Blog Page 80

ชีวิตดีการ์ดไม่ตก ด้วยวิธี “เก็บ-เพิ่ม-กั๊ก”

ชีวิตดีการ์ดไม่ตก ด้วยวิธี “เก็บ-เพิ่ม-กั๊ก”

ทุกวันนี้เราใส่มาสก์เพื่อป้องกันไม่ให้การ์ดตกอย่างไร การออมเงินเพื่อเก็บไว้ใช้ในอนาคตก็ไม่ควรให้การ์ดตกเช่นกันนะคะ…

ท่านใดที่รู้สึกว่าการ์ดกำลัง ‘ตก’ ลองนำวิธีเก็บ-เพิ่ม-กั๊ก ไปใช้กันดูค่ะ รับรองว่าการ์ดจะไม่ตกอีกต่อไป

ชีวิตดีการ์ดไม่ตก ด้วยวิธี “เก็บ-เพิ่ม-กั๊ก”

วางแผนการเงินตาม Gen ใครก็ทำง่าย ได้ความมั่นคงชัวร์

วางแผนการเงินตาม Gen ใครก็ทำง่าย ได้ความมั่นคงชัวร์

“เพราะช่วงชีวิตและเวลาที่ต่างกัน ความต้องการในแต่ละช่วงวัยจึงต่างตาม”

หากบอกว่าอนาคตเป็นสิ่งที่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา เป้าหมายชีวิตและการวางแผนการเงินของคนแต่ละวัยก็เปลี่ยนได้เช่นกัน ในช่วงวัยเด็กเราอาจจะมีเป้าหมายว่าอยากเก็บเงินเยอะ ๆ ไปซื้อของกิน ของเล่น แต่เมื่อเริ่มเข้าสู่วัยทำงานความคิดนั้นอาจเปลี่ยนแปลงไป เริ่มมีวางแผนชีวิตและการเงินอย่างจริงจังมากขึ้น เช่น อยากสร้างครอบครัว ทำธุรกิจเป็นของตนเอง เป็นต้น และเมื่อเริ่มก้าวเข้าสู่วัยเกษียณเป้าหมายในชีวิตของเราอาจจะมีเพียงแค่ใช้ชีวิตอย่างสุขสบาย ไม่เจ็บป่วยก็ได้

และเมื่อระยะเวลาทำให้ความคิดเราเปลี่ยน เราจึงจำเป็นจะต้องมีวิธีการวางแผนชีวิตและแผนการเงินที่เหมาะสม ตามฉบับของคนแต่ละช่วงวัยค่ะ…

  1. วัยเรียน (อายุ 0-22 ปี)

– ช่วงระหว่างกำลังศึกษาเป็นช่วงที่ยังไม่มีรายได้หลักเป็นของตนเอง ทั้งยังไม่มีภาระหนี้สิน เป้าหมายหลักจึงจะเป็นการออมเงินเพื่อใช้จ่ายส่วนตัว เที่ยวเล่นกับเพื่อนซะเป็นส่วนใหญ่ ยังไม่ได้มีการวางแผนการเงินอย่างเป็นจริงเป็นจังนัก

– วัยนี้ถือเป็นจุดเริ่มต้นในการสร้างวินัยทางการเงินที่ดี เพราะหากในอนาคตหากเรามีเป้าหมายที่ชัดเจน ก็จะสามารถวางแผนการเงินอย่างเป็นระบบเพื่อไปสู่เป้าหมายที่วางไว้ได้โดยง่าย

– แนวทางการเริ่มออมเงินและการลงทุนสำหรับคนวัยนี้อาจเริ่มจากการออมทีละเล็ก ๆ เน้นการฝากเงินที่มีความเสี่ยงต่ำ เช่น การฝากอออมทรัพย์ หรือฝากประจำ เป็นต้น เพื่อสะสมเงินไว้ลงทุนในอนาคต

  1. วัยเริ่มต้นทำงาน (อายุ 23-30 ปี)

– ช่วงเวลาที่หางานที่ใช่สำหรับใครหลาย ๆ คน มีหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบมากขึ้น เนื่องจากสามารถหาเงินด้วยตนเองได้

– เป้าหมายของคนวัยนี้จะเริ่มจริงจังมากขึ้น ต้องการที่จะสร้างเนื้อสร้างตัว เปิดประสบการณ์ในชีวิต ทั้งเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมในการศึกษาข้อมูล ความรู้การลงทุนอย่างจริงจัง เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นในการวางแผนการเงินและการลงทุนที่ดี

– แนวทางการลงทุนที่เหมาะสมสำหรับคนในช่วงวัยนี้ เช่น การฝากประจำ ตราสารหนี้ เป็นต้น เพราะมีความเสี่ยงต่ำเหมาะสำหรับผู้เริ่มต้นลงทุน

