หากประวัติเครดิตไม่ดี แก้ไขอย่างไร
หากประวัติเครดิตไม่ดี แก้ไขอย่างไร
สำหรับท่านที่มีความกังวลเรื่องประวัติเครดิตในอดีต ท่านสามารถสร้างประวัติเครดิตที่ดีได้ตั้งแต่วันนี้ เพียงเริ่มจากสร้างวินัยในตัวเอง ชำระหนี้เก่าให้เสร็จสิ้น ชำระหนี้ใหม่ให้ตรงเวลา และหมั่นตรวจเครดิตบูโรเพื่อติดตามดูสถานการณ์หนี้สินของตัวท่านเองอย่างใกล้ชิด ก็สามารถเป็นเจ้าของประวัติเครดิตดี ๆ ได้ไม่นานเกินรอค่ะ
เริ่มตั้งแต่ติดต่อสถาบันการเงินที่เคยเป็นหนี้เพื่อชำระหนี้ค้างให้เสร็จสิ้น เจรจาต่อรองกับเจ้าหนี้ เพื่อขอลดหนี้ และเจรจาปรับโครงสร้างหนี้
ต่อมาต้องสร้างวินัยในตัวเอง ชำระหนี้เก่าให้เสร็จสิ้น ชำระหนี้ใหม่ให้ตรงเวลา หมั่นตรวจเครดิตบูโรเพื่อติดตามดูสถานการณ์หนี้สินของตัวท่านเองอย่างใกล้ชิด
มีวิธีการดังนี้
- ติดต่อสถาบันการเงินที่เคยเป็นหนี้ เพื่อชำระหนี้ค้างให้เสร็จสิ้น
- เจรจาต่อรองกับเจ้าหนี้ เพื่อขอลดหนี้
- เจรจาปรับโครงสร้างหนี้
- เริ่มสร้างประวัติสินเชื่อใหม่
- สร้างวินัยการเงินที่ดี
- ชำระหนี้ให้ตรงเวลา
- ไม่ผิดนัดชำระหนี้อีก
เพียงเท่านี้ก็สามารถเป็นเจ้าของประวัติเครดิตดีๆ ได้แล้วค่ะ
*เครดิตบูโรไม่มีความเกี่ยวข้องหรือมีสิทธิอนุมัติ หรือร่วมตัดสินใจให้สินเชื่อกับใคร หากบุคคลใดกล่าวอ้างกับท่าน แจ้งเรื่องได้ที่ consumer@ncb.co.th ไม่เชื่อเข้ามาดูได้ที่นี่เลย http://bit.ly/2UXb5Td
เจ้าของข้อมูลขอลบหรือแก้ไขประวัติการชำระเงินได้หรือไม่
เจ้าของข้อมูลขอลบหรือแก้ไขประวัติการชำระเงินได้หรือไม่
เจ้าของข้อมูลขอลบหรือแก้ไขประวัติการชำระหนี้ได้ ในกรณีที่พบว่า ข้อมูลของตนเองไม่ตรงกับข้อเท็จจริง โดยสามารถยื่นตรวจสอบข้อมูลเครดิตของตนได้ที่ บริษัทข้อมูลเครดิตและสถาบันการเงินที่เจ้าของข้อมูลเป็นลูกค้า
แต่หากข้อมูลเครดิตตรงตามข้อเท็จจริงแล้ว เจ้าของข้อมูลไม่สามารถขขอลบหรือแก้ไขข้อมูลได้ เว้นแต่ในบางกรณีที่กฎหมายบัญญัติไว้ เช่น เกินอายุการจัดเก็บข้อมูลเป็นต้น
จ่ายหนี้ครบหมดแล้ว ข้อมูลเครดิตจะเป็นอย่างไร
จ่ายหนี้ครบหมดแล้ว ทำไมเมื่อไปตรวจเครดิตบูโร ข้อมูลเครดิตของเราถึงยังมีประวัติค้างชำระอยู่
