Blog Page 171

Blacklist ความเข้าใจผิด…ที่ควรทราบ

Blacklist ความเข้าใจผิด…ที่ควรทราบ

หลายท่านคิดว่า สาเหตุที่สถาบันการเงินไม่ให้สินเชื่อ เพราะเครดิตบูโรขึ้นบัญชีดำ หรือที่เรียกกันทั่วๆ ไปว่า “ติด Blacklist”

ความจริง!เป็นความเข้าใจที่ไม่ถูกต้อง

เพราะเครดิตบูโร จะทำหน้าที่จัดเก็บรักษา รวบรวมและประมวลผลข้อมูลสินเชื่อของลูกค้าสถาบันการเงินตามที่สถาบันการเงินหรือบริษัทที่เป็นสมาชิกจัดส่งให้เท่านั้น

มิได้มีหน้าที่ “ขึ้นบัญชีดำ”หรือ “Blacklist” อย่างที่เข้าใจกัน

 

เมื่อท่านขอกู้เงินแล้ว สถาบันการเงินไม่อนุมัติเงินกู้ อาจมาจากหลายสาเหตุ เช่น

– รายได้ต่ำกว่าเกณฑ์ที่สถาบันการเงินกำหนด

– ข้อมูลที่ปรากฎในเครดิตบูโรไม่เป็นไปตามเงื่อนไขของสถาบันการเงินที่ขอกู้

ซึ่งอาจเป็นผลมาจากท่านมีประวัติการชำระหนี้ที่ไม่ดี หรือ ผิดนัดชำระหนี้กับสถาบันการเงินอื่น

 

เครดิตบูโรไม่มีความเกี่ยวข้อง หรือมีสิทธิอนุมัติหรือร่วมตัดสินใจให้สินเชื่อกับใคร บุคคลใดกล่าวอ้างกับท่าน…แจ้งเรื่องได้ที่ 0-2643-1250

 

ที่มา : ศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย : สิงหาคม 2559

ข้อมูล ณ เดือนพฤศจิกายน 2560

เครดิตบูโร ขอร่วมก้าวไปกับ “ก้าวคนละก้าว” เครดิตบูโรจะนำเงิน 10 บาท ร่วมสมทบทุนโครงการ “ก้าวคนละก้าว” ทุกค่าบริการตรวจเครดิตบูโรจากท่าน (100 บาท) เฉพาะที่ศูนย์ตรวจเครดิตบูโร 5 แห่ง ตั้งแต่วันที่ 16 พ.ย. – 25 ธ.ค. 2560

เครดิตบูโร ขอร่วมก้าวไปกับ “ก้าวคนละก้าว”

เครดิตบูโรจะนำเงิน 10 บาท ร่วมสมทบทุนโครงการ “ก้าวคนละก้าว”

ทุกค่าบริการตรวจเครดิตบูโรจากท่าน (100 บาท)

เฉพาะที่ศูนย์ตรวจเครดิตบูโร 5 แห่ง ตั้งแต่วันที่ 16 พ.ย. – 25 ธ.ค. 2560

1. ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) อาคาร 2 ชั้น 2 วันจันทร์-ศุกร์ เวลา 9.00-16.30 น. (หยุดวันนักขัตฤกษ์)
2. ปากซอยสุขุมวิท 25 อาคารกลาสเฮ้าส์ (ชั้นใต้ดิน) วันจันทร์-ศุกร์ เวลา 9.00-16.30 น. (หยุดวันนักขัตฤกษ์)
3. สถานีรถไฟฟ้า BTS ศาลาแดง (ภายในสถานี) วันจันทร์-อาทิตย์ เวลา 09.00-18.00 น.
4. ห้างเจ-เวนิว (นวนคร) ชั้น 4 ติดประกันสังคม วันจันทร์-อาทิตย์ เวลา 09.00-18.00 น.
5. อาคารเพิร์ล แบงก์ค็อก ชั้น 3 โซนธนาคาร วันจันทร์-ศุกร์ เวลา 09.00-18.00 น. (หยุดวันนักขัตฤกษ์)

