Blog Page 79

เศรษฐกิจคิดง่ายๆ (ดิจิทัล) : ข้อคิดจากบทความนักวิชาการธนาคารกลางสู่ความจริงในเวลานี้ : วันจันทร์ที่ 2 พฤศจิกายน 2563

ข้อคิดจากบทความนักวิชาการธนาคารกลางสู่ความจริงในเวลานี้

ผู้เขียนต้องขอชื่นชมท่านที่เขียนบทความนี้แม้ว่าจะออกตัวว่ามิใช่ความเห็นขององค์กร​ที่ตนเองสังกัดแต่เป็นความเห็นของตนเองก็ตาม​ บทความนี้เป็นสารตั้งต้นให้ผู้เขียนคิดและลงมือเสนอเรื่องราวต่อจากสิ่งที่​ ดร.ฐิติมา ชูเชิด ฝ่ายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย​ ได้กล่าวไว้ว่าในโลกของภาคปฏิบัตินั้นน่าจะเกิดขึ้นอย่างไร​ และแน่นอนว่าสิ่งนั้นจะเกิดในปลายปี​ 2563​ นี้แหละครับ

ท่านนักวิชาการและผู้บริหารของธนาคารกลางได้ระบุในบทความว่า​…. Social banking คือ บริการธนาคารออนไลน์บนแอปโซเชียลมีเดีย เป็นโมเดลธุรกิจที่ธนาคารจับมือกับบริษัทเทคโนโลยีเจ้าของแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียที่มีฐานข้อมูลลูกค้าจำนวนมหาศาลความร่วมมือระหว่างธนาคารกับ Super App ชั้นนำที่มีทุกอย่างครบในแอปเดียว จะช่วยเสริมความแข็งแกร่งในระยะยาวให้ธนาคารจากการแชร์ข้อมูลกับพันธมิตร ทำให้ Social banking ให้บริการทางการเงินกลุ่มลูกค้าที่ยังเข้าไม่ถึงธนาคารเพราะไม่มีบัญชีเงินฝาก หรือกู้ไม่ได้เพราะไม่มีเอกสารยืนยันรายได้เมื่อ Social banking มีข้อมูลใหม่ด้านอื่นมาเสริม ก็จะช่วยให้ธุรกิจนี้เสนอบริการทางการเงินต่างๆได้ถูกที่ ถูกเวลา ตรงความต้องการและศักยภาพของลูกค้าได้ดีขึ้น

ในปัจจุบันพฤติกรรมผู้บริโภคคุ้นเคยกับเทคโนโลยีในยุคดิจิทัล ใช้เวลาบนโลกโซเชียลนานขึ้นชอบความสะดวกสบายในการทำธุรกรรมการเงินดิจิทัลได้ครบในแอปเดียว คนมีทางเลือกมากขึ้นจากบรรดาแพลตฟอร์มธุรกิจเทคโนโลยีที่นำเสนอผลิตภัณฑ์ ธนาคารจึงต้องเร่งปรับตัวให้เข้าไปอยู่บน Super App ที่รวมทุกไลฟ์สไตล์ของลูกค้าให้ใช้บริการการเงินได้ทุกที่ทุกเวลา

ธุรกิจแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย ก็อาศัยจุดแข็งของธนาคารด้านบริการทางการเงินดิจิทัลเต็มรูปแบบและความไว้เนื้อเชื่อใจที่ลูกค้ามีให้กับธนาคารมาเสริมจุดแข็งของตัวเองที่เข้าใจพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปของผู้ใช้งานบนเครือข่ายจำนวนมหาศาลและเก่งในการออกแบบแอปให้ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ของผู้ใช้งานให้ทำทุกอย่างได้ในแอปไม่ว่าจะเป็นการแช็ต-ช็อป-บันเทิง-สั่งอาหารส่งของ-เรียกรถไปจนถึงการโอน-ออม-ยืม-จ่ายโดยเฉพาะกลุ่มผู้ประกอบอาชีพอิสระหรือไม่มีรายได้ประจำที่ยังเข้าไม่ถึงธนาคารโดยจะมีการวิเคราะห์ข้อมูลพฤติกรรมผู้ใช้งานแอปแต่ละรายเชิงลึกเพื่อประมวลผลแบบปัญญาประดิษฐ์ทำให้รู้ถึงความเสี่ยงในการกู้เงินและการชำระคืนได้ง่าย…

