Blog Page 2

ตรวจข้อมูลเครดิตและคะแนนเครดิต ผ่านโมบายแอป “TLT Simply” (บริษัท โตโยต้า ลิสซิ่ง (ประเทศไทย) จำกัด)

บริการตรวจข้อมูลเครดิตและคะแนนเครดิต ผ่านโมบายแอป “TLT Simply” (บริษัท โตโยต้า ลิสซิ่ง (ประเทศไทย) จำกัด)

  •  เลือกเมนู “บริการอื่นๆ” และเลือก “ขอตรวจสอบเครดิตบูโร”
  • เลือกประเภทรายงานได้ 2 แบบ
    – รายงานข้อมูลเครดิตและคะแนนเครดิต (เครดิตสกอริ่ง)
    – รายงานข้อมูลเครดิต
  • รับรายงานทางอีเมลได้ทันที
  1. ขั้นตอนการลงทะเบียนเข้าใช้งาน Application TLT Simply
  2. ขั้นตอนการขอรายงานข้อมูลเครดิต และรับข้อมูลทางอีเมล (150 บาท)
  3. ขั้นตอนการขอรายงานข้อมูลเครดิตและคะแนนเครดิต และรับข้อมูลทางอีเมล (200 บาท)
  4. กรณีผู้ใช้บริการยังไม่มี Digital Identity กับทาง TLT
  5. กรณีผู้ใช้บริการอายุไม่ถึง 20 ปีบริบูรณ์
  6. กรณีผู้ใช้บริการทำรายการระหว่าง 23.00 – 01.00 น.
  7. ขั้นตอนกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงที่อยู่จัดส่งเอกสาร
  8. ขั้นตอนกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงเบอร์มือถือผ่าน THAID กรณีผู้ใช้บริการที่เคยลงทะเบียนกับ TLT
  9. ขั้นตอนกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงเบอร์มือถือผ่านเจ้าหน้าที่ กรณีผู้ใช้บริการที่เคยลงทะเบียนกับ TLT
  1. ขั้นตอนการลงทะเบียนเข้าใช้งาน Application TLT Simply

2. ขั้นตอนการขอรายงานข้อมูลเครดิต และรับข้อมูลทางอีเมล (150 บาท)

3. ขั้นตอนการขอรายงานข้อมูลเครดิตและคะแนนเครดิต และรับข้อมูลทางอีเมล (200 บาท)

4. กรณีผู้ใช้บริการยังไม่มี Digital Identity กับทาง TLT

5. กรณีผู้ใช้บริการอายุไม่ถึง 20 ปีบริบูรณ์

6. กรณีผู้ใช้บริการทำรายการระหว่าง 23.00 – 01.00 น.

7. ขั้นตอนกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงที่อยู่จัดส่งเอกสาร

8. ขั้นตอนกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงเบอร์มือถือผ่าน THAID กรณีผู้ใช้บริการที่เคยลงทะเบียนกับ TLT

9. ขั้นตอนกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงเบอร์มือถือผ่านเจ้าหน้าที่ กรณีผู้ใช้บริการที่เคยลงทะเบียนกับ TLT

 

เซ็นค้ำประกัน กู้เงินแทนเพื่อนจะมีการเก็บข้อมูลในรายงานข้อมูลเครดิตไหม?

เซ็นค้ำประกัน กู้เงินแทนเพื่อนจะมีการเก็บข้อมูลในรายงานข้อมูลเครดิตไหม? ใครเผลอหลวมตัวเข้าไปเหตุการณ์นี้ น้องบูโรมาตอบให้แล้วค่ะ

เครดิตบูโรไม่ได้จัดเก็บข้อมูลผู้ค้ำประกัน เพราะผู้ค้ำประกันไม่ใช่คนขอกู้เงินหรือคนที่ขอสินเชื่อ แต่ถ้าผู้ค้ำประกันเป็นผู้กู้ร่วมก็ถือว่าเป็นลูกค้าผู้ขอเงินหรือขอสินเชื่อด้วย เครดิตบูโรจึงจะจัดเก็บข้อมูลในฐานะที่เป็นผู้กู้ร่วม ไม่ใช่ในฐานะผู้ค้ำประกัน

ดังนั้น น้องบูโรขอแนะนำให้ตรวจข้อมูลเครดิตของตนเองเพื่อตรวจความถูกต้องของบัญชีสินเชื่อกันอย่างสม่ำเสมอนะคะ 