  1. วัยสร้างฐานะและครอบครัว (อายุ 31-40 ปี)

– ช่วงอายุ 30 ปีขึ้นไป เป็นช่วงที่หน้าที่การงานเริ่มมีความมั่นคงและก้าวหน้าขึ้น หน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบก็จะสูงขึ้นด้วยเช่นกัน

– เป้าหมายของกลุ่มคนวัยนี้ก็จะเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัด มุ่งไปที่สร้างฐานะให้มั่นคงในอนาคต สร้างครอบครัวที่สมบูรณ์

– การวางแผนการเงินจึงไม่ได้มีแค่การฝากเงินหรือลงทุนที่มีความเสี่ยงต่ำ แต่จะเลือกการลงทุนที่ได้ผลตอบแทนสูง ซึ่งนั่นก็จะมีความเสี่ยงสูงตามมา เช่น หุ้น กองทุนรวม อสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น

  1. วัยรักษาความมั่นคงและสุขภาพ (อายุ 41-50 ปี)

– ในวัยเลข 4 หน้าที่การงานและฐานะของคนวัยนี้จะเริ่มมีความมั่นคง และอยู่ตัวแล้ว

– เป้าหมายหลักส่วนใหญ่จึงไม่ใช่การเที่ยวเล่นเหมือนเช่นวัยเรียน หรือมุ่งสร้างชีวิตเหมือนช่วงเริ่มต้นทำงาน แต่เป็นการหันมาใส่ใจในเรื่องของชีวิตหลังเกษียณมากขึ้น รวมไปถึงเรื่องของปัญหาสุขภาพ

– แนวทางการวางแผนการเงินและการลงทุนของคนวัยนี้ จึงควรเน้นไปที่การลงทุนกับประกันสุขภาพ ประกันชีวิต และวางแผนชีวิตเกษียณอย่างเป็นระบบมากขึ้นนั่นเอง

  1. วัยก่อนเกษียณ (อายุ 51-55 ปี)

– ช่วงก่อนเข้าวัยเกษียณอย่างเต็มรูปแบบ หลายคนเริ่มเตรียมแผนการเงินและเกษียณกันมาเป็นอย่างดี เป็นช่วงเวลาที่เงินที่นำไปลงทุนได้งอกเงยขึ้นจนกลายเป็นเงินก้อนใหญ่ หากใครที่มีการออมเงินหรือลงทุนอย่างสม่ำเสมอ ก็จะมีไว้ใช้จ่ายยามหลังเกษียณอย่างแน่นอน หรือสำหรับใครที่เพิ่งเริ่มต้นลงทุนได้ไม่นานก็ยังสามารถลงทุนในช่วงนี้ได้เช่นกัน

– การวางแผนและการลงทุนในช่วงวัยนี้ มักจะเลือกแนวทางการลงทุนที่มีความเสี่ยงระดับกลาง แต่ให้ผลตอบแทนได้สูง เช่น กองทุนรวม ตราสารหนี้ ตราสารทุน เป็นต้น

  1. วัยหลังเกษียณ (ตั้งแต่อายุ 55 ปีขึ้นไป)

– ช่วงเวลานี้เป็นช่วงที่ใครหลาย ๆ คนเริ่มปลดเกษียณกันแล้ว เป้าหมายของคนวัยนี้มักจะเป็นการวางแผนชีวิตให้มีความสุข ดูแลสุขภาพให้แข็งแรงมากกว่าวางแผนการเงินเพราะมองว่าเลยช่วงเวลานั้นมาแล้ว ซึ่งจริง ๆ แล้วชีวิตหลังเกษียณก็ลงทุนได้

– แนวทางการลงทุนหลังเกษียณคือ เน้นการลงทุนที่มีความเสี่ยงต่ำ หรือเป็นแหล่งพักเงินที่ได้ดอกเบี้ยและผลตอบแทนกลับมา เช่น ฝากประจำ ตราสารหนี้ พันธบัตรรัฐบาล เป็นต้น เพื่ออย่างน้อย ๆ ผลตอบแทนเล็ก ๆ เหล่านั้นเราสามารถนำมาใช้จ่ายยามฉุกเฉินที่อาจจะเกิดขึ้น

สุดท้ายนี้ไม่ว่าจะเป็นการออมเงินรูปแบบไหน และในช่วงวัยใด สิ่งสำคัญที่สุดคือการสร้างวินัยการเงินที่ดีค่ะ หากเรามีวินัยที่ดีตั้งแต่เนิ่น ๆ เป้าหมายที่เราวางไว้ในแต่ละช่วงวัยก็จะประสบผลสำเร็จอย่างแน่นอนค่ะ

