วันที่ 30 เมษายน 2564
– เพิ่มมาตราการป้องกันแพร่ระบาดโควิด-19
– ขอความร่วมมือคนไทย “อยู่บ้าน”
รายการวิทยุ รู้รักสามัคคี ทำความดีเพื่อแผ่นดิน
ทุกวันศุกร์ เวลา 12.30-13.00 น. FM 103 MHz
วันที่ 30 เมษายน 2564
– เพิ่มมาตราการป้องกันแพร่ระบาดโควิด-19
– ขอความร่วมมือคนไทย “อยู่บ้าน”
รายการวิทยุ รู้รักสามัคคี ทำความดีเพื่อแผ่นดิน
ทุกวันศุกร์ เวลา 12.30-13.00 น. FM 103 MHz
วันที่ 23 เมษายน 2564 มาตราการช่วยเหลือวิกฤติโควิด-19
– “โกดังเก็บหนี้” กลุ่มเจ้าของธุรกิจ (SME)
– การปรับโครงสร้างหนี้ “ใจเขาใจเรา” ของเจ้าหนี้และลูกหนี้ (แยกปนะเภทลูกหนี้)
– การจัดหาวัคซีน และลดกิจกรรมเสี่ยง
รายการวิทยุ รู้รักสามัคคี ทำความดีเพื่อแผ่นดิน
ทุกวันศุกร์ เวลา 12.30-13.00 น. FM 103 MHz
ข่าวเครดิตบูโร 003/2564
ธ.เกียรตินาคินภัทรเปิดบริการ ‘ตรวจเครดิตบูโร’ แบบเรียลไทม์
รู้ผลทันทีผ่านแอป KKP Mobile
12 พฤษภาคม 2564 : ธนาคารเกียรตินาคินภัทร จำกัด (มหาชน) หรือ KKP นำเสนอความรวดเร็วและความสะดวกสบายอีกขั้นของการขอรายงานข้อมูลเครดิตและคะแนนเครดิตจากบริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด หรือการ ‘ตรวจเครดิตบูโร’ ผ่านแอป KKP Mobile แอปเดียวในตลาดขณะนี้ที่สามารถดูข้อมูลได้แบบเรียลไทม์ (Realtime) และรู้ผลทันที โดยลูกค้าใหม่ ก็สามารถเปิดใช้บริการแอป KKP Mobile ได้เอง ผ่านการยืนยันตัวตนด้วยแอปโมบายแบงก์กิ้งธนาคารใดก็ได้ที่ใช้อยู่เป็นประจำ หรือเครื่อง AIS KIOSK นอกเหนือจากการไปเปิดบัญชีที่สาขา
หลังจากที่เปิดตัวแอป KKP Mobile ไปเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา ธนาคารเกียรตินาคินภัทรได้พัฒนาฟีเจอร์ต่าง ๆ ของแอปเพื่อยกระดับประสบการณ์การทำธุรกรรมดิจิทัลอย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุดแอป KKP Mobile เป็นแอปเดียวที่เปิดให้ลูกค้าขอรายงานข้อมูลเครดิตและคะแนนเครดิตได้ทันที เพียงเข้าสู่เมนู “ตรวจสอบข้อมูลเครดิต” ทำรายการตามขั้นตอน จากนั้นสามารถรับรายงานได้เพื่อเป็นข้อมูลหรือใช้ประกอบการทำธุรกรรมการเงินอื่น ๆ
ทั้งนี้ สำหรับผู้ที่ยังไม่เคยเปิดแอป KKP Mobile หรือมีบัญชีกับธนาคาร ก็สามารถรับบริการตรวจเครดิตบูโรได้ง่ายๆ เพียงดาวน์โหลดแอป KKP Mobile และกดเปิดบัญชีธนาคาร เช่น KKP SAVVY จากนั้นยืนยันตัวตนผ่านแอปโมบายแบงก์กิ้งอื่น ๆ ที่ลูกค้าสมัครบริการ NDID อยู่ หรือนำบัตรประชาชนไปยืนยันผ่านเครื่อง AIS KIOSK หรือสาขาของธนาคารเกียรตินาคินภัทรทั่วประเทศ
หากมีข้อสงสัย สามารถติดต่อได้ที่ 02 165 5555 ผ่านทาง Call Center ของธนาคารเกียรตินาคินภัทร
*การให้บริการนี้อยู่ภายใต้โครงการ Regulatory Sandbox ของธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่มา : ธนาคารเกียรตินาคินภัทร
ข้อมูลเพิ่มเติมกรุณาติดต่อ
บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด (เครดิตบูโร) ฝ่ายธุรกิจสัมพันธ์และภาพลักษณ์องค์กร
E-mail: ilovebureau@ncb.co.th / website: www.ncb.co.th / facebook: www.facebook.com/ilovebureau