คอลัมน์ เศรษฐกิจคิดง่ายๆ: ก้าวคนละก้าว กระบวนการสหกรณ์ วันที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

คอลัมน์ เศรษฐกิจคิดง่ายๆ:

ก้าวคนละก้าว กระบวนการสหกรณ์

วันที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

ได้อ่านบทความของท่านผู้เขียน คุณจุมพล พูลภัทรชีวิน ที่ระบุไว้น่าฟังมากๆ ว่า
“สังคมสันติสุข จะต้องเป็นสังคมที่คนในสังคมมีความกินดีอยู่ดี มีสุขภาพกาย สุขภาพจิตที่ดี สังคมมีความเป็นธรรม รวมเรียกว่าเป็นสังคมสุขภาวะ และในขณะเดียวกันคนในสังคมควรต้องมีความเอื้ออาทร ร่วมมือ ร่วมใจให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เรียกว่าเป็นสังคมใส่ใจดูแลและแบ่งปันกัน (Sharing & Caring Society)”
เป้าหมายจัดตั้งองค์กรสหกรณ์เพื่อให้สมาชิก (1) มีเงินใช้ (2) ไม่มีหนี้มาก และ (3) มีสุขภาพที่ดี มีการออม กู้ยืมเงินได้อัตราดอกเบี้ยที่ไม่แพง และมีระบบสวัสดิการด้านประกันภัยมาเกื้อหนุน
ปัจจุบันไทยมีสหกรณ์ 8,074 แห่ง มีเงินหมุนเวียน 2.7 ล้านล้านบาท ในจำนวนนี้เป็นสหกรณ์ออมทรัพย์ 1,448 แห่ง มีมูลค่าสินทรัพย์ 2.1 ล้านล้านบาท เมื่อเทียบกับธนาคารพาณิชย์ทั้งระบบที่มี 18 ล้านล้านบาท
มีข่าวทางการที่กำลังไปปฏิรูประบบสหกรณ์ออมทรัพย์ โดยเฉพาะการปล่อยกู้วนซ้ำให้กับสมาชิก คือ มีการทำสัญญากู้ใหม่ หลังส่งเงินชำระยังไม่ถึงหนึ่งปี ส่วนใหญ่เป็นการกู้ไปเพื่อการบริโภค ซึ่งถือว่าเป็นสัญญาณอันตราย จะทำให้ติดอยู่ในวงจรหนี้อย่างไม่รู้จบ…จากสหกรณ์ออมทรัพย์ 933 แห่ง สมาชิก 2.23 ล้านราย พบว่ามีการกู้วนซ้ำ 5 แสนราย คิดเป็น 23% ของจำนวนผู้กู้ ลักษณะการกู้วนซ้ำจะเป็นการกู้รวมหนี้สัญญาเดิม และกู้หลังจากส่งชำระหนี้ 3 เดือน พบมากถึง 50% กู้วนซ้ำภายใน 6 เดือน มี 36% ที่เหลือเป็นการกู้วนซ้ำในรอบ 2 เดือน และ 4 เดือน…
หากเป็นเช่นว่านี้แล้ว ท่านที่รับผิดชอบครับ ท่านต้องดำเนินการอะไรสักอย่างนะครับ
ก้าวคนละก้าว แม้มันต้องวิ่งแบบมาราธอนเหนือลงใต้ บนเส้นทางของกระบวนการสหกรณ์ บนการแก้ไขที่ถูกหลักวิชา เพื่อกลับมายังปรัชญาพื้นฐานนะครับ ทำในสิ่งที่ควรทำแล้วผมก็เชื่อว่า ทุกสิ่งจะปลอดภัย

