Blog Page 64

เศรษฐกิจคิดง่ายๆ (ดิจิทัล) : ถอดชีวิตจริงจากเพลง “แจ๊ส ชวนชื่น-แอ๊ด คาราบาว” : วันจันทร์ที่ 5 เมษายน2564

ถอดชีวิตจริงจากเพลง “แจ๊ส ชวนชื่น-แอ๊ด คาราบาว”

เมื่อปรากฏข้อมูลในช่วงต้นเดือนเมษายน 2564 ว่าหนี้ครัวเรือนไทยสิ้นปี 2563 ได้ก้าวไปถึง​ 14 ล้าน​ล้าน​บาท​ ซึ่งคิดเป็น​ 89.3% ของ​ผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ (Gross Domestic Product หรือ GDP) ตามข่าวระบุว่า​มันคือหนี้ครัวเรือนที่สูงสุดในรอบ​ 18 ปี​ จำนวนหนี้ที่เพิ่มในปี​ 2563​ คิดเป็นจำนวนประมาณ​ 5.3 แสนล้านบาทนั้น​ ประมาณว่าครึ่งหนึ่งนั้นเป็นหนี้เพื่อการซื้อสิ่งปลูกสร้าง อสังหาริมทรัพย์​ และถ้าเราตามไปดูข้อเท็จจริงจะพบว่าในปี​ 2563​ ที่เราเผชิญกับสถานการณ์​การแพร่ระบาดโควิด-19 นั้น​ มาตรการการให้สินเชื่อจะเข้มข้น​มาก​ คนที่จะได้สินเชื่อต้องมีรายได้มากพอ หนี้ไม่มาก ความสามารถ​ในการชำระหนี้ดี ดูได้จากอัตราส่วน​ ยอดหนี้ (เงินต้นบวกดอกเบี้ย)​ ที่ถึงกำหนดชำระหารด้วยรายได้ที่ได้รับหรือ​อัตราส่วนหนี้สินต่อรายได้ (Debt Service Ratio หรือ DSR) มี​ % ที่ต่ำ เช่น​ อยู่ที่ระดับ​ 20-30% เป็นต้น​ กล่าวคือ​ มีรายได้ต่อเดือน​ 100 บาทได้นำมาชำระหนี้ทุกบัญชีเพียง​ 20-30 บาท​ เงินที่เหลือก็นำไปดำรงชีพและเก็บออม​ ข่าวร้ายที่มาจากสถาบันวิจัยค่ายธนาคารสีเขียวพบว่าจากการสำรวจ​อัตราส่วน DSR ดังกล่าวโดยเฉลี่ยคือ​เกิน​ 40% ทั้งกลุ่มที่ค้าขายรายย่อย กลุ่มที่มีรายได้ประจำแต่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดโควิด-19 ในภาษาของคนที่ให้สินเชื่อเราเรียกว่า​ หนี้จะชนคอหอย เติมหนี้เพิ่มอีกไม่ได้​แล้ว​ ลองคิดดูนะครับ​ รายได้​ 20,000​ บาทต่อเดือน​ จ่ายหนี้​ทุกสิ่งอย่าง​ 8,000 บาทต่อเดือน​เหลือเงิน​ 12,000 บาทต่อเดือน คิดเป็น​ 400 บาทต่อวัน​ ท่านผู้อ่านคิดว่าไหวหรือไม่​ ควรจะก่อหนี้เพิ่มได้อีกไหม​ อนาคตถ้าจะลดหนี้ได้เร็วหรือที่เราเรียกว่า​ Deleverage ได้นั้น รายได้ต้องเพิ่มแล้วมองไปในอนาคตในสองปีนี้ ท่านผู้อ่านคิดว่าเราจะมีรายได้เพิ่มได้หรือไม่ มันจะมาจากทางไหน เงินที่หลวงท่านหยอดให้ตามโครงการมันจะมีตลอดอีกสองปีหรือ ถ้าไม่ปรับตัวจะได้ไหม จะหวังพึ่ง​ ม้า​ มวย​ หวย​ บอลหรือกู้แอปพลิเคชันออนไลน์​มาเติมจะรอดหรือไม่… ท่านผู้อ่านลองคิดแทนท่านที่กำลังแหวกว่ายในทะเลหนี้เวลานี้ครับ​ 