เริ่มมีใครหลาย ๆ คนหันมาทำธุรกิจ ผันตัวสร้างบริษัทจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล ทำได้ได้สักพัก ก็อยากเช็กสถานะเครดิตบริษัทของตัวเองทางไปรษณีย์ สามารถยื่นคำขอตรวจข้อมูลเครดิตทางไปรษณีย์ ดังนี้
1. กรอกรายละเอียด แบบคำขอตรวจข้อมูลเครดิตนิติบุคคล พร้อมลงนามโดยกรรมการผู้มีอำนาจ และประทับตราบริษัท (ถ้ามี) และแนบหลักฐานดังนี้
– สำเนาหนังสือรับรองของนิติบุคคล อายุไม่เกิน 3 เดือน พร้อมลงนามรับรองโดยกรรมการผู้มีอำนาจ และประทับตราบริษัท (ถ้ามี)
– สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของกรรมการผู้มีอำนาจลงนาม พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง
2. ชำระค่าบริการตรวจข้อมูลเครดิต ตามอัตราการบริการดังนี้
– แบบที่ 1 รายงานข้อมูลเครดิต 1 ฉบับ ครั้งเดียว อัตราค่าบริการ 220 บาท
– แบบที่ 2 รายงานข้อมูลเครดิต 2 ฉบับ รายครึ่งปี อัตราค่าบริการ 400 บาท
– แบบที่ 3 รายงานข้อมูลเครดิต 4 ฉบับ รายไตรมาส อัตราค่าบริการ 700 บาท
– แบบที่ 4 รายงานข้อมูลเครดิต 6 ฉบับ ราย 2 เดือน อัตราค่าบริการ 950 บาท ฟรีค่าจัดส่งไปรษณีย์
***แบบที่ 1 รวมค่าจัดส่งไปรษณีย์จำนวน 20 บาทแล้ว***
** แบบที่ 2 3 4 ฟรีค่าจัดส่งไปรษณีย์ **
3. จัดส่งหลักฐาน จ่าหน้าถึง
บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด
ส่วนรับเรื่องร้องเรียน เลขที่ 33/4 อาคาร เดอะไนน์ ทาวเวอร์ส แกรนด์ พระราม 9 ชั้น 2 ถนนพระราม 9 แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10310
4. รอการจัดส่งรายจากข้อมูลเครดิตจากทางบริษัท
ในช่วงนี้ ก่อนเดินทางไปศูนย์ตรวจเครดิตบูโร กรุณาตรวจสอบเวลาให้บริการผ่านเฟซบุ๊กและไลน์เครดิตบูโรค่ะ
———————————————–
ข้อมูลเพิ่มเติม
🌐 www.ncb.co.th
💌 consumer@ncb.co.th
👥 Facebook : ilovebureau
▶️ YouTube : ilovebureau
🖼 Instagram : ilovebureau
📲 Line : @ilovebureau
Bureau Chatbot Add Friend : https://lin.ee/o0AQ8ya
ทำธุรกิจ หรือกำลังเริ่มต้นธุรกิจ อยากเช็กสถานะเครดิตบูโร (นิติบุคคล) ผ่านทางไปรษณีย์ต้องเตรียมอะไรบ้าง
– สำเนาหนังสือรับรองของนิติบุคคล อายุไม่เกิน 3 เดือน พร้อมลงนามรับรองโดยกรรมการผู้มีอำนาจ
– สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของกรรมการผู้มีอำนาจลงนาม พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง
– ค่าบริการตรวจข้อมูลเครดิต
เครดิตบูโร มอง “วัคซีนต้องมาก่อน เปิดประเทศตาม คือ ทางรอดเศรษฐกิจไทย”
นิตยสาร Business+ โดยคุณสุรพล โอภาสเสถียร ผู้จัดการใหญ่ เครดิตบูโร
เรายังพอมีหวังกับการหาสภาพคล่อง : ข้อเสนอบ้าน ๆ
ผู้เขียนตั้งสติจะเขียนบทความเพื่อขอสนับสนุนโครงการของทีมงานธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ที่ดำเนินการมาตั้งแต่ครั้งท่านผู้ว่าคนเดิม (ท่านวิรไท สันติประภพ) จนมาเริ่มปฏิบัติการในยุคท่านผู้ว่าคนปัจจุบัน นั่นคือโครงการ Digital Factoring สรุปสั้น ๆ คือ