คอลัมน์ เศรษฐกิจคิดง่ายๆ: การเข้ากระชับพื้นที่การกำกับดูแล สถาบันการเงินประเภทสหกรณ์ออมทรัพย์ วันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

คอลัมน์ เศรษฐกิจคิดง่ายๆ:

การเข้ากระชับพื้นที่การกำกับดูแล สถาบันการเงินประเภทสหกรณ์ออมทรัพย์

วันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

จากข่าวสารที่ออกมายังสื่อมวลชนเกี่ยวกับการเข้ากระชับพื้นที่ของกรอบการบริหารความเสี่ยงเพื่อสร้างความมั่นคง เพื่อเข้าสู่ความสมดุล และจะทำให้เกิดความยั่งยืนของสถาบันการเงินประเภทสหกรณ์ออมทรัพย์ ตามที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) ในรัฐบาลชุดนี้ (ที่กล้าเข้าไปผ่าตัดโครงสร้าง) โดย ผู้เขียนขอแยกมาตรการที่ได้ดำเนินการไปแล้วแบบนำร่อง กระตุกความคิดให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ดังนี้
1.กำหนดเพดานอัตราดอกเบี้ยเงินรับฝากของสหกรณ์สูงสุดปีแรกอยู่ที่ 4.5% จากเพดานอัตราดอกเบี้ยเงินฝากเดิมอยู่ที่ 7% ที่ค่อนข้างสูงโดยมีหลักคิด คือ ให้อ้างอิงอัตราดอกเบี้ยประจำเฉลี่ยของ 5 ธนาคารขนาดใหญ่ (ปัจจุบันอยู่ที่ 1.5%) บวก 3% ปีที่ 2 อิงดอกเบี้ยฝากบวก 2.5% เหลือ 4% และปีที่ 3 อิงดอกเบี้ยฝากบวก 2% เหลือ 3.5% ก่อนทยอยปรับอัตราลงปีต่อมา
เพราะการสร้างแรงจูงใจในเชิงผลตอบแทนของผู้ฝากเงินจะมากดดันให้ต้องหาผลตอบแทนในการปล่อยกู้และนำไปลงทุนที่อาจคำนึงถึงความเสี่ยงที่ไม่มากพอ หากเกิดผิดพลาดจะมีความเสียหายกระทบในวงกว้าง
2.การรับฝากหรือนำเงินไปปล่อยกู้ให้สหกรณ์อื่นต้องไม่เกิน 10% ของทุนเรือนหุ้นบวกทุนสำรอง หรือรวมเงินกู้และเงินรับฝากจากสหกรณ์แต่ละรายต้องไม่เกิน 10% จุดนี้สำคัญเพื่อลดลักษณะการเติบโตที่สร้างความเสี่ยงเกินขีด คล้ายๆ กับการควบคุมความเร็วในการวิ่งขิงรถยนต์บนทางด่วน
3.อัตราเงินปันผลที่จ่ายคืนกลับผู้ถือหุ้นต้องไม่เกิน 80% ของกำไรสุทธิเมื่อหักสำรองตามกฎหมายแล้ว ก็เป็นหลักการสากลทั่วไป
ทีนี้ก็มาถึงเรื่องสำคัญครับ ก็คือ ข้อสรุปแนวทางการกำกับเพิ่มเติมในส่วนที่เป็นหัวใจการดำเนินงาน 3 เรื่อง ได้แก่
(1) การกำหนดอัตราส่วนหนี้ต่อทุน (D/E Ratio)
(2)สัดส่วนการลงทุนของ สหกรณ์และ
(3) การดำรงสินทรัพย์สภาพคล่อง
