Blog Page 65

จริงหรือไม่ที่ว่า “กู้ได้ไม่ได้เป็นเพราะเครดิตบูโร”

โดนปฏิเสธสินเชื่อ เพราะติด Blacklist ติดบูโร ใช่จริงหรือ?

จริงหรือไม่ที่ว่า “กู้ได้ไม่ได้เป็นเพราะเครดิตบูโร”

ในกรณีที่ท่านยื่นพิจารณาขอสินเชื่อ แต่โดนสถาบันการเงินหรือธนาคารปฏิเสธกลับมา โดยมีคำกล่าวอ้างที่ว่า ท่านติด Blacklist จากเครดิตบูโร ทำให้ยื่นขอสินเชื่อไม่ผ่าน ซึ่งต้องบอกว่าคำกล่าวนี้ ไม่เป็นความจริงค่ะ

เพราะในความเป็นจริงเครดิตบูโรไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องหรือมีสิทธิอนุมัติหรือร่วมตัดสินใจให้สินเชื่อใคร และเครดิตบูโรไม่เคยมีหน้าที่จัดทำ และขึ้นบัญชี Blacklist ให้กับใครในฐานข้อมูล ทั้งในรายงานข้อมูลเครดิตก็ไม่มีคำว่า Blacklist อีกด้วยค่ะ

เครดิตบูโรมีหน้าที่เพียงจัดเก็บรักษา รวบรวม และประมวลผลตามที่สถาบันการเงินที่เป็นสมาชิกจัดส่งให้เท่านั้น

ฉะนั้นแล้วการที่ท่านโดนปฏิเสธสินเชื่อ ไม่ได้เกี่ยวข้องกับเครดิตบูโร แต่อาจเกิดจากปัจจัยอื่น ๆ เช่น รายได้เกณฑ์ที่สถาบันการเงินแต่ละแห่งกำหนด หรือข้อมูลที่ปรากฏในเครดิตบูโร ไม่เป็นไปตามเงื่อนไขของสถาบันการเงินที่ขอกู้ ซึ่งอาจเป็นผลจากท่านมีประวัติกาชำระหนี้ที่ไม่ดี หรือผิดนัดชำระกับสถาบันการเงิน

เมื่อถูกปฏิเสธไม่ให้สินเชื่อ โดยมีการอ้างว่าเป็นเพราะเครดิตบูโร กฎหมายที่คุ้มครองดูแลท่านคือ “พ.ร.บ. การประกอบธุรกิจข้อมูลเครดิต พ.ศ. 2545” ได้กำหนดการคุ้มครองให้ความเป็นธรรมแก่เจ้าของข้อมูล โดยคุณสามารถตรวจเครดิตบูโรฟรี เมื่อขอสินเชื่อไม่ผ่าน โดยธนาคารแจ้งเหตุผลว่าเกี่ยวข้องกับเครดิตบูโร

ท่านมีสิทธิ์จะได้รับทราบเหตุแห่งการปฏิเสธคำขอสินเชื่อหรือบริการจากสถาบันการเงินในกรณีที่สถาบันการเงินใช้ข้อมูลของบริษัทข้อมูลเครดิตมาเป็นเหตุแห่งการปฏิเสธคำขอสินเชื่อหรือบริการ ภายใน 30 วันที่ได้รับหนังสือชี้แจง สามารถเตรียมแค่หนังสือปฏิเสธสินเชื่อ และบัตรประชาชนตัวจริงของตนเอง มายื่นตรวจได้ฟรีที่ศูนย์ตรวจเครดิตบูโรทุกแห่ง ไม่เสียค่าบริการ ได้ที่ศูนย์ตรวจเครดิตบูโรต่อไปนี้:

เปิดบริการ วันจันทร์-ศุกร์
1.ศูนย์ตรวจเครดิตบูโร – ธนาคารอาคารสงเคราะห์ สำนักงานใหญ่ อาคาร 2 ชั้น 2
เลขที่ 63 ถนนพระราม 9 เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10320
เปิดทำการวันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 09.00 น. – 16.30 น. หยุดวันหยุดนักขัตฤกษ์
*ให้บริการตรวจสอบข้อมูลบุคคลธรรมดา (ของตนเองหรือมอบอำนาจ) , นิติบุคคล และชาวต่างชาติ

