Blog Page 175

ขยายเวลา..บริการตรวจเครดิตบูโร ไม่เว้นวันหยุด

ขยายเวลา..บริการตรวจเครดิตบูโร ไม่เว้นวันหยุด

จะวันไหนๆ เราก็พร้อมบริการ ตั้งแต่ วันเสาร์ที่ 6 มกราคม 2561   ถึงวันเสาร์ ที่  31 มีนาคม 2561

รอรับได้เลย ภายใน 15 นาที ค่าบริการ 100 บาท ใช้บัตรประชาชนของตนเอง

  • สถานีรถไฟฟ้า BTS ศาลาแดง (ภายในสถานี) ทุกวันจันทร์ – อาทิตย์ เวลา 09.00 – 18.00 น.
  • ห้างเจ-เวนิว (นวนคร) ชั้น 4 ติดประกันสังคม ทุกวันจันทร์ – อาทิตย์ เวลา 09.00 – 18.00 น.

เครดิตบูโรร่วมสนับสนุนเว็บไซต์ใหม่ “มันหนี้” หรือ “Thai Debt Money” “หนี้เป็นได้ เรียนรู้ได้ ด้วยความเข้าใจ” เพื่ออนาคตการเงินที่ดี

17 กรกฎาคม2560 : บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด (เครดิตบูโร )ร่วมสนับสนุนโครงการเว็บไซต์ “มันหนี้” หรือ “ThaiDebtMoney” ด้วยแนวคิด “หนี้เป็นได้ เรียนรู้ได้ ด้วยความเข้าใจ” มุ่งส่งเสริมให้ความรู้การเงินบริหารจัดการหนี้สินให้กลุ่มประชาชนที่มีภาระหนี้สิน เกิดความเข้าใจที่ถูกต้องและนำไปปฏิบัติเพื่อสร้างวินัยการเงินที่ดีขึ้นได้ด้วยตนเอง

นายสุรพล โอภาสเสถียร ผู้จัดการใหญ่ เครดิตบูโร เปิดเผยว่า “ด้วยปัจจุบันสภาพสังคมบริโภคนิยม การใช้จ่ายเกินตัว การกู้ยืมเงินและขาดวินัยทางการเงิน ทำให้เกิดภาวะ “หนี้สิน” กับประชาชนเป็นจำนวนมากโดยกลุ่มคนที่มีปัญหาการก่อหนี้เสียมากที่สุดคือ กลุ่มคน Generation Y หรือ กลุ่มคนที่มีอายุตั้งแต่ 22-37 ปี ซึ่งเป็นกลุ่มที่ควรได้รับการช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาดังกล่าว เนื่องจากอยู่ในช่วงของการทำงานและการเริ่มก่อร่างสร้างตัวหากไม่สามารถจัดการปัญหาหนี้สินได้ นอกจากจะสร้างปัญหากับตนเองแล้ว ยังส่งผลกระทบถึงครอบครัวสังคมและระบบเศรษฐกิจของประเทศ ดังที่เราเห็นภาระหนี้ครัวเรือนที่สูงขึ้นควบคู่ไปกับปริมาณหนี้เสีย โดยที่ผ่านมาสถาบันการเงินและหน่วยงานต่างๆ ก็ได้ริเริ่มให้มีโครงการเพื่อช่วยเหลือและบริหารจัดการปัญหาหนี้สินอย่างครบวงจรมาอย่างต่อเนื่องเครดิตบูโรก็ได้ให้ความสำคัญและตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว จึงได้เข้าร่วมสนับสนุนโครงการเว็บไซต์”มันหนี้” หรือ “ThaiDebtMoney”ด้วยแนวคิดง่ายๆ คือ “หนี้เป็นได้ เรียนรู้ได้ ด้วยความเข้าใจ” เพื่อเป็นช่องทางการเข้าถึงข้อมูลความรู้ทางการเงิน การบริหารจัดการหนี้สินโดยเน้นให้กลุ่มประชาชนที่มีภาระหนี้สินและกลุ่มประชาชนทั่วไปเกิดความเข้าใจและสามารถนำไปปฏิบัติเพื่อสร้างวินัยการเงินที่ดีขึ้นได้ด้วยตนเองอย่างเป็นรูปธรรม รวมทั้งจะเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างอนาคตทางการเงิน ที่ดีแก่ประชาชนอีกด้วย”

สำหรับเนื้อหาภายในเว็บไซต์ “มันหนี้” หรือ “ThaiDebtMoney” นั้น จะประกอบด้วย 6 เรื่องหลักๆ ได้แก่ 1) การบริการสำหรับผู้ป่วยเป็นหนี้ที่จะแบ่งระดับของภาวะหนี้อย่างเข้าใจ 2) การฟื้นฟูสุขภาพการเงินเพื่อให้มีสุขภาพการเงินที่ดีขึ้น3) กฎหมายคลายหนี้ ในมุมที่ให้ความช่วยเหลือผู้ประสบปัญหาต่างๆ 4) โปรแกรมคำนวณตรวจสุขภาพหนี้ รู้อาการหนี้ก่อนใคร 5) กูรูกู้รู้รวม เคล็ดลับ เรื่องหนี้อย่างชาญฉลาด 6) การรณรงค์ป้องกันหนี้ที่มีข่าวสารสาระความรู้ทั่วไปเรื่องการเงินไว้อย่างมากมายพร้อมให้บริการแล้ว แค่คลิกมาที่ www.thaidebtmoney.com หรือ www.มันหนี้.com และ www.facebook.com/thaidebtmoney ซึ่งจะมีข้อมูลเพื่อช่วยเหลือประชาชนจัดการหนี้สิน ผ่านออนไลน์ที่สะดวกสบาย รวดเร็ว และเข้าถึงทุกกลุ่มสู่การมีวินัยทางการเงินที่ดีต่อไป