5 ศัตรูตัวร้ายของการออมเงิน จัดการให้ไว ก่อนเงินไม่เหลือเก็บ

5 ศัตรูตัวร้ายของการออมเงิน จัดการให้ไว ก่อนเงินไม่เหลือเก็บ

“เก็บเงินมาตั้งนาน แต่ทำไมเงินที่เก็บไม่เพิ่มขึ้นสักทีนะ”

ปัญหาใหญ่สำหรับการออมเงินนั่นก็คือ กิเลส หรือความต้องการที่มากจนเกินความจำเป็น ทำให้บางครั้งเราสูญเสียเงินที่เก็บมาไปกับสิ่งของเหล่านั้นโดยไม่รู้ตัว ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะกลายมาเป็นศัตรูตัวร้ายที่มาคอยขัดขวางการออมเงินของเรา ฉะนั้นเพื่อให้เงินที่เก็บมาไม่สูญไป เราต้องมารู้จักกับ 5 ศัตรูตัวร้ายของการออมเงิน พร้อมกับวิธีกำจัดกันค่ะ

ศัตรูตัวที่ 1 เงินเฟ้อ

ภาวะเงินเฟ้อเป็นปัญหาที่เราไม่สามารถกำจัดได้ด้วยตนเอง เพราะเป็นสิ่งที่เกิดจากสภาพเศรษฐกิจในขณะนั้น ทำให้ค่าของเงินลดลง เช่น ปัจจุบันค่าข้าวแกงจานละ 45 บาท เมื่อผ่านไป 10 ปี อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 3% เราจะซื้อข้าวแกงได้ในราคา 46.14 บาท ซึ่งภาวะเช่นนี้หากเรามีรายรับเท่าเดิมแต่รายจ่ายสูงขึ้น ก็อาจทำให้เราไม่มีเงินเหลือเก็บได้

วิธีแก้ไขสำหรับศัตรูตัวนี้คือ นำเงินออมของเราไปลงทุนที่ให้ผลตอบแทนมากกว่าอัตราเงินเฟ้อนั่นเอง ทั้งนี้ก่อนการลงทุนอย่าลืมศึกษารายละเอียด และเตรียมพร้อมที่จะรับความเสี่ยงในการลงทุนให้ดีก่อนลงทุนด้วยนะคะ

ศัตรูตัวที่ 2 เหตุการณ์ไม่คาดฝัน

เหตุไม่คาดฝันถือเป็นเรื่องที่สามารถเกิดขึ้นได้อยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นประสบอุบัติเหตุ เจ็บป่วยเข้าโรงพยาบาล ลาออกจากงาน เป็นต้น ซึ่งล้วนแต่เป็นสิ่งที่ไม่ได้อยู่ในการวางแผนการเงิน หรือไม่ก็เกินขีดที่เราวางแผนไว้

วิธีป้องกันศัตรูตัวนี้คือ  ลงทุนกับประกันชีวิต ประกันสุขภาพ หรือประกันอุบัติเหตุ เพื่อเพิ่มความคุ้มครองในชีวิตที่อาจเกิดเหตุไม่คาดฝัน และใช้ชีวิตอย่างมีสติ ไม่ประมาทเพื่อป้องกันศัตรูตัวนี้ค่ะ

ศัตรูตัวที่ 3 ขาดวินัยในการออมเงิน

ใช้เงินฟุ่มเฟือย ไม่วางแผนการเงิน หรือออมเงินไม่สม่ำเสมอ ถือเป็นศัตรูตัวฉกาจที่แฝงมาอยู่ในนิสัยการใช้เงินของเราโดยไม่รู้ตัว บางคนก็ไม่รู้ว่าแต่ละเดือนรายจ่ายที่เสียไปหมดไปกับอะไร ซึ่งล้วนแต่มีสาเหตุที่เกิดจากตนเองทั้งสิ้น

วิธีป้องกันศัตรูตัวนี้คือ ต้องเริ่มจากตัวเราเองค่ะ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้เงินใหม่ สร้างวินัยการออมเงินด้วยการออมเงินอย่างสม่ำเสมอ มองว่าเป็นหน้าที่ที่เราต้องทำทุกวันเหมือนกับการอาบน้ำ แปรงฟัน แล้วศัตรูตัวร้ายนี้จะหายไปแน่นอนค่ะ

ศัตรูตัวที่ 4  ความโลภบังตา

ความโลภในที่นี้คือ ความโลภที่เกิดจากความต้องการผลตอบแทนสูงจากการลงทุน บางคนต้องการไปถึงเป้าหมายที่วางไว้โดยเร็วก็ทุ่มเงินที่มีลงทุนในสิ่งที่มีความเสี่ยงสูงเพื่อหวังจะได้ผลตอบแทนสูง ๆ กลับมา ซึ่งการทำเช่นนี้สุ่มเสี่ยงต่อการขาดทุนเป็นอย่างมาก