ท่านผู้อ่านลองนึกตามผมนะครับ

1.SME รายจิ๋วคนหนึ่งเป็นสมาชิกใน​ Platform ขายของในขณะที่ตนเองยังศึกษาในปีสุดท้ายของมหาวิทยาลัยแต่มองเห็นโอกาสในช่วงที่ธุรกิจบนออนไลน์​กำลังมา​ จึงระดมทุนจากที่บ้าน​ เพื่อนฝูงมาดำเนินกิจการ​ แนวโน้มธุรกิจไปได้ดี​ เงินที่วิ่งเข้าวิ่งออกเป็น​ Wallet

2.ต่อมาก็มีข้อเสนอจาก​ Platform ว่าสนใจใช้บริการสินเชื่อวงเงินไม่เกิน​ 50,000 บาทไหมจากธนาคารแห่งหนึ่งเพราะระบบการวิเคราะห์ระบุว่าคนนี้ไปต่อได้แน่นอน

3.SME รายนี้สนใจและเข้าไปดำเนินการผ่าน​ App ของตัว​ Platform ซึ่งมีเมนูของธนาคารนั้นฝังอยู่​ กระบวนการพิสูจน์และยืนยันตัวตนก็เกิดขึ้น​ SME รายนี้ไม่มีบัญชีกับธนาคาร​ เขาก็เพียงเดินไปเสียบบัตรประชาชน​ และให้ถ่ายภาพใบหน้าตัวเองที่ตู้เติมเงินของโทรศัพ​ท์เคลื่อน​ที่​ App ก็เตือนขึ้นมาว่าการพิสูจน์​และยืนบันตัวตนเรียบร้อยแล้ว (KYC จบแล้ว)​

4.SME รายนี้กรอกข้อมูล​ตามที่​ App ต้องการ​ และดำเนินการให้ความยินยอมในการที่ธนาคารจะใช้ข้อมูล​ซื้อขายของตนเองที่​ Platform ให้ความยินยอมให้เครดิตบูโรเปิดเผยข้อมูล​เครดิต​ คะแนนเครดิต ยินยอมให้โน่นนี่จนครบ​ จากนั้นก็จะปรากฏข้อมูล​สรุปก่อนกดคำสั่งส่งข้อมูล​ให้ธนาคาร​

5.ไม่เกิน​ 15นาที​ ก็มี​ SMS​ เรียกเข้าว่าเงินกู้อนุมัติแล้ว​ ต้องการยืนยันให้โอนเงินกู้ที่ได้รับจากบัญชีที่เปิดใหม่ไปเข้า​ Wallet ของ Platform หรือไม่​

6.เอกสารหนังสือสัญญาก็ปรากฏขึ้นในเครื่องโทรศัพท์​เคลื่อนที่ภายใน​ App หากยืนยันการลงนามให้ใส่​ PIN ที่เป็นรหัสเข้า​ App และถ่ายภาพใบหน้าตัวเองอีกครั้งหนึ่งเพื่อการยืนยันว่ามีการตอบรับลงนามในสัญญาแล้ว

7.เงินที่ได้รับอนุมัติวิ่งไปเข้า​ Wallet ตามที่กำหนด​ มี​ SMS แจ้งยืนยันว่ามีการถอนเงินจากบัญชีที่เปิดไว้รับเงินกู้จากธนาคารนั้น​ เรียบร้อย​

8.สิ้นเดือน​ SME รายนี้จะได้รับ​ statement รายงานการเคลื่อนไหวเงินเข้าออกใน​ Wallet เงินเข้าออกจากบัญชีเงินฝาก​ ซึ่งแสดงยอดการชำระหนี้ผ่านการหักอัตโนมัติ​ตามข้อตกลงทุกประการ