1.คนซื้อของคือกิจการขนาดใหญ่เล็กเราเรียกว่า Buyers ในบทความนี้ขอเน้นคนตัวใหญ่ มีความน่าเชื่อถือสูง เช่น Modern trade Big corporate ระดับบริษัทจดทะเบียน (SET Top 100)
2. คนขายคือ Suppliers ซึ่งส่วนใหญ่เป็น SMEs เขาเหล่านั้นคือเส้นเลือดฝอยที่ส่งสิ่งต่าง ๆ เข้าไปรวมร่าง ประกอบกันเป็นสินค้าหรือบริการของ Buyers ในท้ายที่สุด ถ้าเรานึกถึงสินค้าของกินที่อยู่ในเซเว่นอีเลฟเว่น ของเหล่านั้นมาจากการผลิตและส่งโดย SMEs มากมาย
3.คนขายเมื่อส่งของให้คนซื้อก็จะมีเอกสารตัวหนึ่งเรียกว่า Invoice หากของถูกคนซื้อตรวจแล้วผ่าน ก็จะเข้าสู่กระบวนการที่คนซื้อจะจ่ายเงินให้กับคนขายโดยมีระยะเวลาชำระเงิน 45 วันบ้าง 60 วันบ้าง 90 วันบ้าง
4.เอกสารตามข้อ 3 นั้นหากคนขายต้องการเงินก่อน ก็นำไปขายลดกับตัวกลางที่เป็นสถาบันการเงิน เมื่อถึงเวลาคนซื้อจ่ายมา ก็เอาเงินจากคนซื้อมาหักหนี้ ส่วนต่างก็คืนให้คนขายไป เรื่องมันควรจะง่ายแบบนี้
แต่ว่า
4.1 เอกสารที่เป็นหลักฐานการส่งของและเรียกรับเงินนั้นเป็นของจริงไหม ซื้อขายจริงไหม
4.2 เอกสารนั้นคนขาย ได้นำไปยื่นขอกู้กับสถาบันการเงินหลายแห่งหรือไม่
4.3 คนซื้อของดึงเวลาตรวจสินค้าได้ไหม เช่น ควรเสร็จใน 1 สัปดาห์ก็ดึงเช็งเป็นตรวจ 3 สัปดาห์เพื่อจะได้ไม่ต้องจ่ายเงินเร็ว
4.4 คนซื้อให้เขียนเงื่อนไขในเอกสารส่งของและเรียกเก็บเงินแบบว่า สงวนสิทธิ์ที่จะคืนของได้ภายใน 3 เดือน สงวนสิทธิ์นั่นโน่นนี่จนมันเกิดความไม่แน่นอนว่า ตอนสุดท้ายเวลาที่ถึงกำหนด สถาบันการเงินจะได้รับเงินจากคนขายแทนคนซื้อได้หรือเปล่า
4.5 ดอกเบี้ยที่สถาบันการเงินคิดตอนรับซื้อ Invoice นั้นก็เล่นเสียแพง บางแห่งคนซื้อเป็นกิจการในครอบครัว คนขายก็เป็น SMEs ที่ค้าขายกันมา ตัวสถาบันการเงินที่รับซื้อ Invoice จากคนขายก็คือลูกหลานของคนซื้อ ดังนั้น SMEs เลยเหมือนทาสในเรือนเบี้ยนั่นเอง
5. โครงการของ ธปท. คือการสร้าง platform กลางที่จะใช้ในการตรวจสอบยืนยันว่า การซื้อขายมีจริงไม่โกหก เอกสารการซื้อขายเพื่อเก็บเงินจากคนซื้อไม่ปลอม ไม่มีการเอาไปขายกับสถาบันการเงินหลายแห่งในเวลาเดียวกัน และถ้ามีสถาบันการเงินทั้งผู้เล่นในปัจจุบันกับพวกธนาคารพาณิชย์ ธนาคารของรัฐ เข้ามาร่วมวงด้วยมาก ๆ ก็จะทำใก้เกิดการแข่งขันในการให้สินเชื่อระยะสั้นเอาไปหมุนเวียนได้ดีขึ้นกว่าเดิมหรือไม่ ส่วนสมาคมหรือสมาพันธ์ของผู้ซื้อที่เป็น Big corporate ถ้าเข้ามาร่วมวงไพบูลย์โดยการแชร์ข้อมูลยืนยันว่ามีการซื้อจริง นิสัยใจคอพฤติกรรมของผู้ขายว่าเป็นอย่างไร กำหนดเรื่องการตรวจรับสินค้าอย่าเอาเปรียบ อย่าดึงเชิง ปลดเงื่อนไขข้อสงวนสิทธิ์บ้าบอคอแตกออกไป กำหนดข้อความเป็นมาตรฐานแบบพอดี มีศีลมีสัจจะ มันก็จะเกิดความเอื้ออาทร เกื้อหนุนของคนตัวใหญ่ช่วยคนตัวเล็กที่ค้าขายกันมา ปรับความสัมพันธ์ให้มันเป็นแบบน้ำพึ่งเรือเสือพึงป่า ราชสีห์เป็นเพื่อนหนู ประมาณนั้น เพราะถ้าเราสามารถลดความเสี่ยงเรื่องข้อมูลเรื่องเงื่อนความน่าเชื่อถือเอกสารลงมาได้จริง การพิจารณาสินเชื่อของสถาบันการเงินก็จะมุ่งไปที่ credit cost ของตัวคนขายหรือ SMEs เท่านั้น ไม่ต้องไปเผื่อเรื่องอื่น ๆ