วิธีป้องกันศัตรูตัวนี้คือ ต้องลงทุนอย่างมีสติ ศึกษาข้อมูลก่อนการลงทุนให้อย่างละเอียด ประเมินความพร้อมและการรับมือกับความเสี่ยงในการลงทุนของเราว่าสามารถรับความเสี่ยงได้มากน้อยแค่ไหน เพื่อรักษาเงินออมของคุณให้ปลอดภัยและงอกเงยในระยะยาวนั่นเองค่ะ

ศัตรูตัวที่ 5 เลือกซื้อของตามกระแสนิยม

ปัจจุบันสินค้าหลากหลายประเภทมักเลือกผลิตตามกระแสนิยม หรือความชอบของคนในสังคม เพื่อกระตุ้นให้ผู้บริโภคอย่างเราเลือกซื้อสินค้านั้น ๆ บางคนเห็นว่าสินค้ากำลังเป็นที่นิยมก็เลือกซื้อโดยลืมคำนึงถึงเรื่องของรายจ่ายที่ตามมา ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้ถือเป็นศัตรูตัวร้ายที่จะมาขัดขวางการออมเงินของเราได้ค่ะ

วิธีป้องกันศัตรูตัวร้ายนี้คือ ต้องพยายามหยุดพฤติกรรมการซื้อของตามกระแสนิยม ไม่อ่อนไหวไปกับสินค้าตามเทรนด์ในช่วงนั้น ๆ เลือกซื้อของที่คิดว่าจำเป็นและเหมาะสมกับตนเองดีกว่า

ศัตรูตัวร้ายบางตัวสามารถป้องกันได้ หากรู้จักปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการเงินของตนเอง มีสติก่อนการใช้จ่ายอยู่เสมอ เพียงเท่านี้ก็สามารถมีเงินเก็บได้แล้วค่ะ

ขอบคุณข้อมูลจาก https://www.set.or.th/education/th/start/start_start_3_1.pdf

วิธีจัดการหนี้อย่างง่าย ๆ ถ้าไม่อยากเสียเครดิตทางการเงิน

วิธีจัดการหนี้อย่างง่าย ๆ ถ้าไม่อยากเสียเครดิตทางการเงิน

เป็นหนี้ไม่ใช่เรื่องผิด แต่เป็นหนี้แล้วไม่ชำระตรงเวลาถือว่าพลาด เสียเครดิตทางการเงินไปเต็ม ๆ เพราะฉะนั้นถ้าไม่อยากเสียเครดิตทางการเงินไป ควรรู้จักวิธีจัดการหนี้ที่อย่างถูกต้องกันค่ะ

วิธีจัดการหนี้อย่างง่าย ๆ ถ้าไม่อยากเสียเครดิตทางการเงิน

1. หยุดก่อหนี้(เสีย)เพิ่ม
ต้องแจกแจงหนี้ให้ได้ว่าอะไรที่เป็นหนี้ดี-หนี้เสีย และอย่าสร้างหนี้ใหม่เพื่อไปโปะหนี้เก่า เพราะจะเป็นการผูกปมสร้างหนี้ต่อไปเรื่อย ๆ วิธีจัดการหนี้อย่างง่าย ๆ ถ้าไม่อยากเสียเครดิตทางการเงิน

2. สำรวจหนี้สินที่มี และเช็กความสามารถในการชำระหนี้
ควรตรวจสอบภาระหนี้สินทุกอย่างที่ตนเองมี เพื่อให้เห็นภาพรวมอย่างชัดเจน และสามารถนำมาจัดการบริหารรายจ่ายและหนี้สินได้อย่างเหมาะสม วิธีจัดการหนี้อย่างง่าย ๆ ถ้าไม่อยากเสียเครดิตทางการเงิน

3. วางแผนการเงิน และจัดสรรค่าใช้จ่ายใหม่
ปรับลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นลง แล้วนำเงินส่วนนั้นเปลี่ยนมาเป็นเงินออม และหากต้องการเพิ่มความมั่นคงในชีวิตก็สามารถปรับสัดส่วนการออมเงินให้เพิ่มขึ้นได้ วิธีจัดการหนี้อย่างง่าย ๆ ถ้าไม่อยากเสียเครดิตทางการเงิน

4. หาช่องทางในการเพิ่มรายได้
หารายได้นอกเหนือจากรายได้หลักหรืองานประจำ เพื่อสร้างความมั่นคงให้กับการเงินของตนเอง วิธีจัดการหนี้อย่างง่าย ๆ ถ้าไม่อยากเสียเครดิตทางการเงิน