9.ผ่านไปหกเดือน​ SME รายนี้ก็ไปยื่นเรื่องขอกู้เงินจากอีกธนาคารหนึ่งผ่านสาขา​ มีการเสียบบัตร​ ถ่ายภาพ​ และยืนยันว่าตนเองมีบัญชีเดินอยู่กับอีกธนาคารหนึ่ง​ ขอให้ธนาคารนั้นยืนยันว่าฉันคือคนๆ เดียวกัน​ กรอกข้อมูล​ลงในอุปกรณ์​ของธนาคารที่สาขานั้นคล้ายๆกับธนาคารแห่งแรก ภายในเวลาไม่เกิน​ 30 นาที​ ทางสาขาก็แจ้งว่าได้รับอนุมัติเบื้องต้น​ 100,000​ บาท​ และขอให้จัดส่งเอกสารยืนยันเรื่องรายได้จากกรมสรรพากร (คัดแบบแสดงรายการที่เสียภาษี)​ มาเพื่อจัดทำกระบวนการอนุมัติขั้นตอนสุดท้าย​ ส่วนเงินกู้จะโอนเข้า​ Wallet ได้เลยโดยอาจไม่ต้องเปิดบัญชีเงินฝากแบบไม่มีสมุดกับธนาคารแห่งที่สอง

ในภาษาทางเทคนิค​ Open​ super App + Loan application in supper App + eKYC by NDID platform + eConsent + Credit​ bureau report + Bureau score + Platform score + Internal bank score + eContract + eSignature + Money transfer to Wallet…

โลกเปลี่ยน​ คนต้องปรับ​ ธุรกิจต้องขยับ​ เพื่อความอยู่รอด..

ขอบคุณครับ

คอลัมน์ เครดิตบูโรคิดเป็นเห็นต่าง : “เชื่อเพื่อนจนทำผิด โดยขอกู้แทนมิตร สุดท้ายเครดิตจึงต้องพังง” หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ฉบับวันศุกร์ 6 พฤศจิกายน 2563

เชื่อเพื่อนจนทำผิด โดยขอกู้แทนมิตร สุดท้ายเครดิตจึงต้องพัง

บทความวันนี้ผมขอนำเสนอข้อมูลจากที่เกิดขึ้นในชีวิตจริงและก็เป็นอะไรที่เกิดอยู่เป็นจำนวนพอประมาณความเดือดร้อนที่เกิดขึ้นจาก “หนี้สินที่คนอื่นมายืมชื่อของตัวเราเองไปก่อเอาไว้แล้วไม่ยอมใช้หนี้ ท้ายสุดตัวเราเองคือคนที่ต้องมานั่งเสียเงิน เสียใจ เสียความรู้สึก และเสียเพื่อนในท้ายที่สุด” เราลองมาฟังคำถามของท่านที่เดือดร้อนนี้ที่ติดต่อมาที่เครดิตบูโรดังนี้ครับ

….ดิฉันเคยผ่อนมอเตอร์ไซต์ให้เพื่อนผ่านบัตรเครดิตและเข้าใจว่าเพื่อนจ่ายหมดแล้ว เพราะเวลาถามไปก็จะบอกว่าเคลียร์แล้ว ไม่เคยเอะใจหรือขอดูเอกสารยืนยันการชำระหนี้ เพราะเชื่อใจเพื่อนมาก แต่เมื่อสองเดือนที่แล้ว  ดิฉันได้รับจดหมายทวงหนี้จากบริษัทติดตามหนี้สินที่ได้แจ้งว่าซื้อหนี้มาจากบริษัทบัตรเครดิตในบัญชีที่เป็นการผ่อนมอเตอร์ไซต์นั้น ยอดหนี้ไม่กี่พันบาท ดิฉันจึงสอบถามเพื่อน ปรากฏความจริงว่าที่เคยบอกว่าจ่ายหมดไปแล้วนั้นคือ “คำโกหก” และเมื่อเร็วๆ นี้ ดิฉันได้ลองไปตรวจเครดิตบูโรของตัวเอง “พบว่าในรายงานเครดิตบูโรนั้นมีประวัติบอกสถานะบัญชี 42 คือ โอนหรือขายหนี้ ยอดหนี้เป็นศูนย์” อยากทราบว่าที่บริษัทติดตามหนี้สินที่ซื้อหนี้ของดิฉันมาบริหาร และมีหนังสือแจ้งทวงมานั้น ดิฉันไม่จ่ายได้หรือไม่ เพราะเพื่อนก็ไม่รับผิดชอบทั้งสิ้น ตอนนี้ดิฉันติดต่อเพื่อนไม่ได้แล้วด้วย