ในส่วนของธนาคารกลาง กฎกติกาที่พอจะผ่อนผันได้ไหม ถ้า Big corporate เขาออกแรงช่วย เอกสารหลักฐานมีความน่าเชื่อถือ การกำหนดอัตราส่วนสินเชื่อต่อราคาบ้าน (Loan to Value หรือ LTV) ให้มันสูงได้ถึง 90% ของมูลค่า Invoice ได้หรือไม่ หรือเอาให้แรงก็ระบุไปเลยว่า สินเชื่อที่ปล่อยให้กับคนขายที่เป็น SMEs โดยผ่าน platform นี้ มีการยืนยันแบบนี้ มีมาตรฐานเอกสารที่สถาบันการเงินยอมรับแล้ว ให้นับการให้สินเชื่อนี้เป็นสินทรัพย์เสี่ยงแบบเดียวกับสินเชื่อบ้านได้มไหม ดอกเบี้ยมันจะได้ลดลงมาได้บ้าง ยอมผ่อนเกณฑ์การกันสำรองถ้าสถาบันการเงินต้องปล่อยกู้แบบนี้ให้กับคนขายของที่เป็น SMEs แม้ว่าเขาเหล่านั้นจะมีประวัติการค้างชำระบ้างแต่ยังไม่เกิน 90 วันคือยังไม่เป็น NPL เหตุเพราะว่าแม้เครดิตทางการเงินจะไม่ใส หากแต่เครดิตทางการค้ายังดีอยู่เพราะว่ายังมีคนซื้อของอยู่พอสมควร เป็นต้น
ท้ายสุดนี้ผู้เขียนได้รับภาพจากการแชร์มาโดยไม่ได้ระบุว่าท่านผู้ใดเป็นผู้จัดทำ มันโดนใจผู้เขียนมาก เพราะนี้คือสภาพของผู้ขายของที่เป็น SMEs ในเวลานี้ ตอนนี้ ตอนที่เราอยู่ในการแพร่ระบาดระลอกสาม
มันจะไม่จบเร็ว ไวรัสมันจะทำลายร้างลงไปลึก และเจ็บปวดกว่าสองครั้งแรก สภาพเศรษฐกิจของเราถ้าโตได้เกิน 2% ในปีนี้ก็ต้องถือว่าบุญรักษา คุณพระคุ้มครองแล้วล่ะครับ เราทุกคนไม่ว่าจะทำหน้าที่ใด (อย่าแยกเป็นรัฐหรือเอกชน ไม่แบ่งเขาแบ่งเรา) จะต้องช่วยคิด ช่วยขับเคลื่อน การช่วยเหลือ SMEs ไทยให้เหลือรอดจากคลื่นการระบาดระลอกใหม่นี้ไปให้ได้
เมื่อจิบกาแฟชมคลื่นแม่น้ำเจ้าพระยา นินทาผักตบที่ลอยไปมาว่าไม่สวยแล้ว ควรต้องลงมือแล้วครับ หลายเรื่องของบ้านเมืองนี้มันเป็นแบบเตะกระป๋องบนถนน เตะไปเรื่อย ๆ ไม่จบไม่สิ้น อยู่ระหว่างการพิจารณาศึกษา ทั้งที่เราก็มองเห็นข้างถนนเต็มไปด้วยกองไฟเผาศพ SMEs เป็นที่น่าอนาถยิ่ง…
ตรวจข้อมูลเครดิตด้วยแอพ อยู่ไหนก็ตรวจได้ไม่ต้องรอนาน
ในสถานการณ์แพร่ระบาดโควิด-19 การลดความเสี่ยงโดยเน้นรักษาระยะห่าง ลดการเดินทางยังคงต้องปฏิบัติอย่างเคร่งครัด ปัจจุบันช่องทาง “ออนไลน์” ถือว่าปลอดภัย รวดเร็วและสะดวกสบาย เครดิตบูโรจึงพัฒนาการให้บริการตรวจเครดิตบูโรออนไลน์มาอย่างต่อเนื่อง
ล่าสุด…เครดิตบูโรเพิ่มช่องทางการตรวจข้อมูลเครดิตและเครดิตสกอริ่ง ผ่านโมบายแอพพลิเคชั่น ธนาคารเกียรตินาคินภัทร รับรายงานได้ทันที อยู่ไหนก็ตรวจได้ ไม่ต้องรอนาน พิเศษ! รับรายงาน 2 รูปแบบทันที 1.รายงานเครดิตสกอริ่ง และรายงานข้อมูลเครดิตแบบสรุป แสดงผ่านหน้าจอมือถือทันทีหลังทำรายการ สำหรับผู้ยื่นคำขอเครดิตสกอริ่งเท่านั้น 2. สามารถเลือกขอรายงานข้อมูลเครดิตและคะแนนเครดิต หรือขอรายงานข้อมูลเครดิตฉบับเต็มทางอีเมลได้ทันที โดยขั้นตอนดังนี้ กรณีที่ยังไม่มีโมบายแอพ เพียงดาวน์โหลดผ่านไอโอเอส หรือแอนดรอยด์ และสามารถยืนยันตัวตนได้ 3 ช่องทาง คือ 1.ผ่านโมบายแอพของธนาคารต่าง ๆ ได้แก่ ธนาคารกรุงเทพ กสิกร กรุงศรี ไทยพาณิชย์ ซีไอเอ็มบี ทีเอ็มบี กรุงไทย 2.นำบัตรประชาชนไปยืนยันที่เครื่องเอไอเอส คีออส 3.ธนาคาร เกียรตินาคินภัทรทุกสาขา