มีคนส่งเพลงหนึ่งมาให้ผู้เขียน​ เป็นเพลงของศิลปินที่เรารู้จักดีคือ​ แอ๊ด คาราบาว ร้องคู่กับ แจ๊ส ชวนชื่น​ ผู้เขียนลองเอาเนื้อเพลงมาแสดงให้เห็นว่าเวลานี้ผู้คนที่มีรายได้น้อย ปานกลางค่อนข้างน้อย คนที่มีหนี้มาก​ อะไรคือกำลังใจ​ ท่านผู้อ่านลองหามาฟัง​ และคิดตามนะครับ​ เพราะสังคมเรากำลังได้รับผลกระทบจากผลการแพร่ระบาดโควิด-19 นี้มาก​ มันกดทับกำลังกาย กำลังใจขนาดไหน​ อย่างน้อยหากเราเป็นคนที่ไม่ได้รับผลกระทบมากจะได้คิดขึ้นมาได้ว่า​ หน้าที่ตรงหน้าของเราในการแก้ไขปัญหาให้คนอื่น ๆ จะได้เร่งมือ​ เร่งทำ​ ไม่ใช่อะไรก็อยู่ระหว่างการศึกษาพร้อมจิบกาแฟรับลมเย็นริมน้ำเจ้าพระยา​ เนื้อเพลงนั้นมีอยู่ว่า…
ไม่ใช่ลูกเศรษฐี ชีวิตฉันต้องดิ้นรน
เดินบนถนน อิจฉาคนร่ำรวย
เพชรนิลจินดา ซุปเปอร์คาร์โคตรสวย
ไอฉันโคตรซวย เสือกเกิดมาจน
บ้านคนอื่นใหญ่โตมโหฬาร
บ้านฉันแคมป์คนงานสร้างจากสังกะสี
คนรวยกระซิบกัน กังวาลทั้งปฐพี
คนจนตะโกนทั้งที ใยไม่มีใครฟัง
ลองจับหัวใจ นั่นไงยังไม่หยุดเต้น
มันยังเต้นตุ๊บตั๊บ นี่แหละความหวัง
บางที่เบื้องบนอยากลองของเราบ้าง
ก็ช่างหัวมัน กัดฟันก้าวต่อไป
เจ็บหรือจนอย่าบ่นเบื่อย่อท้อ
ถึงน้ำตาคลอ บอกไปเลยยังไหว
ลุยพร้อมชน ไม่ต้องสนหน้าไหน
เพราะใจกูยังได้อยู่
ต้นทุนต่ำใครว่าดีไม่ได้
แม้ปีนป่ายจนตะวันทอแสง
คนรวยไม่เข้าใจหรอกมาม่ายังแพง
ร่างกายหมดแรง ใจตะแบงว่าได้อยู่
แม้ขัดสนไม่เคยโทษพ่อแม่
แม้ย่ำแย่ไม่เคยโทษฟ้าดิน
ถึงเราเป็นไก่ทะยานใช่นกบิน
พูดโผผินทั้งที่กูบินไม่ได้
ลองจับหัวใจ นั่นไงยังไม่หยุดเต้น
มันยังเต้นตุ๊บตั๊บ นี่แหละความหวัง
บางที่เบื้องบนอยากลองของเราบ้าง
ก็ช่างหัวมัน กัดฟันก้าวต่อไป
เจ็บหรือจนอย่าบ่นเบื่อย่อท้อ
ถึงน้ำตาคลอ บอกไปเลยยังไหว
ลุยพร้อมชน ไม่ต้องสนหน้าไหน
เพราะใจกูยังได้อยู่
ลองจับหัวใจ นั่นไงยังไม่หยุดเต้น
มันยังเต้นตุ๊บตั๊บ นี่แหละความหวัง
บางที่เบื้องบนอยากลองของเราบ้าง
ก็ช่างหัวมัน กัดฟันก้าวต่อไป
เจ็บหรือจนอย่าบ่นเบื่อย่อท้อ
ถึงน้ำตาคลอ บอกไปเลยยังไหว
ลุยพร้อมชน ไม่ต้องสนหน้าไหน
เพราะใจกูยังได้อยู่
ขอบคุณทุกท่านที่ติดตามอ่านนะครับ

การพิจารณาสินเชื่อของสถาบันการเงิน

ธนาคารพิจารณาอะไรบ้าง เมื่อคุณยื่นขอสินเชื่อ?

ก่อนอนุมัติสินเชื่อ ธนาคารดูอะไรบ้าง? เครดิตบูโรมีคำตอบ!