เครดิตบูโรคืออะไร ตั้งมาเพื่ออะไร

เครดิตบูโรคืออะไร ตั้งมาเพื่ออะไร

เครดิตบูโร คือองค์กรหนึ่งที่ถูกตั้งขึ้นมาเพื่อจะรวมข้อมูลคนเป็นหนี้ ใครไปเป็นหนี้แบงก์ ใครไปเป็นหนี้นอน-แบงก์ จะมีองค์กรแบบนี้เป็นศูนย์กลางในการเก็บข้อมูลคนเป็นหนี้ ถ้าเปรียบเทียบ มันคือ “สมุดพกของคนเป็นหนี้” เหมือนว่าเราไปเรียนหนังสือที่มหาวิทยาลัยนั้นหรือที่โรงเรียนนั้น แล้วก็จะมีสมุดพกเพื่อรวบรวมว่าคนนี้มีผลการเรียนเป็นอย่างไร มันก็เหมือนกันกับว่า คนนี้มีหนี้ที่ไหนบ้าง แล้วปฏิบัติหนี้แต่ละก้อน แต่ละที่อย่างไร องค์กรนี้ในต่างประเทศและในประเทศไทย เรียกว่า “เครดิตบูโร” ครับ

หลายท่านคิดว่าสาเหตุที่สถาบันการเงินไม่ให้สินเชื่อ เพราะเครดิตบูโรขึ้น “บัญชีดำ” หรือที่ใคร ๆ เรียกกันทั่ว ๆ ไปว่า “ติด blacklist” ความจริงแล้วเป็นความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องครับ เพราะ “เครดิตบูโร” จะมีหน้าที่ในการจัดเก็บ รวมรวบข้อมูลสินเชื่อและประวัติการชะรำหนี้สินเชื่อ โดยสถาบันการเงินที่เป็นสมาชิกมีหน้าที่รายงานและส่งข้อมูลให้แก่เครดิตบูโรเป็นรายเดือนทุกเดือน ทางเครดิตบูโรก็จะอัปเดตข้อมูลให้ในแต่ละเดือนไปเรื่อย ๆ ทั้งหมด 36 เดือน จำนวน 36 บรรทัด เรียงทับกันเหมือน “ขนมชั้น” เมื่อมีข้อมูลใหม่เข้ามา ข้อมูลบรรทัดเก่าของเมื่อ 36 เดือนที่แล้วก็จะหายไป มิได้มีหน้าที่ขึ้น “บัญชีดำ” หรือ “Blacklist” อย่างที่เข้าใจกันครับ

เมื่อท่านขอกู้เงินหรือสินเชื่อแล้ว สถาบันการเงินไม่อนุมัติเงินกู้ อาจมาจากหลายสาเหตุ เช่น นโยบายการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงินหรือผู้ประกอบการแต่ละแห่งที่แตกต่างกัน ภาระหนี้ที่มีอยู่และความสามารถในการชำระหนี้ของผู้ขอสินเชื่อ โอกาสในการผิดนัดชำระหนี้มากหรือน้อย เป็นต้น รวมทั้งข้อมูลที่ปรากฏในเครดิตบูโรไม่เป็นไปตามเงื่อนไขของสถาบันการเงินที่ขอกู้ ซึ่งอาจเป็นผลมาจากท่านมีประวัติการชำระหนี้ที่ไม่ดี หรือผิดนัดชำระหนี้กับสถาบันการเงินอื่นครับ

เครดิตบูโรไม่มีความเกี่ยวข้องหรือมีสิทธิอนุมัติ หรือร่วมตัดสินใจให้สินเชื่อกับใคร บุคคลใดกล่าวอ้างกับท่าน แจ้งเรื่องได้ที่ consumer@ncb.co.th ศึกษารายละเอียดข้อมูลเครดิตบูโรเพิ่มเติมได้ที่ www.ncb.co.th

ตรวจข้อมูลเครดิต ผ่าน Krungsri App และ กรุงศรีออนไลน์ ธนาคารกรุงศรี

 

ตรวจข้อมูลเครดิต ผ่าน Krungsri App  และ กรุงศรีออนไลน์ (ธนาคารกรุงศรี)

1. เข้าโมบาย Krungsri App
2. คลิกที่ “เมนูทั้งหมด” และเลือกเมนู “ขอข้อมูลเครดิตบูโร”
3. รายงานข้อมูลเครดิต จะจัดส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียน (ภายใน 7 วันทำการ)