ประเด็นสำคัญที่ควรหยิบมาพิจารณาและดำเนินการให้ถูกต้อง คือ
1. ตอนนี้ท่านผู้อ่านเชื่อหรือยังว่า จิตมนุษย์นี้ไซ้ ยากแท้ หยั่งถึง สังคมไทยเป็นอะไรที่เกรงใจคำขอมากที่สุดโดยเฉพาะคำขอที่มักจะย้ำตามมาว่า “ไม่เชื่อใจเพื่อนหรืออย่างไร” หรือ “ทำไมเรื่องแค่นี้เพื่อนจะช่วยเพื่อนไม่ได้”
2. ตอนนี้ทุกท่านควรทราบอย่างยิ่งว่า ประวัติความน่าเชื่อถือของเราในเรื่องการเงิน เรื่องหนี้สินไปขึ้นกับพฤติกรรมของคนอื่นนั้น มันมีความเสี่ยงขนาดไหน ท่านต้องไม่ทำโดยเด็ดขาด ไม่ว่าฟ้าจะถล่มแค่ไหนก็ต้องไม่ให้ใครเขามาเอาชื่อของเราไปใช้ในเรื่องแบบนี้
3. ไม่มีใครรู้ว่าท่านกู้แทนกันหรือไม่นะครับ นี่เป็นตัวอย่างหนึ่งของการเป็นหนี้แทนคนอื่นแล้วเกิดปัญหา เจ้าหนี้ไม่สามารถทราบได้เลยว่าเป็นการกู้แทนกันเพราะไม่มีใครแจ้งความจริง จนกระทั่งเรื่องแดงขึ้นมาว่าคนที่ไปขอกู้ (ที่ให้เพื่อนยืมชื่อ) เจอหนังสือทวงถามเอาเต็มๆ ดังนั้นใครที่กำลังจะเป็นหนี้แทนคนอื่น ขอให้คิดให้รอบคอบ คิดหลายๆ รอบ
4. ที่บริษัทบัตรเครดิตต้องขายหนี้ออกไปเพราะมันตามยาก จำนวนน้อย ไม่คุ้มกับการติดตาม หรือการดำเนินการทางกฎหมาย เขาจึงขายออกไปให้กับคนที่จะเอาไปทวงถามต่อและคิดว่าจะติดตามให้มีการนำเงินมาชำระได้ พูดง่ายๆ เขาถนัดและเชี่ยวชาญการตามหนี้กว่าบริษัทบัตรเครดิตนั่นเอง
5. สถานะของบัญชีระบุว่า 42 คือ โอนหรือขายหนี้ ก็ตรงกับข้อเท็จจริงที่ว่ามีการขายหนี้จากฝั่งบริษัทบัตรเครดิตไปยังบริษัทติดตามหนี้สิน เลขสี่สิบสองเป็นเพียงการระบุ Code เท่านั้น

