Blog Page 78

ต่างจังหวัด ตรวจเครดิตบูโรที่ไหนได้บ้าง?

อยู่ต่างจังหวัด จะตรวจเครดิตบูโรที่ไหนได้บ้าง? หรือมีวิธีตรวจอย่างไรได้บ้าง?

ไม่ว่าคุณจะอยู่ที่ใด จังหวัดใดในประเทศไทย ก็สามารถตรวจเครดิตบูโรได้ง่ายๆ ทั่วประเทศ ลองหาช่องทางที่เหมาะ และสะดวกกับคุณ

ช่องทางที่ 1 : ตรวจเครดิตบูโร ผ่าน Mobile Banking

เพียงคุณมี Application Mobile Banking ในโทรศัพท์มือถือของคุณ แม้จะอยู่ที่ใดในประเทศไทย คุณก็สามารถขอรายงานเครดิตบูโรของคุณได้ด้วยปลายนิ้ว โดยธนาคารจะส่งรายงานเครดิตบูโรให้ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ หรือผ่านทางไปรษณีย์

>>อ่านวิธีตรวจเครดิตบูโรผ่าน Mobile Banking ได้ที่นี่<<

ช่องทางที่ 2 : ตรวจเครดิตบูโร ผ่าน Internet Banking

หากคุณใช้ Internet Banking ธนาคารกรุงศรี ผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือโทรศัพท์มือถือ คุณก็สามารถขอรายงานเครดิตบูโรได้จากทั่วประเทศ

>>อ่านวิธีตรวจเครดิตบูโรผ่าน Internet Banking ได้ที่นี่<<

ช่องทางที่ 3 : ตรวจเครดิตบูโร ผ่านที่ทำการไปรษณีย์ และเคาน์เตอร์บริการไปรษณีย์ ทุกแห่งทั่วประเทศ

คุณสามารถติดต่อรับคำขอตรวจเครดิตบูโร ณ ที่ทำการไปรษณีย์ และเคาน์เตอร์บริการไปรษณีย์ทุกแห่งทั่วประเทศ ใช้เพียงบัตรประชาชนเท่านั้น เพื่อรับผลการตรวจเครดิตบูโรเต็มรูปแบบ ค่าบริการ 150 บาท หากต้องการตรวจคำขอแบบสรุปรอรับได้ทันที ฟรี! ค่าบริการ

>>ตรวจสอบสาขาที่ทำการไปรษณีย์ที่ให้บริการตรวจเครดิตบูโรได้ที่นี่<<

ช่องทางที่ 4 : ตรวจเครดิตบูโร ผ่านเคาน์เตอร์ธนาคาร

คุณสามารถยื่นคำขอรายงานเครดิตบูโรได้ที่ ธนาคาร สาขาใกล้บ้านคุณทั่วประเทศ

  • ธนาคารกรุงไทย
  • ธนาคารอาคารสงเคราะห์
  • ธนาคารกรุงศรีอยุธยา
  • ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร

>>อ่านวิธีตรวจเครดิตบูโรผ่านผ่านเคาน์เตอร์ธนาคาร ได้ที่นี่<<

ช่องทางที่ 5 : ตรวจเครดิตบูโร ผ่านตู้ ATM

คุณสามารถยื่นคำขอรายงานเครดิตบูโรได้ที่ตู้ ATM ได้ทั่วประเทศ

  • ธนาคารกรุงไทย
  • ธนาคารไทยพาณิชย์

>>อ่านวิธีตรวจเครดิตบูโรผ่านตู้ ATM ได้ที่นี่<<

ตรวจข้อมูลเครดิตและเครดิตสกอริ่ง ผ่าน KKP Mobile Application ธนาคารเกียรตินาคินภัทร (แบบเรียลไทม์)

ตรวจข้อมูลเครดิตและเครดิตสกอริ่ง ผ่าน KKP Mobile Application

ธนาคารเกียรตินาคินภัทร (แบบเรียลไทม์)

  • ตรวจข้อมูลเครดิตและเครดิตสกอริ่งได้ง่ายๆ
  • เตรียมความพร้อมก่อนกู้ในยุคดิจิทัล
  • รายงานเป็นความลับ
  • เรียลไทม์ และปลอดภัย

การขอข้อมูลเครดิต

กรณีมีบัญชีเงินฝากกับ KKP และผ่านการยืนยันตัวตน (KYC) ตามระดับที่กำหนดมาแล้ว 

หน้า KKP Mobile Application

ตรวจเครดิตบูโร

เพิ่มคำขอ

เลือกรูปแบบการขอรับข้อมูลเครดิตบูโร

คำขอตรวจสอบข้อมูลเครดิต

ข้อตกลงและเงื่อนไขการให้บริการ

ยืนยันข้อมูล

ทำรายการสำเร็จ

เพิ่มคำขอ

ยืนยันการตรวจสอบ

เมื่อตรวจสอบรายการแล้ว กดยืนยัน

ใส่รหัส PIN

พร้อมใช้งาน

ตัวอย่างรายงานเครดิตสกอริ่งบนหน้าจอ

 

คอลัมน์ เครดิตบูโรคิดเป็นเห็นต่าง : “คนเคยค้าง ค้างจนเขาเอาบัญชีที่เรามีอยู่กับเขาไปขาย เราก็เจรจาจนชำระหมด ปัจจุบันมั่นคงพอสมควร ต้องการโอกาส” หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ฉบับวันศุกร์ 20 พฤศจิกายน 2563

คนเคยค้าง ค้างจนเขาเอาบัญชีที่เรามีอยู่กับเขาไปขาย เราก็เจรจาจนชำระหมด ปัจจุบันมั่นคงพอสมควร ต้องการโอกาส

เรื่องของเครดิตบูโรวันนี้ที่ผมอยากนำเสนอแก่ท่านผู้อ่านทุกท่านให้ได้ทราบ แม้เป็นเรื่องทางเทคนิคไปบ้างแต่ก็เป็นสิ่งที่เราๆ ท่านๆ อาจจะประสบกับตัวเองได้ เพื่อให้ได้เกิดความเข้าใจโดยทั่วกัน เรื่องมีดังนี้คือ

1.  คำถามและข้อเท็จจริงจากตัวเจ้าของข้อมูล : ดิฉันเคยมีหนี้สินเชื่อบัญชีหนึ่งกับธนาคาร ต่อมาหมุนเงินไม่ทันเกิดการค้างชำระขึ้นมาเป็นระยะเวลากว่า 2 ปี ไม่มีการติดต่อกับธนาคารใดๆ เลย เรียกว่าไม่จ่ายหนี้ที่มีอยู่ ธนาคารได้ขายหนี้ที่มีบัญชีสินเชื่อรายการนี้ของดิฉันรวมอยู่ด้วยออกไปยังบริษัทบริหารสินทรัพย์แห่งหนึ่งหรือที่ธนาคารมักเรียกว่า “ขายหนี้ออกไปให้กับ AMC” นั่นเอง เมื่อดิฉันได้รับการติดต่อจาก AMC ในเรื่องหนี้ที่ค้างอยู่และทำการเจรจาการชำระหนี้ จนที่สุดทาง AMC ก็ลดหนี้ให้ส่วนหนึ่ง ดิฉันพอจะมีเงินรวบรวมมาได้จึงตัดสินใจชำระหนี้กับ AMC ในบัญชีของดิฉันที่เขาได้ซื้อมาจากธนาคารเมื่อต้นปี 2563 ที่ผ่านมา ดิฉันได้เอกสารการรับชำระและเอกสารการปิดบัญชีจาก AMC และยังเก็บเอกสารการโอนเงินที่ตัวเองโอนให้กับ AMC รายนั้นไว้อยู่จนทุกวันนี้
ต่อมาเมื่อต้นเดือนมีนาคม 2563 ดิฉันไปขอสินเชื่อบ้านกับธนาคารของรัฐแห่งหนึ่ง ผลออกมาว่าปฏิเสธการให้สินเชื่อ และได้รับแจ้งว่าเหตุเพราะในรายงานเครดิตบูโรของดิฉันในบัญชีที่ดิฉันเคยมีกับธนาคารนั้นมีสถานะบัญชี “แสดงรหัสว่า 42 โอนหรือขายหนี้ให้กับนิติบุคคลอื่นหรือบริษัทบริหารสินทรัพย์” ประกอบกับในประวัติการชำระหนี้ของบัญชีนั้นช่วงเวลาก่อนหน้าเดือนที่มีการโอนขายหนี้นั้นได้แสดงรายการค้างชำระหนี้เกินกว่า 300 วัน ดิฉันต้องทำอย่างไร ต้องชี้แจงกับธนาคารของรัฐนั้นอย่างไร เขาจึงจะเข้าใจเรื่องที่แท้จริงและอยากให้เขาช่วยพิจารณาสินเชื่อบ้านอีกครั้ง อยากให้ธนาคารเข้าใจว่าตัวเองได้กลับเนื้อกลับตัวแล้ว ปัจจุบันมีรายได้ต่อเดือนเกือบ 40,000 บาท ไม่มีหนี้ที่ไหนแล้ว อยากได้โอกาสอีกครั้ง