ธนาคารจะพิจารณาอะไรบ้าง เมื่อคุณยื่นขอสินเชื่อ

ในการพิจารณาสินเชื่อ สถาบันการเงินหรือธนาคารจะพิจารณาจากปัจจัยหลายข้อประกอบกัน เช่น
• นโยบายการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงินแต่ละแห่งที่ต่างกัน
• ภาระหนี้ที่มีอยู่เดิม และความสามารถในการชำระหนี้ของผู้ขอสินเชื่อ
• หลักประกันความเสี่ยงของผู้ขอสินเชื่อ เช่น หลักทรัพย์ค้ำประกัน ผู้ค้ำประกัน
• โอกาสในการผิดนัดชำระมากหรือน้อย
• ประวัติการชำระหนี้ที่ผ่านมาในข้อมูลเครดิต

ประวัติเครดิตของคุณเป็นแบบไหน ไปเช็คให้ชัวร์ได้ที่ศูนย์บริการตรวจเครดิตบูโรทั่วประเทศ ไม่ต้องเตรียมเอกสารให้ยุ่งยาก แค่ยื่นบัตรประชาชนของตนเองก็ยื่นขอได้ทันที ค่าบริการเพียง 100 บาท

อยากรู้ว่าประวัติเครดิตของคุณเป็นแบบไหน อย่าลืมไปเช็คให้ชัวร์ได้ที่ศูนย์ตรวจเครดิตบูโร

กู้ไม่ผ่าน/ถูกปฏิเสธสินเชื่อ โดยอ้างเหตุเกี่ยวกับเครดิตบูโรจะต้องทำอย่างไร

ตรวจเครดิตบูโรฟรี! ถูกปฏิเสธสินเชื่อ และถูกอ้างว่าเป็นเพราะเครดิตบูโร

มาตรวจเครดิตบูโรได้ฟรี! เมื่อท่านถูกปฏิเสธสินเชื่อ โดยมีการอ้างว่าเป็นเพราะเครดิตบูโร กฎหมายที่คุ้มครองดูแลท่าน คือ พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจข้อมูลเครดิต พ.ศ.2545 ได้กำหนดการคุ้มครองให้ความเป็นธรรมแก่เจ้าของข้อมูล (ซึ่งก็คือตัวท่าน)

เพียงแค่นำหนังสือปฏิเสธสินเชื่อ และบัตรประชาชนตัวจริงของตนเอง

ที่ศูนย์ตรวจเครดิตบูโร 5 แห่ง ฟรี ไม่มีค่าบริการ ดังนี้

เปิดบริการ วันจันทร์-ศุกร์
1.ศูนย์ตรวจเครดิตบูโร – ธนาคารอาคารสงเคราะห์ สำนักงานใหญ่ อาคาร 2 ชั้น 2
เลขที่ 63 ถนนพระราม 9 เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10320
เปิดทำการวันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 09.00 น. – 16.30 น. หยุดวันหยุดนักขัตฤกษ์
*ให้บริการตรวจสอบข้อมูลบุคคลธรรมดา (ของตนเองหรือมอบอำนาจ) , นิติบุคคล และชาวต่างชาติ

2.ศูนย์ตรวจเครดิตบูโร – อาคารเพิร์ล แบงก์ค็อก
ชั้น 3 (โซนธนาคาร)
เปิดทำการวันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น. หยุดวันหยุดนักขัตฤกษ์
*ให้บริการตรวจสอบข้อมูลบุคคลธรรมดา (ของตนเองหรือมอบอำนาจ) และชาวต่างชาติ

3.ศูนย์ตรวจเครดิตบูโร – สถานีรถไฟฟ้า BTS ศาลาแดง (ภายในสถานี)
เปิดทำการวันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 09.00 น. – 18.00 น.
*ให้บริการตรวจสอบข้อมูลบุคคลธรรมดา (ของตนเองหรือมอบอำนาจ) และชาวต่างชาติ

เปิดบริการ วันจันทร์-อาทิตย์
4.ศูนย์ตรวจเครดิตบูโร – สถานีรถไฟฟ้า BTS อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ (ภายในสถานี)
เปิดทำการวันจันทร์-วันอาทิตย์ เวลา 09.00 น. – 18.00 น.
*ให้บริการตรวจสอบข้อมูลบุคคลธรรมดา (ของตนเองหรือมอบอำนาจ) และชาวต่างชาติ

