Blog Page 7

ตรวจเครดิตบูโร (แบบสรุป) ฟรี ผ่านแอป “ทางรัฐ”

“ทางรัฐ” เป็นซูเปอร์แอปของภาครัฐที่พัฒนาขึ้นเพื่อเชื่อมโยงบริการจากหน่วยงานต่างๆ ให้ประชาชนสามารถติดต่อราชการผ่านช่องทางออนไลน์ได้ในแอปเดียว พัฒนาโดยสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) (สพร.) เป็นบริการที่เกิดจากความร่วมมือจากหลายหน่วยงาน ที่รวบรวมบริการของภาครัฐที่สำคัญมาไว้อยู่ในแอปพลิเคชันเดียว เพื่อตอบไลฟ์สไตล์ของประชาชนยุคดิจิทัล ที่ต้องการยกระดับการให้บริการประชาชนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นสามารถนำข้อมูล และบริการต่าง ๆ มาให้บริการผ่านแอปพลิเคชันทางรัฐได้ด้วย ปัจจุบันมีบริการเด่นที่พร้อมให้บริการประชาชน เช่น ตรวจข้อมูลเครดิตบูโร (แบบสรุป) ฟรี สิทธิรักษาพยาบาล ประกันสังคม ค่าน้ำค่าไฟ เป็นต้น  รายละเอียดการใช้งาน แอปพลิเคชัน “ทางรัฐ” ดูได้ที่ https://www.dga.or.th/document-sharing/dga-channel/108504/

รายงานเครดิตบูโร (แบบสรุป) เป็นภาพรวมข้อมูลหนี้เบื้องต้น ประกอบด้วย จำนวนบัญชีสินเชื่อ วงเงินสินเชื่อรวม ยอดหนี้คงเหลือรวม ประเภทบัญชีสินเชื่อต่าง ๆ เช่น บัตรเครดิต สินเชื่อบุคคล บ้าน เช่าซื้อ และยอดหนี้คงเหลือ (รายงานข้อมูลเครดิตแบบสรุป เป็นข้อมูลเบื้องต้นสำหรับเจ้าของข้อมูล เพื่อตรวจสอบจำนวนบัญชีสินเชื่อ และยอดหนี้ที่ถูกจัดเก็บไว้ในเครดิตบูโรเท่านั้น ไม่สามารถนำไปอ้างอิงต่อบุคคลใดได้)

ทั้งนี้ กรณีที่ท่านตรวจข้อมูลเครดิตของตนเองผ่านช่องทางต่าง ๆ ที่เครดิตบูโรให้บริการนั้น จะตรวจกี่ครั้งก็ไม่มีผลต่อการพิจารณาขอสินเชื่อของธนาคารหรือสถาบันการเงินแต่อย่างใด เนื่องจากเป็นสิทธิพื้นฐานในการเข้าถึงข้อมูลเครดิตของตนเอง

 

เครดิตสกอริ่ง (คะแนนเครดิต) สำหรับ SMEs นิติบุคคล

เครดิตสกอริ่งสำหรับ SMEs นิติบุคคล เป็นเครื่องมือในการจัดลำดับตามความเสี่ยงความเป็นไปได้ ในการชำระหนี้คืนของนิติบุคคลภายใน 24 เดือนข้างหน้า โดยใช้ข้อมูลเครดิตและข้อมูลงบการเงิน

SMEs นิติบุคคลที่ใช้ในการคำนวณเครดิตสกอริ่งสำหรับ SMEs นิติบุคคลได้
ต้องมีคุณสมบัติ คือ เป็นนิติบุคคลที่จดทะเบียนในรูปแบบบริษัท และ
นิติบุคคลนั้นมีทุนจดทะเบียนที่ชำระแล้ว น้อยกว่าหรือเท่ากับ 200 ล้านบาท


ครบทุกข้อมูลเรื่อง เครดิตสกอริ่ง (คะแนนเครดิต) สำหรับ SMEs นิติบุคคล ได้ดังนี้

  1. เครดิตสกอริ่ง (คะแนนเครดิต) สำหรับบุคคลธรรมดา/SMEs นิติบุคคล คืออะไร

2. เครดิตสกอริ่ง สำหรับ SMEs นิติบุคคล คืออะไร

3. เครดิตสกอริ่ง สำหรับ SMEs นิติบุคคล ต่างจาก  เครดิตสกอริ่ง สำหรับบุคคลธรรมดาทั่วไปอย่างไร  

4. ผู้ที่พัฒนาเครดิตสกอริ่ง สำหรับ SMEs นิติบุคคล คือใคร

6. ปัจจัยที่มีผลต่อเครดิตสกอริ่ง สำหรับ SMEs นิติบุคคล มีอะไรบ้าง

5. วิธีการอ่านค่าเครดิตสกอริ่ง สำหรับ SMEs นิติบุคคล อย่างไร ในด้านของระดับคะแนน (Score Grade) ความน่าจะเป็นในการชำระหนี้คืน (ODDs) และคำอธิบายประกอบการให้คะแนนเครดิต (Reason Codes)