2.   ผมวิเคราะห์ได้เป็นข้อๆ ดังนี้ครับ
2.1    ลักษณะที่เกิดเรียกว่า เป็นคนเคยค้าง มีประวัติค้างชำระหนี้ และได้ผ่านการเป็นลูกหนี้ NPL เพราะค้างเกิน 3 งวดติดกัน
2.2    บัญชีสินเชื่อนี้ถูกขายออกจากธนาคารไป AMC เรียกว่า ขายหนี้เสียให้กับ AMC ไปบริหาร
2.3    ตอนขายออกไป ยอดหนี้ในบัญชีจะแสดงตัวเลขเป็นศูนย์ เหมือนกับว่า AMC ได้มาจ่ายหนี้ให้แทน ซึ่งในความเป็นจริงหนี้ที่มีอยู่ 100 บาท AMC อาจซื้อไป 50 บาท ก็ได้ แต่สุดท้ายคือหนี้ที่มีอยู่เป็นศูนย์
2.4    ธนาคารส่งข้อมูลบัญชีสินเชื่อนี้ในเดือนที่ขายออกไปโดยมีสถานะบัญชี “แสดงรหัสว่า 42 โอนหรือขายหนี้ให้กับนิติบุคคลอื่นหรือบริษัทบริหารสินทรัพย์ ตามที่กฎหมายกำหนดซึ่งเป็นไปตามข้อเท็จจริง
2.5    ธนาคารของรัฐที่ไปยื่นขอสินเชื่อเขาเข้ามาดูข้อมูลเห็นว่าคุณผู้หญิงเคยเป็นหนี้เสียแล้วถูกขายออกไป ไม่รู้ว่าชำระแล้วหรือยัง เขาก็อาจกลัวว่าจะเอาเงินกู้จากธนาคารของรัฐที่ยื่นขอไปชำระหนี้ให้กับ AMC ก็ได้เพราะตัวธนาคารไม่รู้ว่ามีรายการเจรจาชำระหนี้กันกับ AMC นั้นอย่างไร เขาไม่เห็นเอกสารใดๆ ประกอบเลยจากฝั่งของคนที่ยื่นขอกู้

3.       สิ่งที่ต้องดำเนินการเพื่อขอให้ธนาคารของรัฐพิจารณาเพิ่มเติม คือ
3.1    คุณผู้หญิงมายื่นคำขอตรวจข้อมูลเครดิตบูโรของตนเองเพื่อให้เห็นจะๆ ว่าประวัติที่แสดงเป็นอย่างไร
3.2    เอาเอกสารการชำระหนี้กับ AMC ไปแสดงประกอบว่าบัญชีที่เคยมีกับธนาคารและได้มีการขายออกไปนั้นจบแล้ว เคลียร์แล้ว ปิดบัญชีหมดแล้ว ไม่มีประเด็นค้างใดๆ อีกแล้ว
3.3    อธิบายและเล่าให้เขาฟังอย่างตรงไปตรงมาว่า ที่ไปค้างชำระในอดีตนั้นเป็นเพราะอะไร อันนี้สำคัญอย่าโกหกเด็ดขาด
3.4    แสดงรายได้ แสดงเงินฝาก ให้เห็นว่าเรามีการเปลี่ยนแปลงไปแล้ว มีฐานะความมั่นคงแล้ว
เมื่อได้ดำเนินการอย่างนี้ไปทั้งหมดแล้วครบถ้วน ที่เหลือก็เป็นเรื่องกระบวนการพิจารณาเงินกู้ครับ

เราไปแก้ไขข้อมูลข้อเท็จจริงในอดีตที่อาจจะพลาดหลงให้ผิดไปจากความจริงที่ว่า เราเป็นคนเคยค้าง ค้างจนเขาเอาบัญชีที่เรามีอยู่กับเขาไปขาย เราก็เจรจาจนชำระหมด ปัจจุบันมั่นคงพอสมควร ต้องการโอกาส ขอให้พิจารณา และลึกๆ ผมก็เข้าใจว่าเมื่อไปเป็นหนี้ใคร ก็ต้องใช้หนี้ ไม่มีใครมีความสุขหากยังมีหนี้คาใจดังข้างต้น….สัญญาต้องเป็นสัญญาครับ

เศรษฐกิจคิดง่ายๆ (ดิจิทัล) : ในปี 2564 เรายังคงต้องอยู่กับมัน… : วันจันทร์ที่ 16 พฤศจิกายน 2563

ในปี 2564 เรายังคงต้องอยู่กับมัน…

COVID-19 ยังคงฉุดรั้งการเคลื่อนไปข้างหน้าของระบบเศรษฐกิจ ก่อให้เกิดความทุกข์ยากของคนชั้นล่าง สร้างปัญหาให้คนชั้นกลางส่วนบนต้องประสบปัญหาการดำเนินธุรกิจ คนชั้นกลางตรงกลางที่เป็นมนุษย์เงินเดือน รับจ้างทำงานอิสระประสบปัญหา income shock รายได้หายจากการถูกบังคับด้วยกติกาของความปลอดภัยด้านสุขภาพ คนชั้นล่าง คนที่มีรายได้น้อย พึ่งพารายได้รายวัน รายสัปดาห์ ต่างถูกลดชั่วโมงการทำงาน

ในประเทศของเราเองตามตัวเลขสถิติ เรามีคนว่างงานอยู่แล้ว เห็นๆ กันเกือบแปดแสนคน ตามด้วยคนที่ทำงานน้อยกว่าสี่สิบชั่วโมงต่อสัปดาห์กว่าอีกสองล้านคน รวมๆ กันคือคนที่จะมีรายได้น้อยลงหรือไม่มีงานไม่มีรายได้กว่าสามล้านคน คนวัยหนุ่มสาวที่กำลังทยอยจบการศึกษาที่จะเข้าสู่ตลาดแรงงานต่างเจอภาวะไปต่อได้ยาก ถึงยากมาก ธุรกิจประเทศเราพึ่งพาการส่งออกและการท่องเที่ยว

เรามีนักท่องเที่ยวปี 2562 เกือบสี่สิบล้านคน พอปี 2563 เราน่าจะได้นักท่องเที่ยวเกือบหกล้านคน ปีหน้า 2564 เราประมาณกันว่าจะได้นักท่องเที่ยว?แปดล้านคน มันคือ 20% ของที่เราเคยได้ แม้ว่าจะเป็นนักท่องเที่ยวที่มีคุณภาพสูงมีการใช้จ่ายมาก แต่มันมาชดเชยไม่ได้ คนที่เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมเหล่านี้จะมีรายได้จากทางไหน จะหมุนจะหนีออกไปได้อย่างไร กล่องดวงใจของประเทศคือการท่องเที่ยว การส่งออก มันถูกกระแทกเต็มแรง อาจไม่เจ็บร้ายแรงเพราะเรามีหมอที่ดีมากๆ แต่อาการจุกที่นาน นานจนหายใจได้ยากลำบาก