2.ศูนย์ตรวจเครดิตบูโร – อาคารเพิร์ล แบงก์ค็อก
ชั้น 3 (โซนธนาคาร)
เปิดทำการวันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น. หยุดวันหยุดนักขัตฤกษ์
*ให้บริการตรวจสอบข้อมูลบุคคลธรรมดา (ของตนเองหรือมอบอำนาจ) และชาวต่างชาติ

3.ศูนย์ตรวจเครดิตบูโร – สถานีรถไฟฟ้า BTS ศาลาแดง (ภายในสถานี)
เปิดทำการวันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 09.00 น. – 18.00 น.
*ให้บริการตรวจสอบข้อมูลบุคคลธรรมดา (ของตนเองหรือมอบอำนาจ) และชาวต่างชาติ

เปิดบริการ วันจันทร์-อาทิตย์
4.ศูนย์ตรวจเครดิตบูโร – สถานีรถไฟฟ้า BTS อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ (ภายในสถานี)
เปิดทำการวันจันทร์-วันอาทิตย์ เวลา 09.00 น. – 18.00 น.
*ให้บริการตรวจสอบข้อมูลบุคคลธรรมดา (ของตนเองหรือมอบอำนาจ) และชาวต่างชาติ

5.ศูนย์ตรวจเครดิตบูโร – ห้างเจเวนิว (นวนคร) ติดโรงพยาบาลนวนคร
ชั้น 3 ติดประกันสังคม
เปิดทำการวันจันทร์ – อาทิตย์ เวลา 09.00 น. – 18.00 น.
*ให้บริการตรวจสอบข้อมูลบุคคลธรรมดา (ของตนเองหรือมอบอำนาจ) และชาวต่างชาติ

โดนปฏิเสธสินเชื่อ เพราะติด Blacklist ติดบูโร ใช่จริงหรือ ?

ทำไม…ขอสินเชื่อไม่ผ่าน

อยากรู้จังทำไมขอสินเชื่อไม่ผ่าน

ทำไมขอสินเชื่อไม่ผ่าน?

ความจริงแล้ว คำว่า “ติด Blacklist” นั้นไม่มีอยู่จริง เพราะเครดิตบูโรไม่มีอำนาจในการอนุมัติหรือไม่อนุมัติสินเชื่อแต่อย่างใด

ที่ถูกต้องคือ เครดิตบูโรมีหน้าที่เพียงรวบรวมข้อมูลเครดิตและเปิดเผยข้อมูลนั้นต่อสถาบันการเงิน สถาบันการเงินจะเป็นผู้พิจารณาอนุมัติสินเชื่อเองตามแต่หลักเกณฑ์ของแต่ละที่ โดยดูจากประวัติเครดิต รายได้ หลักประกัน และปัจจัยอื่น ๆ ประกอบกัน ตามแต่นโยบายที่สถาบันนั้น ๆ กำหนด 

ปัจจัยในการขอสินเชื่อไม่ผ่าน

  • แต่ละสถาบันการเงิน มีนโยบายสินเชื่อต่างกัน
  • ประวัติการชำระหนี้ที่ผ่านมาของลูกหนี้
  • โอกาสผิดนัดชำระหนี้มากหรือน้อย
  • ภาระหนี้ที่มีอยู่และความสามารถในการจ่ายหนี้
  • หลักประกันความเสี่ยง (หลักทรัพย์หรือผู้ค้ำ)

ข้อมูลเครดิตมีความสำคัญอย่างไร

ข้อมูลเครดิต มีความสำคัญอย่างไร

เมื่อไปตรวจเครดิตบูโร สิ่งที่เราจะได้กลับมาก็คือ “รายงานข้อมูลเครดิต”
แล้วรู้หรือไม่ว่า “ข้อมูลเครดิต” นี้มีความสำคัญอย่างไร ตามมาดูกันเลยค่ะ