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมกรุณาติดต่อ
บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด (เครดิตบูโร)ฝ่ายธุรกิจสัมพันธ์และภาพลักษณ์องค์กร อรภัทร รังษีวงศ์ 02 612 5850
E-mail: ilovebureau@ncb.co.th / website: www.ncb.co.th / facebook: www.facebook.com/ilovebureau

www.มันหนี้.com หรือwww.thaidebtmoney.com

“นิด้าโพล” และ “เครดิตบูโร” เผยผลสำรวจ “พฤติกรรมการออมและภาวะหนี้สินของประชาชนในช่วงครึ่งปีแรก 2560”

17 กรกฎาคม2560 :ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์(นิด้า)และบริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด (เครดิตบูโร) ร่วมจัดงานแถลงข่าวผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง”พฤติกรรมการออมและภาวะหนี้สินของประชาชนในครึ่งปีแรก 2560″และเสวนาเรื่อง “พฤติกรรมการออมและภาวะหนี้สินของคนไทย”

ผู้บริหารของทั้ง 2 หน่วยงาน จากนิด้าได้แก่ศ.ดร.กำพล ปัญญาโกเมศรองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการผศ.ดร.ณัฐฐา วินิจนัยภาค ผู้อำนวยการศูนย์สำรวจความคิดเห็น”นิด้าโพล”ผศ.ดร.ณดา จันทร์สม คณบดีคณะพัฒนาการเศรษฐกิจ ผศ.ดร.ปริยดา สุขเจริญสินผู้อำนวยการหลักสูตรเศรษฐศาสตร์การเงินคณะพัฒนาการเศรษฐกิจ และผู้อำนวยการศูนย์บริการวิชาการ และนายสุรพลโอภาสเสถียร ผู้จัดการใหญ่เครดิตบูโรร่วมในงานแถลงข่าวผลสำรวจและเสวนาดังกล่าว

ศ.ดร.กำพล ปัญญาโกเมศรองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการนิด้า กล่าวว่ารู้สึกเป็นเกียรติที่ ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” ได้มีโอกาสร่วมมือกับเครดิตบูโร เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนในด้านเศรษฐกิจ การเงิน การบริหารจัดการทรัพย์สิน หนี้สิน ตลอดจนการวางแผนการออม โดยการสำรวจความคิดเห็น เป็นหนึ่งในภารกิจของ นิด้าโพล ที่ต้องการสนับสนุนการบริการทางวิชาการในรูปแบบการวิจัยเชิงสำรวจ หรือการทำโพล เพื่อเผยแพร่ข้อมูลทางวิชาการต่อสาธารณะอันจะเป็นประโยชน์ต่อสังคม การวิจัยและงานวิชาการอื่น ๆรวมถึงประเทศชาติต่อไป โดยหวังว่า ผลการสำรวจในครั้งนี้ จะเป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชน หน่วยงาน สถาบันการเงิน หรือองค์กรต่าง ๆที่เกี่ยวข้อง นำไปเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจการวางแผน หรือการกำหนดนโยบายสาธารณะต่าง ๆ และเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ สอดคล้องกับมาตรการส่งเสริมภายใต้แผนพัฒนาระบบสถาบันการเงินฉบับที่ 2 ต่อไป

ด้าน ผศ.ดร.ณัฐฐา วินิจนัยภาค ผู้อำนวยการศูนย์สำรวจความคิดเห็น”นิด้าโพล”ได้เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง “พฤติกรรมการออมและภาวะหนี้สินของประชาชนในช่วงครึ่งปีแรก 2560”จากประชาชนที่มีรายได้ทั่วประเทศ จำนวน 2,000 หน่วยตัวอย่าง พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 45.15 มีรายได้ พอ ๆ กับรายจ่าย โดยประชาชนมีรายได้ต่อเดือนเฉลี่ย 26,469.91 บาท ขณะที่รายจ่ายเฉลี่ยต่อเดือนอยู่ที่ 21,606.75 บาท ทั้งนี้ ประชาชนเกินครึ่งเล็กน้อย หรือร้อยละ 51.65 มีเงินออมไว้ใช้ โดยส่วนใหญ่ร้อยละ 48.79ออมเพื่อใช้ในกรณีฉุกเฉิน เช่น เพื่อการรักษาพยาบาล การเจ็บป่วย อุบัติเหตุร้อยละ 38.33 ออมเพื่อสำรองไว้ใช้ในอนาคตร้อยละ 26.91 ออมไว้ให้บุตรหลานตลอดจนการศึกษาของบุตรหลานร้อยละ 12.58 ออมใช้ในระยะยาวช่วงหลังเกษียณอายุ