6. ที่ระบุว่ายอดหนี้เป็นศูนย์ หมายความว่า บริษัทบัตรเครดิตได้รับเงินจากการขายหนี้ออกไปแล้ว เงินที่ชำระไม่ได้มาจากลูกหนี้แต่มาจากบริษัทติดตามหนี้สินที่ชำระหนี้บัญชีเป็นค่าซื้อขายสิทธิเรียกร้อง ดังนั้นบริษัทบัตรเครดิตจึงไม่ได้เป็นเจ้าหนี้อีกต่อไป ยอดหนี้จึงเป็นศูนย์ ประกอบกับสิทธิเรียกร้องให้ลูกหนี้เจ้าของบัญชีเดิมได้โอนย้ายจากบริษัทบัตรเครดิตมายังบริษัทติดตามหนี้สิน ลูกหนี้ที่ปรากฏชื่อในสัญญาที่แม้ไม่ใช่เจ้าของบัญชีตัวจริง (เพราะมีการยืมชื่อไปก่อหนี้) ก็ต้องรับผิดชอบในหนี้ที่เกิดขึ้น จะไปเหมาแบบมั่วๆ เข้าข้างตัวเองว่าเพราะมียอดหนี้เป็นศูนย์แล้วจะไม่จ่ายไม่ได้ครับ
7. เป็นหนี้ต้องใช้หนี้ สัญญาต้องเป็นสัญญา ไปทำไว้อย่างไรก็ต้องรับผิดชอบไปตามนั้น เมื่อยังไม่มีการชำระหนี้ที่ค้างไว้ก็ยังไม่มีการปิดบัญชี
8. แนะนำให้เจรจากับบริษัทติดตามหนี้สินเพื่อชำระหนี้ที่ค้างและปิดบัญชีอย่างสมบูรณ์เพื่อจบปัญหา และเมื่อมีการชำระหนี้ปิดบัญชีกับบริษัทติดตามหนี้สินแล้ว ให้นำใบเสร็จรับเงินที่เขาออกให้ มาเป็นหลักฐานการยื่นขอสินเชื่อใหม่กับสถาบันการเงินที่มีโครงการจะขอสินเชื่อ สถาบันการเงินที่จะพิจารณาจะได้เห็นข้อมูลในส่วนที่ดี ว่ามีการชำระหนี้ที่ค้างไปแล้วสมบูรณ์ สถาบันการเงินนั้นอาจพิจารณาสินเชื่อให้ตามคำขอก็ได้ ทั้งนี้ เครดิตบูโรไม่มีความเกี่ยวข้องหรือมีสิทธิอนุมัติหรือร่วมตัดสินใจให้สินเชื่อกับใครครับ
9. ท่านควรเลิกคบเพื่อนคนนี้หรือไม่ ท่านควรแจ้งเพื่อนฝูงหรือไม่ว่า คนที่ทำให้เราเดือดร้อนรายนี้เพื่อนๆ ที่เหลือควรเลิกคบหรือไม่ ท่านจะนิ่งเฉยเสมือนเป็นการส่งเสริมให้เขาคนนั้นไปคิดทำแบบนี้กับคนอื่นอีกมากมายหรือไม่…ผมว่าท่านมีคำตอบแล้ว

เครดิตบูโรมีหน้าที่อะไร? ใครกันแน่ที่ทำให้เรากู้ไม่ผ่าน?

เครดิตบูโรมีหน้าที่อะไร? ใครกันแน่ที่ทำให้เรากู้ไม่ผ่าน?

กู้ไม่ผ่านสักที เพราะเครดิตบูโรจริงหรือ ?

เมื่อการยื่นขอสินเชื่อไม่ผ่าน มักจะเกิดคำถามทุกครั้งว่าเกิดจากสาเหตุใด เป็นเพราะเครดิตบูโรหรือไม่ แล้วเครดิตบูโรทำหน้าที่อะไร ส่งผลต่อการยื่นขอสินเชื่อจริงไหม วันนี้มาทำความเข้าใจกับเครดิตบูโรกันค่ะ

“หน้าที่หลักของเครดิตบูโรคืออะไร?”

เครดิตบูโร ทำหน้าที่ เก็บข้อมูลการชำระหนี้ของลูกหนี้ ตามพฤติกรรมที่เกิดขึ้นจริง เพื่อให้สถาบันการเงินที่ขอสินเชื่อไว้กับสถาบันการเงินที่เป็นสมาชิกเครดิตบูโร ใช้เป็นส่วนหนึ่งในการวิเคราะห์ความสามารถในการชำระหนี้

แต่เครดิตบูโรไม่ได้มีส่วนในการอนุมัติหรือไม่อนุมัติสินเชื่อแต่อย่างใด การตัดสินใจทั้งหมดจะขึ้นอยู่กับสถากันการเงินที่ดูปัจจัยหลาย ๆ อย่างประกอบกัน

ฉะนั้นในการยื่นขอกู้สินเชื่อนั้น จะขอกู้ผ่านหรือไม่ผ่าน ขึ้นอยู่กับนโยบาย คุณสมบัติ และหลักเกณฑ์ในการพิจารณาของแต่ละสถาบันการเงินที่กำหนดขึ้นมาค่ะ

ปัจจัยในการกู้ไม่ผ่าน สินเชื่อไม่อนุมัติมีหลายสาเหตุปัจจัยมากมาย ซึ่งเราได้ยกตัวอย่างปัจจัยที่อาจทำให้ท่านขอสินเชื่อไม่ผ่านมาฝากกันค่ะ