6. ทำไม SMEs นิติบุคคล ต้องมีเครดิต  (เข้าถึงแหล่งเงินทุน อัตราดอกเบี้ยต่ำ เจรจาต่อรองดีขึ้น สร้างความน่าเชื่อถือ เพิ่มความสามารถในการแข่งขัน ประเมินความเสี่ยง)

7. มีเครดิตสกอริ่งดีๆ จะได้ประโยชน์อย่างไร

8. ทำอย่างไร…ถึงจะได้คะแนนเครดิตดีๆ

9. สิทธิของคุณกับเครดิตสกอริ่ง ส่วนของ SMEs นิติบุคคล หรือกรณีพบว่าข้อมูลไม่ถูกต้องตามข้อเท็จจริง 

10. ขอบเขตการให้คำปรึกษา

11. ตัวอย่างรายงานเครดิตสกอริ่งสำหรับ SMEs นิติบุคคล

12. ยื่นคำขอตรวจเครดิตสกอริ่ง สำหรับ SMEs นิติบุคคล ได้ทางไหนบ้าง

เครดิตสกอริ่ง (คะแนนเครดิต) สำหรับ SMEs นิติบุคคล

 

ตรวจเครดิตบูโร ฟรี! ได้ที่บูธเครดิตบูโรในงาน “COMMART MEGATECH” ไบเทค บางนา Hall 98-99 วันที่ 11-14 กรกฎาคม 2567

ผ่านมาครึ่งปี แวะมาเช็กสุขภาพการเงินกันนะคะ

ตรวจเครดิตบูโร ฟรี! ได้ที่บูธเครดิตบูโรในงาน “COMMART MEGATECH” ไบเทค บางนา Hall 98-99 วันที่ 11-14 กรกฎาคม 2567 เวลา 10.00 – 20.00 น.

ตรวจเครดิตบูโรด้วยตนเอง ผ่านแท็บเล็ต (Tablet) และตู้ตรวจเครดิตบูโรด้วยตนเอง (ตู้ตีออส) รอรับรายงานทางอีเมลได้ทันที *เฉพาะตรวจข้อมูลเครดิตของตนเองเท่านั้น

เตรียมให้พร้อมก่อนใช้บริการตรวจข้อมูลเครดิต
○ บัตรประชาชนของตนเอง
○ เบอร์โทรศัพท์มือถือของตนเอง (เพื่อรับรหัส OTP)
○ อีเมลของตนเอง (สำหรับจัดส่งรายงานรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ NCB e-Credit Report)

เช็กสุขภาพการเงิน…ตรวจเครดิตบูโร ฟรี ในงาน Thailand Smart Money 2024 จ.ระยอง ครั้งที่ 7 วันที่ 28-30 มิถุนายน 2567

เช็กสุขภาพการเงิน…ตรวจเครดิตบูโร ฟรี ผ่าน Tablet (แท็บเล็ต) รับรายงานรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (NCB e-Credit Report) ทางอีเมลได้ทันที

ในงาน Thailand Smart Money 2024 จ.ระยอง ครั้งที่ 7 วันที่ 28-30 มิถุนายน 2567 ชั้น 1 ศูนย์การค้าเซ็นทรัล ระยอง ที่บูธเครดิตบูโร ให้บริการเวลา 10.00-19.00 น.

เตรียมให้พร้อมก่อนใช้บริการ
-เตรียมบัตรประชาชนของตนเอง
-เบอร์โทรศัพท์มือถือของตนเอง (เพื่อรับรหัส OTP)
-อีเมลของตนเอง (สำหรับจัดส่งรายงานรูปแบบ NCB e-Credit Report)

ตรวจเครดิตบูโร ฟรี! โครงการเคหะชุมชนและบริการชุมชน จังหวัดชลบุรี (ห้วยกะปิ) ส่วนที่ 1-3 วันที่ 26-27 มิถุนายน 2567

ตรวจเครดิตบูโร ผ่าน Tablet (แท็บเล็ต) ฟรี! โครงการเคหะชุมชนและบริการชุมชน จังหวัดชลบุรี (ห้วยกะปิ) ส่วนที่ 1-3 วันที่ 26-27 มิถุนายน 2567 เวลา 8.30-16.30 น.
บริเวณที่ตั้งโครงการ ถนนสุขุมวิท ซอยกระเสริม 1 ต.ห้วยกะปิ อ.เมือง จ.ชลบุรี

รับรายงานรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (NCB e-Credit Report) ทางอีเมลได้ทันที

เตรียมให้พร้อมก่อนใช้บริการ
-เตรียมบัตรประชาชนของตนเอง
-เบอร์โทรศัพท์มือถือของตนเอง (เพื่อรับรหัส OTP)
-อีเมลของตนเอง (สำหรับจัดส่งรายงานรูปแบบ NCB e-Credit Report)

เช็กสุขภาพการเงิน…ตรวจเครดิตบูโร ฟรี ในงานมหกรรม บ้าน ธอส.เอ็กซ์โป@จ.พิษณุโลก วันที่ 21-23 มิถุนายน 2567 ศูนย์การค้าเซ็นทรัล พิษณุโลก

เช็กสุขภาพการเงิน…ตรวจเครดิตบูโร ฟรี ผ่าน Tablet (แท็บเล็ต)
รับรายงานรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (NCB e-Credit Report) ทางอีเมลได้ทันที
ในงานมหกรรม บ้าน ธอส.เอ็กซ์โป@จ.พิษณุโลก วันที่ 21-23 มิถุนายน 2567 ศูนย์การค้าเซ็นทรัล พิษณุโลก
ที่บูธเครดิตบูโร ให้บริการเวลา 10.00-19.00 น.