ขณะเดียวกันคนที่เจ็บและจุกหายใจลำบากกลับพบว่าหลังของเค้าเหล่านั้นต้องแบกกระสอบหนี้ ซึ่งหนักเบาก็ต่างกันไป ท่านผู้อ่านทราบหรือไม่ว่าหนี้ครัวเรือนไทยมีสูงถึง 13.5 ล้านล้านบาท ในจำนวนนี้ประมาณ 27% เป็นหนี้เพื่อการบริโภคคือกู้มากินใช้หมดไปซึ่งสูงมากๆ

ในช่วงแรกของการเกิดผลกระทบทุกประเทศทุกรัฐบาลต่างทำสิ่งที่เหมือนๆกันคือ

(1) สั่งให้หยุดกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่จะทำให้ผู้คนต้องมาเจอหน้ากันสัมผัสกัน

(2) กู้เงินมาแจกจ่ายคนที่ช่วยเหลือตนเองได้ยาก คนชั้นล่าง คนมีรายได้น้อย มากน้อยต่างๆ กันไป

(3) สั่งให้มีโครงการชะลอการชำระหนี้ได้แต่ไม่ถือว่าลูกหนี้ผิดนัดชำระมีทั้งเลื่อนการชำระหนี้ ลดยอดการชำระหนี้ ปรับปรุงโครงสร้างหนี้ เรียกว่ามหกรรมการปรับโครงสร้างหนี้กันเลยแหละ

มาถึงเวลานี้ เวลาที่มาตรการจะหมด การช่วยเหลือแบบปูพรมทุกคนได้ก็หมดไป หลวงท่านคงช่วยได้เฉพาะกลุ่ม เฉพาะเรื่อง กระตุ้นแบบรัฐร่วมจ่ายเวลาจะซื้อหาอะไรบางสิ่งอย่างเช่นจะไปเที่ยว จะไปกินไปใช้ กิจกรรมแบบ co-payment คงจะมีมากขึ้นเรื่อยๆ เพื่อดึงเงินในกระเป๋าคนที่มีออกมาจับจ่ายใช้สอย เศรษฐกิจจะได้คึกคัก หากแต่ว่าเรื่องใหญ่สุดมันยังไม่จบครับ โรคระบาดยังคงมีอยู่ และประเทศเราจะปิดสนิทแบบไม่ยอมให้เกิดความเสี่ยงการติดเชื้อก็ไม่ได้ การแพร่ระบาดรอบสองมีโอกาสเกิดเยอะ แต่ตั้งจัดการให้ได้ที่เราเรียกว่า “สถานการณ์ที่ต้องอยู่กับมัน” คือความจริงของชีวิต ขอเพียงอย่าล้นทะลุขีดความสามารถทางสาธารณสุขของเราเป็นใช้ได้ ตัวอย่างเช่น ภาพที่ผู้เขียนนำมาแสดงจาก FB.SiamtownUS ที่เขียนเตือนคนไทยในสหรัฐอเมริกาว่ากำลังจะเจอกับอะไร อยากให้ท่านลองอ่านแล้วคิดตามว่าถ้าเป็นเราและเกิดกับเมืองเราในปลายปีนี้ต่อปีหน้า จะคิดหาหนทางกันอย่างไรกันครับ มาตรการทางการปรับโครงสร้างหนี้จะทำกันอย่างไร จะมากพอหรือไม่ จะเร็วพอหรือไม่ จะทันกับชีพจรธุรกิจที่แผ่วลงหรือไม่

เตือนใจคนไทยในสหรัฐอเมริกา อย่าการ์ดตก สถานการณ์โควิด-19 ทั่วโลก รวมถึงในสหรัฐอเมริกายังอยู่ในช่วงที่น่ากังวลใจที่สุด โดยเฉพาะช่วง Dark Winter เข้าเทศกาลต่างๆ ปลายปีนี้ ไล่ตั้งแต่ Thanksgiving วันขอบคุณพระเจ้า วันคริสต์มาส วันส่งท้ายปีเก่าและฉลองปีใหม่ ซึ่งจะเป็นช่วงที่มีการเดินทางไปมาหาสู่ หรือพบญาติกันตัวเลขล่าสุด สหรัฐอเมริกามียอดคนติดเชื้อเกินแสนคน มาตลอดหลายวัน ส่วน รัฐเท็กซัสมีคนติดเชื้อสะสมแล้ว 1 ล้านคน ส่วนรัฐแคลิฟอร์เนียกำลังจะตามมา ส่วนรัฐในตอนกลางของอเมริกา ก็มียอดผู้ติดเชื้อสูงขึ้นเรื่อยๆ

คำสั่งจากหลายๆ เมืองล่าสุดมีดังนี้

นครซานฟรานซิสโก รัฐแคลิฟอร์เนีย สั่งห้ามนั่งทานอาหารในร้าน

เมืองชิคาโก รัฐอิลลินอยส์ แนะนำให้ประชาชนอยู่บ้าน ให้ออกนอกบ้านไปทำงาน โรงเรียน หรือธุระสำคัญ และห้ามรวมกลุ่มเกิน 10 คน เริ่ม 16 พฤศจิกายน 2563 นี้

ผู้ว่าการรัฐวิสคอนซิน เซ็นคำสั่งให้อยู่บ้านให้ได้มากที่สุด งดรวมกลุ่มยกเว้นครอบครัวเดียวกันในบ้าน

ศาลเมือง El Paso รัฐเท็กซัส ขยายคำสั่งให้อยู่บ้านไปจนถึง 1 ธันวาคม 2563 หลังรัฐเท็กซัสยอดพุ่งไม่หยุด

และเชื่อว่าอีกหลายเมืองหรือหลายรัฐจะมีคำสั่งตามมาเรื่อยๆ หลังจากวันนี้ไป

เมืองหนาวจะหนักเพราะอากาศเอื้อต่อการแพร่ระบาด เมืองร้อนอาจได้เปรียบแต่มันแค่ลดความเสี่ยง การใส่หน้ากาก ล้างมือบ่อยๆ กินร้อน ช้อนกลางแบบของใครของมันหรือตักแยกมาทานแต่นั่งร่วมกัน และอะไรต่อมิอะไรยังต้องต่อเนื่อง สงครามยังไม่จบ อย่าเพิ่งนับศพทหาร งานหนักยังไม่มา อย่าร้องหาแต่ความช่วยเหลือเพื่อให้อยู่รอดต่อไปได้ การ์ดอย่าตกครับ และเรา ท่าน จะผ่านเจ้าเชื้อนี้ได้

สุดท้ายของท้ายสุด ไม่มีใครรู้ว่าจบจาก COVID-19 แล้วเราจะเจอกับ COVID-24 COVID-25 อีกหรือไม่…

เศรษฐกิจคิดง่ายๆ (ดิจิทัล) : ในปี 2564 เรายังคงต้องอยู่กับมัน… : วันจันทร์ที่ 16 พฤศจิกายน 2563

ในปี 2564 เรายังคงต้องอยู่กับมัน…

COVID-19 ยังคงฉุดรั้งการเคลื่อนไปข้างหน้าของระบบเศรษฐกิจ ก่อให้เกิดความทุกข์ยากของคนชั้นล่าง สร้างปัญหาให้คนชั้นกลางส่วนบนต้องประสบปัญหาการดำเนินธุรกิจ คนชั้นกลางตรงกลางที่เป็นมนุษย์เงินเดือน รับจ้างทำงานอิสระประสบปัญหา income shock รายได้หายจากการถูกบังคับด้วยกติกาของความปลอดภัยด้านสุขภาพ คนชั้นล่าง คนที่มีรายได้น้อย พึ่งพารายได้รายวัน รายสัปดาห์ ต่างถูกลดชั่วโมงการทำงาน