ข้อมูลเครดิตจะแสดงถึงประวัติการชำระหนี้ที่สะท้อนถึงพฤติกรรมและวินัยทางการเงินของเจ้าของข้อมูล แสดงถึงความตั้งใจในการชำระหนี้และความน่าเชื่อถือหรือที่เราเรียกกันว่า เครดิต ที่มีความสำคัญต่อการประกอบธุรกิจ สถาบันการเงินจึงใช้ประโยชน์จากรายงานข้อมูลเครดิตเป็นปัจจัยหนึ่งที่ใช้ร่วมกับปัจจัยอื่น ๆ ในการพิจารณาอนุมัติสินเชื่อ เช่น ความสามารถในการหารายได้ ความเป็นไปได้ของธุรกิจ หลักประกัน เป็นต้น ดังนั้น ย่อมกล่าวได้ว่าผู้ที่มีประวัติการชำระหนี้ดีมีโอกาสได้รับสินเชื่อในอัตราที่เหมาะสม

ข้อมูลเครดิตสำคัญอย่างไร

 

ข้อมูลเครดิตคืออะไร

"ข้อมูลเครดิต" คืออะไร?

เมื่อไปตรวจเครดิตบูโร เราก็จะได้รายงานข้อมูลเครดิตกลับมา แล้ว “ข้อมูลเครดิต” มันคืออะไรกันนะ?
บอกอะไรกับเราบ้าง ตามมาดูกัน!

“ข้อมูลเครดิต” คือข้อมูลเกี่ยวกับประวัติการชำระหนี้ของลูกค้า ซึ่งถูกจัดเก็บไว้ในระบบฐานข้อมูลของบริษัทข้อมูลเครดิต และจะปรากฏบนรายงานข้อมูลเครดิตเมื่อมีผู้ขอเรียกดู

ปัจจุบันข้อมูลเครดิตประกอบด้วย 2 ส่วน ได้แก่

1. ข้อมูลที่บ่งชี้ถึงตัวตนของลูกค้า
เช่น ชื่อ ที่อยู่ วันเดือนปีเกิด สถานภาพสมรส อาชีพ เลขที่บัตรประชาชน และในกรณีที่เป็นนิติบุคคล จะเป็นชื่อ สถานที่ตั้ง เลขทะเบียนนิติบุคคล เป็นต้น

2. ข้อมูลเกี่ยวกับสินเชื่อที่ได้รับอนุมัติ และประวัติการชำระสินเชื่อ
ประวัติการชำระราคาสินค้าหรือบริการโดยบัตรเครดิต รวมทั้งสถานะบัญชี
** “สถานะบัญชี” คือข้อมูลที่แสดงสถานะของบัญชีสินเชื่อแต่ละบัญชีที่แสดงในรายงานข้อมูลเครดิต เช่น สินเชื่อปกติ สินเชื่อที่ปิดบัญชีแล้ว สินเชื่อที่ค้างชำระเกิน 90 วัน สินเชื่อที่อยู่ในกระบวนการทางกฎหมาย เป็นต้น

ติดตามผลการยื่นคำขอเครดิตบูโร

เช็กสถานะการจัดส่งเครดิตบูโร

ยื่นขอข้อมูลเครดิตไปหลายวันแล้ว กลัวจดหมายจะส่งมาไม่ถึง
จะเช็กสถานะการส่งเอกสารได้อย่างไร?

สามารถทำได้ดังนี้

1. แจ้งชื่อ นามสกุล และเลขที่บัตรประชาชน มาที่อีเมล Consumer@ncb.co.th

2. ทางเราจะส่งอีเมลตอบกลับไป โดยแจ้งเลขที่เอกสารลงทะเบียน 13 หลักไปให้ เช่น “RY9107XXXXX31TH”

3. นำเลขที่เอกสารลงทะเบียน 13 หลักไปเช็กสถานะการส่งไปรษณีย์ได้ที่ https://track.thailandpost.co.th/ เว็บไซต์ของไปรษณีย์ก็จะบอกเราได้ว่าตอนนี้จดหมายกำลังอยู่ขั้นตอนไหนของการส่ง