ส่วนการมีหนี้สินของประชาชน พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 68.10 ระบุว่ามีหนี้สิน ซึ่งในจำนวนนี้มีหนี้สินโดยรวมเฉลี่ยประมาณ 565,302.88 บาทร้อยละ 59.47 เกิดจากการซื้อ/ผ่อน/ชำระสินค้า การบริการ สินค้าอุปโภคบริโภค รองลงมาร้อยละ 35.46เกิดจากการลงทุนในการประกอบอาชีพการดำเนินธุรกิจ กิจการ การเกษตร การค้าขาย ร้อยละ 14.24 เกิดจากการเลี้ยงดูบุตรหลาน ร้อยละ 11.89 เกิดจากการเลี้ยงดูบุคคลในครอบครัว ร้อยละ 6.17 เกิดจากการสร้าง ต่อเติม ปรับปรุงที่อยู่อาศัย บ้าน คอนโด ที่ดิน อสังหาริมทรัพย์ต่าง ๆ
สำหรับวิธีการบริหารจัดการหนี้สินของประชาชนที่มีหนี้สิน พบว่า ผู้ที่มีหนี้สินนั้นส่วนใหญ่ ร้อยละ 61.01 จะชำระยอดค้างให้ตรงต่อเวลา ร้อยละ 19.46 ไม่สร้างหนี้สินเพิ่มเติม ร้อยละ 14.17 ลดค่าใช้จ่าย ร้อยละ 13.29 หาช่องทางการเพิ่มรายได้ เช่น ทำอาชีพเสริม หารายได้พิเศษ ทำงานล่วงเวลา ร้อยละ 10.50 ระบุว่า เลือกแบ่งงวดจ่ายให้มากครั้ง แต่จ่ายจำนวนเงินต่อครั้งให้น้อย ๆ ขณะที่ประชาชนมีความสามารถในการชำระหนี้สินเฉลี่ย7.72คะแนน (จากคะแนนเต็ม 10) ซึ่งอยู่ในระดับมาก

นอกจากนี้ภายในงานยังได้มีการจัดเสวนา เรื่อง “พฤติกรรมการออมและภาวะหนี้สินของคนไทย”โดยได้รับเกียรติจากนายสุรพลโอภาสเสถียร ผู้จัดการใหญ่ เครดิตบูโรผศ.ดร.ณดา จันทร์สม คณบดีคณะพัฒนาการเศรษฐกิจ นิด้า และ ผศ.ดร.ปริยดาสุขเจริญสิน ผู้อำนวยการหลักสูตรเศรษฐศาสตร์การเงินคณะพัฒนาการเศรษฐกิจ และผู้อำนวยการศูนย์บริการวิชาการ นิด้า ให้เกียรติเป็นวิทยากรในการร่วมเสวนา แลกเปลี่ยนความคิดเห็นในเชิงวิชาการ เป็นการให้ความรู้แบ่งปันประสบการณ์ เกี่ยวกับผลการสำรวจ ปัญหาสถานการณ์หนี้ครัวเรือนของไทย ตลอดจนแนวนโยบายในการจัดการปัญหาหนี้ครัวเรือนด้วย

ในการนี้ นายสุรพล เปิดเผยว่า ที่ผ่านมาเครดิตบูโรได้ร่วมสนับสนุนข้อมูลวิชาการที่เป็นประโยชน์ แก่ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” นับว่าเป็นความร่วมมือการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนครั้งแรกเพื่อเป็นทางเลือกในการบริหารจัดการทรัพย์สิน หนี้สิน การออม การใช้จ่าย ซึ่งผลสำรวจในครั้งนี้ถือได้ว่าเป็นเสียงสะท้อนที่เกิดขึ้นจริงในสังคมไทยในปัจจุบันได้เป็นอย่างดี และผลที่ได้จะช่วยต่อยอดวิเคราะห์เรื่องการเงิน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการออม ภาวะหนี้สิน การใช้จ่าย และท้ายที่สุดจะนำไปสู่การป้องกัน แก้ไขปัญหาหนี้ของคนไทยได้อย่างทันการณ์ต่อไป โดยเครดิตบูโรได้ให้ความสำคัญและร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการเริ่มต้นแก้ไขปัญหาหนี้ คือ ให้ความรู้ความเข้าใจ เพื่อสร้างพฤติกรรมและวินัยทางการเงินที่ดี ผ่านเว็บไซต์ “มันหนี้” หรือ “Thai Debt Money” แก่กลุ่มผู้มีภาวะหนี้สินและประชาชนทั่วไป ถือว่าสอดคล้องกับมาตรการส่งเสริมแผนพัฒนาระบบสถาบันการเงินในระดับภูมิภาคของรัฐบาลอีกด้วย

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมกรุณาติดต่อ
ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ สันติดีวิเศษ
โทร. 02 727 3596 E-mail: nida_poll@nida.ac.th/ website:www.nidapoll.nida.ac.th / facebook: www.facebook.com/nidapoll
บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด (เครดิตบูโร)ฝ่ายธุรกิจสัมพันธ์และภาพลักษณ์องค์กรอรภัทร รังษีวงศ์
02 612 5850 E-mail: ilovebureau@ncb.co.th / website: www.ncb.co.th / facebook: www.facebook.com/ilovebureau

ขยายเวลา..บริการตรวจเครดิตบูโร ไม่เว้นวันหยุด

ขยายเวลา..บริการตรวจเครดิตบูโร ไม่เว้นวันหยุด

จะวันไหนๆ เราก็พร้อมบริการ ตั้งแต่ วันเสาร์ที่ 1 กรกฎาคม 2560 ถึง วันอาทิตย์ที่ 30 กรกฎาคม 2560 รอรับได้เลย ภายใน 15 นาที ค่าบริการ 100 บาท ใช้บัตรประชาชนของตนเอง