รายงานข้อมูล เปรียบเสมือน “สมุดพกด้านสินเชื่อ” โดยจะเก็บข้อมูลประวัติการชำระเงินตามข้อเท็จจริงทั้ง ในกรณี “ค้างชำระ” และ “ไม่ค้างชำระ” โดยไม่สามารถแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงได้ ทั้งนี้กฎหมายกำหนดให้เครดิตบูโรเก็บข้อมูลเป็นระยะเวลา 3 ปี หรือ 36 เดือน โดยข้อมูลจะทยอยเลื่อนออกจากฐานข้อมูลเมื่อลูกหนี้ได้ชำระหนี้ครบ และทำการปิดบัญชีเรียบร้อยแล้ว สถาบันการเงินที่เป็นสมาชิกเครดิตบูโร มีหน้าที่นำส่งข้อมูลการปิดบัญชีมายังเครดิตบูโรในเดือนถัดไป โดยเครดิตบูโรจะใช้เวลาดำเนินการประมาณ 30 วันเพื่ออัพเดตข้อมูล ซึ่งในช่วงระหว่างนี้ถ้าเรารักษาวินัยทางการเงินไม่ผิดนัดชำระหนี้อีก ก็จะสามารถมีประวัติเครดิตที่ดีได้อีก
ข้อมูลเครดิตจัดเก็บนานแค่ไหน
ข้อมูลเครดิตจัดเก็บนานแค่ไหน คำตอบคือ “3 ปี”
เครดิตบูโรจะมีหน้าที่ในการจัดเก็บข้อมูลสินเชื่อ และประวัติการชำระหนี้สินเชื่อ โดยสถาบันการเงินที่เป็นสมาชิกมีหน้าที่รายงานและส่งข้อมูลให้แก่เครดิตบูโรเป็นรายเดือนทุกเดือน ทางเครดิตบูโรก็จะอัปเดตข้อมูลให้ในแต่ละเดือนไปเรื่อย ๆ ทั้งหมด 36 เดือน จำนวน 36 บรรทัด เรียงทับกันเหมือนขนมชั้น เมื่อมีข้อมูลใหม่เข้ามา ข้อมูลบรรทัดเก่าของเมื่อ 36 เดือนที่แล้วก็จะหายไป
ในกรณีที่มีประวัติค้างชำระ และได้ชำระหนี้เสร็จสิ้นแล้ว สถาบันการเงินจะแจ้งปรับยอดหนี้เป็น 0 บาทและสถานะ 11 ปิดบัญชี มาที่เครดิตบูโร และจะหยุดส่งข้อมูลในเดือนถัดมา ข้อมูลที่ส่งมาก่อนหน้าปิดบัญชีจะยังไม่ลบออกไปทันที แต่จะถูกลบไปตามอายุข้อมูล ข้อมูลเดือนใดที่มีอายุครบ 3 ปีแล้ว จะถูกทยอยลบออกไปทีละเดือน เมื่อข้อมูลเดือนสุดท้ายมีอายุครบ 3 ปีถูกลบออกไป บัญชีสินเชื่อนั้นจะถูกลบออกจากฐานข้อมูลทั้งบัญชี ซึ่งเป็นอายุข้อมูลที่กฎหมายกำหนดไว้ ดังนั้น เครดิตบูโรไม่มีอำนาจตามกฎหมายที่จะลบข้อมูลก่อนครบกำหนดอายุการจัดเก็บได้
เมื่อเข้ามาตรวจเครดิตบูโร รายงานข้อมูลเครดิตก็จะเห็นประวัติการชำระทั้งหมดของเรา ตั้งแต่เปิดบัญชีจนถึงปัจจุบันว่าเป็นอย่างไรตามข้อเท็จจริง
การอัปเดตข้อมูลในรายงานเครดิต
: สถาบันการเงินที่เป็นสมาชิกจะนำส่งข้อมูลให้กับเครดิตบูโรตามรอบการรายงานและจัดส่งข้อมูล ซึ่งเป็นการรายงานและส่งข้อมูลสินเชื่อแบบรายเดือน (Monthly Basis) มิใช่รายงานและส่งข้อมูลสินเชื่อแบบทันที (Real Time) เช่น ข้อมูลการชำระปิดบัญชีของเดือนมีนาคม 2562 ท่านสามารถตรวจสอบเครดิตบูโรได้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2562 เป็นต้นไป
อยากรู้ว่าประวัติเครดิตปัจจุบันของตัวเองเป็นอย่างไร สามารถมาตรวจเครดิตบูโรได้ผ่านช่องทางเหล่านี้ http://bit.ly/2D5eZW3
ทำไมเครดิตบูโรต้องเก็บข้อมูลไว้ 3 ปี?
