนย์ตรวจเครดิตบูโร 5 แห่ง >> https://goo.gl/EUqDA4

เอกสารที่ใช้ ได้แก่
– แบบคำขอแก้ไขรหัสสถานะบัญชี (ดาวน์โหลดได้ที่เว็บไซต์ เมนูดาวน์โหลดแบบฟอร์ม)
– หนังสือยืนยันการชำระหนี้ปิดบัญชี
– สำเนาบัตรประชาชนของตนเอง

***หลังจากยื่นเอกสารหลักฐานเรียบร้อย จะใช้เวลาดำเนินการไม่เกิน 30 วัน (โดยเครดิตบูโรจะแก้ไขข้อมูลจากสถานะ 42 โอนหรือขายหนี้ เป็น สถานะ 43 โอนขายหนี้ และชำระหนี้เสร็จสิ้น)

คอลัมน์เศรษฐกิจคิดง่ายๆ : สรุปตัวเลขเครดิตบูโร : วันจันทร์ 1 มกราคม 2561

คอลัมน์เศรษฐกิจคิดง่ายๆ

สรุปตัวเลขเครดิตบูโร

นสพ.โพสต์ทูเดย์ วันจันทร์ 1 มกราคม 2561

ในบรรยากาศความหนาวเย็นมาเยือนพร้อมกับฝนโปรยปรายมาจนทำให้เราๆ ท่านๆ ได้สัมผัสถึงความเย็นยามปลายปี ซึ่งผู้คนทั้งในกรุงเทพมหานครและต่างจังหวัดต่างไม่ได้เจอกับอารมณ์แบบนี้มานานมาก เนื่องจากที่ผ่านมา เราๆ ท่านๆ จะอยู่ในบรรยากาศร้อนถึงร้อนมาก แต่นั่นก็เป็นเรื่องของอากาศ ในแวดวงการเงินปี 2561 ฟ้าใหม่ ในมุมมองของผู้เขียน จากข้อมูลที่มีอยู่ พอจะนำมาขยายความให้ท่านผู้อ่านได้ลองคิดตามดังนี้นะครับ
(1) หนี้ครัวเรือนไทยที่ปัจจุบันอยู่ใน 11.6 ล้านล้านบาท จะยังคงมีผลต่อความสามารถในการชำระหนี้ กรณีที่ผู้คน ครัวเรือนคิดจะก่อหนี้ใหม่หรือก่อหนี้เพิ่ม แม้อัตราการเติบโตจะลดลง (คือหนี้ครัวเรือนวิ่งช้าลง) แต่พิษของมันยังคงมีผลพอสมควร

(2) มีการเข้ามาดูข้อมูลของสถาบันการเงินเพื่ออนุมัติสินเชื่อใหม่เฉลี่ย 1 ล้านรายการ/เดือน เทียบกับตอนมีโครงการรถคันแรกเฉลี่ย 1.2 ล้านรายการ/เดือน

(3) มีการเข้ามาดูลูกค้าเก่าเพื่อติดตามสถานะว่ายังดีอยู่หรือไม่ถี่ขึ้น เช่น ติดตามทุกลูกค้า ทุกบัญชี ทุกเดือนคิดเฉลี่ย 3.5 ล้านครั้ง/เดือน แสดงให้เห็นถึงการติดตามหนี้ที่ปล่อยไปแล้วอย่างใกล้ชิด

(4) ยอดคงค้างบัญชีหนี้ที่ปล่อยให้บุคคลธรรมดาที่ค้างชำระเกิน 3 เดือน หรือเกิน 90 วันขึ้นไป (เราๆ ท่านๆ เรียกว่าหนี้เสีย หนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้ หรือ NPL) คิดเป็น 7.2% ของหนี้ทั้งหมดสิ้นสุดไตรมาส 3 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนที่อยู่ในระดับ 6.8% และปริมาณการปรับโครงสร้างหนี้ก็มีจำนวนมูลค่าสูงขึ้นมาเรื่อยๆ ตั้งแต่ปลายปี 2557 ในไตรมาส 3 มีจำนวนรวมประมาณ 5 แสนล้านบาท

(5) ถ้าแยกเป็นแต่ละประเภทสินเชื่อโดยดูจากช่วงเวลาไตรมาส 3 ปี 2559 กับไตรมาส 3 ปี 2560 จะเห็นว่ายอดหนี้เสียหนี้ค้างชำระเกิน 90 วัน เป็นอะไรที่ยังวางใจไม่ได้นะครับ

หนี้ค้างชำระสินเชื่อบ้านโตจาก 3.9% เป็น 4.1%หนี้ค้างชำระสินเชื่อรถยนต์จาก 6.6% เป็น 6.4%หนี้ค้างชำระสินเชื่อบัตรเครดิตจาก 14.4% เป็น 15%หนี้ค้างชำระสินเชื่อส่วนบุคคลจาก 8.8% เป็น 9.4%สินเชื่อบ้าน สินเชื่อรถยนต์ที่ลด แลก แจก แถม ดาวน์น้อย ดาวน์ต่ำ ผ่อนนาน ดอกเบี้ยถูกตอนแรก ดอกเบี้ยแพงตอนหลัง คงต้องกลับมาทบทวนเพราะเรื่องความสามารถในการชำระหนี้เป็นหัวใจสำคัญ การที่ลูกค้าหรือลูกหนี้ผ่อนดาวน์ จ่ายดาวน์ได้ตลอดรอดฝั่งย่อมเป็นหลักประกันได้ส่วนหนึ่ง ดาวน์มากนิดหนึ่งยอดผ่อนหนี้ก็จะลดลง แต่นั่นหมายถึงลูกค้าต้องเก็บต้องออมให้ได้ก่อนก่อหนี้

เป็นหนี้เป็นได้ครับผมขอยืนยัน เป็นหนี้ไม่ใช่ความผิดผมขอยืนยันแต่เป็นหนี้ต้องมีความรับผิดรับชอบ ต้องใช้หนี้ สัญญาต้องเป็นสัญญาการออมคือการซ้อมก่อนสร้างหนี้และท้ายสุด เครดิตดีไม่มีขาย อยากได้ต้องทำเอง…ขอบคุณครับ

เรื่องน่าอ่าน