Blog Page 67

ตรวจเครดิตบูโร ในกรุงเทพและปริมณฑล

สถานที่ตรวจเครดิต ศูนย์ตรวจเครดิตบูโร ดังนี้

ศูนย์ตรวจเครดิตบูโร ธนาคารอาคารสงเคราะห์ สำนักงานใหญ่ อาคาร 2 ชั้น 2 เลขที่ 63 ถนนพระราม 9 เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10320

วันจันทร์-ศุกร์ เวลา 9.00 – 15.30 น. หยุดวันนักขัตฤกษ์ 

(ปรับเวลาปิดบริการ ตั้งแต่วันที่ 19 เม.ย. 64 เป็นต้นไป เนื่องจากสถานการณ์ COVID-19 จนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลง

* บุคคลธรรมดาของตนเองและมอบอำนาจ / เครดิตสกอริ่ง (บุคคลธรรมดาและนิติบุคคล) / นิติบุคคล นิติบุคคล (มอบอำนาจ) / ชาวต่างชาติ
**นิติบุคคลยังใช้บริการผ่านไปรษณีย์ลงทะเบียนได้ด้วย

ศูนย์ตรวจเครดิตบูโร – อาคารเพิร์ล แบงก์ค็อกชั้น 3 (โซนธนาคาร) (BTS อารีย์ ทางออก 1)

วันจันทร์-ศุกร์ เวลา 9.00 – 15.30 น. หยุดวันนักขัตฤกษ์

(ปรับเวลาปิดบริการ ตั้งแต่วันที่ 19 เม.ย. 64 เป็นต้นไป เนื่องจากสถานการณ์ COVID-19 จนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลง)

*เฉพาะบุคคลธรรมดาของตนเองและมอบอำนาจ เครดิตสกอริ่ง (บุคคลธรรมดา) / ชาวต่างชาติ

ศูนย์ตรวจเครดิตบูโร – สถานีรถไฟฟ้า BTS ศาลาแดง (ภายในสถานี)

วันจันทร์-ศุกร์ เวลา 9.00 – 15.30 น. หยุดวันนักขัตฤกษ์(ปรับเวลาปิดบริการ ตั้งแต่วันที่ 19 เม.ย. 64 เป็นต้นไป เนื่องจากสถานการณ์ COVID-19 จนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลง)

*เฉพาะบุคคลธรรมดาของตนเองและมอบอำนาจ เครดิตสกอริ่ง (บุคคลธรรมดา) / ชาวต่างชาติ

ศูนย์ตรวจเครดิตบูโร – สถานีรถไฟฟ้า BTS อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ (ภายในสถานี)

วันจันทร์-ศุกร์ เวลา 9.00 – 15.30 น. หยุดวันนักขัตฤกษ์ (ปรับเวลาปิดบริการ ตั้งแต่วันที่ 19 เม.ย. 64 เป็นต้นไป เนื่องจากสถานการณ์ COVID-19 จนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลง)

*เฉพาะบุคคลธรรมดาของตนเองและมอบอำนาจ / เครดิตสกอริ่ง (บุคคลธรรมดา) / ชาวต่างชาติ

ศูนย์ตรวจเครดิตบูโร – สถานีรถไฟฟ้า BTS หมอชิต (ภายในสถานี)

วันจันทร์ – อาทิตย์ (เปิดทุกวันไม่มีวันหยุด) เวลา 9.00 – 15.30 น.

(ปรับเวลาปิดบริการ ตั้งแต่วันที่ 19 เม.ย. 64 เป็นต้นไป เนื่องจากสถานการณ์ COVID-19 จนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลง)

*เฉพาะบุคคลธรรมดาของตนเองและมอบอำนาจ / เครดิตสกอริ่ง (บุคคลธรรมดา) / ชาวต่างชาติ

ศูนย์ตรวจเครดิตบูโร ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ศูนย์ตรวจเครดิตบูโร – ห้างเจเวนิว (นวนคร) ชั้น 3 ติดประกันสังคม

วันจันทร์ – อาทิตย์ (เปิดทุกวันไม่มีวันหยุด) เวลา 11.00 – 16.30 น.