5.ศูนย์ตรวจเครดิตบูโร – ห้างเจเวนิว (นวนคร) ติดโรงพยาบาลนวนคร
ชั้น 3 ติดประกันสังคม
เปิดทำการวันจันทร์ – อาทิตย์ เวลา 09.00 น. – 18.00 น.
*ให้บริการตรวจสอบข้อมูลบุคคลธรรมดา (ของตนเองหรือมอบอำนาจ) และชาวต่างชาติ

ตรวจเครดิตบูโรฟรี! ถูกปฏิเสธสินเชื่อ และถูกอ้างว่าเป็นเพราะเครดิตบูโร

การอัปเดตข้อมูลในรายงานข้อมูลเครดิต

ข้อมูลในเครดิตบูโรเก็บย้อนหลังกี่ปี แล้วอัปเดตทุก ๆ กี่เดือน?

ข้อมูลในเครดิตบูโรอัปเดตทุก ๆ กี่เดือน?

สถาบันการเงินที่เป็นสมาชิกจะนำส่งข้อมูลให้กับเครดิตบูโรตามรอบการรายงานและจัดส่งข้อมูล ซึ่งเป็นการรายงานและส่งข้อมูลสินเชื่อแบบรายเดือน (Monthly Basis) มิใช่รายงานและส่งข้อมูลสินเชื่อแบบทันที (Real Time) เช่น ข้อมูลการชำระปิดบัญชีของเดือนมีนาคม 2562 ท่านสามารถตรวจสอบเครดิตบูโรได้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2562 เป็นต้นไป

ขอแก้ไขรหัสสถานะบัญชี

ควรทำอย่างไร เมื่อชำระหนี้ปิดบัญชีแล้ว

ชำระหนี้ครบแล้ว จะปิดบัญชีหนี้อย่างไร? ต้องแจ้งใครไหม? เรามีคำตอบ!

กรณีชำระหนี้ปิดบัญชีกับสถาบันการเงินที่เป็นสมาชิกของเครดิตบูโร เมื่อท่านชำระหนี้ครบถ้วนและปิดบัญชีกับสถาบันการเงินเรียบร้อยแล้ว ท่านไม่ต้องทำอะไร เนื่องจากสถาบันการเงินมีหน้าที่ตามกฎหมายในการนำส่งข้อมูลมาที่เครดิตบูโรในเดือนถัดไป ว่าท่านชำระหนี้ครบถ้วนแล้ว ภาระหนี้เท่ากับ 0 (ศูนย์) บาท สถานะบัญชีของท่านคือ “ปิดบัญชี” (11 : ปิดบัญชี)

กรณีสถาบันการเงินโอนหรือขายหนี้ ของท่านไปยังผู้รับโอนซึ่งเป็นนิติบุคคลและไม่ได้เป็นสมาชิกของเครดิตบูโร เมื่อท่านชำระหนี้ให้แก่ผู้รับโอนเสร็จสิ้นแล้ว ขอให้ท่านนำหนังสือยืนยันการชำระหนี้เสร็จสิ้นจากนิติบุคคลผู้รับโอน มายื่นคำร้องขอแก้ไขสถานะปิดบัญชี จาก “โอนหรือขายหนี้” เป็น “ลูกค้าได้ชำระหนี้เสร็จสิ้นแล้ว” ได้ที่ศูนย์ตรวจเครดิตบูโรทั้ง  (เนื่องจากนิติบุคคลผู้รับโอนไม่ใช่สมาชิกเครดิตบูโร จึงไม่สามารถนำข้อมูลการชำระหนี้มาที่เครดิตบูโรได้) ศูนย์ตรวจเครดิตบูโร  >> https://goo.gl/EUqDA4

เอกสารที่ใช้ ได้แก่
– แบบคำขอแก้ไขรหัสสถานะบัญชี (ดาวน์โหลดได้ที่ www.ncb.co.th)
– หนังสือยืนยันการชำระหนี้ปิดบัญชี
– สำเนาบัตรประชาชนของตนเอง

***หลังจากยื่นเอกสารหลักฐานเรียบร้อย จะใช้เวลาดำเนินการไม่เกิน 30 วัน (โดยเครดิตบูโรจะแก้ไขข้อมูลจากสถานะ 42 โอนหรือขายหนี้ เป็น สถานะ 43 โอนขายหนี้ และชำระหนี้เสร็จสิ้น)

 