ในประเทศของเราเองตามตัวเลขสถิติ เรามีคนว่างงานอยู่แล้ว เห็นๆ กันเกือบแปดแสนคน ตามด้วยคนที่ทำงานน้อยกว่าสี่สิบชั่วโมงต่อสัปดาห์กว่าอีกสองล้านคน รวมๆ กันคือคนที่จะมีรายได้น้อยลงหรือไม่มีงานไม่มีรายได้กว่าสามล้านคน คนวัยหนุ่มสาวที่กำลังทยอยจบการศึกษาที่จะเข้าสู่ตลาดแรงงานต่างเจอภาวะไปต่อได้ยาก ถึงยากมาก ธุรกิจประเทศเราพึ่งพาการส่งออกและการท่องเที่ยว

เรามีนักท่องเที่ยวปี 2562 เกือบสี่สิบล้านคน พอปี 2563 เราน่าจะได้นักท่องเที่ยวเกือบหกล้านคน ปีหน้า 2564 เราประมาณกันว่าจะได้นักท่องเที่ยว?แปดล้านคน มันคือ 20% ของที่เราเคยได้ แม้ว่าจะเป็นนักท่องเที่ยวที่มีคุณภาพสูงมีการใช้จ่ายมาก แต่มันมาชดเชยไม่ได้ คนที่เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมเหล่านี้จะมีรายได้จากทางไหน จะหมุนจะหนีออกไปได้อย่างไร กล่องดวงใจของประเทศคือการท่องเที่ยว การส่งออก มันถูกกระแทกเต็มแรง อาจไม่เจ็บร้ายแรงเพราะเรามีหมอที่ดีมากๆ แต่อาการจุกที่นาน นานจนหายใจได้ยากลำบาก

ขณะเดียวกันคนที่เจ็บและจุกหายใจลำบากกลับพบว่าหลังของเค้าเหล่านั้นต้องแบกกระสอบหนี้ ซึ่งหนักเบาก็ต่างกันไป ท่านผู้อ่านทราบหรือไม่ว่าหนี้ครัวเรือนไทยมีสูงถึง 13.5 ล้านล้านบาท ในจำนวนนี้ประมาณ 27% เป็นหนี้เพื่อการบริโภคคือกู้มากินใช้หมดไปซึ่งสูงมากๆ

ในช่วงแรกของการเกิดผลกระทบทุกประเทศทุกรัฐบาลต่างทำสิ่งที่เหมือนๆกันคือ

(1) สั่งให้หยุดกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่จะทำให้ผู้คนต้องมาเจอหน้ากันสัมผัสกัน

(2) กู้เงินมาแจกจ่ายคนที่ช่วยเหลือตนเองได้ยาก คนชั้นล่าง คนมีรายได้น้อย มากน้อยต่างๆ กันไป

(3) สั่งให้มีโครงการชะลอการชำระหนี้ได้แต่ไม่ถือว่าลูกหนี้ผิดนัดชำระมีทั้งเลื่อนการชำระหนี้ ลดยอดการชำระหนี้ ปรับปรุงโครงสร้างหนี้ เรียกว่ามหกรรมการปรับโครงสร้างหนี้กันเลยแหละ

มาถึงเวลานี้ เวลาที่มาตรการจะหมด การช่วยเหลือแบบปูพรมทุกคนได้ก็หมดไป หลวงท่านคงช่วยได้เฉพาะกลุ่ม เฉพาะเรื่อง กระตุ้นแบบรัฐร่วมจ่ายเวลาจะซื้อหาอะไรบางสิ่งอย่างเช่นจะไปเที่ยว จะไปกินไปใช้ กิจกรรมแบบ co-payment คงจะมีมากขึ้นเรื่อยๆ เพื่อดึงเงินในกระเป๋าคนที่มีออกมาจับจ่ายใช้สอย เศรษฐกิจจะได้คึกคัก หากแต่ว่าเรื่องใหญ่สุดมันยังไม่จบครับ โรคระบาดยังคงมีอยู่ และประเทศเราจะปิดสนิทแบบไม่ยอมให้เกิดความเสี่ยงการติดเชื้อก็ไม่ได้ การแพร่ระบาดรอบสองมีโอกาสเกิดเยอะ แต่ตั้งจัดการให้ได้ที่เราเรียกว่า “สถานการณ์ที่ต้องอยู่กับมัน” คือความจริงของชีวิต ขอเพียงอย่าล้นทะลุขีดความสามารถทางสาธารณสุขของเราเป็นใช้ได้ ตัวอย่างเช่น ภาพที่ผู้เขียนนำมาแสดงจาก FB.SiamtownUS ที่เขียนเตือนคนไทยในสหรัฐอเมริกาว่ากำลังจะเจอกับอะไร อยากให้ท่านลองอ่านแล้วคิดตามว่าถ้าเป็นเราและเกิดกับเมืองเราในปลายปีนี้ต่อปีหน้า จะคิดหาหนทางกันอย่างไรกันครับ มาตรการทางการปรับโครงสร้างหนี้จะทำกันอย่างไร จะมากพอหรือไม่ จะเร็วพอหรือไม่ จะทันกับชีพจรธุรกิจที่แผ่วลงหรือไม่

เตือนใจคนไทยในสหรัฐอเมริกา อย่าการ์ดตก สถานการณ์โควิด-19 ทั่วโลก รวมถึงในสหรัฐอเมริกายังอยู่ในช่วงที่น่ากังวลใจที่สุด โดยเฉพาะช่วง Dark Winter เข้าเทศกาลต่างๆ ปลายปีนี้ ไล่ตั้งแต่ Thanksgiving วันขอบคุณพระเจ้า วันคริสต์มาส วันส่งท้ายปีเก่าและฉลองปีใหม่ ซึ่งจะเป็นช่วงที่มีการเดินทางไปมาหาสู่ หรือพบญาติกันตัวเลขล่าสุด สหรัฐอเมริกามียอดคนติดเชื้อเกินแสนคน มาตลอดหลายวัน ส่วน รัฐเท็กซัสมีคนติดเชื้อสะสมแล้ว 1 ล้านคน ส่วนรัฐแคลิฟอร์เนียกำลังจะตามมา ส่วนรัฐในตอนกลางของอเมริกา ก็มียอดผู้ติดเชื้อสูงขึ้นเรื่อยๆ

คำสั่งจากหลายๆ เมืองล่าสุดมีดังนี้

– นครซานฟรานซิสโก รัฐแคลิฟอร์เนีย สั่งห้ามนั่งทานอาหารในร้าน

– เมืองชิคาโก รัฐอิลลินอยส์ แนะนำให้ประชาชนอยู่บ้าน ให้ออกนอกบ้านไปทำงาน โรงเรียน หรือธุระสำคัญ และห้ามรวมกลุ่มเกิน 10 คน เริ่ม 16 พฤศจิกายน 2563 นี้

– ผู้ว่าการรัฐวิสคอนซิน เซ็นคำสั่งให้อยู่บ้านให้ได้มากที่สุด งดรวมกลุ่มยกเว้นครอบครัวเดียวกันในบ้าน

– ศาลเมือง El Paso รัฐเท็กซัส ขยายคำสั่งให้อยู่บ้านไปจนถึง 1 ธันวาคม 2563 หลังรัฐเท็กซัสยอดพุ่งไม่หยุด

และเชื่อว่าอีกหลายเมืองหรือหลายรัฐจะมีคำสั่งตามมาเรื่อยๆ หลังจากวันนี้ไป

เมืองหนาวจะหนักเพราะอากาศเอื้อต่อการแพร่ระบาด เมืองร้อนอาจได้เปรียบแต่มันแค่ลดความเสี่ยง การใส่หน้ากาก ล้างมือบ่อยๆ กินร้อน ช้อนกลางแบบของใครของมันหรือตักแยกมาทานแต่นั่งร่วมกัน และอะไรต่อมิอะไรยังต้องต่อเนื่อง สงครามยังไม่จบ อย่าเพิ่งนับศพทหาร งานหนักยังไม่มา อย่าร้องหาแต่ความช่วยเหลือเพื่อให้อยู่รอดต่อไปได้ การ์ดอย่าตกครับ และเรา ท่าน จะผ่านเจ้าเชื้อนี้ได้