ตรวจเครดิตบูโร ณ ที่ทำการไปรษณีย์ และเคาน์เตอร์บริการไปรษณีย์ ทุกแห่งทั่วประเทศ

ตรวจเครดิตบูโร ณ ที่ทำการไปรษณีย์ และเคาน์เตอร์บริการไปรษณีย์ ทุกแห่งทั่วประเทศ

 

รับคำขอตรวจเครดิตบูโร ณ ที่ทำการไปรษณีย์ และเคาน์เตอร์บริการไปรษณีย์
ทุกแห่งทั่วประเทศ ใช้บัตรประชาชนของตนเอง ค่าบริการรายงานข้อมูลเครดิต 150 บาท

รับรายงานทางไปรษณีย์ลงทะเบียน ภายใน 7 วันทำการ

*เฉพาะรายการลูกค้าบุคคลธรรมดา ยื่นขอตรวจของตนเองเท่านั้น

หากต้องการตรวจเครดิตบูโรแบบสรุป รอรับได้ทันที ….ฟรี! ค่าบริการ

ตรวจสอบสาขาที่ให้บริการเพิ่มเติม ที่ www.thailandpost.co.th 

ไขข้อสงสัยเรื่องเครดิตบูโร

ข้อมูลเครดิตสำคัญอย่างไร

 

ทำไมต้องมีเครดิตบูโร ในระบบการเงินของไทย

ที่มา : เว็บไซต์คณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลเครดิต

ข้อมูลเครดิตคืออะไร

Blacklist ความเข้าใจผิดที่ควรทราบ

 

อยากรู้จังทำไม ขอสินเชื่อไม่ผ่าน

หลักสากล 3 ประการ มาตรฐานการจัดเก็บข้อมูลเครดิต

รายงานข้อมูลเครดิต

สิทธิเจ้าของข้อมูล

ติดต่อเครดิตบูโรได้ทางไหนบ้าง

ทำไมเราต้องไปตรวจเครดิตบูโร

 

การอัพเดทข้อมูลในรายงานเครดิตบูโร

 

เรื่องต้องรู้ ติดตามรายงานเครดิตบูโร

 

ข้อมูลเครดิตคืออะไร ข้อมูลเครดิตสำคัญอย่างไร

 

ข้อมูลเครดิตจัดเก็บอย่างไร นานแค่ไหน

เจ้าของข้อมูลขอลบหรือแก้ไขประวัติชำระหนี้ได้หรือไม่

เมื่อท่านถูกปฏิเสธไม่ให้สินเชื่อ

ทำอย่างไร เมื่อต้องการปิดบัญชีหนี้

 

ประวัติเครดิต…ซ่อมได้

 

ตรวจเครดิตบูโรและเครดิตสกอริ่ง ได้ที่ไหนบ้าง?

ตรวจเครดิตบูโรและเครดิตสกอริ่ง…ได้ที่ไหนบ้าง

บริการศูนย์ตรวจเครดิตบูโร

กรุงเทพฯ และปริมณฑล  แบบรอรับได้เลย (ค่าบริการ 100 บาท) ภายใน 15 นาที 

วันจันทร์ – วันศุกร์ เวลา 9.00-16.30 น. (ใช้บัตรประชาชนของตนเอง)

1.ศูนย์ตรวจเครดิตบูโร อาคาร เดอะไนน์ ทาวเวอร์ส แกรนด์ พระรามเก้า ชั้น 2 (โซนพลาซา) (อยู่ใกล้สถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน MRT พระราม 9 และอยู่ด้านหลังห้างเซ็นทรัล พระราม 9) วันจันทร์-ศุกร์ เวลา 9.00 – 16.30 น. หยุดวันนักขัตฤกษ์  * รายงานข้อมูลเครดิต (บุคคลธรรมดาและมอบอำนาจ) l เครดิตสกอริ่ง (บุคคลธรรมดาและ,มอบอำนาจ) l นิติบุคคล l นิติบุคคล (มอบอำนาจ) l ชาวต่างชาติ

วันจันทร์ – วันศุกร์ เวลา 9.00-18.00 น. (ใช้บัตรประชาชนของตนเอง)

2.ศูนย์ตรวจเครดิตบูโร สถานีรถไฟฟ้า BTS ศาลาแดง (ภายในสถานี) วันจันทร์-ศุกร์ เวลา 9.00 – 18.00 น. หยุดวันนักขัตฤกษ์   *เฉพาะบุคคลธรรมดาของตนเองและมอบอำนาจ l เครดิตสกอริ่ง (บุคคลธรรมดา) l ชาวต่างชาติ

วันจันทร์ – วันอาทิตย์ เวลา 9.00-18.00 น. (ใช้บัตรประชาชนของตนเอง)

3.ศูนย์ตรวจเครดิตบูโร ห้างเจ-เวนิว (นวนคร) ชั้น 1   วันจันทร์-อาทิตย์ เวลา 9.00 – 18.00 น.   *เฉพาะบุคคลธรรมดาของตนเองและมอบอำนาจ l เครดิตสกอริ่ง (บุคคลธรรมดา) l ชาวต่างชาติ

 