เศรษฐกิจคิดง่ายๆ (ดิจิทัล) : การเดินทางยังอีกยาวไกล : วันจันทร์ที่ 29 มีนาคม 2564

การเดินทางยังอีกยาวไกล

บรรยากาศ​ของสภาพการทำมาหากินของผู้คนและธุรกิจรายจิ๋ว​ รายเล็ก​ รายกลาง​ รายใหญ่​ ในช่วงที่จะพ้นหนึ่งไตรมาสของปี​ 2564​ ในอีกวันสองวันนี้​ คงจะทำให้ใครต่อใครใจชื้นขึ้นมาบ้าง ใครที่พอจับทางคนซื้อของได้​ มีรูปแบบธุรกิจตอบโจทย์​ ก็พอจะรอดปลอดภัย​ แต่ใครที่กู้เขามา ธุรกิจการค้าถูกรายใหญ่แย่งไปหรือขึ้นออนไลน์​ไม่ได้ก็จบ เห็นได้จากโครงการคนละครึ่ง​ พ่อค้าแม่ขายต่างปรับตัวได้ดีถึงดีมาก​ ผู้เขียนไปออกกำลังกาย​ที่สวนรถไฟ พบว่าแทบทุกร้านค้าสามารถให้บริการได้หมด​ หากเราลองนึกภาพ​ ต้มเลือดหมูกับข้าวสวย​ 60 บาท​ แต่จ่ายจริง​ 30 บาท​ มันทำให้คนซื้อคิดได้ง่าย ๆ ว่า​ มื้อนี้หนึ่งอิ่มเพียง​ 30 บาท​ แต่ในบางบรรยากาศก็พบว่าผู้คนรู้สึกเหมือนเพื่อนผู้เขียนดังนี้​ 

เราขอคิดแบบบ้าน ๆ นะ ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะนอกจากเงินมันฝืด ๆ กำลังซื้อน้อยลงแล้ว อาจเกิดจากสินค้าประเภทอาหารการกินเพื่อประทังชีวิตแต่ละวัน แพงขึ้นมากหรือเปล่า​ ไม่แน่ใจ … เราสังเกตจากตัวเอง และชุมชนรอบบ้านว่าเวลามาซื้อกับข้าวที่รถพุ่มพวงที่เข้ามาขายในชุมชนหมู่บ้าน​ เห็นได้ชัดว่าปริมาณการซื้อแต่ละสิ่งอย่างหรือ Portion การซื้อของพวกเขาลดลง เกือบครึ่ง มา 2-3 ปีแล้วนะ พอมีโควิด-19 มาซ้ำเติมไปอีกก็เห็นได้ชัดว่า​ เงินที่กำมาซื้อของมันน้อยลง

เพื่อนผู้เขียนอีกท่านที่เป็นนักธุรกิจซื้อขายรถมือสองแบบบริหารจัดการมืออาชีพ​ ได้ให้ความเห็นว่า​ เศรษฐกิจ​ไทยฟื้นช้าเพราะ (1) ที่ผ่านมาไทยเราพึ่งพาการท่องเที่ยวมากเกินไป​ เพราะ (2) อำนาจซื้อถดถอยอย่างรุนแรงแม้จะมีกลุ่มที่ซื้อได้แต่ก็ขาดแรงจูงใจกระตุ้นให้เกิดการใช้จ่าย โดยเฉพาะสินค้าคงทน เช่น บ้านและรถยนต์ ทรัพย์สิน​มูลค่าสูง การซื้อต้องใช้การกู้​ยืมสถาบัน​การเงิน​ ซึ่งมีความเข้มงวดในการพิจารณา​มากกว่าเดิมเป็นอย่างมาก​ (3) กลุ่มเปราะบางได้รับการช่วยเหลือในการบริโภคสิ่งจำเป็นแบบลดต้นทุนการใช้ชีวิตประจำวันแต่ด้วยการจ้างงานมันไม่แน่นอนก็ทำให้ขาดกำลังซื้อสินค้าคงทน​ สินค้ากึ่งคงทนอื่น ๆ เพราะต้องขอสินเชื่อมาซื้อซึ่งคนที่กู้ผ่านมีจำนวน​น้อยมากๆ​ (4) มาตรการสร้างแรงจูงใจบวกกระตุ้นจากภาครัฐด้วยวิธีการต่าง ๆ จึงจำเป็นต้องถูกงัดขึ้นมาดำเนินต่อไปเพื่อให้เศรษฐกิจไทย สามารถเติบโตตามศักยภาพได้ (Potential Growth) ตามเป้าหมาย​ 4% ซึ่งในหลายปีที่ผ่านมาประเทศไทยยังสอบไม่ผ่านการเติบโตระดับนี้แม้จะต่ำกว่าประเทศเพื่อนบ้านแต่ก็ยังดีกว่าไม่ใช้มาตรการกระตุ้นใด ๆ เลย ปล่อยตามธรรมชาติ​ ดังนั้นความเห็นผม (เพื่อนผู้เขียน)​ ก็ยังเชื่อว่าต้อง “กระตุ้นบวกสร้างภูมิคุ้มกัน” ไปพร้อม ๆ กันครับ