ขั้นตอนตรวจข้อมูลเครดิต ผ่าน Krungsri App ธนาคารกรุงศรี

คอลัมน์เครดิตบูโรคิดเป็นเห็นต่าง : เช็กสุขภาพทางการเงิน ตรวจข้อมูลเครดิตผ่านโมบาย แอปพลิเคชัน  สะดวกรวดเร็ว ทุกที่ทุกเวลา : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ฉบับวันศุกร์ 14 กุมภาพันธ์ 2568

เช็กสุขภาพทางการเงิน ตรวจข้อมูลเครดิตผ่านโมบาย แอปพลิเคชัน  สะดวกรวดเร็ว ทุกที่ทุกเวลา

เครดิตบูโรได้ดำเนินการพัฒนาและให้ความสำคัญในการเข้าถึงข้อมูลเครดิตของตนเองมาอย่างต่อเนื่อง โดยอำนวยความสะดวกให้กับเจ้าของข้อมูลได้ตรวจสอบข้อมูลเครดิตของตนเอง เพื่อช่วยให้รู้เท่าทันป้องกันภัยไซเบอร์ทางการเงิน ว่าเรามี “หนี้งอก” โดยที่เราไม่ได้ก่อหรือไม่  และเป็นการเตรียมความพร้อมก่อนขอสินเชื่อ  รวมทั้งหากข้อมูลสินเชื่อของเราถูกต้องหรือไม่ ถ้าไม่ถูกต้องสามารถขอแก้ไขได้

การให้บริการตรวจข้อมูลเครดิตออนไลน์นั้น นับว่าเป็นการตอบโจทย์และรองรับพฤติกรรมไลฟ์สไตล์ของประชาชนในยุคสังคมดิจิทัล ได้ทุกที่ทุกเวลา สะดวก รวดเร็วมากยิ่งขี้น อัปเดตช่องทางตรวจข้อมูลเครดิตออนไลน์ได้ดังนี้

1.ผ่านโมบาย แอปพลิเคชัน  รับรายงานรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (NCB e-Credit Report) ทางอีเมล

1.1 แบบรับรายงานได้ทันที (บริการตรวจรายงานข้อมูลเครดิตและเครดิตสกอริ่ง)

– โมบายแบงก์กิ้งธนาคารกรุงเทพ  

– โมบายแอป “KKP Mobile” (ธนาคารเกียรตินาคินภัทร) 

1.2 แบบรับรายงานภายใน 24 ชั่วโมง (เป็นไปตามเงื่อนไขที่เครดิตบูโรกำหนด) (บริการตรวจรายงานข้อมูลเครดิตและเครดิตสกอริ่ง)

– โมบายแอป “Krungthai NEXT” (ธนาคารกรุงไทย)

– โมบายแอป “MyMo” (ธนาคารออมสิน)

– โมบายแอป เป๋าตังเปย์ บนแอปเป๋าตัง 

– โมบายแอป “Flash Express” (Flash Money)

  • แบบรับรายงานภายใน 3 วันทำการ

บริการตรวจรายงานข้อมูลเครดิตและเครดิตสกอริ่ง

– โมบายแอป “BAAC Mobile” (ธ.ก.ส.)

– โมบาย แอปพลิเคชัน SME D BANK (ธนาคาร SME D BANK) (กรณีที่เป็นลูกค้าที่มีสินเชื่อและบัญชีเงินฝากแล้ว) 

บริการตรวจรายงานข้อมูลเครดิต

-โมบายแอป “ttb touch” (ธนาคารทีทีบี) 

(กรณีชื่อ-นามสกุล อีเมล เบอร์โทรศัพท์มือถือ และที่อยู่ของท่านมีการเปลี่ยนแปลง กรุณาปรับแก้ไขในระบบให้ถูกต้อง ก่อนใช้บริการ)

  1. โมบาย แอปพลิเคชัน แบบส่งรายงานกลับไปให้ทางไปรษณีย์ ลงทะเบียน ภายใน 7 วันทำการ

สำหรับผู้ที่ลงทะเบียน ธนาคารมือถือกรุงไทย , ออมสิน , SME D BANK , ธ.ก.ส. , ทีทีบี  , เป๋าตัง , Flash Express   และธนาคารออนไลน์ธนาคารกรุงศรี

การยื่นขอตรวจข้อมูลเครดิตของตนเองเป็นสิทธิพื้นฐานในการเข้าถึงข้อมูลเครดิต เจ้าของข้อมูลยื่นขอตรวจข้อมูลเครดิตของตนเอง ผ่านช่องทางต่าง ๆ ที่เครดิตบูโรให้บริการนั้น จะตรวจเครดิตบูโรกี่ครั้งก็ไม่มีผลต่อการพิจารณาขอสินเชื่อของธนาคารหรือสถาบันการเงินแต่อย่างใด