สุดท้ายของท้ายสุด ไม่มีใครรู้ว่าจบจาก COVID-19 แล้วเราจะเจอกับ COVID-24 COVID-25 อีกหรือไม่…

ข่าวเครดิตบูโร 004/2563 : ครั้งแรกในไทย ตรวจเครดิตสกอริ่งแบบ “เรียลไทม์” ผ่านแอปเกียรตินาคินภัทร ติดสปีดให้สินเชื่อ

ครั้งแรกในไทย ตรวจเครดิตสกอริ่งแบบ เรียลไทม์” ผ่านแอปเกียรตินาคินภัทร ติดสปีดให้สินเชื่อ

 23 พฤศจิกายน 2563 :  กรุงเทพฯ ธนาคารเกียรตินาคินภัทร จำกัด (มหาชน) ร่วมกับ บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด (เครดิตบูโร) และ บริษัท เนชั่นแนลดิจิทัลไอดี จำกัด (NDID) เปิดให้บริการตรวจสอบข้อมูลเครดิตและเครดิตสกอริ่งผ่านแอปพลิเคชัน KKP e-Banking แบบ “เรียลไทม์ (Real Time)” ครั้งแรกในประเทศไทย อำนวยความสะดวกให้ลูกค้าของธนาคารเกียรตินาคินภัทร สามารถตรวจสอบข้อมูลเครดิตของตนผ่านแอปพลิเคชันได้ในทันที เทียบกับการขอข้อมูลเครดิตผ่านช่องทางตัวแทนอื่นของเครดิตบูโร  ที่ใช้เวลารอรับรายงานภายใน 7 วันทำการ ยิ่งกว่านั้น ด้วยโครงสร้างการยืนยันตัวตนของ NDID ยังทำให้การขอข้อมูลผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์มีความปลอดภัยสูงสุด และไม่กระทบต่อความเป็นส่วนตัวของข้อมูล

ดร.อนุชิต อนุชิตานุกูล ที่ปรึกษา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารเกียรตินาคินภัทร จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า “ในระยะแรก บริการนี้ใช้ประโยชน์จากโครงสร้าง NDID เพื่อช่วยให้มีการยืนยันตัวตนของผู้ขอข้อมูลเครดิตซึ่งเป็นข้อมูลส่วนตัวได้อย่างถูกต้องและรวดเร็วที่สุด คือแบบเรียลไทม์ ดังนั้น กระบวนการขอสินเชื่อที่จำเป็นต้องใช้ข้อมูลเหล่านี้ประกอบ ก็จะใช้เวลาและเอกสารน้อยลง ยิ่งกว่านั้น ในระยะต่อไป การเข้าถึงข้อมูลเครดิตที่ง่าย ปลอดภัย และเรียลไทม์ ยังเอื้อต่อการที่ธนาคารจะใช้ข้อมูลเหล่านี้พิจารณาอัตราดอกเบี้ยที่เหมาะสมตามระดับเครดิต เช่น ผู้กู้ที่เครดิตดีก็จะได้รับอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำกว่า ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนทางการเงินให้กับผู้บริโภค และในขณะเดียวกันก็เสริมสร้างให้ประชาชนทุกคนมีวินัยทางการเงินที่ดี เพื่อรักษาระดับเครดิตของตนด้วย ธนาคารเกียรตินาคินภัทรเล็งเห็นว่าการเข้าถึงข้อมูลเครดิตอย่างรวดเร็วและปลอดภัยจะสร้างประสิทธิภาพและลดต้นทุนการเสียโอกาสให้กับทั้งระบบเศรษฐกิจ จึงได้ร่วมมือกับเครดิตบูโร และ NDID เพื่อพัฒนาระบบจนสำเร็จลุล่วงในวันนี้ ซึ่งจะมีขึ้นที่ธนาคารเกียรตินาคินภัทรเป็นที่แรกของประเทศ”

นายสุรพล โอภาสเสถียร ผู้จัดการใหญ่ บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด (เครดิตบูโร) กล่าวว่า ความร่วมมือของทั้งสามหน่วยงานในระบบสถาบันการเงินไทยวันนี้ จะกระตุ้นให้เกิดความรู้ความเข้าใจในเรื่องที่สำคัญของตัวลูกค้าในโลกดิจิทัลอย่างน้อย 3 เรื่องคือ (1) การเตรียมความพร้อมก่อนขอสินเชื่อต่างๆ จากสถาบันการเงิน คือรู้จักตัวเราเองก่อนไปคุยกันในรายละเอียดกับคนให้กู้ รู้ตัวเองว่าประวัติการก่อหนี้ และการชำระหนี้ในอดีตตนเองเป็นอย่างไร มีคะแนนเครดิตหรือเครดิตสกอริ่ง (Credit Scoring) ระดับไหน เป็นคนมีความเสี่ยงที่จะชำระหนี้ไม่ได้ระดับไหน (2) รู้จักการพิสูจน์และการยืนยันตัวตนผ่านระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตน (Know your customer หรือ KYC) ในโลกยุคดิจิทัล ผ่าน Mobile Application (3) รู้จักการสมัครหรือการขอสินเชื่อผ่านเครื่องมือสื่อสาร เช่น โทรศัพท์เคลื่อนที่ โดยไม่ต้องใช้เอกสารที่เป็นกระดาษตั้งแต่ยื่นขอ ได้รับอนุมัติ เงินเข้าบัญชีเพื่อการเบิกถอนไปใช้ตามวัตถุประสงค์ ที่ผ่านมา เครดิตบูโรดำเนินการพัฒนาและให้ความสำคัญในการเข้าถึงข้อมูลเครดิตของตนเองมาอย่างต่อเนื่อง โดยอำนวยความสะดวกให้กับเจ้าของข้อมูลในการตรวจสอบรายงานข้อมูลเครดิตได้อย่างรวดเร็ว หลากหลายช่องทาง อันจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในช่วยตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลเครดิตของตนเองและเพื่อป้องกันภัยการเงินในยุคปัจจุบัน รวมทั้งการรณรงค์สร้างวัฒนธรรม “ออมก่อนกู้ คิดก่อนใช้ มีวินัย เมื่อมีหนี้” เพื่อเป็นการส่งเสริมให้ประชาชนมีการวางแผนการเงิน พร้อมมีวินัยในการออมเงินและรักษาเครดิตของตนเอง เป็นการกระตุ้นและส่งเสริมให้ประชาชนทั่วไปได้ตระหนักในเรื่องการออม ภาระหนี้  การบริหารจัดการหนี้ การมีวินัย ใช้หนี้ครบใช้หนี้ตรงตามเวลา เพราะอยากเห็นคนไทยมีวินัยทางการเงินเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

นายบุญสันต์ ประสิทธิ์สัมฤทธิ์ ผู้จัดการใหญ่ บริษัท เนชั่นแนลดิจิทัลไอดี จำกัด (NDID) กล่าวว่า “NDID เป็นโครงสร้างพื้นฐานของประเทศในการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล โดย NDID เป็น Platform กลาง มีสมาชิกที่ทำหน้าที่ให้บริการพิสูจน์ และยืนยันตัวตน และสมาชิกที่มีข้อมูลที่น่าเชื่อถือเป็นผู้ให้บริการบน NDID Platform ซึ่งทั้งธนาคารเกียรตินาคินภัทร และบริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ ได้ให้เกียรติเป็นสมาชิก โดย NDID ขอขอบคุณทั้ง 2 หน่วยงานที่ได้ให้ความไว้วางใจใน NDID Platform และผลักดันให้เกิดการให้บริการตรวจสอบข้อมูลเครดิตและเครดิตสกอริ่งผ่านแอปพลิเคชัน KKP e-Banking แบบ “เรียลไทม์” ในวันนี้ บริการ NDID นั้น ดำเนินงานอยู่บน Blockchain มีวัตถุประสงค์เพื่อยกระดับมาตรฐาน และความน่าเชื่อถือของการทำธุรกรรมออนไลน์ โดยเริ่มจากก้าวแรกคือการพิสูจน์และยืนยันตัวตนของผู้ทำธุรกรรม และต่อยอดไปสู่ขั้นตอนอื่นๆ ได้อย่างมั่นใจ ปัจจุบัน NDID Platform มีหน่วยงานจากหลากหลายภาคส่วนเข้ามาเป็นสมาชิกเพื่อร่วมให้บริการ ก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน โดยหวังเป็นอย่างยิ่งว่าบริการ NDID ซึ่งเป็นโครงสร้างพื้นฐานกลางของประเทศจะเป็นประโยชน์ทั้งต่อภาคธุรกิจ และภาคประชาชน และเข้ากับแนวโน้มการเติบโตของธุรกรรมออนไลน์ และเศรษฐกิจดิจิทัลที่ขยายตัวอย่างไม่หยุดยั้ง บริษัทให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับการรักษาความมั่นคงของระบบ ความปลอดภัยของข้อมูล ความโปร่งใสตรวจสอบได้ ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์การกำกับดูแลที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นต่อผู้ใช้บริการในทุกภาคส่วนต่อไป”