แนะนำวิธีการประคองธุรกิจ SME ทำอย่างไรถึงจะอยู่รอดได้ เมื่อประสบกับปัญหาหลัก

มาฟัง “คุณสุรพล โอภาสเสถียร” ผู้จัดการใหญ่ เครดิตบูโร แนะนำวิธีการประคองธุรกิจ SME ทำอย่างไรถึงจะอยู่รอดได้ เมื่อประสบกับปัญหาหลัก อาทิ
– ขายของไม่ดี
– ไม่มีกำไร
– ใช้หนี้ไม่ทัน
ผู้ประกอบการ SME ต้องปลี่ยนวิธีคิด ลดต้นทุน เปลี่ยนวิธีการค้าขาย สิ่งสำคัญ คือ การควบคุมค่าใช้จ่าย และถ้ามีหนี้ก็ต้องปรับโครงสร้างหนี้

3 ข้อแนะนำเพื่อสถานะการเงินที่แข็งแกร่ง

“3 ข้อแนะนำเพื่อสถานะการเงินที่แข็งแกร่ง”
มาฟัง “คุณสุรพล โอภาสเสถียร” ผู้จัดการใหญ่ เครดิตบูโร แนะนำสิ่งที่ควรรู้ ใครทำตามได้ทั้ง 3 ข้อนี้  รับรองว่าสถานะการเงินแข็งแกร่งขึ้นแน่นอน

1. อย่าชะล่าใจ
2. ต้องมีเงินเก็บ 6 เท่า ของค่าใช้จ่ายต่อเดือน
3. ต้องระวังมิจฉาชีพและหนี้นอกระบบ

การบริหารจัดการเงิน “ใครมีหนี้อยู่ควรจัดการอย่างไร?”

Ep.2 มาฟัง “คุณสุรพล โอภาสเสถียร” ผู้จัดการใหญ่ เครดิตบูโร มาแนะนำสิ่งที่ควรรู้ว่า “ใครมีหนี้อยู่ควรจัดการอย่างไร?”
กับ 4 ข้อแนะนำที่จะรับมือกับวิกฤติ Covid-19 ที่ควรรู้
1. ต้องออมเงินเพิ่มขึ้น
2. ต้องหยุดการใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น
3. กินอยู่อย่างไม่ปรุงแต่ง
4. ถ้าเป็นหนี้ต้องปรับโครงสร้าง

เศรษฐกิจคิดง่ายๆ (ดิจิทัล) : ทางตันที่สี่แยก : วันจันทร์ที่ 26 ตุลาคม 2563

ทางตันที่สี่แยก

ใครก็ตามที่เติบโต​ขึ้นมาภายใต้แรงผลักดันความโลภ​ โกรธ​ หลง​ อันเป็นพื้นฐานของมนุษย์ที่อุดมไปด้วยกิเลส ยึดถือเอาเป้าหมายเป็นคำพูดสวยๆ ว่ามันคือการสร้างงาน​ สร้างอาชีพ​ ได้สร้างและสะสมความมั่งคั่งให้กับตนเอง​ ครอบครัว​ กิจการ​ สร้างความมั่นคงในทางทรัพย์สิน​เพื่อเป็นหลักประกันว่า “จะเสียหาย​ ทุกข์​ยากเป็นคนสุดท้าย” แล้วแปลงสิ่งเหล่านี้มาเป็นความชอบธรรม​ผ่านกฎกติกาของสังคมที่ตนเองและกลุ่มของตนเองคิด​ พัฒนาขึ้นมาเพื่อการเข้าถึงทรัพยากร​ธรรมชาติ​ เข้าถึงระบบการศึกษา​ เข้าถึงระบบการกำกับดูแล​ ระบบการตัดสินว่าใครผิดใครถูก​ ถูกเรื่องไหน​ ผิดเรื่องอะไร​ ความแตกต่างในจุดนี้ได้สร้างช่องว่างที่เรียกว่าความเหลื่อมล้ำระหว่างคนกับคน​ กลุ่มคนกับกลุ่มคน​ ขยายตัวขึ้นมาทุกวันทุกปี​ ไม่ว่าจะวัดด้วยสิ่งใด​ จนวันหนึ่งเราก็ตื่นขึ้นมาจากที่นอนอันสุขสบายแล้วพบว่า​ สี่แยกแห่งความเป็นอยู่ได้เกิดเหตุ​อุดตันจนปริวิตก​ไปว่า​ ฉันยังจะรักษาสิ่งนี้ได้ต่อไปอีกหรือไม่​ เพราะสิ่งที่มาตามทางแยกมันเจรจาได้ยาก​ รับมือได้ยากมากๆ​ สิ่งที่มาในแต่ละแยกคือ

1.แยกที่หนึ่งคือการแพร่ระบาดของไวรัส​ ที่มีความเป็นตายเป็นเดิมพัน​

2.วิกฤติทางเศรษฐกิจ​ หนักเบาก็ตามแต่โครงสร้างว่าออกแบบกันแบบไหน​ ไปขึ้นกับปัจจัยทางสาธารณสุขกันขนาดไหน