เตรียมให้พร้อมก่อนใช้บริการ
-เตรียมบัตรประชาชนของตนเอง
-เบอร์โทรศัพท์มือถือของตนเอง (เพื่อรับรหัส OTP)
-อีเมลของตนเอง (สำหรับจัดส่งรายงานรูปแบบ NCB e-Credit Report)

คอลัมน์เครดิตบูโรคิดเป็นเห็นต่าง : ข้อมูลเครดิตสำคัญอย่างไร : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ฉบับวันศุกร์ 5 กรกฎาคม 2567

ข้อมูลเครดิตสำคัญอย่างไร

บทความวันนี้ ผมขอกล่าวถึงความสำคัญของข้อมูลเครดิต  โดยเครดิตบูโรจะเปรียบเสมือนเป็น “ถังข้อมูลที่บ่งบอกพฤติกรรมในเรื่องการก่อหนี้ การชำระหนี้” ที่ใหญ่ที่สุดของระบบการเงินไทย หากใครก็ตามที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับธุรกรรมสินเชื่อในระบบ ก็สามารถขอตรวจสอบข้อมูลเครดิตเหล่านี้ได้จากเครดิตบูโรครับ

เครดิตบูโรนับได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้างพื้นฐานทางการเงินของประเทศ และมีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจไทย ทั้งสามภาคส่วน ดังนี้ครับ

1.ระบบเศรษฐกิจไทย

 – เป็นสัญญาณเตือนภัยของระบบการเงิน คือ สามารถนำเอาข้อมูลเชิงสถิติมาวิเคราะห์ให้เห็นทิศทางและความเสี่ยงของธุรกรรมสินเชื่อในระบบ 

 – เป็นเครื่องมือในการอ่านสัญญาณเศรษฐกิจของสถาบันต่างๆ เพื่อไปคิดต่อว่าควรต้องออกมาตรการหรือต้องไปทำอะไรในเชิงการบริหารความเสี่ยง

 – เป็น “โครงสร้างพื้นฐาน” ของระบบการเงิน คือ เป็นแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ของระบบสถาบันการเงินในการนำมาใช้บริหารความเสี่ยงด้านการให้สินเชื่อ

“ป้องกันการเกิดความล่มสลายอย่างที่เกิดมาในอดีต หากระบบทุกส่วนตรงนี้ดีมีประสิทธิภาพ เชื่อว่าระบบการเงินจะไม่มีปัญหารุนแรงถึงขั้นต้องไปยุ่งกับการค้ำประกันเงินฝาก เพราะปัญหาจะถูกจัดการตั้งแต่ต้นมือ อีกทั้งก่อนที่เหตุการณ์ต่างๆ จะไปถึงจุดนั้น ต้องผ่านระบบการบริหารความเสี่ยงของสถาบันการเงินที่เข้มงวดเป็นอย่างมาก”

2.สถาบันการเงินในฐานะผู้ให้กู้หรือเจ้าหนี้

 – มีระบบการบริหารความเสี่ยงในการให้กู้ยืม ป้องกันการเกิดหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ ซึ่งอาจส่งผลต่อปัญหาความไม่มั่นคงแก่ระบบสถาบันการเงิน และระบบเศรษฐกิจไทยโดยรวม ผ่านการใช้ข้อมูลเครดิตบูโร

  – ตรวจเช็กอาการของลูกหนี้ เพื่อวิเคราะห์หรือทบทวนสินเชื่อ จึงจำเป็นต้องทราบฐานะทางการเงินและประวัติการชำระหนี้ของผู้กู้อย่างเพียงพอ ว่ามีประวัติการชำระหนี้อย่างไร และมีภาระหนี้อยู่กับสถาบันการเงินอื่นมากน้อยเพียงใดในขณะใดขณะหนึ่ง

3.ผู้กู้หรือลูกหนี้

 – ตรวจเช็กข้อมูลเครดิต หรือตรวจเช็คสุขภาพทางการเงินของตัวเอง เพื่อเตรียมพร้อมวางแผนก่อนจะไปขอกู้

 – ตรวจเช็กประวัติการชำระทุกข้อมูลบัญชีสินเชื่อ หากข้อมูลไม่ถูกต้อง ขอแก้ไขได้

 – มีโอกาสที่จะได้ลดดอกเบี้ยเงินกู้ให้ผู้กู้ที่มีประวัติผ่อนชำระดี

ศึกษารายละเอียดหรือข้อมูลเครดิตบูโรได้ที่ www.ncb.co.th

เรื่องน่าอ่าน