ทั้งนี้ บริการนี้ได้รับการยอมรับและอยู่ภายใต้โครงการ Regulatory Sandbox ของธนาคารแห่งประเทศไทย ผู้มีบัญชีเงินฝากกับธนาคารเกียรตินาคินภัทร และใช้บริการ NDID อยู่แล้ว สามารถดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน KKP e-Banking เพื่อใช้บริการการเรียกดูข้อมูลเครดิตและเครดิตสกอริ่งได้ตั้งแต่วันนี้  เป็นต้นไป

(ในภาพ 1) ดร.อนุชิต อนุชิตานุกูล (กลาง) ที่ปรึกษา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารเกียรตินาคินภัทร จำกัด (มหาชน) นายสุรพล โอภาสเสถียร (ซ้าย) ผู้จัดการใหญ่ บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด (เครดิตบูโรนายบุญสันต์ ประสิทธิ์สัมฤทธิ์ (ขวา) ผู้จัดการใหญ่ บริษัท เนชั่นแนลดิจิทัลไอดี จำกัด (NDID)

(ในภาพ 2) ดร.อนุชิต อนุชิตานุกูล (กลาง) ที่ปรึกษา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารเกียรตินาคินภัทร จำกัด (มหาชน) นายสุรพล โอภาสเสถียร (ซ้าย) ผู้จัดการใหญ่ บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด (เครดิตบูโรนายบุญสันต์ ประสิทธิ์สัมฤทธิ์ (ขวา) ผู้จัดการใหญ่ บริษัท เนชั่นแนลดิจิทัลไอดี จำกัด (NDID)

(ในภาพ 3) ดร.อนุชิต อนุชิตานุกูล (กลาง) ที่ปรึกษา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารเกียรตินาคินภัทร จำกัด (มหาชน) นายสุรพล โอภาสเสถียร (ซ้าย) ผู้จัดการใหญ่ บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด (เครดิตบูโรนายบุญสันต์ ประสิทธิ์สัมฤทธิ์ (ขวา) ผู้จัดการใหญ่ บริษัท เนชั่นแนลดิจิทัลไอดี จำกัด (NDID)

(ในภาพ 4) ดร.อนุชิต อนุชิตานุกูล (ขวา) ที่ปรึกษา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารเกียรตินาคินภัทร จำกัด (มหาชน) นายสุรพล โอภาสเสถียร (กลาง) ผู้จัดการใหญ่ บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด (เครดิตบูโร) นายบุญสันต์ ประสิทธิ์สัมฤทธิ์ (ซ้าย) ผู้จัดการใหญ่ บริษัท เนชั่นแนลดิจิทัลไอดี จำกัด (NDID)

(ในภาพ 5) ดร.อนุชิต อนุชิตานุกูล (ซ้าย) ที่ปรึกษา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารเกียรตินาคินภัทร จำกัด (มหาชน) นายสุรพล โอภาสเสถียร (กลาง) ผู้จัดการใหญ่ บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด (เครดิตบูโร) นายบุญสันต์ ประสิทธิ์สัมฤทธิ์ (ขวา) ผู้จัดการใหญ่ บริษัท เนชั่นแนลดิจิทัลไอดี จำกัด (NDID)

 

เกี่ยวกับธนาคารเกียรตินาคินภัทร จำกัด (มหาชน)

ธนาคารเกียรตินาคินภัทร จำกัด (มหาชน) เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร ที่ประกอบด้วยบริษัทหลักทรัพย์เกียรตินาคินภัทร จำกัด (มหาชน) และบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน เกียรตินาคินภัทร จำกัด โดยธนาคารมีวิสัยทัศน์ในการนำทรัพยากรทางการเงินสู่ลูกค้าอย่างถูกต้อง พอเพียงและทั่วถึง ด้วยการบริการที่เหนือความคาดหมายและไม่อาจหาได้จากแหล่งอื่น  

ทั้งนี้ ธุรกิจของธนาคารครอบคลุมสินเชื่อบรรษัท สินเชื่อธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ สินเชื่อธุรกิจเอสเอ็มอี และสินเชื่อรายย่อย เช่น สินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย และสินเชื่อส่วนบุคคล ตลอดจนเชื่อมโยงกับธุรกิจด้านตลาดทุน ที่ประกอบด้วยธุรกิจวานิชธนกิจ (Investment Banking) ธุรกิจนายหน้า  ค้าหลักทรัพย์สำหรับผู้ลงทุนสถาบัน ธุรกิจที่ปรึกษาการลงทุนส่วนบุคคล (Wealth Management) ธุรกิจการลงทุน (Direct Investment) และธุรกิจจัดการกองทุน ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.kkpfg.com

เกี่ยวกับบริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด

บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด (เครดิตบูโร) เป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้างพื้นฐานทางการเงิน (Financial Infrastructure) และปัจจัยของเสถียรภาพระบบสถาบันการเงิน  โดยทำหน้าที่จัดเก็บ รวบรวม และประมวลผลข้อมูลสินเชื่อของลูกค้าสถาบันการเงิน ตามที่สถาบันการเงินหรือบริษัทที่เป็นสมาชิกจัดส่งให้เท่านั้น และเครดิตบูโรไม่มีความเกี่ยวข้องหรือมีสิทธิอนุมัติหรือร่วมตัดสินใจให้สินเชื่อกับใคร

ทั้งนี้ บริษัทได้พัฒนาระบบการประมวลผล รายงานผลข้อมูลเครดิต  และปรับปรุงคุณภาพของข้อมูลให้มีความถูกต้อง รวดเร็วและทันสมัย โดยเพิ่มศักยภาพทางด้านการรักษาความปลอดภัยสารสนเทศอย่างต่อเนื่อง โดยบริษัทได้ยึดถือหลักการในการปกป้องและรักษาความลับของข้อมูลเป็นอย่างยิ่ง ตลอดจนคำนึงถึงการดูแลและคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภคซึ่งเป็นเจ้าของข้อมูลเป็นอย่างยิ่งเช่นกัน ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.ncb.co.th

เกี่ยวกับบริษัท เนชั่นแนลดิจิทัลไอดี จำกัด

บริษัท เนชั่นแนลดิจิทัล ไอดี จำกัด (NDID) ให้บริการโครงสร้างพื้นฐานการพิสูจน์ และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล เรียกว่า “บริการ NDID” เพื่อให้การพิสูจน์และยืนยันตัวตนมีประสิทธิภาพ สามารถเชื่อมโยงกับหน่วยงานในภาคส่วนต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนเข้าด้วยกัน เพื่อสร้างมาตรฐานและยกระดับการทำธุรกรรมออนไลน์ต่างๆ ให้มีความน่าเชื่อถือ รัดกุม ปลอดภัย ด้วยมาตรการการพิสูจน์ยืนยันตัวตนตามมาตรฐานสากล เช่น การรู้จักตัวตนลูกค้าทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-KYC) การลงนามด้วยลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ (e-Signature) การให้ความยินยอมในการเปิดเผยข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Consent) อีกทั้งยังเป็นการสร้างระบบ Data Sharing โดยเชื่อมต่อข้อมูลของหน่วยงานต่างๆ ซึ่งต้องได้รับการยินยอมจากเจ้าของข้อมูลก่อน บริการ NDID จะช่วยลดความยุ่งยาก ซับซ้อนในการพิสูจน์และยืนยันตัวตน รวมถึงช่วยอำนวยความสะดวกให้กับประชาชนผู้รับบริการในการทำธุรกรรมออนไลน์ให้สะดวก รวดเร็ว และปลอดภัย รองรับบริการทางดิจิทัลอย่างครบวงจร โดยมีผู้ถือหุ้นมากกว่า 60 บริษัท ทั้งจากหน่วยงานภาครัฐ และเอกชน ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.ndid.co.th