ตู้ตรวจเครดิตบูโรด้วยตนเอง (ตู้คีออส)
รับรายงานทางอีเมล ได้ทันที

1.ศูนย์ตรวจเครดิตบูโร อาคาร เดอะไนน์ ทาวเวอร์ส แกรนด์ พระรามเก้า ชั้น 2 (โซนพลาซา) (อยู่ใกล้สถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน MRT พระราม 9 และอยู่ด้านหลังห้างเซ็นทรัล พระราม 9)
2.เครดิตบูโรคาเฟ่ อาคารเพิร์ล แบงก์ค็อก ชั้น 3 (BTS สถานีอารีย์ ทางออก 1) (ให้บริการวันที่ 31 ก.ค. 68 เป็นวันสุดท้าย)
3.ศูนย์ตรวจเครดิตบูโร ห้างเจ-เวนิว (นวนคร) ชั้น 1
4.สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ (สถานีกลางบางซื่อ) (ด้านหลังเคาน์เตอร์ประชาสัมพันธ์ ประตูทางเข้า 1 จุดติดตั้งนาฬิกาประจำสถานี หรือนาฬิกาหน้าปัดหมายเลข ๙)
5.ธนาคารเกียรตินาคินภัทร (สำนักงานใหญ่) อาคารเคเคพีทาวเวอร์ ชั้น 1 ใกล้ประตูทางเข้าอาคาร
6.อาคารสาธรนครทาวเวอร์ ชั้น 1 โซนตู้เอทีเอ็ม (BTS ช่องนนทรี ทางออก2)
7.ศูนย์การเรียนรู้ธนาคารแห่งประเทศไทย (อาคาร A) ชั้น 2 โถงต้อนรับเยื้องจุดสอบถาม

 

กรุงเทพฯ และต่างจังหวัด แบบส่งรายงานรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (NCB e-Credit Report) ทางอีเมล  

ได้ทันที

1.ผ่านโมบายแบงก์กิ้ง จากธนาคารกรุงเทพ   บริการตรวจรายงานข้อมูลเครดิตและเครดิตสกอริ่ง 

2.ผ่านโมบายแอป “KKP Mobile” (ธนาคารเกียรตินาคินภัทร) บริการตรวจรายงานข้อมูลเครดิตและเครดิตสกอริ่ง

3.ผ่านโมบายแอป “TLT Simply” (บริษัท โตโยต้า ลิสซิ่ง (ประเทศไทย) จำกัด) บริการตรวจรายงานข้อมูลเครดิตและเครดิตสกอริ่ง (บริการใหม่ล่าสุด)

 

ภายใน 24 ชั่วโมง (เป็นไปตามเงื่อนไขที่เครดิตบูโรกำหนด) 

4.ผ่านโมบายแอป “Krungthai NEXT” (ธนาคารกรุงไทย) บริการตรวจรายงานข้อมูลเครดิตและเครดิตสกอริ่ง 

5.ผ่านโมบายแอป “MyMo” (ธนาคารออมสิน) บริการตรวจรายงานข้อมูลเครดิตและเครดิตสกอริ่ง 

6.ผ่านเป๋าตังเปย์ บนแอปเป๋าตัง บริการตรวจรายงานข้อมูลเครดิตและเครดิตสกอริ่ง  

7.ผ่านโมบายแอป “Flash Express” (Flash Money) บริการตรวจรายงานข้อมูลเครดิตและเครดิตสกอริ่ง

8.ผ่านโมบายแอป “BAAC Mobile” (ธ.ก.ส.) บริการตรวจรายงานข้อมูลเครดิตและเครดิตสกอริ่ง

 

ภายใน 3 วันทำการ

9.ผ่านโมบาย แอปพลิเคชัน SME D BANK (ธนาคาร SME D BANK) (กรณีที่เป็นลูกค้าที่มีสินเชื่อและบัญชีเงินฝากแล้ว)  บริการตรวจรายงานข้อมูลเครดิตและเครดิตสกอริ่ง  

10.ผ่านโมบายแอป “ttb touch” (ธนาคารทีทีบี)  บริการตรวจรายงานข้อมูลเครดิต 

หมายเหตุ : กรณีชื่อ-นามสกุล อีเมล เบอร์โทรศัพท์มือถือ และที่อยู่ของท่านมีการเปลี่ยนแปลง กรุณาปรับแก้ไขในระบบให้ถูกต้อง ก่อนใช้บริการ

 

กรุงเทพฯ และต่างจังหวัด แบบส่งรายงานกลับไปให้ทางไปรษณีย์ ลงทะเบียน (ค่าบริการ 150 บาท) ภายใน 7 วันทำการ

1. เคาน์เตอร์ธนาคาร (ทุกสาขา) (รายงานข้อมูลเครดิต เฉพาะบุคคลธรรมดาของตนเอง และชาวต่างชาติ)

กรุงไทย, กรุงศรี,  ธอส., ธ.ก.ส. (รายงานข้อมูลเครดิต เฉพาะบุคคลธรรมดาของตนเอง)
– แจ้งเจ้าหน้าที่ ที่เคาน์เตอร์ พร้อมยื่นบัตรประชาชนของตนเอง

2. บัตร ATM กรุงไทย, ไทยพาณิชย์ (รายงานข้อมูลเครดิต เฉพาะบุคคลธรรมดาของตนเอง)
– มีบัตรของธนาคารไหน ใช้ตู้ ATM ธนาคารนั้น
– ทำรายการผ่านหน้าจอ (เมนู ตรวจเครดิตบูโร)