1. ประวัติไม่เข้าตาสถาบันการเงิน
การขอกู้สินเชื่อสถาบันการเงินจะมีนโยบายหลักเกณฑ์และคุณสมบัติที่กำหนดไว้อย่างชัดเจนและแตกต่างกันไป เช่น อายุ รายได้ ประวัติการเงิน ภาระหนี้ เป็นต้น ซึ่งหากมีข้อใดที่ขาดตกบกพร่อง หรือไม่ผ่านคุณสมบัติก็อาจะทำให้กู้ไม่ผ่านได้

2. ความสามารถในการชำระหนี้อยู่ในเกณฑ์ที่ต่ำ
สถาบันการเงินจะพิจารณาความสามารถในการชำระหนี้ของผู้กู้ว่าจะสามารถชำระหนี้ได้อย่างสม่ำเสมอหรือไม่ โดยวัดจากสลิปเงินเดือน และหนี้สินของผู้กู้ ซึ่งหากมีหนี้สินมากกว่าทรัพย์สินหรือสัดส่วนค่าใช้จ่ายแต่ละเดือนสูง ก็มีสิทธิ์ที่จะขอสินเชื่อไม่ผ่านได้ค่ะ

3. หลักประกันความเสี่ยงของผู้ขอสินเชื่อ
เช่น หลักค้ำประกัน ผู้ค้ำประกัน เป็นต้น หากหลักประกันมีความไม่น่าเชื่อถือ อาจส่งผลกระทบต่อการพิจารณาขอสินเชื่อจากสถาบันการเงินได้ค่ะ

4. ประวัติการชำระหนี้ที่ผ่านมาของลูกหนี้
หากผู้ขอสินเชื่อ เคยมีการยื่นขอสินเชื่อผ่านก่อนหน้านี้ สถาบันการเงินจะพิจารณาความสามารถในการชำระหนี้จากประวัติการชำระหนี้ที่ผ่านมา

สรุปคือ การที่จะกู้ผ่านหรือไม่ ขึ้นอยู่กับ 2 สาเหตุ
– สถาบันการเงิน
เป็นผู้ที่ออกหลักเกณฑ์ในการอนุมัติ และตัดสินใจว่าจะให้สินเชื่อหรือไม่ ซึ่งการจะขอสินเชื่อผ่านหรือไม่ผ่านจะขึ้นอยู่กับสถาบันการเงินค่ะ

– ตัวเราเอง
ควรมีพฤติกรรมการใช้เงินที่ดี รักษาประวัติเครดิตให้ไม่เสีย และคุณสมบัติให้ตรงเกณฑ์สถาบันการเงิน

จดทะเบียนสมรสกันแล้วหนี้อะไรบ้างที่ต้องรับผิดชอบร่วมกัน

จดทะเบียนสมรสกันแล้วหนี้อะไรบ้างที่ต้องรับผิดชอบร่วมกัน

เรื่องของหนี้เป็นสิ่งที่ไม่เข้าใครออกใคร แม้ว่าจะเป็นหนี้ที่เกิดจากคู่สมรส หรือคนในครอบครัวก็ตาม แล้วคำถามที่เกิดขึ้นตามมาคือ หนี้แบบไหนที่คู่สมรสต้องร่วมกันรับผิดชอบ และหนี้แบบไหนที่ไม่ต้องร่วมรับผิดชอบ มาหาคำตอบกันค่ะ

หนี้แบบไหนที่คู่สมรสต้องรับผิดชอบร่วมกัน

1. หนี้จากการใช้จ่ายทั่วไป
หนี้ที่เกี่ยวกับการใช้จ่ายภายในบ้าน ไม่ว่าจะเป็นค่าใช้จ่ายทั่วไป ค่ากิน ค่าเลี้ยงดูบุตร รวมไปถึงค่ารักษาพยาบาลของคนในครอบครัว ซึ่งถือเป็นสิ่งที่ต้องรับผิดชอบร่วมกัน

2. หนี้ที่เกี่ยวข้องกับสินสมรส
คือ ทรัพย์สินที่คู่สมรสได้มาระหว่างสมรส หรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาระหว่างสมรสโดยพินัยกรรม เช่น หนี้ค่าต่อเติมบ้าน หนี้จากการกู้ยืมเพื่อซื้อที่ดินเป็นสินสมรส เป็นต้น ซึ่งหนี้ประเภทนี้ถือเป็นหนี้ที่คู่สมรสต้องรับผิดชอบร่วมกัน