ส่วนกรณีที่ท่านมีโมบายแอพธนาคารเกียรติ นาคินและมีบัญชีกับธนาคารเกียรตินาคินภัทรอยู่แล้ว ให้เข้าเมนู “ตรวจสอบเครดิตบูโร” เลือก “เพิ่มคำขอ” กดเลือกขอรายงานข้อมูลเครดิตและคะแนนเครดิต หรือขอรายงานข้อมูลเครดิตฉบับเต็ม และกดบัญชีเงินฝากที่ต้องการหักบัญชี หลังจากนั้น กดตอบรับข้อตกลง เพื่อใช้ขอข้อมูลเครดิต เป็นอันเสร็จสิ้น และรอรับข้อมูลเครดิตทางอีเมลได้ทันที รวมทั้งจะได้รับเอสเอ็มเอสสำหรับเปิดรายงานไปยังมือถือเพื่อใช้เปิดดูข้อมูลรายการดังกล่าวแบบเรียลไทม์อีกด้วย สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร. 0-2165-5555 หรือ http://bank.kkpfg.com
เครดิตบูโรยังคงให้ความสำคัญในการเข้าถึงข้อมูลเครดิตของตนเอง โดยอำนวยความสะดวกให้กับเจ้าของข้อมูลในการตรวจเครดิตบูโรได้อย่างรวดเร็ว หลากหลายช่องทาง เป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการช่วยตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลเครดิตของตนเอง เตรียมความพร้อมก่อนขอสินเชื่อ ทำให้ลูกค้ารู้สถานะหนี้ มีวินัยทางการเงิน สามารถวางแผนทางการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพและเพื่อป้องกันภัยการเงินในยุคปัจจุบันอีกด้วย
“โปรดรักษาสุขภาพ ป้องกันดี มีวินัย ปลอดภัยทุกท่าน”
Cookie | Duration | Description |
---|---|---|
cookielawinfo-checkbox-advertisement | 1 year | Set by the GDPR Cookie Consent plugin, this cookie records the user consent for the cookies in the "Advertisement" category. |
cookielawinfo-checkbox-analytics | 1 year | Set by the GDPR Cookie Consent plugin, this cookie records the user consent for the cookies in the "Analytics" category. |
cookielawinfo-checkbox-necessary | 1 year | Set by the GDPR Cookie Consent plugin, this cookie records the user consent for the cookies in the "Necessary" category. |
cookielawinfo-checkbox-others | 1 year | Set by the GDPR Cookie Consent plugin, this cookie stores user consent for cookies in the category "Others". |
CookieLawInfoConsent | 1 year | CookieYes sets this cookie to record the default button state of the corresponding category and the status of CCPA. It works only in coordination with the primary cookie. |
Cookie | Duration | Description |
---|---|---|
_clck | 1 year | Microsoft Clarity sets this cookie to retain the browser's Clarity User ID and settings exclusive to that website. This guarantees that actions taken during subsequent visits to the same website will be linked to the same user ID. |
_clsk | 1 day | Microsoft Clarity sets this cookie to store and consolidate a user's pageviews into a single session recording. |
_fbp | 3 months | Facebook sets this cookie to display advertisements when either on Facebook or on a digital platform powered by Facebook advertising after visiting the website. |