อีกท่านที่เป็นเพื่อนผู้เขียนก็บอกว่าถ้าเราหลับตา​ ให้ถือว่าปิดประตูความหวังรายได้จากการท่องเที่ยวไปก่อน แล้วพยายามคิดใหม่ในหนทางที่จะเดินไปกับการเติบโตของเศรษฐกิจของประเทศก็ยังมองไม่เห็นภาพอะไรที่ชัดเจนเลย คนรุ่นเรา (หมายถึงคนอายุเกิน​ 50 ปีตามวัยของผู้เขียน) อาจไม่ลำบากที่สุดเพราะสร้างมาบ้างแล้วในบางกลุ่มบางคน แต่คนในรุ่นต่อไปลำบากแน่​ (ตรงนี้ผู้เขียนมีทั้งเห็นด้วยไม่เห็นด้วยนะครับ​ ถ้าเป็นคนรุ่นใหม่สมองไว​ เห็นทางออกในทุกปัญหาก็น่าจะเป็นพวกที่แบงก์​ชอบ​ แต่ถ้าไปพบคนรุ่นต่อไปแบบเห็นปัญหาใน

ลากเรื่องออกมาไกลกว่าเรื่องเศรษฐกิจไ​ทยแต่เป็นเรื่องสังคมไทย​ ก็ยังมีเรื่องไม่ลงตัวอีก​ มีความพยายามพูดคุยกันบนพื้นที่แห่งความปลอดภัยที่ปราศจาก​พวกฉัน พวกเธอ​ มีแต่พวกเรา​ มีข้อความจากคุณหมอท่านหนึ่งที่เป็นคุณหมอความคิดก้าวหน้าของสังคมไทยได้กล่าวไว้น่าฟังดังนี้​ 

อนาคต อาจจะแย่กว่า อดีต ก็ได้นะครับ

อย่าลืมว่าเรามีเรื่องปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ​หรือ climate change และ biodiversity loss… ความเสียหายจากการสูญเสียความหลากหลายทางพืชพันธุ์​ ทุกคนคงเคยได้ยินเรื่องนี้แล้ว… แต่ก็ไม่ใช่ว่าเราจะให้ความสำคัญหรือตื่นตัวกับเรื่องนี้มากนัก เพราะคงคิดว่าไกลตัวประกอบกับประเทศไทยมีสัดส่วนของการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) น้อยกว่าประเทศใหญ่ ๆ 

แต่การแย่งชิงทรัพยากร​หรือ resource competition อาจจะสร้างความเกลียดชังได้นะครับ โดยผ่านการมองว่าอีกฝ่ายมาแย่งของเรา เลยเป็นศัตรู… ดูง่าย ๆ  น้ำในแม่น้ำก็เริ่มแย่งกัน นี่ขนาดโลกยังมีน้ำแข็งให้ละลายบนภูเขา หรืออีกหน่อยอาจจะลามไปถึงทะเลส่วนที่มีปลา​ ที่นักวิทยาศาสตร์พยากรณ์ว่าจะมีการอพยพมากขึ้นด้วย… ผู้คนอาจจะมองเป็นเหมือนการบุกรุกอีกแบบหรือเปล่า พอคนอพยพมาร่วมใช้ทรัพยากร​ไม่มากก็คงพอช่วย ๆ กันได้ แต่ถ้าทะลักมาจำนวนมาก (ผู้เขียน​ : แบบหนีสงครามกลางเมืองมา) ​ก็คงแย่งทรัพยากรกัน เราอาจจะต้องมีแผนล่วงหน้ากันหรือไม่