การกำหนดอัตราส่วนหนี้สินต่อทุน ตามมติ ครม.คือต้องไม่เกิน 1.5 เท่าของหนี้สิน ทีนี้ก็ต้องมาดูว่าจะระบุว่า อะไรคือหนี้สินล่ะ ดังนั้นข้อสรุปตามข่าว คือ ในส่วนของหนี้สินให้คำนวณนับเฉพาะหนี้เงินกู้ของสหกรณ์บวกกับเงินฝากจากสหกรณ์อื่น แต่ไม่นับรวมเงินฝากของสมาชิก
พูดง่ายๆ คือ ถ้ารับฝากมาจากสมาชิกก็เอาไปให้สมาชิกกู้ต่อ ส่วนนี้ไม่นับ แต่ถ้าสหกรณ์ไปกู้แบงก์มา ไปรับฝากจากสหกรณ์อื่นมาส่วนนี้จะถูกนำมาคำนวณ สมรภูมินี้คือจุดสำคัญในการเข้ากำกับดูแล
การกำหนดสัดส่วนลงทุนของสหกรณ์ต้องไม่เกิน 20% ของทุนเรือนหุ้นบวกทุนสำรอง จากมติ ครม.ที่กำหนดไว้ไม่เกิน 10% อันนี้อาจเป็นเพราะว่ามีสหกรณ์บางแห่งมีการลงทุนมากกว่า 40-50% ของสินทรัพย์ บางแห่งลงทุนสูงถึง 100% ของส่วนผู้ถือหุ้น
การกำหนดเกณฑ์การดำรงสินทรัพย์สภาพคล่อง 3% ตามมติ ครม.ที่กำหนดให้ไม่น้อยกว่า 6% ของหนี้สิน (ปัจจุบันกฎกระทรวงให้ดำรงเพียง 1% เกณฑ์บังคับใหม่ 3%) แยกเป็นการดำรงสภาพคล่องส่วนของเงินสด เงินฝากธนาคาร 1% และพันธบัตร 2% โดย ธปท.ได้ผ่อนผันให้สหกรณ์ที่มีเงินฝากกับชุมนุมสหกรณ์แห่งประเทศให้นับเป็นการดำรงสภาพคล่อง 1% ได้
เรื่องที่จะตามมาอีกจุดหนึ่ง คือ สหกรณ์ออมทรัพย์ปล่อยกู้วนซ้ำต่ำกว่า 1 หน่วยงานกำกับดูแลจะต้องหาทางแก้ปัญหาหนี้กลุ่มนี้เพราะเป็นสาเหตุหนึ่งของการเพิ่มหนี้ครัวเรือน จุดสลบของประเด็นนี้ คือ เกณฑ์กำกับตามมติของ ครม.ระบุว่า สัญญาเงินกู้ที่กู้วนซ้ำน้อยกว่าการเพิ่มหนี้ครัวเรือน จุดสลบของประเด็นนี้ คือ เกณฑ์กำกับตามมติของ ครม.ระบุว่าสัญญาเงินกู้ที่กู้วนซ้ำน้อยกว่า 1 ปี จะต้องกันสำรองหนี้ทั้ง 100% แน่นอนว่าสหกรณ์ออมทรัพย์ยังไม่เห็นด้วย เราคงต้องตามดูต่อไป
ผมขอชื่นชมท่านอธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์และทีมงานเป็นอย่างมากที่ได้ดำเนินการสร้างความ เข้มแข็ง มั่นคง สมดุล และยั่งยืน ให้เกิดกับระบบสถาบันการเงินประเภทนี้ เพราะนี้คือความกล้าหาญในการทำในสิ่งที่ต้องทำ เพื่อคุ้มครองดูแลผู้ฝากและผู้ถือหุ้นของสหกรณ์ครับ
ทั้งนี้ ก็เป็นไปตามมติ ครม.วันที่ 7 มี.ค. 2560 ที่ได้เห็นชอบแนวทางการปฏิรูปการบริหารจัดการและกำกับดูแลกิจการสหกรณ์ออมทรัพย์และสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน (สินทรัพย์ตั้งแต่ 5,000 ล้านบาท) ตามที่หน่วยงานเสนอ