ดูข้อมูลช่องทางตรวจเครดิตบูได้ที่ http://bit.ly/2D5eZW3

ยื่นขอข้อมูลเครดิตไปหลายวันแล้ว กลัวจดหมายจะส่งมาไม่ถึง จะเช็กสถานะการส่งเอกสารได้อย่างไร? . สามารถทำได้ดังนี้ค่ะ 1. แจ้งชื่อ นามสกุล และเลขที่บัตรประชาชน มาที่อีเมล Consumer@ncb.co.th 2. ทางเราจะส่งอีเมลตอบกลับไป โดยแจ้งเลขที่เอกสารลงทะเบียน 13 หลักไปให้ เช่น “RY9107XXXXX31TH” 3. นำเลขที่เอกสารลงทะเบียน 13 หลักไปเช็กสถานะการส่งไปรษณีย์ได้ที่ https://track.thailandpost.co.th/ เว็บไซต์ของไปรษณีย์ก็จะบอกเราได้ว่าตอนนี้จดหมายกำลังอยู่ขั้นตอนไหนของการส่ง . ดูข้อมูลช่องทางตรวจเครดิตบูได้ที่ http://bit.ly/2D5eZW3

รายงานข้อมูลเครดิตเกี่ยวข้องกับ Blicklist หรือไม่

"รายงานข้อมูลเครดิต" เกี่ยวข้องกับ "Blacklist" หรือไม่?

“รายงานข้อมูลเครดิต” เกี่ยวข้องกับ “Blacklist” หรือไม่
สรุปให้ฟังแบบเข้าใจง่าย ๆ แชร์ไปให้โลกรู้

“รายงานข้อมูลเครดิต” คือการรายงานประวัติการชำระสินเชื่อตามข้อเท็จจริง  กรณีลูกหนี้ชำระหนี้ได้ ไม่ค้างชำระ รายงานก็จะแสดงว่า “สถานะบัญชีเป็นปกติ”

กรณีที่ลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้ รายงานก็จะแสดงข้อมูลว่าลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้ไว้ในระบบข้อมูลของบริษัทข้อมูลเครดิตเช่นกัน ไม่มีการรายงานว่าลูกหนี้คนใดติด “Blacklist”

“รายงานข้อมูลเครดิต” คือการรายงานประวัติการชำระสินเชื่อตามข้อเท็จจริง

รายงานข้อมูลเครดิต

กรณีลูกหนี้ชำระหนี้ได้ ไม่ค้างชำระ รายงานก็จะแสดงว่า “สถานะบัญชีเป็นปกติ”

รายงานข้อมูลเครดิต

กรณีที่ลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้ รายงานก็จะแสดงข้อมูลว่าลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้
ไว้ในระบบข้อมูลของบริษัทข้อมูลเครดิตเช่นกัน

รายงานข้อมูลเครดิต

ไม่มีการรายงานว่าลูกหนี้คนใดติด “Blacklist”

รายงานข้อมูลเครดิต

ค้างชำระ ผิดชำระหนี้ ถูกขึ้นบัญชีดำ (Blacklist) หรือไม่

ค้างชำระ ผิดนัดชำระหนี้ ถูกขึ้นบัญชีดำ (Blacklist) หรือไม่

หลายท่านเข้าใจว่า สาเหตุที่สถาบันการเงินไม่ให้สินเชื่อ เพราะบริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด ได้ขึ้น “บัญชีดำ” ของตนไว้ มาทำความเข้าใจกันใหม่ดีกว่า

บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด มีหน้าที่ เป็นตัวกลางในการจัดเก็บรวบรวมข้อมูลเครดิต ซึ่งมีทั้งประวัติการชำระหนี้ที่ดีและไม่ดีของลูกค้า ตามที่สถาบันการเงินหรือบริษัทที่เป็นสมาชิกจัดส่งให้เท่านั้น

ไม่ได้มีหน้าที่ขึ้นบัญชีดำ (Blacklist) อย่างที่เข้าใจกัน

แต่สาเหตุที่ท่าน ไม่ได้รับสินเชื่อจากสถาบันการเงิน เพราะเมื่อสถาบันการเงินที่ท่านไปขอสินเชื่อได้ตรวจสอบประวัติการชำระหนี้ของท่านจากบริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด พบว่าท่านมีหนี้เสีย คือ ไม่ชำระหนี้กับสถาบันการเงินหรือผู้ประกอบการรายอื่นต่างหาก