(ปรับเวลาปิดบริการ ตั้งแต่วันที่ 25 เม.ย. 64 เป็นต้นไป เนื่องจากสถานการณ์ COVID-19 จนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลง)

*เฉพาะบุคคลธรรมดาของตนเองและมอบอำนาจ / เครดิตสกอริ่ง (บุคคลธรรมดา) / ชาวต่างชาติ


หยุดให้บริการชั่วคราววันเสาร์และอาทิตย์ (ภายในห้างสรรพสินค้า) ตั้งแต่วันที่ 17 เม.ย. 64 เป็นต้นไป เนื่องจากสถานการณ์ COVID-19 จนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลง)

วันเสาร์และอาทิตย์ เวลา 11.00-18.00 น. (ภายในห้างสรรพสินค้า)

6 CITI (เดอะมอลล์ บางกะปิ) (หยุดให้บริการชั่วคราว ตั้งแต่วันที่ 17 เม.ย. 64 เป็นต้นไป เนื่องจากสถานการณ์ COVID-19 จนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลง)

    (เฉพาะวันเสาร์-อาทิตย์ เวลา 11.00-18.00 น.) 

7 UOB (ห้างเซ็นทรัลพลาซา เวสต์เกต บางใหญ่) (หยุดให้บริการชั่วคราว ตั้งแต่วันที่ 17 เม.ย. 64 เป็นต้นไป เนื่องจากสถานการณ์ COVID-19 จนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลง)

    (เฉพาะวันเสาร์-อาทิตย์ เวลา 11.00-18.00 น.) 

*บุคคลธรรมดาของตนเอง

 

ขั้นตอนการตรวจเครดิตบูโร

ตามพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจข้อมูลเครดิต พ.ศ.2545 มาตรา 25 เพื่อประโยชน์ในการคุ้มครองให้ความเป็นธรรมแก่เจ้าของข้อมูลให้เจ้าของข้อมูล มีสิทธิที่จะตรวจสอบข้อมูลของตน โดยบริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด มีความยินดีที่ให้ท่านตรวจสอบข้อมูล ดังนี้

ณ ที่ทำการบริษัท (ศูนย์ตรวจเครดิตบูโร) มีขั้นตอนดังนี้

1. เจ้าของข้อมูลมาติดต่อด้วยตนเอง แสดงเอกสารหลักฐาน ดังนี้

กรณีบุคคลธรรมดา

  • บัตรประจำตัวประชาชน หรือหนังสือเดินทาง หรือบัตรประจำตัวบุคคลต่างด้าวตัวจริงนำมาแสดง

กรณีนิติบุคคล

  • สำเนาหนังสือรับรองของนิติบุคคล ที่รับรองไว้ไม่เกิน 3 เดือน และลงนามรับรองความถูกต้องโดยกรรมการผู้มีอำนาจ
  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือสำเนาหนังสือเดินทางของกรรมการผู้มีอำนาจ และลงนามรับรองความถูกต้อง พร้อมตัวจริงนำมาแสดง
  • ตราประทับของนิติบุคคล (ถ้ามี) เพื่อใช้ประกอบการยื่นขอคำขอตรวจสอบข้อมูลเครดิต

2. เจ้าของข้อมูลมอบอำนาจให้บุคคลอื่นมาดำเนินการแทน แสดงเอกสารหลักฐาน ดังนี้

กรณีบุคคลธรรมดา

  • หนังสือมอบอำนาจบุคคลธรรมดา กรอกรายละเอียดและลงนามให้สมบูรณ์ครบถ้วน
  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบอำนาจ และลงนามรับรองความถูกต้อง พร้อมตัวจริงมาแสดง
  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ และลงนามรับรองความถูกต้อง พร้อมตัวจริงมาแสดง

กรณีนิติบุคคล

  • หนังสือมอบอำนาจนิติบุคคล กรอกรายละเอียดและลงนามให้สมบูรณ์ครบถ้วน
  • สำเนาหนังสือรับรองของนิติบุคคล ที่รับรองไว้ไม้เกิน 3 เดือน และลงนามรับรองความถูกต้องโดยกรรมการผู้มีอำนาจประทับตราของนิติบุคคล (ถ้ามี)
  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือสำเนาหนังสือเดินทางของกรรมการผู้มีอำนาจลงนาม และลงนามรับรองความถูกต้องพร้อมตัวจริงนำมาแสดง
  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือสำเนาหนังสือเดินทางของผู้รับมอบอำนาจ และลงนามรับรองความถูกต้องพร้อมตัวจริงนำมาแสดง