คอลัมน์ เศรษฐกิจคิดง่ายๆ: พื้นฐานครอบครัวไทยคือแรงผลักดันระบบเศรษฐกิจ วันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2560

คอลัมน์ เศรษฐกิจคิดง่ายๆ:

พื้นฐานครอบครัวไทยคือแรงผลักดันระบบเศรษฐกิจ

วันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2560

ผมได้มีโอกาสสนทนาอย่างออกรสกับคนหนุ่มสาวอายุไม่ถึง 25 ปี เธอจบอักษรศาสตร์จุฬา เอกภาษาอังกฤษ เคยไปเป็นนักเรียนแลกเปลี่ยนที่สาธารณรัฐฝรั่งเศส พอจบปริญญาตรีก็ไปทำงานสายงานบริหารงานบุคคลที่บริษัทข้ามชาติ ที่อดีตซีอีโอของบริษัทแห่งนี้ปัจจุบันไปเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐอเมริกา บทสนทนาของผมเริ่มจากการตั้งประเด็นว่า แม้ประเทศไทยจะเต็มไปด้วยปัญหา เรื่องราว นิสัยของผู้คนที่ดีและไม่ดี แต่ระบบเศรษฐกิจที่ถูกขับเคลื่อนได้จนมาถึงทุกวันนี้ จากผู้คนรุ่นก่อนที่ทำงานหนัก เพราะอะไรคนรุ่นพ่อแม่ของเด็กที่ผมคุยด้วยจึงทำงาน สร้างสรรค์งาน และมุมานะสร้างทุกสิ่งอันมาได้ เธอตอบผมกลับมาเป็น “บทความ” หลังไปชมภาพยนตร์ที่ถ่ายทอดเรื่องของครอบครัวในยามที่เวลานี้คนไทยทุกคนล้วนระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ อันหาที่สุดมิได้ของในหลวงรัชกาลที่ 9 “พ่อของแผ่นดิน” ของปวงชนชาวไทย บทความเธอกล่าวไว้ดังนี้ครับ
…ตั้งแต่เริ่มทำงานเราก็ตั้งคำถามว่า “พ่อแม่เราทำงานหนักและลำบากมาเป็นสิบๆ ปี เขาทำได้อย่างไร?”
พ่อกับแม่เราตอบกลับมาสั้นๆ ว่า “ก็เพราะมีลูกไง ที่พูดไม่ได้แปลว่าลูกเป็นภาระ เพราะการได้มองดูลูกเติบโตจากเด็กจนเป็นผู้ใหญ่ในแต่ละช่วงเวลานั้นมีค่ามากและพ่อแม่ชาวไทยทุกคนนั้น ไม่ว่าลูกจะไปได้ไกลกว่าตัวเอง หรือเติบโตไปในทิศทางไหนก็จะภูมิใจในตัวลูกเสมอ