 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

ธนาคารเกียรตินาคินภัทร จำกัด (มหาชน)  ธนกร จ๋วงพานิช  tanakorn.juan@kkpfg.com

บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด ฝ่ายธุรกิจสัมพันธ์และภาพลักษณ์องค์กร ilovebureau@ncb.co.th

บริษัท เนชั่นแนลดิจิทัล ไอดี จำกัด ndid_care@ndid.co.th

 

ขอสินเชื่อที่ไหนก็โดนปฏิเสธรัว ๆ อาจเป็นเพราะ 4 พฤติกรรมนี้!!

ขอสินเชื่อที่ไหนก็โดนปฏิเสธรัว ๆ อาจเป็นเพราะ 4 พฤติกรรมนี้!!

4 พฤติกรรมเสี่ยง เปลี่ยนให้ไวถ้าไม่อยากโดนปฏิเสธสินเชื่อ!

หลักเกณฑ์ในการอนุมัติหรือไม่อนุมัติสินเชื่อ ขึ้นอยู่กับสถาบันการเงินที่เราจะไปยื่นขอกู้สินเชื่อ โดยพิจารณาจากประวัติการชำระที่ผ่านมา รายได้ ภาระหนี้ที่มีอยู่ หลักค้ำประกัน และปัจจัยอื่น ๆ เพื่อประกอบการพิจารณาตามนโยบายสถาบันการเงิน หากท่านต้องการยื่นขอสินเชื่อให้ผ่านจำเป็นต้องเลี่ยง 4 พฤติกรรมเหล่านี้ค่ะ

1. หลักเกณฑ์การพิจารณาของแต่ละสถาบันการเงิน
หลักเกณฑ์ในการพิจารณาขอสินเชื่อทั้งหมดจะขึ้นอยู่กับสถาบันการเงิน ซึ่งทางเครดิตบูโรมีหน้าที่เพียงเก็บประวัติข้อมูลการค้างชำระของผู้กู้เพียงเท่านั้น ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องในการพิจารณาสินเชื่อแต่อย่างใดค่ะ

2. ไม่ประเมินความสามารถในการชำระหนี้ของตนเอง
ในการพิจารณาสินเชื่อของแต่ละสถาบันการเงิน จะประเมินค่าใช้จ่ายของท่านในแต่ละเดือน ยกตัวอย่างเช่น หากท่านประเมินแล้วว่ามีภาระค่าใช้จ่ายที่สูงเกินกว่า 40% ทุกเดือน จะมีโอกาสที่สถาบันการเงินปฏิเสธได้ เพราะมีภาระค่าใช้จ่ายที่สูงจนเกินไป

3. ชำระหนี้ไม่ตรงตามเวลาที่กำหนด
เพราะประวัติการชำระหนี้เป็นหนึ่งในเกณฑ์การพิจารณาการขอสินเชื่อของสถาบันการเงิน หากท่านใดที่ต้องการกู้ แต่ยังคงมีหนี้ค้างชำระ จำเป็นที่จะต้องเคลียร์หนี้ค้างชำระให้หมด เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาในการกู้ขอสินเชื่อในอนาคตนั่นเองค่ะ

ดังนั้นแล้วหากท่านต้องการที่จะขอสินเชื่อให้ผ่าน จำเป็นที่ต้องเลิกพฤติกรรมเหล่านี้ให้หมด แล้วปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้จ่ายใหม่ เพื่อที่จะขอสินเชื่อให้ผ่านแล้วยังทำให้ท่านมีวินัยการเงินที่ดีด้วยนั่นเองค่ะ

เศรษฐกิจคิดง่ายๆ (ดิจิทัล) : หากคนรุ่นฟันปลอมกับคนรุ่นฟันน้ำนม​ จะฟังคนรุ่นฟันแท้ที่อยู่ตรงกลางพูดบ้างได้ไหม : วันจันทร์ที่ 9 พฤศจิกายน 2563

หากคนรุ่นฟันปลอมกับคนรุ่นฟันน้ำนม​ จะฟังคนรุ่นฟันแท้ที่อยู่ตรงกลางพูดบ้างได้ไหม

ผู้เขียนได้พบข้อเขียนของคนรุ่นฟันแท้อายุประมาณ​ 27​ ปี ทำงานมาสี่ห้าปี​ จบการศึกษา​ดี​ เคยไปโครงการแลกเปลี่ยนต่างประเทศ​ เป็นลูกคนชั้นกลางพ่อทำงานออฟฟิศ แม่ทำการค้าขายเป็น​ SME ขนาดจิ๋ว​ บรรพบุรุษ​ก็เป็นคนไทยเชื้อสายจีน​ เขาได้พูดถึงความในใจแบบยอมรับว่ามีโอกาสทัวร์​ลงใน​เฟซบุ๊กแต่เขาก็ยอมนำเสนอข้อคิดความเห็นบางท่อนบางตอนดังนี้

.. เรารู้ว่าหลายคนในสังคมเป็นคนมีสิทธิพิเศษ (privilege) มากๆ จนไม่ต้องสนใจสภาพการเมืองเวลานี้แต่ก็ยังอยู่สบาย ไม่ต้องออกมาพูด​ มาขยับก็ได้ นั่นก็อาจเพราะความเชื่อว่า “ทำตัวเราให้ดีก็พอ” ไม่คิดว่ามันต้องเกี่ยวข้องกับตัวเอง เลือกจะไม่ให้เกี่ยวได้ หรือ “เท้าไม่ต้องติดพื้น” ไม่ต้องเดินเหินบนฟุตพาทแล้วน้ำเน่ากระฉอกใส่ ไม่ต้องเห็นภาพคนแก่นั่งขอทานตามสถานีขนส่งสาธารณะต่างๆ ในระยะประชิดให้ปวดใจ ไม่ต้องมาคิดว่าจะตกงาน หรือ ไม่ตกงานเพราะเป็นลูกหลานเจ้าของกิจการ มีที่ดิน มีทรัพย์สินสำรองไว้ยามฉุกเฉินอย่างเพียงพอ

เมื่อใดที่ได้มานั่งทบทวน privilege ในชีวิตที่ตนเองมีแต่คนอื่นไม่มีมันจะทำให้เข้าใจได้ว่า “ทำไมคนอื่นเขาต้องออกมาเรียกร้อง” และมีข้อเสนอมากมาย​ อยากลองให้คิดตามเป็นข้อๆ ดังนี้

1. สังคมไทยที่เราเติบโตมามักสอนให้เรามองอะไรแบบโทษปัจเจก โทษว่าคนจนเพราะจนเลยเครียด เครียดเลยกินเหล้า ไม่อดออม ภาพจำของคนมีฐานะหลายคนรอบตัวเรา คือ คนจนเป็นคนไม่ขยัน คนมีฐานะดีกว่ามักชอบสั่งสอนเขา แต่เราไม่สอนภาพกว้างให้เกิดความรู้และเข้าใจ เรื่องของความเหลื่อมล้ำในสังคมว่าครอบครัวจำนวนมากหาได้ไม่พอใช้จะเอาที่ไหนไปออม?