3. โมบาย แอปพลิเคชัน  สำหรับผู้ที่ลงทะเบียน ธนาคารมือถือกรุงไทย ออมสิน SME D BANK ธ.ก.ส. เป๋าตัง Flash Express   (รายงานข้อมูลเครดิต บุคคลธรรมดาของตนเอง และเครดิตสกอริ่ง บุคคลธรรมดา)  ทีทีบี (เฉพาะบุคคลธรรมดาของตนเอง)
– ทำรายการผ่านธนาคาร บนโทรศัพท์มือถือ

4. แอป “Krungsri App” และ กรุงศรีออนไลน์ (ธนาคารกรุงศรี) (รายงานข้อมูลเครดิต เฉพาะบุคคลธรรมดาของตนเอง)

5. ที่ทำการไปรษณีย์ ณ ที่ทำการไปรษณีย์และเคาน์เตอร์บริการไปรษณีย์ทุกแห่งทั่วประเทศ (เฉพาะบุคคลธรรมดาของตนเอง) 

* สอบถามเพิ่มเติม THP Contact Center โทร.1545 หรือ www.thailandpost.co.th

 

รายงานข้อมูลเครดิต (แบบสรุป) ฟรี

1. โมบายแอป “ทางรัฐ”

2. ที่ทำการไปรษณีย์ และเคาน์เตอร์บริการไปรษณีย์ ทุกแห่งทั่วประเทศ    

3. ตู้ตรวจเครดิตบูโรด้วยตนเอง (ตู้คีออส)

-ศูนย์ตรวจเครดิตบูโร อาคาร เดอะไนน์ ทาวเวอร์ส แกรนด์ พระรามเก้า ชั้น 2 (โซนพลาซา) (อยู่ใกล้สถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน MRT พระราม 9 และอยู่ด้านหลังห้างเซ็นทรัล พระราม 9)
-เครดิตบูโรคาเฟ่ อาคารเพิร์ล แบงก์ค็อก ชั้น 3 (BTS สถานีอารีย์ ทางออก 1) (ให้บริการวันที่ 31 ก.ค. 68 เป็นวันสุดท้าย)
-ศูนย์ตรวจเครดิตบูโร ห้างเจ-เวนิว (นวนคร) ชั้น 1
-สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ (สถานีกลางบางซื่อ) (ด้านหลังเคาน์เตอร์ประชาสัมพันธ์ ประตูทางเข้า 1 จุดติดตั้งนาฬิกาประจำสถานี หรือนาฬิกาหน้าปัดหมายเลข ๙)
-ธนาคารเกียรตินาคินภัทร (สำนักงานใหญ่) อาคารเคเคพีทาวเวอร์ ชั้น 1 ใกล้ประตูทางเข้าอาคาร
-อาคารสาธรนครทาวเวอร์ ชั้น 1 โซนตู้เอทีเอ็ม (BTS ช่องนนทรี ทางออก2)
-ศูนย์การเรียนรู้ธนาคารแห่งประเทศไทย (อาคาร A) ชั้น 2 โถงต้อนรับเยื้องจุดสอบถาม

“ธปท.” จับมือ “เครดิตบูโร” ร่วมเปิดเผยข้อมูลสถิติ

เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2560 ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และบริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด (เครดิตบูโร) ร่วมจัดงาน “พิธีลงนามบันทึกความเข้าใจการเปิดเผยข้อมูลสถิติ” โดยความร่วมมือดังกล่าว เป็นการเปิดเผยข้อมูลสถิติจากเครดิตบูโร เพื่อใช้ในกิจการของธนาคารแห่งประเทศไทย ในการดำเนินภารกิจงานการวิเคราะห์ และการดำเนินนโยบายเสถียรภาพการเงิน และการชำระเงิน

ผู้บริหารของทั้ง 2 หน่วยงาน ได้แก่ ดร.สมศจี ศิกษมัตผู้ อำนวยการอาวุโสฝ่ายสถิติและจัดการข้อมูล ธปท. และนายสุรพล โอภาสเสถียร ผู้จัดการใหญ่เครดิตบูโร ร่วมในพิธีลงนามในบันทึกความเข้าใจดังกล่าว

ดร.สมศจี ศิกษมัต ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายสถิติ และจัดการข้อมูล ธปท. กล่าวถึงความร่วมมือในครั้งนี้ว่า นับเป็นเรื่องดีอย่างยิ่งที่ทั้งสองหน่วยงานจับมือกันส่งเสริมการใช้ข้อมูลสถิติการเงินที่มีอยู่ให้คุ้มค่า และเกิดประโยชน์เต็มที่  เพราะข้อมูลที่ดีมีคุณภาพจะช่วยให้เข้าใจ และสามารถตอบโจทย์ทางเศรษฐกิจ และการเงินที่นับวันจะมีมากขึ้น และหลากหลายขึ้นอาทิ การเข้าใจถึงพลวัตของการก่อหนี้จะช่วยต่อยอดการวิเคราะห์ในเรื่องต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการใช้จ่ายการออมภาระหนี้ การให้และใช้บริการทางการเงิน ซึ่งความเข้าใจอย่างถ่องแท้ในเรื่องเหล่านี้จะนำไปสู่การป้องกันปัญหาได้ถูกที่ และถึงแม้จะประสบปัญหาก็มีแนวทางแก้ไขหรือเยียวยาได้ทันการณ์ เนื่องจากข้อมูลสถิติจากระบบฐานข้อมูลของบริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด มีความละเอียดครอบคลุมประเภทของหนี้ และลูกหนี้ต่างๆสามารถใช้ประกอบการวิเคราะห์ และตอบโจทย์ที่สำคัญๆ ได้เป็นอย่างดี ธปท. จึงประสานกับบริษัทข้อมูลเครดิตฯ  และได้รับความร่วมมือที่จะเปิดเผยข้อมูลสถิติจากเครดิตบูโรเพื่อใช้ในกิจการของธปท. สำหรับการใช้ข้อมูลนั้น ธปท.ให้ความสำคัญกับเรื่องธรรมาภิบาลข้อมูล และการรักษาความลับข้อมูลส่วนบุคคลอย่างเคร่งครัด