*** ยื่นเอกสารในข้อ 1 และชำระค่าธรรมเนียมในการตรวจสอบข้อมูลเครติดต่อเจ้าหน้าที่ของบริษัท
*** เจ้าของข้อมูลสามารถขอรับรายงานภายในวันยื่นคำขอ หรือยื่นความจำนงให้จัดส่งรายงานทางไปรษณีย์ลงทะเบียน (กรณีให้จัดส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียน ฉบับละ 20 บาท)

ตรวจเครดิตบูโร ผ่านโมบายแอปพลิเคชั่น

ตรวจเครดิตบูโรผ่าน โมบายแอปพลิเคชั่น

คุณสามารถการยื่นคำรายงานเครดิตบูโรได้ผ่านระบบ Mobile Banking ของธนาคารต่างๆ ดังนี้

ธนาคารกรุงไทย
คลิกเพื่ออ่านวิธีขอรายงานเครดิตบูโรผ่าน Krungthai Next
ttb touch ธนาคารทีทีบี
คลิกเพื่ออ่านวิธีขอรายงานเครดิตบูโรผ่าน ttb touch
KKP e-Banking ธนาคารเกียรตินาคิน
คลิกเพื่ออ่านวิธีขอรายงานเครดิตบูโรผ่าน KKP e-Banking

 

ตรวจเครดิตบูโร ในต่างจังหวัด

อยู่ต่างจังหวัด จะตรวจเครดิตบูโรที่ไหนได้บ้าง? หรือมีวิธีตรวจอย่างไรได้บ้าง?

ไม่ว่าคุณจะอยู่ที่ใด จังหวัดใดในประเทศไทย ก็สามารถตรวจเครดิตบูโรได้ง่ายๆ ทั่วประเทศ ลองหาช่องทางที่เหมาะ และสะดวกกับคุณ

ช่องทางที่ 1 : ตรวจเครดิตบูโร ผ่าน Mobile Banking

เพียงคุณมี Application Mobile Banking ในโทรศัพท์มือถือของคุณ แม้จะอยู่ที่ใดในประเทศไทย คุณก็สามารถขอรายงานเครดิตบูโรของคุณได้ด้วยปลายนิ้ว โดยธนาคารจะส่งรายงานเครดิตบูโรให้ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ หรือผ่านทางไปรษณีย์

>>อ่านวิธีตรวจเครดิตบูโรผ่าน Mobile Banking ได้ที่นี่<<

ช่องทางที่ 2 : ตรวจเครดิตบูโร ผ่าน Internet Banking

หากคุณใช้ Internet Banking ผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือโทรศัพท์มือถือ คุณก็สามารถขอรายงานเครดิตบูโรได้จากทั่วประเทศ

>>อ่านวิธีตรวจเครดิตบูโรผ่าน Internet Banking ได้ที่นี่<<

ช่องทางที่ 3 : ตรวจเครดิตบูโร ผ่านที่ทำการไปรษณีย์ 291 สาขา ทั่วประเทศ

คุณสามารถติดต่อรับคำขอตรวจเครดิตบูโร ณ ที่ทำการไปรษณีย์ ใช้เพียงบัตรประชาชนเท่านั้น เพื่อรับผลการตรวจเครดิตบูโรเต็มรูปแบบ ค่าบริการ 150 บาท หากต้องการตรวจคำขอแบบสรุปรอรับได้ทันที ฟรี! ค่าบริการ

>>ตรวจสอบสาขาที่ทำการไปรษณีย์ที่ให้บริการตรวจเครดิตบูโรได้ที่นี่<<

ช่องทางที่ 4 : ตรวจเครดิตบูโร ผ่านเคาน์เตอร์ธนาคาร

คุณสามารถยื่นคำขอรายงานเครดิตบูโรได้ที่ ธนาคาร สาขาใกล้บ้านคุณทั่วประเทศ

  • ธนาคารกรุงไทย
  • ธนาคารอาคารสงเคราะห์
  • ธนาคารกรุงศรีอยุธยา
  • ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร

>>อ่านวิธีตรวจเครดิตบูโรผ่านผ่านเคาน์เตอร์ธนาคาร ได้ที่นี่<<

ช่องทางที่ 5 : ตรวจเครดิตบูโร ผ่านตู้ ATM

คุณสามารถยื่นคำขอรายงานเครดิตบูโรได้ที่ตู้ ATM ได้ทั่วประเทศ

  • ธนาคารกรุงไทย
  • ธนาคารไทยพาณิชย์

>>อ่านวิธีตรวจเครดิตบูโรผ่านตู้ ATM ได้ที่นี่<<

วันที่ 12 มีนาคม 2564 การแก้ไขกฎหมาย “ดอกเบี้ยผิดนัด” มาตรการคุ้มครองป้องกันลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบ

วันที่ 12 มีนาคม 2564
การแก้ไขกฎหมาย “ดอกเบี้ยผิดนัด”
มาตรการคุ้มครองป้องกันลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบ

รายการวิทยุ รู้รักสามัคคี ทำความดีเพื่อแผ่นดิน
ทุกวันศุกร์ เวลา 12.30-13.00 น. FM 103 MHz

วันที่ 5 มีนาคม 2564 วัคซีนสุขภาพทางการเงิน “คิดก่อนใช้”

วันที่ 5 มีนาคม 2564
วัคซีนสุขภาพทางการเงิน “คิดก่อนใช้”
เพื่อวางแผนการเงินของตนเองในอนาคต

รายการวิทยุ รู้รักสามัคคี ทำความดีเพื่อแผ่นดิน
ทุกวันศุกร์ เวลา 12.30-13.00 น. FM 103 MHz

วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2564 มหกรรมไกล่เกลี่ยหนี้ บัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล

วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2564
มหกรรมไกล่เกลี่ยหนี้ บัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล

รายการวิทยุ รู้รักสามัคคี ทำความดีเพื่อแผ่นดิน
ทุกวันศุกร์ เวลา 12.30-13.00 น. FM 103 MHz

 

วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2564 มหกรรมไกล่เกลี่ยหนี้ “มีหนี้ต้องแก้ไข เริ่มต้นใหม่อย่างยั่งยืน”

รายการวิทยุ รู้รักสามัคคี ทำความดีเพื่อแผ่นดิน
ทุกวันศุกร์ เวลา 12.30-13.00 น. FM 103 MHz

เศรษฐกิจคิดง่ายๆ (ดิจิทัล) : เรื่องคนกู้หนี้รถ คนที่จะรับเคราะห์ คนเชียร์ที่จัดไฟแนนซ์ และสถาบันที่ให้​กู้​ สรรพนิสัยในวงการกู้ยืม : วันจันทร์ที่ 15 มีนาคม 2564

เรื่องคนกู้หนี้รถ คนที่จะรับเคราะห์ คนเชียร์ที่จัดไฟแนนซ์ และสถาบันที่ให้​กู้​ สรรพนิสัยในวงการกู้ยืม

ตามปกติทุกวันอาทิตย์​ ผู้เขียนจะคอยอ่านข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ เพื่อรับรู้ถึงกระแสของความรู้ ความรู้สึกของผู้คนเกี่ยวกับการขอกู้​ ขอสินเชื่อ​ ขอยืมเงิน​ ในเวลานี้​ ผู้เขียนได้มาพบกับข้อความในห้องพันทิป​ ที่มีผู้นำมาลงไว้ขอความเห็นเพื่อน ๆ สมาชิกเมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2564 เวลา 13:36:50 น. ​ความว่า

อยากสอบถามพี่ ๆ ว่ามีความเป็นไปได้ไหมคะในกรณีนี้… 

1.ให้แม่เป็นผู้ซื้อ อายุ 57 ปี อาชีพค้าขายมีหน้าร้านที่ขายประจำ รายได้รายวันเฉลี่ยแล้ว 1,500 บาท 

ผู้เขียน​ : ซึ่งก็หมายถึงคุณแม่ต้องมาเป็นลูกหนี้ตอนอายุ​ 57​ ปี โดยเอารายได้วันละ 1,500 บาท ยังไม่หักต้นทุนมาแสดงความสามารถในการชำระหนี้แทนคุณลูก ผู้เขียนงงงันไปชั่วขณะว่าเดี๋ยวนี้เราทดแทนพระคุณแม่ด้วยการให้ท่านไปเป็นหนี้รถยนต์​แทนเราแล้วหรือ