2. หลายคนพูดกับเราเสมอมาว่าใครบริหารประเทศนี้ก็ไม่ดีทั้งนั้นให้ “เริ่มที่ตัวเรา” หากแต่เราเริ่มที่ตัวเรามานานเกินไปแล้ว เราทำงานเกือบสี่ปี​ เราจ่ายภาษี ช่วยเหลือคนที่ลำบากรอบตัว แต่ให้เริ่มที่ตัวเราอีกสัก 100 ครั้ง มันก็พังเหมือนเดิมถ้าสังคมเราไม่ปรับขยับไม่ปรับโครงสร้างให้รองรับคนจำนวนมากขึ้นที่กำลังลำบากของสังคมเสียที มีคนทำธุรกิจร่ำรวยคนนึงเคยบอกเราว่า “จะทำเพื่อสังคมทำไม รอรวยก่อนสิค่อยทำ ค่อยเอาเงินไปแจก ไปทำบุญ” ฟังแล้วมันก็อึ้งนะเหมือนเขามองการให้เป็นแค่การกุศล​ ทั้งที่ถ้าเราทำให้คนลืมตาอ้าปากได้ ธุรกิจเขาก็จะยิ่งมีฐานลูกค้ามากขึ้นหรือไม่

3. ดังนั้นก่อนจะบอกใครให้ขยัน ให้สู้ ให้พยายาม ต้องยอมรับกับตัวเองก่อนว่าถ้าไม่ได้เกิดในครอบครัวตัวเองที่มีฐานะร่ำรวยทุกวันนี้ก็อาจไม่ได้มีความสุขสบายรายล้อม ยอมรับก่อนว่าที่ได้มาเพราะว่าโชคที่เกิดมาในบ้านที่มีทรัพยากรมากพอบวกการมีความเหลื่อมล้ำทางสังคม

4. โครงสร้างสังคมมันกดทับคนให้คนจำนวนมากต้องยากจนตลอดชีวิตแบบที่ไม่สามารถลืมตาอ้าปากได้ ช่องว่างระหว่างคนจนคนรวยห่างกันมากขึ้นทุกๆ ที เราเคยอ่านงานเขียนชิ้นนึงจำไม่ได้ว่าที่ไหนแต่เค้าสรุปความเท่าเทียมไว้ว่า “ความเท่าเทียมต้องไม่ใช่แค่การขีดเส้นหาค่าแรงขั้นต่ำ (ว่าคนไทยได้ 15,000 บาท คือโอเคแล้วพอแล้ว) แต่คือการขีดเส้นจากคนที่รวยที่สุดในสังคมลงไปถึงคนที่จนที่สุดแล้วดูว่าจะทำอย่างไรให้สิ่งพื้นฐานในสังคม อย่างการศึกษา และขนส่ง�

5. คนรุ่นฟันปลอม​ รุ่นฟันแท้เชื่อจริงหรือไม่ว่าเด็กคืออนาคตของชาติ เด็กในวันนี้คือผู้ใหญ่ในวันหน้า​ เด็กฉลาดชาติเจริญ ถ้าเชื่อว่าเขาคือ อนาคต​ เขาคือคนที่จะมารับผิดชอบสังคมในอนาคต​ แล้วทำไมถึงเกี่ยงงอนที่จะฟังเสียงของพวกเขาเหล่านั้น

ตัวอย่างเช่น​ เวลาเห็นเราๆ ท่านๆ เห็นข่าวเด็กวัยรุ่นกระทำความรุนแรง​ อยากให้ลองคิดว่าที่เด็กหลาย ๆ คนเค้าต้องเข้าไปอยู่ในกระบวนการยุติธรรมไทยมันเพราะว่าเด็กไม่รักดี หรือ เพราะเขาไม่มีโอกาสที่จะได้เห็นเลยว่าความหมายของคำบอกว่า “ดี” มันคืออะไร​ เป็นไปได้ไหมว่าเขาที่สร้างความรุนแรงนั้นอยู่ในระบบการศึกษาที่เขาพ่ายแพ้ และอาจอยู่ในสภาพแวดล้อมที่บ่มเพาะเขาขึ้นมาจนเป็นแบบนี้

ผู้ใหญ่หลายคนทนไม่ได้กับการที่เห็นเด็กเล็กถูกทำร้าย​ แต่กลับบอกให้จัดการเลยกับเด็กรุ่นฟันน้ำนมที่เวลานี้ลุกขึ้นตั้งคำถามที่กระอักกระอ่วน​ใจที่จะตอบ​ บางทีลึกๆ แล้วมันคือคำถามเดียวกันที่ตนเองก็ไม่ชอบ​ และอยากตั้งคำถามเช่นเดียวกัน​ ตัวอย่างเช่น​ ระบบการให้การศึกษาแก่ผู้คนมันจะดีกว่านี้ได้หรือไม่​ ระบบการขนส่งมวลชน​มันควรมีคุณภาพและราคาที่เหมาะสมกว่านี้ไหม ทำไมเราทำฟุตพาท​ให้ดีเพื่อให้คนเดินที่ดีกว่านี้ไม่ได้หรือ เป็นต้น​

คนรุ่นฟันปลอมอาจต้องตอบคำถามว่าเรากำลังจะส่งมอบสังคม​ ค่านิยมแบบไหนให้คนรุ่นฟันแท้​ และจะอยู่​ร่วมกันคนที่มีความคิดแตกต่างหลากหลายโดยไม่คิดใช้อารมณ์​ คำพูด​ กำลัง​กาย หรืออาวุ​ธ​ หักหาญ​เอากับคนที่เห็นต่างได้หรือไม่

ผู้เขียนคิดว่า​ ในบทสรุปของการเดินทางต่อไป​ ในท่ามกลางความโกลาหล​ของ​ ปัญหาสุขภาพ​อนามัย​ ปัญหาการทำมาหากินการสร้างรายได้​ ปัญหาภาระ​หนี้สิน​ ปัญหาการรักษางานเอาไว้​ ซึ่งเป็นเรื่องระดับปัจเจก​ ปัญหาด้านค่านิยมก็เป็นอีกมิติหนึ่งที่เราๆ ท่านๆ ไม่ว่าวัยไหน​จะต้อง

(1) ไม่เพิกเฉยต่อความรุนแรงระหว่างประชาชนด้วยกัน​ไม่ว่าจะเป็น​ ใครทำกับใคร​ ยิ่งพวกบ่างช่างยุ​ ยิ่งพวกชอบทำให้สังคมเคลื่อนไหวในทิศทางตามความเชื่อตัวเอง​ เจ้าพิธีในการจัดคนโน้นมาชนคนนี้​ ซึ่งเราจะพบว่ามีการจัดสร้างพิธีกรรมมากมายทั้ง​ Online/Offline ในเวลานี้

(2) เราไม่สามารถเงียบต่อความเหลื่อมล้ำ ต่อการย่ำอยู่กับที่หรือถอยหลังกันได้อีกแล้ว ขอให้ทุกท่านที่มีศักภาพและอยู่ในฐานะที่ดีกว่าคนอื่นตามที่ตนได้รับมาไม่ว่าโดยครอบครัว​ โดยธุรกิจ​ โดยอำนาจของกฎหมาย​ หากท่านมีตำแหน่งแห่งที่อยู่ตรงไหนก็ตาม​ ลองคิดดูว่าท่านอยากอยู่กันในสังคมแบบไหน อยากส่งต่ออะไรให้คนรุ่นต่อไปในอนาคต​ เพราะเราไม่มีสิทธิทำให้สังคมมันแย่ลง​ ด้อยลงกว่าตอนที่เราได้รับมาจากคนรุ่นก่อน

ผมมีข้อความหนึ่งจากหนังสือ​ ปัญญา (ฝ่า)​ วิกฤติ​ ศิลปะแห่งการรับมือกับวิกฤติ​ในช่วงเว​ลาท้าทาย​ที่สุด​ของชีวิตที่ระบุว่า​ “เห็นภาพใหญ่​ กำหนดทิศ​ ตัดสินใจ” มาฝากยังทุกท่านที่ให้ความอนุเคราะห์​อ่านบทความนี้ครับ

เรื่องน่าอ่าน