ทั้งนี้ เครดิตบูโรได้ให้ความสำคัญในการสร้างวินัยทางการเงินด้วยตนเอง และการเข้าถึงข้อมูลเครดิตของตนเองมาอย่างต่อเนื่อง ภายใต้การรณรงค์สร้างวัฒนธรรม “ออมก่อนกู้ คิดก่อนใช้ มีวินัย เมื่อมีหนี้” เพื่อเป็นการส่งเสริมให้ประชาชนมีการวางแผนการเงิน พร้อมมีวินัยในการออมเงินและรักษาเครดิตของตนเอง เป็นการกระตุ้นและส่งเสริมให้ประชาชนทั่วไปได้ตระหนักในเรื่องการออม ภาระหนี้ การบริหารจัดการหนี้ การมีวินัย ใช้หนี้ครบใช้หนี้ตรงตามเวลา เพราะอยากเห็นคนไทยมีวินัยทางการเงินเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

คอลัมน์เครดิตบูโรคิดเป็นเห็นต่าง : เช็กสุขภาพการเงิน ตรวจเครดิตบูโรแบบสรุป (ฟรี) ได้ที่ไหน : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ฉบับวันศุกร์ 31 มกราคม 2567

เช็กสุขภาพการเงิน ตรวจเครดิตบูโรแบบสรุป (ฟรี) ได้ที่ไหน

บทความวันนี้ จะขอกล่าวถึงความสำคัญในการเข้าถึงข้อมูลเครดิตของตนเอง โดยที่ผ่านมา ได้พัฒนาการให้บริการและอำนวยความสะดวกให้กับเจ้าของข้อมูลในการตรวจสอบรายงานข้อมูลเครดิตได้อย่างรวดเร็ว หลากหลายช่องทางมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อเช็กสุขภาพการเงินของตนเอง และช่วยตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลเครดิตของตนเองเพื่อให้รู้เท่าทันและป้องกันภัยไซเบอร์ทางการเงินในยุคปัจจุบัน

สำหรับรายงานข้อมูลเครดิตแบบสรุป เป็นรายงานที่ประกอบด้วยข้อมูลจำนวนบัญชีสินเชื่อ ที่จะแสดงจำนวนบัญชีทั้งหมด บัญชีที่เปิดอยู่ บัญชีที่ปิดแล้ว วงเงินสินเชื่อรวม และยอดหนี้คงเหลือรวม  รวมทั้งจะมีประเภทบัญชีสินเชื่อ ได้แก่ บัตรเครดิต สินเชื่อบุคคล บ้าน เช่าซื้อ อื่น ๆ และยอดหนี้คงเหลือแต่ละประเภทบัญชีอีกด้วย  

ทั้งนี้ รายงานข้อมูลเครดิตแบบสรุป เป็นข้อมูลเบื้องต้นสำหรับเจ้าของข้อมูล เพื่อตรวจสอบจำนวนบัญชีสินเชื่อ และยอดหนี้ที่ถูกจัดเก็บไว้ในเครดิตบูโรเท่านั้น ไม่สามารถนำไปอ้างอิงต่อบุคคลใดได้  มีช่องทางตรวจเครดิตบูโรแบบสรุป (ฟรี) ได้แก่