พอฟังแล้วก็ได้คิดขึ้นมาว่าครอบครัวให้ค่าหรือ Value กับเราแค่ไหนแต่หลายครั้งเราหลงลืมความสำคัญของคนที่บ้านบางครั้งก็อาจพูดจาไม่ดีใส่กัน เพราะงานยุ่ง เพราะมัวแต่กังวลว่าคนอื่น (คนนอกครอบครัว) คิดกับเราอย่างไร เพราะอยู่ด้วยกันทุกวัน มันใกล้กัน สัมผัสกันเกินไป เราเลยอาจคุ้นชินต่อการดูแลที่พวกเขามอบให้ในแต่ละวัน
แต่ถ้าล้มเมื่อไหร่ คนที่บ้านที่คอยบ่นว่าเรานี่แหละที่คอยพยุง ปลอบโยน และยืนอยู่ข้างเราเสมอ ในเวลาที่ร้องไห้ พ่ายแพ้ และรู้สึกไม่เหลือใคร
คนใกล้ตัวที่ทำเพื่อเรา อย่ามองข้าม อย่าเห็นเป็นของตาย เพราะเขาทำได้แทบทุกอย่างเพื่อเรา อยากให้ทุกคนชวนครอบครัวตัวเองดูหนังสั้นประกอบเพลงพระราชนิพนธ์เรื่องนี้ด้วยกัน
เพราะมันทำให้เราคิดทบทวนถึงการกระทำของตัวเองต่อคนที่รักเราได้อย่างไม่มีเงื่อนไข รักเรามากจริงๆ…
ครอบครัวที่ชื่อว่า ประเทศไทยได้รับการดูแลจากท่าน จากในหลวงรัชกาลที่ 9 โดยไม่มีเงื่อนไข ไม่ว่าจะเติบโต มีปัญหา มีข้อขัดแย้ง ทรุดโทรมจากการหลงไปกับความไม่พอเพียง พระองค์ทรงพระราชทานแนวทางคำตอบมาให้เสมอใช่หรือไม่
ในที่สุดเมื่อได้กลับมามองถึงสัจธรรม ความเป็นจริงแท้ก็จะพบว่า “เงินทองนั้นมายา ข้าวปลาสิของจริง” เศรษฐกิจที่มีรากฐานจากครอบครัวอันเป็นหน่วยที่เล็กที่สุดในระบบ หากถูกนำมาขับเคลื่อนธุรกรรมทางเศรษฐกิจบนพื้นฐาน พอดี พอประมาณ มีภูมิคุ้มกัน อันหมายความถึงความพอเพียงที่จะนำพาความอยู่ดีมีสุขของผู้คนไปสู่จุดหมายได้อย่าง มั่นคง สมดุล เป็นธรรม และยั่งยืนนั้น การปลูกผังค่านิยมของครอบครัวจึงเป็นเรื่องสำคัญมาก
ผมชื่นชอบในข้อความตรงที่ว่า …แต่ถ้าล้มเมื่อไหร่ คนที่บ้านที่คอยบ่นว่าเรานี่แหละที่คอยพยุง ปลอบโยน และยืนอยู่ข้างเราเสมอ ในเวลาที่ร้องไห้ พ่ายแพ้ และรู้สึกไม่เหลือใคร…หากคนที่ล้มคือ สตาร์ทอัพเราก็หวังว่าทุกภาคส่วนจะร่วมเป็นคนในครอบครัวในการดึงเขาขึ้นมาใช่ไหม…ถ้าใช่ เราก็มีโอกาสสร้างไทยสตาร์ทอัพครับ นี่คือตัวอย่างที่ผมคิด
ขอขอบคุณที่ให้ความกรุณาติดตามบทความครับ