_ga | 1 year 1 month 4 days | Google Analytics sets this cookie to calculate visitor, session and campaign data and track site usage for the site's analytics report. The cookie stores information anonymously and assigns a randomly generated number to recognise unique visitors. |
_ga_* | 1 year 1 month 4 days | Google Analytics sets this cookie to store and count page views. |
CLID | 1 year | Microsoft Clarity set this cookie to store information about how visitors interact with the website. The cookie helps to provide an analysis report. The data collection includes the number of visitors, where they visit the website, and the pages visited. |
CONSENT | 2 years | YouTube sets this cookie via embedded YouTube videos and registers anonymous statistical data. |
MR | 7 days | This cookie, set by Bing, is used to collect user information for analytics purposes. |
SM | session | Microsoft Clarity cookie set this cookie for synchronizing the MUID across Microsoft domains. |
SRM_B | 1 year 24 days | Used by Microsoft Advertising as a unique ID for visitors. |
Cookie | Duration | Description |
---|---|---|
ANONCHK | 10 minutes | The ANONCHK cookie, set by Bing, is used to store a user's session ID and verify ads' clicks on the Bing search engine. The cookie helps in reporting and personalization as well. |
MUID | 1 year 24 days | Bing sets this cookie to recognise unique web browsers visiting Microsoft sites. This cookie is used for advertising, site analytics, and other operations. |
VISITOR_INFO1_LIVE | 5 months 27 days | YouTube sets this cookie to measure bandwidth, determining whether the user gets the new or old player interface. |
YSC | session | Youtube sets this cookie to track the views of embedded videos on Youtube pages. |
yt-remote-connected-devices | never | YouTube sets this cookie to store the user's video preferences using embedded YouTube videos. |
yt-remote-device-id | never | YouTube sets this cookie to store the user's video preferences using embedded YouTube videos. |
yt.innertube::nextId | never | YouTube sets this cookie to register a unique ID to store data on what videos from YouTube the user has seen. |
yt.innertube::requests | never | YouTube sets this cookie to register a unique ID to store data on what videos from YouTube the user has seen. |
Cookie | Duration | Description |
---|---|---|
VISITOR_PRIVACY_METADATA | 5 months 27 days | Website privacy floating bar. |
wpsp_cookie_0cc33907ad | session | Website popup banner. |