  1. โมบายแอป “ทางรัฐ” เลือกเมนู “เครดิตบูโร” เป็นบริการออนไลน์ภาครัฐ โดยสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) หรือ สพร.
  2. ที่ทำการไปรษณีย์ และเคาน์เตอร์บริการไปรษณีย์ ทุกแห่งทั่วประเทศ โดยแจ้งเจ้าหน้าที่เคาน์เตอร์บริการ ขอตรวจเครดิตบูโรแบบสรุป ยื่นบัตรประชาชนของตนเองและรอรับได้เลย
  3. ตู้ตรวจเครดิตบูโรด้วยตนเอง (ตู้คีออส) ใช้บัตรประชาชนของตนเอง เลือกบริการตรวจเครดิตบูโรแบบสรุป ได้ที่ 1) ศูนย์ตรวจเครดิตบูโร อาคาร เดอะไนน์ ทาวเวอร์ส แกรนด์ พระรามเก้า ชั้น 2 (โซนพลาซา)(อยู่ใกล้สถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน MRT พระราม 9 และอยู่ด้านหลังห้างเซ็นทรัล พระราม 9)  2)เครดิตบูโรคาเฟ่ อาคารเพิร์ล แบงก์ค็อก ชั้น 3 (BTS สถานีอารีย์ ทางออก 1) 3) ศูนย์ตรวจเครดิตบูโร ห้างเจ-เวนิว (นวนคร) ชั้น 1  4) สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ (สถานีกลางบางซื่อ)(ด้านหลังเคาน์เตอร์ประชาสัมพันธ์ ประตูทางเข้า 1 จุดติดตั้งนาฬิกาประจำสถานี หรือนาฬิกาหน้าปัดหมายเลข ๙) 5) ธนาคารเกียรตินาคินภัทร (สำนักงานใหญ่) อาคารเคเคพีทาวเวอร์ ชั้น 1 ใกล้ประตูทางเข้าอาคาร 6) อาคารสาธรนครทาวเวอร์ ชั้น 1 โซนตู้เอทีเอ็ม (BTS ช่องนนทรี ทางออก2) 7) ศูนย์การเรียนรู้ธนาคารแห่งประเทศไทย (อาคาร A) ชั้น 2 โถงต้อนรับเยื้องจุดสอบถาม

การยื่นขอตรวจข้อมูลเครดิตของตนเองเป็นสิทธิพื้นฐานในการเข้าถึงข้อมูลเครดิต เจ้าของข้อมูลยื่นขอตรวจข้อมูลเครดิตของตนเอง ผ่านช่องทางที่เครดิตบูโรให้บริการนั้น จะตรวจเครดิตบูโรกี่ครั้งก็ไม่มีผลต่อการพิจารณาขอสินเชื่อของธนาคารหรือสถาบันการเงินแต่อย่างใด

เครดิตบูโรรณรงค์สร้างวัฒนธรรม “ออมก่อนกู้ คิดก่อนใช้ มีวินัย เมื่อมีหนี้” เพื่อเป็นการส่งเสริมให้ประชาชนมีการวางแผนการเงิน พร้อมมีวินัยในการออมเงินและรักษาเครดิตของตนเอง เป็นการกระตุ้นและส่งเสริมให้ประชาชนทั่วไปได้ตระหนักในเรื่องภาระหนี้ การบริหารจัดการหนี้ การมีวินัย ใช้หนี้ครบใช้หนี้ตรงตามเวลา เพราะอยากเห็นคนไทยมีวินัยทางการเงินเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

คอลัมน์เครดิตบูโรคิดเป็นเห็นต่าง : ตรวจเครดิตบูโรอย่างสม่ำเสมอ รู้เท่าทันและป้องกันภัยไซเบอร์ทางการเงิน : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ฉบับวันศุกร์ 17 มกราคม 2567

 

ตรวจเครดิตบูโรอย่างสม่ำเสมอ รู้เท่าทันและป้องกันภัยไซเบอร์ทางการเงิน

ช่วงนี้จะเห็นว่าภัยการเงินอยู่รอบตัวเราตลอดเวลา โดยแฝงตัวมาในรูปแบบต่าง ๆ เช่น อีเมล ข้อความหลอกลวง ขบวนการคอลเซนเตอร์ เป็นต้น ซึ่งเราจำเป็นที่จะต้องตระหนักและรู้ทันถึงเรื่องนี้ ไม่ให้ข้อมูลส่วนตัวใครหรือสังเกตความผิดปกติของข้อความหรือสารที่ได้รับ และการหมั่นตรวจเครดิตบูโรอย่างสม่ำเสมอก็ถือเป็นการช่วยให้รู้เท่าทันและป้องกันภัยไซเบอร์ทางการเงินได้อีกทาง เพื่อเช็กความถูกต้องของข้อมูลเครดิตของตนเอง ว่าเรามี “หนี้งอก” โดยที่เราไม่ได้ก่อหรือไม่ โดยสามารถตรวจเครดิตบูโรผ่านช่องทางต่างๆ ได้ดังนี้

  1. ตรวจข้อมูลเครดิตแบบสรุป (ฟรี) ผ่านแอป ”ทางรัฐ” หรือตู้บริการอเนกประสงค์ภาครัฐ ของสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (DGA) และเคาน์เตอร์บริการที่ทำการไปรษณีย์ทุกแห่งทั่วประเทศ
  2. โมบายแอปพลิเคชัน เลือกรับรายงานรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (NCB e-Credit Report) ทางอีเมล