บางคนอาจคิดว่านานไป แต่ 3 ปีคือ “มาตรฐานขั้นต่ำ” ที่บังคับใช้กันทั่วโลก เพราะอะไรถึงเป็นแบบนั้น ตามมาดูกันค่ะ
เพราะมีความจำเป็นต้องทำตามหลักการ 3 ประการ ว่าด้วย “มาตรฐานการจัดเก็บข้อมูลเครดิต”
ได้แก่…
1. มีระยะเวลาเพียงพอที่จะใช้ในการวิเคราะห์ความตั้งใจในการชำระหนี้
ว่าคนที่เป็นเจ้าของข้อมูลนั้น ได้ปฏิบัติกับสัญญาเจ้าหนี้รายก่อน ๆ อย่างไร เช่น ชำระปกติ ค้างชำระ ค้างนาน ค้างสั้น ค้างแล้วรีบเคลียร์ หรือค้างแล้วลากยาว เป็นต้น
2. หน่วยงานที่กำหนดระยะเวลาการเก็บข้อมูลเครดิต (3 ปี) คือ “คณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลเครดิต”
โดยมีผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นประธาน
3. ธนาคารโลก ได้วางหลักการให้การเก็บข้อมูลขั้นต่ำคือประมาณ 3 ปี
แต่ละประเทศบังคับระยะเวลาต่างกัน ขึ้นอยู่กับเศรษฐกิจ เช่น ประเทศเอธิโอเปียจะเก็บข้อมูลถึง 5 ปี ส่วนประเทศไทยได้ตัดสินแล้วว่าเก็บ 3 ปี (เท่ากับสิงคโปร์)
ถ้าเคยค้างชำระ แต่จ่ายหนี้ครบแล้ว และชำระหนี้ตรงเวลา ไม่ค้างชำระเลยต่อเนื่อง 3 ปี (36 เดือน) ประวัติค้างชำระก็จะหายไปจากเครดิตบูโร
ข้อมูลเครดิตไม่ถูกต้อง ควรทำอย่างไร
หากตรวจเครดิตบูโร แล้วพบว่าประวัติข้อมูลเครดิตไม่ถูกต้อง จะทำยังไงดีนะ?
ท่านมีสิทธิยื่นคำขอตรวจสอบ/แก้ไขข้อมูลเครดิตได้ที่ศูนย์ตรวจเครดิตบูโร โดยเครดิตบูโรจะตรวจสอบความถูกต้องของคำขอฯ และเอกสารที่เกี่ยวข้อง
-
เครดิตบูโรแจ้งไปยังสถาบันการเงินที่เป็นสมาชิกผู้นำส่งข้อมูลให้ตรวจสอบข้อเท็จจริงตามคำขอ
-
เครดิตบูโรจะแจ้งผลการตรวจสอบหรือแก้ไขให้ท่านทราบภายใน 30 วัน (นับตั้งแต่วันที่ได้รับคำขอ)
-
เมื่อท่านได้รับแจ้งผลการตรวจสอบหรือแก้ไขข้อมูลแล้ว หากไม่เห็นด้วยกับผลการตรวจสอบหรือแก้ไขข้อมูล ท่านสามารถยื่นคำขอใช้สิทธิบันทึกข้อโต้แย้งไว้ในระบบฐานข้อมูลของบริษัทได้ และมีสิทธิในการยื่นอุทธรณ์ข้อโต้แย้งต่อคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลเครดิตได้ในกรณีที่เห็นว่าบริษัท สมาชิก หรือผู้ใช้บริการบันทึกข้อโต้แย้งไว้ไม่ถูกต้องตามข้อเท็จจริงตามหลักฐานที่ปรากฏ
ขอแก้ไขข้อมูลเครดิต
เมื่อข้อมูลเครดิตของท่านไม่ถูกต้อง คลาดเคลื่อนจากความจริง ต้องการแก้ไขข้อมูลสามารถทำตามได้ดังนี้
1. ติดต่อธนาคารหรือสถาบันการเงิน
ท่านควรติดต่อกับสถาบันการเงินของเจ้าของบัญชี เพื่อตรวจสอบความถูกต้อง หากข้อมูลไม่ถูกต้อง สถาบันการเงินจะแจ้งให้ทางเครดิตบูโรแก้ไขข้อมูลให้ถูกต้อง และแจ้งผลแก่เจ้าของบัญชีทราบภายใน 30 วัน
2. ติดต่อศูนย์ตรวจเครดิตบูโร
สำหรับท่านใดที่ต้องการแก้ไขข้อมูลเครดิตผ่านทางศูนย์ตรวจเครดิตบูโร สามารถทำได้ 2 วิธีดังนี้
วิธีที่ 1 ยื่นคำขอผ่านที่ทำการไปรษณีย์
– Download แบบคำขอได้ที่ https://www.ncb.co.th/check-your-credit-bureau/form_download
– ส่งเอกสารคำขอพร้อมหลักฐานมาทางไปรษณีย์ ถึง บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด
ศูนย์ตรวจเครดิตบูโร ส่วนรับเรื่องร้องเรียน เลขที่ 33/4 อาคาร เดอะไนน์ ทาวเวอร์ส แกรนด์ พระราม 9 ชั้น 2 (ห้องเลขที่ NS010-012) ถนนพระราม 9 แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10310
วิธีที่ 2 ยื่นคำขอ ณ ที่ศูนย์ตรวจเครดิตบูโรด้วยตนเอง
โดยกรอกแบบคำขอแก้ไขข้อมูลพร้อมยื่นเอกสาร ดังนี้
– สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
– สำเนารายงานเครดิตบูโรที่ต้องการแก้ไข
– หลักฐานที่เกี่ยวข้อง เพื่อแจ้งสถาบันการเงินของผู้ส่งข้อมูลให้ตรวจสอบความถูกต้อง
จากนั้นจะแจ้งผลการตรวจสอบให้เจ้าของข้อมูลทราบภายใน 30 วัน นับจากวันที่ยื่นคำขอ
หากข้อมูลไม่ถูกต้องจริง และสถาบันการเงินได้แก้ไขแล้ว เครดิตบูโรจะส่งข้อมูลเครดิตฉบับที่แก้ไขแล้วให้กับเจ้าของข้อมูล
แต่ถ้ามีการยืนยันแล้วว่าข้อมูลถูกต้อง ไม่สามารถทำการแก้ไขข้อมูลได้ เจ้าของข้อมูลมีสิทธิ์ขอให้เครดิตบูโรบันทึกโต้แย้งไว้ในระบบข้อมูลเครดิตและสามารถยื่นอุทธรณ์ ข้อโต้แย้งต่อคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลเครดิตเพื่อพิจารณาได้นั่นเองค่ะ
ข้อมูลเครดิตของท่าน เป็นแบบไหน
“ข้อมูลเครดิต” คือข้อมูลเกี่ยวกับประวัติการชำระหนี้ของลูกค้า ซึ่งถูกจัดเก็บไว้ในระบบฐานข้อมูลของบริษัทข้อมูลเครดิต และจะปรากฏบนรายงานข้อมูลเครดิตเมื่อมีผู้ขอเรียกดู
เครดิตบูโรเปรียบเสมือนเป็น “ถังข้อมูลที่บ่งบอกพฤติกรรมในเรื่องการก่อหนี้ การชำระหนี้” ที่ใหญ่ที่สุดของระบบการเงินไทย หากใครก็ตามที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับธุรกรรมสินเชื่อในระบบ ก็สามารถขอตรวจสอบข้อมูลเครดิตเหล่านี้ได้จากเครดิตบูโร
รายงานข้อมูลเครดิตของท่านเป็นแบบไหน
- คนไม่เคยค้าง
- คนเคยค้างในอดีต แล้วกลับมาชำระบัญชี ณ ปัจจุบันเป็นปกติ
- คนเคยค้างในอดีต ต่อมาชำระหนี้ทั้งหมดแล้วก็ปิดบัญชี
- ค้างชำระในอดีต ปัจจุบันก็ยังค้างอยู่
ทำไม…ต้องตรวจเครดิตบูโร
ทำไม…ต้องตรวจเครดิตบูโร
เรามาดูกันว่าการตรวจเครดิตบูโรนั้นสำคัญอย่างไร
ประวัติการชำระหนี้ที่สะท้อนถึงพฤติกรรมและวินัยทางการเงินของเจ้าของข้อมูล รวมถึงแสดงให้เห็นถึงความตั้งใจในการชำระหนี้และความน่าเชื่อถือด้วย ดังนั้นทุกคนควรไปตรวจเครดิตบูโรอยู่เสมอ เพื่อให้ทราบถึงสถานการณ์ทางการเงินของคุณ หากมีข้อผิดพลาดจะได้ทำการแก้ไขได้อย่างทันท่วงที
ตรวจเครดิตบูโรได้ที่ไหน ต้องทำอย่างไรบ้าง อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่เลย >>> http://bit.ly/์NCB_Wheretocheck
1. เพื่อเตรียมตัวก่อนไปขอสินเชื่อ กู้ซื้อบ้าน ซื้อรถ ขอบัตรเครดิต ดังคำว่า “รู้เราก่อนไปหาเขา”
2. ตรวจว่ามี “หนี้งอก” หรือ หนี้ที่ไม่ใช่ของเรา หรือไม่
3. ตรวจว่า “มีประวัติค้างชำระหรือไม่” ถ้าข้อมูลไม่ถูกต้อง ขอแก้ไขได้
4 .ตรวจว่า “เมื่อชำระหนี้ที่ค้างหมดไปแล้ว” มีสถานะปิดบัญชี ยอดหนี้เป็นศูนย์ หรือไม่
5. ตรวจว่า “ข้อมูลส่วนบุคคล” เช่น ชื่อ นามสกุล ที่อยู่ ถูกต้องหรือไม่ จะได้แก้ไขได้ทันการณ์