สุดท้าย​ ผมขอนำข่าวที่คุณบัณฑูร ล่ำซำ​ ได้กล่าวต่อสื่อมวลชนไว้น่าสนใจ​หลังทางการออกมาตรการวันที่​ 23​ มีนาคม​ 2564​ เกี่ยวกับ ​Soft ​loan และมาตรการโกงดังพักหนี้ ดังนี้​ “ถ้าเศรษฐกิจไม่หมุน คนไม่เดินทาง ไม่ใช้จ่าย นักท่องเที่ยวมาไม่ได้ อะไรก็ยืนไม่อยู่ การพักก็ต้องเป็นการพักชั่วคราว ตอนนี้แบงก์ก็ต้องแบกทั้งนั้น จนกระทั่งวันหนึ่งแบกไม่ได้ แบกได้ขั้นหนึ่ง เพราะในที่สุดแล้วน้ำต้องมา ถ้าน้ำไม่มา ก็ไม่มีสูตรอะไรที่แก้ปัญหาได้ ก็หวังว่าจะค่อย ๆ มา”

ตอนนี้ทุกส่วนก็หวังว่าการมีวัคซีนฉีดกระจายให้ทั่วถึงประชาชนในทั่วโลก จะทำให้เดินทางกันได้ปกติอีกครั้ง ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญต่อประเทศไทยมาก เพราะพึ่งพารายได้จากการเดินทางมาท่องเที่ยวของต่างประเทศ ส่วนจะส่งผลให้เป้าหมายการเติบโตเศรษฐกิจไทยปี 2564 น่าจะไปในทิศทางที่เป็นบวก แต่จะบวกได้แค่ไหนอยู่ที่จังหวะของการฟื้นกระแสของการท่องเที่ยวและการจัดการของภาครัฐ

การเดินทางจากปลายปี​ 2562​ จากข่าวร้ายเมืองอู่ฮั่น​ มาจนวันนี้จะสิ้นไตรมาสหนึ่งปี 2564 เรา ๆ ท่าน ๆ ต้องนับก้าวกันต่อไปแบบใส่หน้ากากเดินทีละก้าว​ กินข้าวที่ละคำ นำตัวเองไปด้วยความไม่ประมาท​

ข่าวเครดิตบูโร 001/2564 เครดิตบูโรร่วมแสดงความยินดีประธานกรรมการสมาคมสถาบันการเงินของรัฐ

ข่าวเครดิตบูโร 001/2564

ข่าวประชาสัมพันธ์

เครดิตบูโรร่วมแสดงความยินดีประธานกรรมการสมาคมสถาบันการเงินของรัฐ

วันที่ 23 มีนาคม 2564 :  นายสุรพล โอภาสเสถียร (ขวา)  ผู้จัดการใหญ่ บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด (เครดิตบูโร)  ร่วมแสดงความยินดีนายฉัตรชัย ศิริไล (ซ้าย) กรรมการผู้จัดการ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.)  ในโอกาสดำรงตำแหน่งประธานกรรมการสมาคมสถาบันการเงินของรัฐ เป็นวาระ ที่ 2 เป็นระยะเวลาอีก 2 ปี (พ.ศ. 2564-2566)  ณ ธอส.  สำนักงานใหญ่  เมื่อเร็ว ๆ นี้

 

ข้อมูลเพิ่มเติมกรุณาติดต่อ

บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด (เครดิตบูโร) ฝ่ายธุรกิจสัมพันธ์และภาพลักษณ์องค์กร  

E-mail: ilovebureau@ncb.co.th / website: www.ncb.co.th / facebook: www.facebook.com/ilovebureau

วันที่ 19 มีนาคม 2564 วัคซีนเศรษฐกิจ มาตรการเชิงรุกในระยะต่อไป – มาตรการแช่แข็ง – โกดังเก็บหนี้ – เงินกู้ละมุนนุ่ม หรือ Soft Loan เวอร์ชันใหม่

วันที่ 19 มีนาคม 2564
วัคซีนเศรษฐกิจ
มาตรการเชิงรุกในระยะต่อไป
– มาตรการแช่แข็ง
– โกดังเก็บหนี้
– เงินกู้ละมุนนุ่ม หรือ Soft Loan เวอร์ชันใหม่

รายการวิทยุ รู้รักสามัคคี ทำความดีเพื่อแผ่นดิน
ทุกวันศุกร์ เวลา 12.30-13.00 น. FM 103 MHz

https://www.youtube.com/watch?v=S1UsGnnBb7k

 

เรื่องน่าอ่าน