1) แบบรับรายงานได้ทันที ผ่านแอป “KKP Mobile” ธนาคารเกียรตินาคินภัทร หรือโมบายแบงก์กิ้งจากธนาคารกรุงเทพ

2) แบบรับรายงานภายใน 24 ชั่วโมง ผ่านแอป “Krungthai NEXT” ธนาคารกรุงไทย หรือแอป “MyMo” ธนาคารออมสิน หรือ “เป๋าตังเปย์” บนแอปเป๋าตัง หรือแอป “Flash Express” Flash Money

3) แบบรับรายงานภายใน 3 วันทำการ ผ่านแอป “BAAC Mobile” ธ.ก.ส. หรือแอป “ttb touch” ธนาคารทีทีบี หรือแอป “SME D Bank” ธนาคาร SME D Bank (กรณีที่เป็นลูกค้าที่มีสินเชื่อและบัญชีเงินฝากแล้ว)

  1. ศูนย์ตรวจเครดิตบูโร แบบรอรับรายงานได้ภายใน 15 นาที ใช้บัตรประชาชนของตนเอง ดังนี้

1) วันจันทร์-ศุกร์ เวลา 9.00-16.30 น. ได้ที่ศูนย์ตรวจเครดิตบูโร อาคาร เดอะไนน์ ทาวเวอร์ส แกรนด์ พระรามเก้า ชั้น 2 (โซนพลาซา) (ใกล้ MRT พระราม 9 และอยู่ด้านหลังห้างเซ็นทรัลพระราม 9)

2) วันจันทร์-ศุกร์ เวลา 9.00-18.00 น. ได้ที่ศูนย์ตรวจเครดิตบูโร สถานี BTS ศาลาแดง (ภายในสถานี)

3) วันจันทร์-อาทิตย์ เวลา 9.00-18.00 น. ได้ที่ศูนย์ตรวจเครดิตบูโร ห้างเจ-เวนิว (นวนคร) ชั้น 1

  1. แบบส่งรายงานทางไปรษณีย์ลงทะเบียนภายใน 7 วันทำการ ผ่านเคาน์เตอร์ธนาคาร (ทุกสาขา) กรุงไทย กรุงศรี ธอส. และ ธ.ก.ส. หรือใช้บัตร ATM กรุงไทย ไทยพาณิชย์ หรือเคาน์เตอร์บริการที่ทำการไปรษณีย์ทุกแห่งทั่วประเทศ
  2. ตู้ตรวจเครดิตบูโรด้วยตนเอง (ตู้คีออส) รับรายงานทางอีเมล ได้ทันที

1) ศูนย์ตรวจเครดิตบูโร อาคาร เดอะไนน์ ทาวเวอร์ส แกรนด์ พระรามเก้า ชั้น 2 (โซนพลาซา) (อยู่ใกล้สถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน MRT พระราม 9 และอยู่ด้านหลังห้างเซ็นทรัล พระราม 9)

2) เครดิตบูโรคาเฟ่ อาคารเพิร์ล แบงก์ค็อก ชั้น 3 (BTS สถานีอารีย์ ทางออก 1)

3) ศูนย์ตรวจเครดิตบูโร ห้างเจ-เวนิว (นวนคร) ชั้น 1

4) สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ (สถานีกลางบางซื่อ) (ด้านหลังเคาน์เตอร์ประชาสัมพันธ์ ประตูทางเข้า 1 จุดติดตั้งนาฬิกาประจำสถานี หรือนาฬิกาหน้าปัดหมายเลข ๙)

5) ธนาคารเกียรตินาคินภัทร (สำนักงานใหญ่) อาคารเคเคพี่ทาวเวอร์ ชั้น 1 ใกล้ประตูทางเข้าอาคาร

6) อาคารสาธรนครทาวเวอร์ ชั้น 1 โซนตู้เอทีเอ็ม (BTS ช่องนนทรี ทางออก2)

7) ศูนย์การเรียนรู้ธนาคารแห่งประเทศไทย (อาคาร A) ชั้น 2 โถงต้อนรับเยื้องจุดสอบถาม

สำหรับการยื่นขอตรวจข้อมูลเครดิตของตนเองเป็นสิทธิพื้นฐานในการเข้าถึงข้อมูลเครดิต เจ้าของข้อมูลยื่นขอตรวจข้อมูลเครดิตของตนเอง ผ่านช่องทางต่าง ๆ ที่เครดิตบูโรให้บริการนั้น จะตรวจเครดิตบูโรกี่ครั้งก็ไม่มีผลต่อการพิจารณาขอสินเชื่อของธนาคารหรือสถาบันการเงินแต่อย่างใด