โปรโมชั่น ลด 50% ค่าบริการตรวจเครดิตบูโร วันที่ 16-30 พฤศจิกายน 2560 ณ เครดิตบูโรคาเฟ่ อาคารเพิร์ล แบงก์ค็อก ชั้น 3 (โซนธนาคาร)

โปรโมชั่น ครึ่งเดือนครึ่งราคา

ลด 50% ค่าบริการตรวจเครดิตบูโร 

วันที่ 16-30 พฤศจิกายน 2560

ณ เครดิตบูโรคาเฟ่ อาคารเพิร์ล แบงก์ค็อก ชั้น 3 (โซนธนาคาร)

  • ใช้บัตรประชาชนของตนเอง
  • ค่าบริการ 50 บาท (จากปกติ100บาท)
  • รอรับผลได้ทันที (ภายใน 15 นาที)
  • เฉพาะรายการลูกค้าบุคคลธรรมดา ยื่นขอตรวจของตนเองเท่านั้น (ไม่รับกรณีมอบอำนาจ)

ตรวจเครดิตบูโร…ฟรี งาน Commart Work 2017 วันที่ 2-5 พฤศจิกายน 2560 เวลา 10.00-20.00 น. ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์

ตรวจเครดิตบูโร ฟรี

งาน Commart Work 2017
วันที่ 2-5 พฤศจิกายน 2560 เวลา 10.00-20.00 น. เพลนารี ฮอลล์ (บูธ P9) ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์

1. บริการตรวจเครดิตบูโร ฟรี
– ใช้บัตรประชาชนของตนเอง
– รอรับผลได้ทันที ภายใน 15 นาที
– เฉพาะรายการลูกค้าบุคคลธรรมดา ยื่นตรวจของตนเองเท่านั้น (ไม่รับกรณีมอบอำนาจ)
2. นิทรรศการ “ไม่เป็นหนี้ มั่งมีความสุข ตามรอยพ่อสอน” และ “พอเพียง”
3. บริการตรวจสอบเครดิตบูโรแบบย่อ
4. เปิด “คลินิกเครดิตบูโร” ให้คำปรึกษา ไขข้อข้องใจ
5. บรรยากาศสบายๆ เป็นกันเอง เข้ากับไลฟ์สไตล์คนรุ่นใหม่
6. รับเครื่องดื่ม ฟรี
– เมื่อตรวจเครดิตบูโร รอรับรายงานเครดิตบูโร
– โชว์รายงานเครดิตบูโรของท่าน แก่เจ้าหน้าที่ ณ เคาน์เตอร์บาร์ เครดิตบูโรคาเฟ่
– รับเครื่องดื่ม (1 ท่านต่อ 1 แก้ว)
* เครื่องดื่มมีจำนวนจำกัด ตามลำดับท่านที่มาใช้บริการก่อน…ในแต่ละวัน สำหรับท่านที่ตรวจเครดิตบูโรเท่านั้น

ข่าวเครดิตบูโร 015/2560 : เปิดตัวศูนย์ตรวจเครดิตบูโรแห่งใหม่เข้ากับไลฟ์สไตล์คนรุ่นใหม่ ภายใต้แนวคิด “เครดิตบูโรคาเฟ่”

เปิดตัวศูนย์ตรวจเครดิตบูโรแห่งใหม่เข้ากับไลฟ์สไตล์คนรุ่นใหม่ ภายใต้แนวคิด “เครดิตบูโรคาเฟ่”

บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด (เครดิตบูโร) เปิดตัวศูนย์ตรวจเครดิตบูโรแห่งใหม่ ชั้น 3 (โซนธนาคาร) อาคารเพิร์ล แบงก์ค็อก ภายใต้แนวคิด “เครดิตบูโรคาเฟ่” สร้างบรรยากาศเป็นกันเองเข้ากับไลฟ์สไตล์คนรุ่นใหม่ที่จะมาใช้บริการ พร้อมอำนวยความสะดวกและรวดเร็วในการให้บริการตรวจเครดิตบูโรแก่ประชาชนทั่วไป