ที่มา : ศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย :  สิงหาคม 2559
ข้อมูล ณ เดือนพฤศจิกายน 2560

ความเข้าใจผิด เรื่อง Blacklist

Blacklist ความเข้าใจผิด...ที่ควรทราบ

เครดิตบูโร มิได้มีหน้าที่ “ขึ้นบัญชีดำ” หรือ “Blacklist” อย่างที่เข้าใจกันผิด

หลายท่านคิดว่า สาเหตุที่สถาบันการเงินไม่ให้สินเชื่อ เพราะเครดิตบูโรขึ้นบัญชีดำ หรือที่เรียกกันทั่ว ๆ ไปว่า “ติด Blacklist” ความจริง! เป็นความเข้าใจที่ไม่ถูกต้อง เพราะเครดิตบูโร จะทำหน้าที่จัดเก็บรักษา รวบรวม และประมวลผลข้อมูลสินเชื่อของลูกค้าสถาบันการเงิน ตามที่สถาบันการเงินหรือบริษัทที่เป็นสมาชิกจัดส่งให้เท่านั้น มิได้มีหน้าที่ “ขึ้นบัญชีดำ” หรือ “Blacklist” อย่างที่เข้าใจกัน

เมื่อท่านขอกู้เงินแล้ว สถาบันการเงินไม่อนุมัติเงินกู้ อาจมาจากหลายสาเหตุ เช่น

  • รายได้ต่ำกว่าเกณฑ์ที่สถาบันการเงินกำหนด

  • ข้อมูลที่ปรากฎในเครดิตบูโรไม่เป็นไปตามเงื่อนไขของสถาบันการเงินที่ขอกู้

ซึ่งอาจเป็นผลมาจากท่านมีประวัติการชำระหนี้ที่ไม่ดี หรือ ผิดนัดชำระหนี้กับสถาบันการเงินอื่น

เศรษฐกิจคิดง่ายๆ (ดิจิทัล) : วัคซีน​เศรษฐกิจ​ มาตรการเชิงรุกในระยะต่อไป : วันจันทร์ที่ 22 มีนาคม 2564

วัคซีน​เศรษฐกิจ​ มาตรการเชิงรุกในระยะต่อไป

เป็นระยะเวลาปีกว่านับแต่ปลายปี​ 2562​ ที่ทั่วโลกต้องเจอกับไวรัสสายพันธุ์ใหม่หรือโควิด-19 ​ จากนั้นเราก็เจอการกระแทกจากมาตรการป้องกันตัวที่ต้องทำ ถูกบังคับให้ต้องทำ​ ที่เรียกว่า “ปิดบ้านปิดเมือง” คนทำมาหากินทุกระดับต่างถูกบังคับให้อยู่นิ่ง ๆ​ เหมือนการกลั้นหายใจ​ เวลานั้นปอดใครใหญ่ก็พอไหว​ ปอดใครเล็ก​ มีโรคประจำตัว (เป็นหนี้) ก็เจอกับอาการแทรกซ้อน​ กลัวตายก็กลัว​ กลัวอดก็กลัว​ กลัวเป็นหนี้เสียแต่ก็หมดปัญญาจะหาเงินไปส่งต้นและดอก​ เบี้ยหันมามองก็เห็นแววตาลูกน้องที่กลัวการตกงาน​ ถ้าจะให้เปรียบเทียบ​ก็เหมือนกับ​ “คนที่รีบออกจากบ้านแต่ลืมกระเป๋าสตางค์ ลืมโทรศัพท์ นั่งบนรถยนต์​ เกิดอาการท้องเสียต้องเข้าห้องน้ำด่วน​ แต่รถเกิดอุบัติเหตุ” ในสถานการณ์​นั้นปรากฏว่า​ คุณตำรวจผ่านมาพอดี​ ขณะที่คู่กรณีหัวร้อนกำลังจะใช้อารมณ์​กับตัวเรา​ คุณตำรวจจึงรีบให้คู่กรณี​เข้าข้างทาง​หน้าโรงแรมพอดี​ เลยได้โอกาสขอคุณตำรวจวิ่งเข้าห้องน้ำทำธุระแต่เจ้ากรรม​ ทิชชูดันหมด​ เลยต้องสละผ้าเช็ดหน้าของตนเองซึ่งเป็นของรักเนื่องจากเป็นของที่คู่สมรสให้ไว้เป็นของที่ระลึกตอนเป็นแฟนกัน” คุณตำรวจให้เวลาโดยคุยกับคู่กรณี คุณตำรวจให้ยืมโทรศัพท์โทรหาคนทางบ้าน​ เพื่อให้เอากระเป๋าสตางค์ โทรศัพท์​ มาให้​ ณ​ จุดเกิดเหตุ​ พร้อม ๆ กับรอประกันภัยมาเคลียร์​ สรุปคือ​ มีเวลาได้หายใจหายคอตั้งหลัก