2.ราคารถยนต์ 729,000 บาท ดาวน์ 109,350 บาท หรือ 15% ไฟแนนซ์บังคับทำประกัน (ผู้เขียน​ : ก็ไหนคนที่กำกับดูแลบอกว่าการประกันเป็นทางเลือก)​ รวมราคาสุทธิ (Net) ต้องจ่ายค่างวดต่อเดือน 10,5XX บาท 84 เดือน 

3.ลูก คือตัวเรา เป็นผู้กู้ร่วม โดยมีรายได้จากเงินเดือนบริษัทที่ทำงานมา 5 ปี เดือนละ 12,800 บาท และมีรายได้จากการขายของอื่น ๆ ด้วย เดินบัญชี เงินเข้าประจำทุกวันที่ 26-1 ประมาณ 3 หมื่นบาทต่อเดือน 

ผู้เขียน​ : ถ้าเราเอาเงินค่างวดผ่อนรถ​ 10,5xx บาท มาเทียบกับเงินเดือน​ 12,800 บาท​ ก็จะมีคำตอบว่า​ ได้รถยนต์มาขับแต่มีเงิน​เหลือ​ 2,300 บาทต่อเดือน​ เอาเงินก้อนนี้ไปบวกกับรายได้อื่นตามที่แจ้ง​ประมาณ 17,000​ บาทเพราะเหตุว่ามีรายได้รวม​ 30,000 บาทก็จะพบว่ามีเงินหลังหักหนี้รถ​ยนต์ประมาณ​ 19,300 บาท​ หักค่ากินตัวเองขั้นต่ำ​วันละ​ 500บาท (รวมค่าน้ำมันรถ) จะเหลือเงิน​ประมาณ​ 4,300 บาท​ ซึ่งเดาว่าจะมีหนี้บัตรเครดิต หนี้สินเชื่อส่วนบุคคล หนี้ผ่อนของศูนย์​ % หนี้ค่าอินเทอร์เน็ต และค่าโทรศัพท์​อีกไหม ท่านผู้อ่านคิดตามผู้เขียนมานะครับ​ แล้วถ้ามีค่าเช่าที่พักอีกจะเป็นอย่างไร​ พอหรือไม่​ กู้ครั้งนี้หาเรื่องใส่ตัวหรือเปล่า

4.ทางคนขายและไฟแนนซ์แนะนำให้ยื่นขอค้ำประกันจาก บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) ร่วมด้วย (ยื่นเอกสารพร้อมกับกู้ซื้อรถยนต์แล้ว) 

ผู้เขียน​ : ลูกหนี้รายย่อยที่​ บสย. จะค้ำต้องเป็​นวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) เป็นคนค้าขายใช่หรือไม่​ แต่คุณลูกทำงานกินเงินเดือน​ เลยต้องเอาคุณแม่มาออกหน้าเป็นคนค้าขายมากู้รถยนต์​ เราเริ่มจากการโกหกตัวเอง มีคนปั้นเรื่องจนจบ​ เรามีความซื่อสัตย์​ต่ออาชีพ​หรือไม่​ ต้องปั่น​เรื่อง​ แต่งเรื่อง​ เพื่อให้คนกู้กู้ให้ได้ว่างั้นเถอะ… จ่ายคืนได้ไม่ได้ค่อยไปแก้ปัญหากัน

5.รอผลอนุมัติอยู่ค่ะ อยากสอบถามความเป็นไปได้ว่ามีหรือไม่มีคะ โอกาสที่จะผ่านมีมากหรือน้อยแค่ไหน ตอนแรกก็ยังเฉย ๆ นะคะ แต่พอยื่นเอกสารไฟแนนซ์ (…มีการระบุชื่อ..) ไป ใจมันหวั่นทุกนาที คือลุ้นคำว่าผ่านหรือไม่ผ่านมากกว่ารถยนต์ค่ะตอนนี้ 

ผู้เขียน​ : ไม่รู้จะบรรยายออกมาเป็นคำพูดได้อย่างไร​ เอาชื่อมารดามายื่น​กู้​ เอารายได้มารดามาแปลงเป็นความสามารถในการชำระหนี้ของตนเอง​ คนปล่อยกู้สร้างเรื่องให้เสร็จ​ ยื่นให้ บสย. ค้ำประกันหนี้ท��

6.เหตุผลที่ให้แม่คือผู้ยื่นกู้คือเราติดติดแบล็กลิสต์นะคะ (ผู้เขียน​ : คือมีประวัติค้างชำระหรือปัจจุบันค้างชำระอยู่) ​ทางคนขายบอกว่าเรากู้ร่วมได้โดยที่จะหาธนาคารที่ง่ายที่สุดและเขาไม่เช็กเครดิตผู้กู้ร่วม ตรงนี้ไม่มั่นใจค่ะ (ผู้เขียน​ : ท่าน ๆ ที่เป็นผู้กำกับดูแลที่สถิตบนหอคอยงาช้างข้าง ๆ แม่น้ำเจ้าพระยา​ ท่านจะไม่เดินลงมาดูหน่อยเหรอครับว่า​ การให้กู้ที่เป็นธรรม การเงินที่สร้างเกราะกำบัง การให้ความรู้เรื่องทางการเงินที่ท่านพร่ำบ่นว่าคนไทยต้องมี market conduct ที่ต้องปฏิบัติ หนี้ครัวเรือนไทยที่เพิ่มอย่างไม่เหมาะสมมาหลายปี วันนี้ท่านไม่ต้องหาตัวอย่างแล้ว​ละครับ​ เรื่องจริงผ่านจอมือถือมาให้ท่านได้เห็นแล้วจะจะ​ ท่านจะไม่คิดอะไรเลยบ้างหรือ)​ เพราะวันที่เซ็นเอกสารเขามีหนังสือขอตรวจสอบเครดิตบูโรด้วย ผู้เขียน​ : ในความเป็นจริง​ สถาบันการเงินผู้พิจารณาสินเชื่อ​ เขาต้องดูข้อมูลเครดิตหรือข้อมูล​เครดิต​บูโร​ของลูกหนี้ที่กู้ร่วมทั้งสองท่านครับ คือคุณแม่ผู้รับเคราะห์ คุณลูกที่กตัญญู​ซึ่งมอบหนี้ทดแทนคุณ คนขายที่จัดการคือผู้สร้างสรรค์​ความวุ่นวายในชีวิตคนเหตุเพราะต้องการได้เป้าได้ผลงาน​ บาปเคราะห์ที่ตั้งเค้ารางมาไม่มีใครสน ท้ายสุดเราก็จะมีหนี้ครัวเรือนเพิ่มอีกเกือบล้านบาท… กับลูกหนี้เพิ่มสองท่าน

โควิด-19 มา… มันได้ล้างเซลล์​ร่างกายส่วนที่รับผิดชอบที่เรียกว่า​ “ความผิดชอบชั่วดี” ได้ล้างจริยธรรมที่เรียกว่า​ “การให้กู้อย่างมีความรับผิดชอบ” ได้ล้าง​ “การสอดส่องดูแลติดตามและป้องปรามความประพฤติที่ไม่พึงประสงค์อันจะก่อให้เกิดปัญหาหนี้ครัวเรือนไทย​ ที่เราติดกับดักมากว่า 5 ปี” 

ทุกท่านที่เกี่ยวข้องครับ​ เอามือขวาวางไว้ที่หน้าอกข้างซ้าย​ ลองสัมผัสสิ่งเล็ก ๆ ที่เรียกว่าหัวใจที่มันอยู่ต่ำกว่าผิวหน้าอกลงไปสักสองนิ้ว… แล้วถามตัวเองว่า​ มันเป็นเรื่องที่ถูกไหมในธุรกรรมนี้​ หรือมันเป็นเรื่องที่ป้องกันไม่ได้​ จัดการไม่ได้​ เรากำลังเตะกระป๋องปัญหา (ที่เราควรมองเห็น)​ ไปบนถนนไปเรื่อย ๆ โดยไม่อินังขังขอบกับสิ่งเล็ก ๆ น้อย ๆในชีวิตผู้คนที่จะติดกับดักหนี้เลยหรือ…

ขอบคุณที่ติดตามอ่านนะครับ

 