ดร.เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ ผู้อำนวยการ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ ในฐานะประธานกรรมการ บริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด (เครดิตบูโร) เป็นประธานในพิธีเปิดศูนย์ตรวจเครดิตบูโรแห่งใหม่ ภายใต้แนวคิด “เครดิตบูโรคาเฟ่” โดย เปิดเผยว่า “ในยุคที่กลุ่มคนรุ่นใหม่กำลังจะก้าวเข้ามามีบทบาทเป็นกำลังหลักในการขับเคลื่อนพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศนั้น หนี้สินและหนี้เสียเริ่มมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ของคนกลุ่มนี้ ในขณะเดียวกัน การก่อหนี้ของกลุ่มวัยกลางคนและวัยเกษียณก็ไม่มีแนวโน้มว่าจะลดลง ทำให้ปัญหาหนี้สินเป็นปัญหาที่ทุกฝ่ายควรช่วยกันเร่งแก้ไข อย่างไรก็ตาม การสร้างวินัยทางการเงินด้วยตนเองเป็นจุดเริ่มต้นของการลดโอกาสเกิดหนี้ที่ง่ายและยั่งยืน เช่น การใช้จ่ายเท่าที่จำเป็น การรู้จักออม รวมไปถึงการตรวจเครดิตบูโร ที่นอกจากจะช่วยตรวจสอบสภาพการเงินของตนเองแล้ว ยังช่วยวางแผนการเงินก่อนไปกู้ ช่วยตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลแล้ว และช่วยให้มีโอกาสได้ลดดอกเบี้ยหากมีประวัติดีอีกด้วย ปัจจุบันมีศูนย์ตรวจเครดิตบูโรเปิดให้บริการแล้วทั้งหมด 4 แห่ง ทั้งในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ทางเครดิตบูโรจึงได้มีการเพิ่มศูนย์ตรวจเครดิตบูโรแห่งใหม่ เพื่อการบริการที่เข้าถึงง่ายและอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนได้อย่างทั่วถึงมากยิ่งขึ้น ซึ่งจัดตั้งภายในแนวคิด “เครดิตบูโรคาเฟ่” ที่เน้นบรรยากาศผ่อนคลายเสมือนอยู่ในร้านกาแฟ สร้างความรู้สึกเป็นกันเอง ซึ่งเข้ากับไลฟ์สไตล์คนรุ่นใหม่ที่จะมาใช้บริการ โดยเปิดให้บริการตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป”

สำหรับ “เครดิตบูโรคาเฟ่” ตั้งอยู่ที่ชั้น 3 โซนธนาคาร อาคารเพิร์ล แบงก์ค็อก ที่มีความโดนเด่นด้วยสถาปัตยกรรมการออกแบบอาคารทรงวงรีรูปไข่มุก ซึ่งจะกลายเป็นแลนด์มาร์คแห่งใหม่ใจกลางกรุงเทพมหานคร อยู่ห่างจากสถานีรถไฟฟ้าอารีย์เพียง 200 เมตรเท่านั้น สำหรับผู้ที่สนใจตรวจเครดิตบูโร เพียงนำบัตรประชาชนตัวจริงของตนเองมาแสดง ณ เครดิตบูโรคาเฟ่ สามารถรอรับรายงานเครดิตบูโรได้ภายใน 15 นาที ค่าบริการ 100 บาท เฉพาะรายการบุคคลธรรมดายื่นตรวจของตนเองและมอบอำนาจ (พร้อมรับเครื่องดื่มฟรี) เปิดให้บริการ วันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 9.00 – 18.00 น.

(ในภาพ) ดร.เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ (กลาง) ผู้อำนวยการ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ ในฐานะประธานกรรมการ บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด (เครดิตบูโร) เป็นประธานในพิธีเปิดศูนย์ตรวจเครดิตบูโรแห่งใหม่ ภายใต้แนวคิด “เครดิตบูโรคาเฟ่” ณ เครดิตบูโรคาเฟ่ชั้น 3 โซนธนาคาร อาคารเพิร์ล แบงก์ค็อก เมื่อเร็วๆ นี้

ข่าวเครดิตบูโร 014/2560 : ธนาคารกลางจีนศึกษาดูงานเครดิตบูโรไทย

ข่าวเครดิตบูโร 014/2560

ธนาคารกลางจีนศึกษาดูงานเครดิตบูโรไทย

บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด (เครดิตบูโร) โดยนายเผด็จ เจริญศิวกรณ์ (ที่สองจากซ้าย) รองผู้จัดการใหญ่ พร้อมคณะผู้บริหารให้การต้อนรับ Madam Wang XiaoLei (กลาง) Deputy Director-General จาก Credit Reference Center ของธนาคารกลางจีน เข้าศึกษาดูงานเกี่ยวกับธุรกิจเครดิตบูโรในประเทศไทย และแนวทางการดำเนินงานในอนาคต ณ สำนักงานเครดิตบูโร เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2560

เรื่องน่าอ่าน