ภาพที่ผู้เขียนบรรยายเปรียบเทียบนี้คือภาคต้นของเรื่องเท่านั้น​ เวลานี้เข้าปีที่สองของการต่อสู้กับความอยู่รอดทั้งด้านสาธารณสุข​และด้านเศรษฐกิจ​ปากท้อง​ ในช่วงเวลาต่อไปนี้คือช่วงเวลาที่สำคัญมากกว่าช่วงเวลาแรกเพราะ

1.เราจะมีคนที่ไม่รอดจากบาดแผลทางเศรษฐกิจ​ ต้องมีการล้มหายตายจากไป​ คำถามคือถ้ามีจำนวนมากมายทั้งเล็ก​ กลาง​ ใหญ่​ บรรดาหลักประกันต่าง ๆ และการดำเนินการทางกฎหมายมันจะเป็นลูกโซ่จากหนี้สถาบันการเงิน​ หนี้การค้า​ หนี้ค่าจ้างแรงงาน​ หนี้สารพัด​ การจัดการทางกฎหมายในกรอบเดิม ๆ มันจะยิ่งเละเทะเข้าไปกันใหญ่​ ดังนั้นมาตรการแช่เย็นแบบเย็นจัดประหยัดไฟต้องมา จากนั้นค่อยละลายน้ำแข็งทีละกรณีเพื่อแยกแยะของดี​ ของต้องทิ้ง​ ไม่ให้เกิดการเน่าเสียไปทั้งหมด​ การยืดหนี้ออกไปให้นาน​ ทุบหนี้ให้แบน​ และค่อย ๆ เคลียร์​เพื่อจำกัดความเสียหายจึงต้องทำ… อันนี้น่าจะเป็นวัคซีนขนานที่หนึ่ง

ต่อมาคือกลุ่มที่สู้ต่อ คิดว่าสู้ได้ แต่ตอนนี้หมดแรง​ ต้องใส่ยาบำรุงหัวใจให้เดินต่อไปอีกอึดใจ​ รอเวลาฟ้าเปิด​ วัคซีน​ขนานที่สองที่เรียกว่า​ โกดังพักหนี้ ก็ต้องตามมา​ ต้องมีการตีทรัพย์สิน​ชำ​ระ​หนี้​ เพื่อไม่ต้องจ่ายดอกเบี้ย​ แล้วขอเช่ากลับมาทำธุรกิจเพื่อรอเวลารักษาทรัพย์สิน​ไม่ให้เสื่อมค่า รักษาคนงานเอาไว้โดยหันมาทำธุรกิจแนวเอาตัวรอดดูก่อน​ การจ่ายค่าเช่าแทนดอกเบี้ยมันจะมีค่าใช้จ่ายน้อยลง​ แล้วก็ทำสัญญาซื้อขาย​ทรัพย์สิน​คืนในอีกห้าปี​ เจ็ดปีข้างหน้า (Purchased option) ซึ่งก็หมายถึงการกู้ยืมเหมือนเดิมนี่แหละแต่ตอนนั้นพายุของโรคระบาดน่าจะยุติไประดับหนึ่งแล้ว​ มาตรการสร้างพื้นที่ให้ ขายไป-เช่ากลับ-สัญญาว่าจะซื้อคืน​ โดยทุกฝ่ายผ่อนสั้นผ่อนยาวกันไป​ มีคนรับความเสียหายบางส่วนที่อยู่ในเก�

วัคซีน​ตัวที่สามคือ เงินกู้ละมุนนุ่มหรือ​ Soft​loan เวอร์ชันใหม่​ที่จะมาแทนเวอร์ชันเก่าตอนลูกหนี้ลืมกระเป๋าสตางค์​เวลาออกจากบ้าน​ แต่จะเป็นเวอร์​ชันลูกหนี้กลับมาที่บ้านแล้วพบว่ารายได้มันหายไปพอสมควร​ แต่มีบิลมาเรียกเก็บเงินเพียบ​ ดังนั้นการปรับปรุง​โครงสร้าง​หนี้จึงต้องทำเพื่อให้กระแส​เงินสด​มันเดินต่อได้​ อาจต้องทำทั้งหนี้เก่าหนี้ใหม่​ ถ้าเงื่อนไข​ Soft loan ออกมาว่า

1.สองปีแรกดอกเบี้ย​ 2% ปีที่สามค่อยเพิ่มเป็นขั้นบันได​ และมีอายุ​ 5-7 ปีก็จะดีมาก

2.ไม่ยุ่งกับหลักประกันเก่า​ ไม่มีสูตรชดเชยความเสียหายแบบคุณสุภาพสตรีที่ทำงานไม่เป็นแต่คิดว่าตัวเองคิดเก่ง​ ทำแต่แล็บแห้ง​ ไม่หารือใครเพราะวัน ๆ คิดแต่เรื่องความลับ​ ลับจนหาประตูออกไม่เจอ​ สูตรมันควรจะง่ายสุด​ไหมเช่น ปล่อยกู้ไป​ 100 กลายเป็น​หนี้เสียรวมดอกเบี้ยค้าง 120 ชดเชย​ 50% คิดเป็นชดเชย​ 60​ เอาแบบง่ายสุด​ แบบคนอยู่บ้านเช่าริมน้ำเจ้าพระยาข้างองค์กร​ใหญ่ก็คิดได้คิดเป็น​ (หัดฟังคนรอบข้างบ้างก็จะดี)​

3.วงเงินสูงสุดต่อรายจะเป็น​ 150-200 ล้านบาทมั้ย​ แต่ไม่ต้องจำกัดหน้าใหม่ ลูกค้าเก่า​ ใครที่แสดงได้ว่าเดือดร้อน​ และกู้ไปแล้วแก้ไขปัญหาได้ก็ควรให้ เรื่องที่ควรจะเถียงให้จบคือกู้มา refinance ได้ไหม เพราะบางท่านก็บอกมันคือการลดต้นทุนทางการเงิน​ เงินส่วนที่ประหยัดได้ก็เอามาเลี้ยงคนงานเป็นค่าจ้าง ฝั่งที่บอกไม่ควรให้ทำ​ refinance ก็บอกว่ามันควรเอาไปลงทุนปรับปรุงกิจการ​ เพิ่มประสิทธิภา​พ​ พูดไปมันก็ถูกทั้งหมดแหละครับ​ จะเอาอะไรก็รีบทำให้จบ

ผู้เขียนได้พยายามสื่อสารมายังท่านผู้อ่านในมุมเฉพาะเรื่องการจัดการของเจ้าหนี้-ลูกหนี้-คนกลาง​ เพราะเวลานี้ถ้าทุกฝ่ายอยากมีภูมิคุ้มกันหมู่​ ก็ต้องรับวัคซีน​ และมีกำ​ลัง​กาย​ กำลังใจเดินหน้าต่อไป

ย้ำอีกครั้ง​ ขอคิดความเห็นในบทความไม่เกี่ยวและผูกพันว่าเป็นความเห็นองค์กร​ที่ผู้เขียนสังกัดนะครับ

ขอบคุณ​ที่ติดตามครับ… ผิดพลาดประการใดติชมมาได้นะครับ

เรื่องน่าอ่าน