3.วิกฤติทางการเมือง​ มีความคิดเห็นในทางการเมืองที่แตกต่างหลากหลาย​ ซ้ายสุดขั้ว​ ขวาตกขอบ​ แรงงานเป็นใหญ่​ ทุนต้องมาก่อน​ คนที่อยู่ตัวอยากอยู่แบบเดิม​ คนที่เห็นความลำบากในอนาคตอยากเปลี่ยนแปลง​ มันก็มาปะทะกันในทุกมิติในเวลาปัจจุบัน​ ยิ่งเป็นยามโพล้เพล้​เวลานี้ที่เมืองกรุง​ ยิ่งให้ประหวั่นพรั่นพรึง​ ยกเว้นพี่ๆ รถขายของกิน​ CIA ที่มองเป็นโอกาสถ้าไม่โดนแกงไปเสียก่อน​ ที่สำคัญคือผู้คนในระบบการเมืองของกรอบปัจจุบันจะ​ (1) เข้าอกเข้าใจหรือไม่ว่าเรากำลังเจออะไรกันอยู่​ (2) พี่ๆ เหล่านั้นในระบบจะหาทางออกจากปัญหาที่แท้จริงได้หรือไม่หรือจะยิ่งทำให้ปัญหามันไปไกลจนยากแก้ไขและ (3) กลไกหรือระบบที่พี่ๆ วเขาอยู่กันนั้นเป็นกลไกที่เรียกว่าอำนาจในการกำหนดชะตาชีวิตเป็นของผู้คนจริงหรือระบบตัวแทนยังมีประสิทธิภาพ​หรือไม่หรือเป็นเพียงรูปแบบเท่านั้น

4.ความเจริญงอกงามทางเทคโนโลยี​และความเร็วของข่าวสารทั้งจริงและเท็จมันวิ่งเข้ามาปะทะผู้คนทุกเพศทุกวัย​ จนเปรียบเทียบได้ว่ามันแทบจะกลืนกินชีวิตจิตใจแถมครอบงำวิญญาณเลยทีเดียว​ ระบบความคิดแบบ​ 1,2,3..เป็นขั้นตอนไม่สามารถประมวลผลที่ดีที่สุดออกมาได้​ มันมาพร้อมกัน​ ความยืดหยุ่นในการตั้งรับ​ ซึมซับในความเห็นต่างแทบไม่เกิด​ อะไรที่แตกต่างหลากหลาย​ คนรับข้อมูล​เลือกที่จะไม่รับด้วยการใช้นิ้วมือไถทิ้งออกไป​ ตัวอย่างการเห็นข้อมูล​ live สดของคนจังหวัดหนึ่ง​ แล้วโทรเข้ารายการที่กรุงเทพฯ​ แล้วเล่าเหตุการณ์​ที่สี่แยก​ จากนั้นก็วิจารณ์​ ต่อด้วยสรุปความเห็น​ สุดท้ายคือเสนอทางเลือกจากชุดความคิดตนเองตั้งแต่จุดเริ่มต้นก่อนดู​ live สดเสียอีก​เราเรียกปรากฏการณ์​นี้ว่า​ Jump to conclusion at the starting point

คำถามที่สำคัญคือ​ เราจะออกจากสี่แยกที่ตันนี้ไปได้อย่างไร​ มีผู้เสนอเป็นแนวทางในการเดินออกจากทางตันดังนี้

1.คนที่คิดแบบติดในอดีตต้องทำตัวเป็นเด็กลง​ คิดว่าถ้าตนเองเป็นเด็กแล้วเขาคิดอะไรกัน​ ไม่โกรธ​กับสิ่งที่เขาตั้งคำถาม

2.คนที่ต้องการอนาคตในมุมแบบตนและต้องการเปลี่ยนแปลงเริ่มจากปัจจุบันต้องใช้จุดแข็ง​ความสุภาพ​ ไม่ก้าวร้าว​ ด่าทอ​ เก่งจริงต้องอ่อนนอกแข็งใน (ความคิด)​ ไม่ใช่หักเอา​ หักเอา​ คือต้องมีอายุในทางความคิดมากขึ้นแม้ตัวตนจะเป็นเด็ก