ทั้งนี้ เครดิตบูโรได้ให้ความสำคัญในการสร้างวินัยทางการเงินด้วยตนเอง และการเข้าถึงข้อมูลเครดิตของตนเองมาอย่างต่อเนื่อง ภายใต้การรณรงค์สร้างวัฒนธรรม “ออมก่อนกู้ คิดก่อนใช้ มีวินัย เมื่อมีหนี้” เพื่อเป็นการส่งเสริมให้ประชาชนมีการวางแผนการเงิน พร้อมมีวินัยในการออมเงินและรักษาเครดิตของตนเอง เป็นการกระตุ้นและส่งเสริมให้ประชาชนทั่วไปได้ตระหนักในเรื่องการออม ภาระหนี้ การบริหารจัดการหนี้ การมีวินัย ใช้หนี้ครบใช้หนี้ตรงตามเวลา เพราะอยากเห็นคนไทยมีวินัยทางการเงินเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

คอลัมน์เครดิตบูโรคิดเป็นเห็นต่าง : ตรวจเครดิตบูโรอย่างสม่ำเสมอ รู้เท่าทันและป้องกันภัยไซเบอร์ทางการเงิน : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ฉบับวันศุกร์ 20 ธันวาคม 2567

ตรวจเครดิตบูโรอย่างสม่ำเสมอ รู้เท่าทันและป้องกันภัยไซเบอร์ทางการเงิน

ผมขออัปเดตช่องทางตรวจเครดิตบูโร ส่งท้ายปี 2567 เพื่อทุกท่านสามารถตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลเครดิตของตนเองได้อย่างสะดวกและรวดเร็วครับ สำหรับการหมั่นตรวจเครดิตบูโรอย่างสม่ำเสมอนั้น ก็ถือเป็นการช่วยให้รู้เท่าทันและป้องกันภัยไซเบอร์ทางการเงินได้อีกทาง เพื่อเช็กความถูกต้องของข้อมูลเครดิตของตนเอง ว่าเรามี “หนี้งอก” ที่เราไม่ได้ก่อหรือไม่ ซึ่งปัจจุบันภัยทางการเงินแฝงตัวมาในรูปแบบต่าง ๆ เช่น อีเมล ข้อความหลอกลวง ขบวนการคอลเซนเตอร์ เป็นต้น ซึ่งเราจำเป็นที่จะต้องตระหนักและรู้ทันถึงเรื่องนี้ ไม่ให้ข้อมูลส่วนตัวใครหรือสังเกตความผิดปกติของข้อความหรือสารที่ได้รับ ท่านสามารถตรวจเครดิตบูโรผ่านช่องทางต่างๆ ได้ดังนี้ ครับ

1. ตรวจข้อมูลเครดิตแบบสรุป (ฟรี) ผ่านแอป ”ทางรัฐ” หรือตู้บริการอเนกประสงค์ภาครัฐ ของสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (DGA) และเคาน์เตอร์บริการที่ทำการไปรษณีย์ทุกแห่งทั่วประเทศ

2. โมบายแอปพลิเคชัน เลือกรับรายงานรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (NCB e-Credit Report) ทางอีเมล 1) แบบรับรายงานได้ทันที ผ่านแอป “KKP Mobile” ธนาคารเกียรตินาคินภัทร หรือโมบายแบงก์กิ้งจากธนาคารกรุงเทพ 2) แบบรับรายงานภายใน 24 ชั่วโมง ผ่านแอป “Krungthai NEXT” ธนาคารกรุงไทย หรือแอป “MyMo” ธนาคารออมสิน หรือ “เป๋าตังเปย์” บนแอปเป๋าตัง หรือแอป “Flash Express” Flash Money 3) แบบรับรายงานภายใน 3 วันทำการ ผ่านแอป “BAAC Mobile” ธ.ก.ส. หรือแอป “ttb touch” ธนาคารทีทีบี หรือแอป “SME D Bank” ธนาคาร SME D Bank (กรณีที่เป็นลูกค้าที่มีสินเชื่อและบัญชีเงินฝากแล้ว)