3. หนี้จากการทำธุรกิจร่วมกัน
เช่น การเปิดร้านอาหาร กิจการการค้าขายร่วมกัน เป็นต้น ซึ่งค่าใช้จ่ายภายในร้านถือเป็นค่าใช้จ่ายร่วมกัน แม้ว่าจะเกิดจากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไปกู้ยืมมาก็ตาม หากเกิดการผิดชำระหนี้เราก็ต้องเป็นผู้ชำระหนี้แทนค่ะ

4. หนี้จากการสัตยาบันจากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
แม้ว่าจะไม่ใช่ผู้กู้เงินด้วยตนเองก็ตาม แต่หากได้มีการสตยาบันหรือทำนิติกรรมให้กับอีกฝ่าย ก็ถือว่าเป็นหนี้ร่วมเช่นกันตามกฎหมาย

หนี้แบบไหนที่คู่สมรสไม่ต้องรับผิดชอบร่วมกัน

1. หนี้สินก่อนสมรส
เพราะถือเป็นหนี้ส่วนตัว ไม่เกี่ยวข้องกับคู่สมรส ดังนั้นคู่สมรสจึงไม่จำเป็นต้องรับผิดชอบหนี้ก้อนนี้ให้

2. หนี้จากการพนัน
หนี้ที่กู้มาใช้เพื่อการพนัน ไม่ถือเป็นหนี้ร่วมกันเพราะไม่ได้กู้มาเพื่อนำมาใช้จ่ายครอบครัว ไม่จำเป็นต้องชำระหนี้แทน

3. หนี้จากบัตรเครดิต
ภาระหนี้ที่เกิดจากบัตรเครดิตส่วนตัว ที่นำไปใช้จ่ายเพื่อการส่วนตัว เช่น ซื้อของใช้ส่วนตัว ชำระค่าบริการที่เป็นเรื่องส่วนตัว ไม่ใช่ครัวเรือน ไม่ถือว่าเป็นหนี้ที่คู่สมรสต้องจ่าย หรือชำระร่วมกัน

4. หนี้จากสัญญาค้ำประกัน
เพราะถือมีสถานะเป็นเพียงผู้กู้ ไม่ได้มีสถานะเเป็นลูกหนี้ร่วม จึงไม่มีความจำเป็นต้องชำระหนี้ร่วมกัน

5. หนี้ที่กู้มาเพื่อมอบให้กับบุคคลที่สาม
ซึ่งบุคคลที่สามในที่นี้คือ บุคคลที่ไม่ใช่คนในครอบครัว ญาติพี่น้อง เช่น ชู้ เพื่อน เป็นต้น หากคู่สมรสเกิดค้างชำระหนี้ก็ไม่จำเป็นต้องรับผิดชอบร่วมกัน

จดทะเบียนสมรสกันแล้วหนี้อะไรบ้างที่ต้องรับผิดชอบร่วมกัน

ตรวจเครดิตบูโรแบบนิติบุคคล ขั้นตอนง่าย ขอได้ไม่ยุ่งยาก

ตรวจเครดิตบูโรแบบนิติบุคคล ขั้นตอนง่าย ขอได้ไม่ยุ่งยาก

นิติบุคคลอยากตรวจเครดิตบูโร สามารถยื่นคำร้องได้กี่วิธี ?

สำหรับท่านที่เปิดบริษัทเป็นของตนเองและอยากทราบข้อมูลเครดิตของทางบริษัท สามารถยื่นคำร้องขอตรวจเครดิตแบบนิติบุคคล ได้ 2 วิธี คือยื่นด้วยตนเองที่ศูนย์ตรวจเครดิตบูโร ณ อาคารเดอะไนน์ ทาวเวอร์ส แกรนด์ พระรามเก้า ชั้น 2 โซนพลาซา (อยู่ใกล้สถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน MRT พระราม9 และอยู่ด้านหลังเซ็นทรัลพระราม9) และยื่นผ่านทางไปรษณีย์ค่ะ

รายละเอียดเพิ่มเติม: https://www.ncb.co.th/check-your-credit-bureau/corporate-check-credit-bureau-at-postoffice/

รหัสที่ต้องเก็บให้มิด ถ้าไม่อยากโดนโกง

รหัสที่ต้องเก็บให้มิด ถ้าไม่อยากโดนโกง

ตัวเลขพวกนี้ หลุดปุ๊บ งานเข้าปั๊บ!

ภัยการเงินเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ใครชอบซื้อของออนไลน์ นอกจากข้อมูลส่วนตัวที่ควรพึงระวังแล้ว “รหัส” ถือเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่ต้องระมัดระวังเป็นอย่างยิ่ง เพราะหากข้อมูลเกิดรั่วไหลไปอาจส่งให้ท่านเป็นหนี้แบบไม่รู้ตัวได้เลยล่ะค่ะ

รหัสที่ต้องเก็บให้มิด ถ้าไม่อยากโดนโกง

รายจ่าย “ไม่จำเป็น” ต้องเททิ้ง ก่อนเป็นหนี้เกินตัว

รายจ่าย “ไม่จำเป็น” ต้องเททิ้ง ก่อนเป็นหนี้เกินตัว

รายจ่ายแบบนี้ต้องรีบเท ถ้าไม่อยากหนี้ท่วมหัวววววว!

รู้ไหมว่ารายจ่ายบางอย่าง เมื่อจ่ายนาน ๆ ไป อาจก่อให้เกิดเป็นหนี้สินได้โดยไม่รู้ตัว
ถ้าไม่อยากให้รายจ่ายไม่จำเป็นก่อตัวเป็นหนี้สิน เราจึงต้องรีบเทรายจ่ายไม่จำเป็นนี้ทิ้ง เพื่อการเงินที่ดีในอนาคตกันค่ะรายจ่าย “ไม่จำเป็น” ต้องเททิ้ง ก่อนเป็นหนี้เกินตัว

1. รายจ่ายที่เกิดจากค่าบริการส่วนเกิน
เช่น ค่าธรรมเนียมบัตรกดเงินสด , ค่า SMS รายเดือนที่ไม่จำเป็น , ค่าปรับหรือดอกเบี้ยจากบัตรเครดิต แม้จะเป็นค่าใช้จ่ายที่เล็กน้อย แต่ถ้าหากนำมารวมกันก็ถือเป็นเงินใหญ่ได้เหมือนกัน รายจ่าย “ไม่จำเป็น” ต้องเททิ้ง ก่อนเป็นหนี้เกินตัว

2. สังสรรรค์บ่อยจนเป็นเหตุ
รายจ่ายที่เกิดจากการไปปาร์ตี้ทุกสุดสัปดาห์ ทำให้รายจ่ายไม่พอใช้ในแต่ละเดือน และอาจต้องหมุนเงินในภายหลัง รายจ่าย “ไม่จำเป็น” ต้องเททิ้ง ก่อนเป็นหนี้เกินตัว

3. เห็นของ Sale ต้องรีบพุ่งเข้าหา
รายจ่ายที่เกิดจากสินค้าลดราคาหรือโปรโมชั่น เพราะคิดว่าถูกและคุ้ม แต่อีกมุมก็คือการนำเงินออกจากกระเป๋าดี ๆ นี่เอง รายจ่าย “ไม่จำเป็น” ต้องเททิ้ง ก่อนเป็นหนี้เกินตัว

4. ซื้อของตามกระแสนิยม
ช่วงนี้กำลังอินเทรนด์อะไร สินค้าไหนกำลังมา ไหนจะคนรอบข้างยุยงให้ซื้อ ถ้าหากไม่มีสติ หรือมีความยับยั้งชั่งใจมากพออาจสูญเสียกันไปไม่น้อยเลยล่ะค่ะ รายจ่าย “ไม่จำเป็น” ต้องเททิ้ง ก่อนเป็นหนี้เกินตัว

5. สมัครสมาชิกสารพัด แต่ไม่ได้ใช้บริการ
ค่าบริการบางอย่างที่ตั้งใจว่าจะใช้บริการแต่กลับไม่ได้ใช้ แนะนำว่าควรยกเลิกไปก่อน เพื่อป้องกันการสูญเสียรายจ่ายที่ไม่จำเป็น รายจ่าย “ไม่จำเป็น” ต้องเททิ้ง ก่อนเป็นหนี้เกินตัว

เรื่องน่าอ่าน