เศรษฐกิจคิดง่ายๆ (ดิจิทัล) : ไม่ต้องตกใจกับ​ เปอร์เซ็นต์หนี้เสียของสินเชื่อที่ช่วยคนเข้าถึงได้ เพราะมันเป็นเช่นนั้นเอง : วันจันทร์ที่ 8 มีนาคม 2564

ไม่ต้องตกใจกับ​ เปอร์เซ็นต์หนี้เสียของสินเชื่อที่ช่วยคนเข้าถึงได้ เพราะมันเป็นเช่นนั้นเอง

เมื่อผู้เขียนได้อ่านข่าวจากการเปิดเผยของท่านรักษาราชการแทนรองปลัดกระทรวงการคลัง ด้านบริหาร ที่ได้ระบุในหัวข้อความคืบหน้าการประกอบธุรกิจพิโกไฟแนนซ์ ที่มีเป้าหมายช่วยให้ประชาชนสามารถเข้าถึงระบบแหล่งเงินกู้ได้มากขึ้นว่า 

1. ณ สิ้นเดือนมกราคม 2564 มีผู้ได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังให้ประกอบธุรกิจสินเชื่อรายย่อยระดับจังหวัด ภายใต้การกำกับ (สินเชื่อพิโกไฟแนนซ์) ทั้งหมด 1,008 ราย แต่เปิดดำเนินการแล้วรวม 935 ราย ใน 75 จังหวัด โดยเป็นผู้ประกอบการในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมากสุด 558 ราย น้อยสุดคือ ภาคใต้ 49 ราย

1.1 สินเชื่อพิโกไฟแนนซ์ (แบบปกติ) มีจำนวนผู้ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจสะสมสุทธิ 868 ราย ใน 75 จังหวัด แต่มีที่เปิดดำเนินการแล้ว 818 ราย 

1.2 สินเชื่อประเภทพิโกพลัส มีผู้ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจสะสมสุทธิทั้งสิ้น 140 ราย ใน 45 จังหวัด แต่มีผู้เปิดดำเนินการแล้ว 117 ราย ใน 37 จังหวัด

2. วงเงินสินเชื่อตั้งแต่เดือนธันวาคม 2559 ที่กระทรวงการคลังเปิดให้ประกอบธุรกิจพิโกไฟแนนซ์จนถึงสิ้นเดือนธันวาคม 2563 มีการอนุมัติแล้ว 413,622 บัญชี วงเงิน 10,073.78 ล้านบาท หรือเฉลี่ย 24,355.04 บาทต่อบัญชี 

3. ล่าสุดสิ้นเดือนธันวาคม 2563 มียอดสินเชื่อคงค้างทั้งสิ้น 173,235 บัญชีคิดเป็นจำนวนเงิน 3,841.12 ล้านบาท

4. สินเชื่อที่ค้างชำระ 1-3 เดือน (ผู้เขียน: ถือว่ามีปัญหาการค้างชำระแต่ยังไม่เป็นหนี้เสีย)​ สะสมรวมทั้งสิ้น 24,487 บัญชี หรือคิดเป็นจำนวนเงินสะสม 572.38 ล้านบาท หรือ 14.90% ของยอดสินเชื่อคงค้างสะสม

5.สินเชื่อที่ค้างชำระที่เกินกว่า 3 เดือน (ผู้เขียน:ถือว่าเป็นหนี้เสียไปแล้วหรือเป็นหนี้NPL) สะสมรวม 28,526 บัญชี หรือคิดเป็นจำนวนเงินสะสมรวม 653.94 ล้านบาท หรือ 17.02% ของยอดสินเชื่อคงค้างสะสม

 หลายท่านอาจจะตกใจว่า​ปล่อยกู้ไป​ 100 บาท เป็นหนี้เสีย​ 17 บาท​และเป็นหนี้สีเทา ๆ อีกประมาณ​ 15 บาทรวมกันคือเป็นหนี้ที่มีความเสี่ยง​ 32 บาท​จากที่ปล่อยกู้ไป​ 100 บาท​ภายใต้การคิดดอกเบี้ยไม่เกิน​ 36% ต่อปี​ ตามเงื่อนไขของใบอนุญาต​ที่ออกให้​ 