3.ใช้สิ่งที่เรียกว่า​ ความยืดหยุ่น​ ไม่มีกรอบ​ ไม่มีการตั้งธงไว้ก่อน​ แต่เริ่มจากเป้าหมายสุดท้ายที่ตรงกันมากที่สุด​ แล้วเริ่มคุยจากจุดสุดท้ายที่คล้ายกัน (ไม่ต้องตรงกันเป๊ะ)​ มาหาจุดเริ่มต้นที่จะร่วมด้วยช่วยกันแก้ไข​ มันจะไม่มีวันสำเร็จถ้า​ใคนหนึ่งเห็นปัญหาในทุกทางออก​ กับอีกคนเห็นทางออกในทุกปัญหา​ แล้วทั้งสองมาคุยกันแบบถ้าเอาอย่างเธอ​ ฉันไม่ทำ​ หรือต้องเอาอย่างฉัน​ โดยเธอเริ่มก่อน​ น่าเสียดายที่วันนี้เรามีแต่นักรบปัญญาชน​ แต่เราอาจจะมีปัญญาชนคนเสนอทางออกน้อยไป​ ดังข้อความของพี่ที่เคารพท่านหนึ่งของผู้เขียนได้กล่าวไว้ในข้อความที่เผยแพร่​ต่อสาธารณะ​ความว่า​

… สำหรับขบวนการปัญญาชนที่ก้าวหน้าในเวลานี้ก็กระโดดเข้าสนามต่อสู้ประยุทธ์กับรัฐ และต่อสู้กับ “ฝ่ายตรงข้าม” แม้จะเห็นอนาคตวิบัติอยู่รำไร แต่

ในยามนี้ยากที่จะมีใครถอนตัวจากสนามรบได้แล้ว

จึงเหลือแต่สถาบัน องค์กรสาธารณะทั้งที่เป็นรัฐ (กสม. สสส. สช. สกสว. พอช….) สถาบันวิชาการ สื่อมวลชนหรือองค์กรประชาสังคมที่ไม่ว่าจะทำงาน

สาธารณะในแง่มุมไหน แม้จะขีดวงว่าตัวเองไม่เกี่ยวกับการเมืองใดๆ แต่เราไม่สามารถนั่งพิงเก้าอี้หรือเกาะขอบสนามอยู่ได้อีกต่อไป ควรจะต้องลุกขึ้นผลัก

ดันให้เกิดข้อตกลง กระบวนการจัดการความขัดแย้งอย่างสันติให้ได้เดี๋ยวนี้ ก่อนความรุนแรงที่เริ่มก่อตัวยกระดับจนกลายเป็นความวิบัติ…

ขอขอบคุณข้อมูลจาก​ FB: Kritsada Boonchai

มีแต่นักสันติ​วิธีแล้วโพล้เพล้​นี้ที่น่าจะพอเป็นแกนนอนพาแกนนำออกจากสี่แยกที่ติดขัดจนเศรษฐ​กิจ สังคม​ การเมือง​ กลับก็ไม่ได้​ ไปก็ไม่ถึง… เป็นที่ทุกขเวทนา​นัก

เศรษฐกิจคิดง่ายๆ (ดิจิทัล) : หากเพิ่มรายละเอียดอีกนิดจะเกิดความสบายใจได้มากขึ้น : วันจันทร์ที่ 19 ตุลาคม 2563