ด้านนายสุรพล โอภาสเสถียร ผู้จัดการใหญ่เครดิตบูโร เปิดเผยว่าเพื่อเป็นการสนับสนุนให้ธปท. สามารถจัดทำนโยบายได้อย่างมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้นตามของธนาคารกลาง เพื่อดำรงไว้ซึ่งเสถียรภาพของระบบสถาบันการเงิน โดยการดำเนินการดังกล่าวนั้นผู้กำหนดหรือตัดสินใจในนโยบายจำเป็นต้องใช้ข้อมูลสถิติที่มีอยู่ในระบบข้อมูลของประเทศไทยอย่างเต็มที่ ซึ่งรวมถึงข้อมูลที่อยู่ในความดูแลของเครดิตบูโร และข้อมูลดังกล่าวก็ไม่มีส่วนหนึ่งส่วนใดที่กระทบกับสิทธิส่วนบุคคลตามที่กฎหมายกำหนด ดังนั้นการนำเอาข้อมูลเชิงสถิติจากเครดิตบูโรมาใช้ให้เป็นประโยชน์อย่างเต็มที่ต่อประเทศชาติผ่านความรู้ความสามารถที่เต็มเปี่ยมของบุคลากรของธปท. จึงเป็นการตอบโจทย์ที่เหมาะสม อีกทั้งยังเป็นการสร้างฐานทางปัญญาในการแก้ไขปัญหาของระบบสถาบันการเงินในส่วนที่เกี่ยวข้อง เครดิตบูโรหวังว่าความร่วมมือในครั้งนี้จะเป็นส่วนหนึ่งในทำหน้าที่การเป็นโครงสร้างพื้นฐานด้านข้อมูลต่อระบบเศรษฐกิจการเงินไทยให้เกิดเสถียรภาพ และสนับสนุนให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวได้อย่างทั่วถึงและยั่งยืนในอนาคตต่อไป

Internal Audit Charter

|

The purpose of this Charter is to explain the objectives, scopes, performing, authority, roles, and responsibilities of internal audit department to the management and employees of National Credit Bureau Co., Ltd. (hereinafter referred to as “the Company”). This Charter has been accepted and approved from the Audit Committee and the Board of Directors according to the resolutions of the meetings dated 23 December 2015 and 21 March 2016, respectively.

1. Objectives of Internal Auditing

To support the Company to have sufficient, appropriate and efficient risk management and internal control. Also, to support the performing of the Audit Committee in achieving the objectives and target assigned by the Board of Directors in order to build reliability and transparency of the business for members, business partners, shareholders, directors, management, employees, public organizations, and any related persons.

2. Scopes of Internal Audit

The internal audit includes the following details.

2.1 Review and assess the sufficiency and efficiency of the Company’s risk management and internal control.

2.2 Review the reliability of financial information, financial statement, account recording, and accounting standards.

2.3 Assess the accuracy reliability and sufficiency of systems including information technology system to have concisely, appropriately, and efficiently internal control.

2.4 Review the sufficiency and appropriation of recording, utilizing, and keeping the Company’s assets and benefits.

2.5 Review the performing to be in accordance to corporate good governance.

2.6 Review and assess the internal control of operational system of the Company to be inline with policies, rules and regulations of the Company as well as principles, laws and regulations of the related public organizations, and quality of performing in the Company.

2.7 Observe, examine, review or investigate overall tasks as assigned by the Board of Directors, the Audit Committee, or Chief Executive Officer in discovering a mistake from performing or any other fraudulent issues.

2.8 Consulting advise or suggestion including performing guidance in order to have concisely and appropriately internal control system.

3. Internal Auditing Standards

The performing of internal audit must be in accordance with the International Standard for the Professional Practice of Internal Auditing of the Institute of Internal Auditors of Thailand.

4. Authority of Internal Audit

4.1 InInternal auditors have rights to examine all assets and activities of the Company including examining manuscripts, accounts and documents related to account recording, corresponding letters, and any reports related to the performing of auditees.

4.2 Internal auditors have rights to ask auditees for the information, documents, and explanation regarding to that auditing case. The management and employees of a department that is audited must cooperate and facilitate the auditing process entirely.

5. Independence

5.1 Internal audit department has independence: internal auditors report directly to the head of internal audit department, and the head of internal audit department reports directly to the Audit Committee.

5.2 The audit activities, scope of auditing, process of auditing, period of auditing, and details of audit reports, must be independent in order to have efficient audit performing, and achieve target as designed in audit planning.