 สิ่งที่เรา ๆ ท่าน ๆ ต้องเข้าใจก็คือ

1. กลุ่มลูกค้าที่กู้เงินส่วนหนึ่งประสบปัญหาจากการกู้นอกระบบประเภทดอกเบี้ย​ 2% ต่อวัน หรือเงินกู้ส่งดอกรายวัน​ ดังนั้นการให้กู้ตามใบอนุญาต​นี้จึงเข้ามาช่วยได้ในระดับหนึ่ง

2. กลุ่มลูกค้าที่กู้ นับเป็นกลุ่มที่เข้าไม่ถึงบริการสินเชื่อในระบบเหตุเพราะ​ แหล่งที่มาของรายได้อาจไม่แน่นอน​ ไม่มีเอกสารแสดงที่มาของรายได้เช่นสเตทเม้นท์ชัดเจน​ ไม่มีหลักประกัน​ ดังนั้นการให้กู้นี้จึงเข้ามาแก้ไขจุดอ่อนนี้

3. กลุ่มสถาบันที่เข้ามาให้บริการในเรื่องนี้ก็รู้อยู่แล้วว่าต้องเสี่ยงแลกกับรายได้ดอกเบี้ยที่คิดได้ไม่เกิน​ 36% ดังนั้นการลดต้นทุนในการบริหารจัดการจึงเป็นสิ่งจำเป็น การบริหารความเสี่ยงในการติดตามทวงถามหนี้ในกรอบของกฎหมายที่เป็นธรรมต้องดำเนินการไป​ 

 ผู้เขียนไม่ได้แปลกใจ​ ตกใจกับตัวเลขหนี้เสีย​ 17% เลย​ เพราะในสถานการณ์​แบบนี้​การค้าขายที่มีเงื่อนไขทางสุขภาพอนามัย​ที่ทำได้ไม่เต็มที่​ ถือว่าทำได้ดีพอประมาณเมื่อเทียบกับความเสี่ยงของลูกหนี้กลุ่มนี้ที่ไม่มีประกัน สินเชื่อในระบบจากฐานข้อมูลในเครดิตบูโร​ หากเรานับเอาว่าบัญชีสินเชื่อประเภทใดก็ตามถ้ามีการค้างเกิน​ 90 วันโดยไม่ต้องไปสนใจว่าจะสำรองเต็มแล้วหรือไม่แบบคำนิยามระดับอ่อนที่รายงานกันเพื่อให้สบายใจแล้วละก็​ เราก็จะพบว่า​ สินเชื่อจากการใช้บัตรเครดิตรวมกันทั้งระบบห้าแสนกว่าล้านบาทมันก็มีหนี้เสียหรือหนี้​ NPL ประมาณ​ 13% อยู่แล้ว​ อีกทั้งมันยังเป็นสินเชื่อไม่มีหลักประกันเช่นกันครับ​ สินเชื่อส่วนบุคคลที่กู้ไปเป็นก้อน​ ผ่อนกันเป็นงวดก็อาการไม่ต่างกันเท่าใดนัก​ นี่ขนาดว่ามีโครงการให้ความช่วยเหลือมาระยะหนึ่งแล้วนะครับ​ ใจร่ม ๆ กันนะครับ​ เราได้ผ่านการระบาดรอบแรก การระบาดรอบใหม่มาแล้ว​ ต้องตั้งหลักให้ดี​ ไม่ไหวให้รีบปรับโครงสร้างหนี้​ ถูกฟ้องให้ไปไกล่เกลี่ยหนี้​ ต้องการข้อมูลโทรหา​ 1213​ ศูนย์​คุ้มครอง​ผู้ใช้​บริการ​ทางการเงิน​ ธนาคารแห่งประเทศไทย​ครับ​ วัคซีนมาแล้วก็จริง​ หน้ากากยังต้องใส่ ล้างมือให้บ่อยยังต้องทำ​ อยู่ห่าง ๆ กันทางกายแต่ใจคิดถึงกันเข้าไว้ ไม่มีใครรู้ว่าระบาดรอบสามจะมาอีกหรือไม่​ ได้แต่ภาวนาว่าร้อนขนาดแสบผิวกันทุกวันนี้​ ไวรัสน่าจะท้อไปบ้างไม่มากก็น้อย

 ขอบคุณ​ทุกท่านที่ติดตามครับ

 

เรื่องน่าอ่าน