3. ศูนย์ตรวจเครดิตบูโร แบบรอรับรายงานได้ภายใน 15 นาที ใช้บัตรประชาชนของตนเอง ดังนี้ 1) วันจันทร์-ศุกร์ เวลา 9.00-16.30 น. ได้ที่ศูนย์ตรวจเครดิตบูโร อาคาร เดอะไนน์ ทาวเวอร์ส แกรนด์ พระรามเก้า ชั้น 2 (โซนพลาซา) (ใกล้ MRT พระราม 9 และอยู่ด้านหลังห้างเซ็นทรัลพระราม 9) 2) วันจันทร์-ศุกร์ เวลา 9.00-18.00 น. ได้ที่ศูนย์ตรวจเครดิตบูโร สถานี BTS ศาลาแดง (ภายในสถานี) 3) วันจันทร์-อาทิตย์ เวลา 9.00-18.00 น. ได้ที่ศูนย์ตรวจเครดิตบูโร ห้างเจ-เวนิว (นวนคร) ชั้น 1 4. แบบส่งรายงานทางไปรษณีย์ลงทะเบียนภายใน 7 วันทำการ ผ่านเคาน์เตอร์ธนาคาร (ทุกสาขา) กรุงไทย กรุงศรี ธอส. และ ธ.ก.ส. หรือใช้บัตร ATM กรุงไทย ไทยพาณิชย์ หรือเคาน์เตอร์บริการที่ทำการไปรษณีย์ทุกแห่งทั่วประเทศ 5. ตู้ตรวจเครดิตบูโรด้วยตนเอง (ตู้คีออส) รับรายงานทางอีเมล ได้ทันที ที่ 1) ศูนย์ตรวจเครดิตบูโร อาคาร เดอะไนน์ ทาวเวอร์ส แกรนด์ พระรามเก้า ชั้น 2 (โซนพลาซา) (อยู่ใกล้สถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน MRT พระราม 9 และอยู่ด้านหลังห้างเซ็นทรัล พระราม 9) 2) เครดิตบูโรคาเฟ่ อาคารเพิร์ล แบงก์ค็อก ชั้น 3 (BTS สถานีอารีย์ ทางออก 1) 3) ศูนย์ตรวจเครดิตบูโร ห้างเจ-เวนิว (นวนคร) ชั้น 1 4) สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ (สถานีกลางบางซื่อ) (ด้านหลังเคาน์เตอร์ประชาสัมพันธ์ ประตูทางเข้า 1 จุดติดตั้งนาฬิกาประจำสถานี หรือนาฬิกาหน้าปัดหมายเลข ๙) 5) ธนาคารเกียรตินาคินภัทร (สำนักงานใหญ่) อาคารเคเคพี่ทาวเวอร์ ชั้น 1 ใกล้ประตูทางเข้าอาคาร 6) อาคารสาธรนครทาวเวอร์ ชั้น 1 โซนตู้เอทีเอ็ม (BTS ช่องนนทรี ทางออก2) 7) ศูนย์การเรียนรู้ธนาคารแห่งประเทศไทย (อาคาร A) ชั้น 2 โถงต้อนรับเยื้องจุดสอบถาม

สำหรับการยื่นขอตรวจข้อมูลเครดิตของตนเองเป็นสิทธิพื้นฐานในการเข้าถึงข้อมูลเครดิต เจ้าของข้อมูลยื่นขอตรวจข้อมูลเครดิตของตนเอง ผ่านช่องทางต่าง ๆ ที่เครดิตบูโรให้บริการนั้น จะตรวจเครดิตบูโรกี่ครั้งก็ไม่มีผลต่อการพิจารณาขอสินเชื่อของธนาคารหรือสถาบันการเงินแต่อย่างใด

ทั้งนี้ เครดิตบูโรได้ให้ความสำคัญในการสร้างวินัยทางการเงินด้วยตนเอง และการเข้าถึงข้อมูลเครดิตของตนเองมาอย่างต่อเนื่อง ภายใต้การรณรงค์สร้างวัฒนธรรม “ออมก่อนกู้ คิดก่อนใช้ มีวินัย เมื่อมีหนี้” เพื่อเป็นการส่งเสริมให้ประชาชนมีการวางแผนการเงิน พร้อมมีวินัยในการออมเงินและรักษาเครดิตของตนเอง เป็นการกระตุ้นและส่งเสริมให้ประชาชนทั่วไปได้ตระหนักในเรื่องการออม ภาระหนี้ การบริหารจัดการหนี้ การมีวินัย ใช้หนี้ครบใช้หนี้ตรงตามเวลา เพราะอยากเห็นคนไทยมีวินัยทางการเงินเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

เรื่องน่าอ่าน