5.3 Internal auditors and the head of internal auditor have no carry out responsibility or contribution in other performing which are not associated to internal audit performing, or activities which probably impair the independence and objectivity of internal auditors.

5.4 Internal auditors must disclose the conflict of interests that may occur from the auditing performing to the head of audit department.

5.5 If the independence is impaired by matters of fact or behaviors, Internal auditors must disclose the impact details to the head of internal audit department as well as report to the Audit Committee.

Chief Executive Officer and every level of the management have duties for supporting the performing of internal audit department to achieve its duties and objectives of auditing; and must not order or perform any activities which will disrupt or impair the independence in the performing of internal auditors. This is for the maximum benefits of the Company.

6. Internal Audit Report

The head of internal audit department proposes audit report and suggestion to the Audit Committee, and a copy of report to Chief Executive Officer.

7. The Line of Command

7.1 Internal Audit Department is directly under the Audit Committee.

7.2 The Audit Committee consider and agree to the appointment or removal of rotation change position or termination the Head of Internal Audit, and propose to the Board of Directors for approval.

7.3 The Audit Committee is to be considered and approved the recruitment and the evaluation of employee’s performance in the Internal Audit Department, which the Head of Internal Audit Department give the opinion. If the Audit Committee has an approval, proposing to CEO for carry out.

8. Roles and Responsibility of Internal Audit Department

8.1 Internal auditors have auditing duty according to the International Standards for the Professional Practice of Internal Auditing.

8.2 Prepare an annual auditing plan and propose to the Audit Committee for approval within the last month of the Company’s fiscal year.

8.3 Examine, assess, and monitor the performing of each department of the Company to be in accordance with policies, rules, commands, and legal regulations.

8.4 Review and report the reliability and integrity of financial information and non-financial information of the Company.

8.5 Examine the internal control system and risk management in every process of each department in order to ensure that the Company has appropriate and concise internal control system; and it is sufficient to manage risk to be in controllable level and comply with the process of corporate good governance.

8.6 Examine information technology system consisting of IT general control auditing and IT Application Control auditing.

8.7 Consulting advise review and suggest the guidance in improving internal control, risk management, and good governance to the management and the audittee.

8.8 Thoroughly report all significant matters of audit finding to the Audit Committee and Chief Executive Officer.

8.9 Monitoring and examine the performing as advised from the auditing of internal audit department, a financial auditor, the Bank of Thailand, regulators, and other related public organizations in order to ensure that the management has implemented those advises effectively.

8.10 Prepare audit report and propose to the management for consideration within 30 days since the last date of auditing. Summarize and propose to the Audit Committee for acknowledgement in every the Audit Committee meeting.

8.11 In case the finding has issue supposing to be fraudulence, the head of internal audit department must report immediately to Chief Executive Officer and the Audit Committee.

8.12 Coordinate in facilitating the performance of a financial auditor, the Bank of Thailand, regulators, or officers of related public organization that has legal authorization connected to auditing, and summarize reporting to Chief Executive Officer.

8.13 Performing according to the conduct of ethics of internal auditors.

8.14 The head of internal audit department is a secretary of the Audit Committee.

8.15 Perform any other auditing as assigned by the Audit Committee or the Board of Directors or CEO of the Company.

8.16 To appoint and review the policy, procedure, and audit process for Credit Scoring Preparation and Disclosure and the manual of the internal audit department at least once a year and propose the Audit Committee for approval.

9. Human Resource Development

9.1 Internal auditors should be encouraged and supported by the Company in improving knowledge, skills, and ability by attending professional development and seminar of internal auditing continuously.

9.2 The head of internal audit department must providing the quality assurance of audit performance by distributing survey form to a department that has been audited for sharing opinion after exit the auditing process every time.

10. Ethics of Internal Auditors

Internal auditors must adhere to the conduct of Ethics in order to remain the reputation and raise the prestige of internal auditors as well as the profession as the following:

10.1 Performing with honest and diligence.

10.2 Posses objectivity and performing with associated persons impartially without any cross benefits.

10.3 Possess accountability, awareness, concentration, and dedication in order to be successful in effectively performance.

10.4 Keep confidentiality of information received from the performing. Do not disclose any information or audit reports to outsiders or unassociated insiders unless permission is granted from the Audit Committee. Also, do not use received information for personal advantages or against the purposes stated by law.

10.5 Do not accept any items or compensation, and do not associate with any activities or involvements that may causes independence or objectivity is impaired in performing the duties.

10.6 Do not use authority for personal benefits

10.7 Do not perform or associate with activities that may lead to damage or disgrace toward to the profession of internal auditing, individual, or the Company.

10.8 Must learn and improve individual always for increasing knowledge, competencies, and skills to successfully and effectively perform.

10.9 Posses the Company loyalty and cooperate in all of the Company’s activities.

10.10 Be a good role model of employees in other departments by strictly complies with rules and regulations of the Company, include the code of ethics, which stated by the Institute of Internal Auditors of Thailand is taken as a part of this Charter.

The internal audit department must review and consider the appropriation of internal audit charter annually. If any changes are required, the internal audit department must propose to the Audit Committee and the Board of Directors for consideration.

This Charter is effective since the date of 21 March 2016 by the approval from the Board of Directors of the Company in the meeting no 3/2016 held on 21 March 2016

Mr.Ekniti Nitithanprapas
Chairman of the Board of Directors

 

เรื่องน่าอ่าน