หากเพิ่มรายละเอียดอีกนิดจะเกิดความสบายใจได้มากขึ้น

ตามที่ได้มีการแจ้งข้อมูล​ในสไตล์​ภาษาบ้านๆ เข้าใจง่ายของท่านผู้ช่วยผู้ว่าการสายเสถียรภาพระบบการเงินและยุทธศาสตร์องค์กร ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ที่ระบุถึงมาตรการ ผ่อนผันให้ลูกหนี้​ SME​ ที่ได้รับการพักการชำระหนี้/ชะลอการชำระหนี้ตามพระราชกำหนดการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบวิสาหกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 ที่จะครบกำหนด 6 เดือน ในวันที่ 22 ตุลาคม 2563 ธปท.​ ซึ่งมีประเด็นสำคัญเป็นข้อๆในความคืบหน้าของการดำเนินการดังนี้
1. ลูกหนี้​ SME ที่ขอรับความช่วยเหลือตามมาตรการดังกล่าวมีจำนวน 1.05 ล้านบัญชี เป็นยอดหนี้ประมาณ 1.35 ล้านล้านบาท ซึ่งเป็นยอดที่ไม่รวมถึงกลุ่มสินเชื่อรายย่อยหรือพวก​ consumer loan ความเห็นเพิ่มเติมผู้เขียนคือหากจะมีการจัดทำตาราง​ 4 ช่องให้ชัดจะช่วยได้มากช่องที่หนึ่งระบุการแยกประเภทตามขนาดของ​ SME ตั้งแต่​ Micro ขึ้นมาจนถึงขนาดกลาง​ ช่องที่สองระบุจำนวนราย​ ช่องที่สามระบุยอดสินเชื่อคงค้าง​ ช่องที่สี่ระบุมาตรการช่วยเหลือที่ได้รับ​ เราก็จะเห็นภาพการกระจายตัวชัดเจนว่ากลุ่มใด​ ขนาดใด​ ด้วยวิธีการใดที่ได้รับการช่วยเหลือ
2. ธปท. ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด และคาดว่าจะไม่เกิดปัญหาผิดนัดชำระหนี้จำนวนมากในเวลาอันรวดเร็ว (cliff effect) หลังมาตรการพักหนี้ครบกำหนด เนื่องจากลูกหนี้ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจที่เข้ามาตรการวงเงินประมาณ 4 แสนล้านบาท ได้รับการขยายระยะเวลาการพักหนี้ไปอีก 3 – 6 เดือนแล้ว
ความเห็นผู้เขียน​ ข้อนี้นับเป็นข่าวดีแต่ก็ยังวางใจไม่ได้เพราะมี​ SME บางส่วนมีหนี้ทั้งฝั่งธนาคาร​พาณิชย์​กับสถาบัน​การเงินเฉพาะกิจ​ การครบกำหนดมาตรการ​ช่วยเหลือไม่เป็นเวลาเดียวกันจะช่วยให้มีเวลามากขึ้นในการหาทางออกในการปรับโครงสร้างหนี้​ ตรงนี้ควรจะระบุให้ชัดว่าเป็นจำนวนราย​ ขนาด​ จำนวนเงิน​ และมาตรการที่ได้รับการขยายเวลาออกไปคืออะไร​ เพื่อให้ผู้คนที่เกี่ยวข้องสบายใจตามที่ได้รับข่าวในทางบวกว่า​ สี่แสนล้านตรงนี้ไปรอด
ส่วนลูกหนี้ของธนาคารพาณิชย์ (ธพ.) อีกประมาณ 9.5 แสนล้านบาท ธพ. ได้ติดตามดูแลลูกหนี้อย่างใกล้ชิดเพื่อประเมินสถานะและให้ความช่วยเหลือ พบว่าลูกหนี้ส่วนใหญ่แสดงเจตจำนงว่าจะสามารถจ่ายชำระหนี้ได้ตามปกติหลังหมดมาตรการ​ ตรงจุดนี้หากมีการขยายความให้ชัดว่า​ 9.5 แสนล้าน​ เป็น​ SME ขนาดไหน​ กี่ราย​ กี่บัญชี​ อยู่ในประเภทธุรกิจอุตสาหกรรมใด​ ที่ได้กลับมาชำระหนี้ได้ (ขยายความอีกนิดว่าเป็นการชำระหนี้ได้ตามเงื่อนไขเดิมไม่เปลี่ยนแปลงหรือเงื่อนไขใหม่ที่มีการปรับโครงสร้างหนี้เชิงป้องกัน) ข่าวดีนี้จะได้ขจัดความสงสัยใคร่รู้ของบรรดานักวิเคราะห์ว่า “เป็นข่าวที่น่ายินดียิ่งแบบสิ้นข้อสงสัย”
สำหรับลูกหนี้ของ ธพ. ที่ยังไม่สามารถกลับมาจ่ายชำระหนี้ได้ตามปกติหรืออาจจ่ายได้บางส่วน ธพ. ยังคงให้ความช่วยเหลือลูกหนี้อย่างต่อเนื่องจนกว่าจะมีรายได้เพิ่มขึ้นมากพอที่จะชำระหนี้ได้ โดยมีหลายมาตรการมารองรับ ได้แก่ การปรับเงื่อนไขการชำระหนี้ตามความสามารถในการชำระหนี้ของลูกหนี้แต่ละรายเพื่อไม่ให้กลายเป็นหนี้เสีย หรือ NPL รวมถึงใช้มาตรการอื่นตามความเหมาะสม เช่น การลดอัตราดอกเบี้ย​ ในจุดนี้ผู้เขียนคิดว่านี่คือการส่งสัญญาณ​ให้ผู้ที่อยู่​ใต้การกำกับดูแลเร่งดำเนินการ​เชิงรุก​ ในการปรับโครงสร้างหนี้​ มิฉะนั้นเหตุการณ์​เสียน้อยเสียยาก​ เสียมากเสียง่าย​ มันจะได้ไม่คุ้มเสียถ้าไม่เร่งดำเนินการ​ ถ้ามีตัวเลขรายละเอียดของกลุ่มนี้อีกนิดจะช่วยให้จินตนาการ​ในทางเลวร้ายว่าจะมี​ NPL​ มากมายก่ายกอง​นั้นลดลงไปอย่างแน่นอน​ เพราะว่าในเวลานี้กรอบการปฏิบัติในการแก้ไขปัญหามีเครื่องมือที่หลากหลาย​ สถาบันการเงินก็มีหลังพิงในการทำงาน
พร้อมยอมรับว่าในช่วงดังกล่าวมีลูกหนี้เพียง 6% ของยอดสินเชื่อที่ได้รับการพักหนี้ที่ยังอยู่ระหว่างการติดต่อของ ธพ. หรือยังติดต่อไม่ได้​ ตรงจุดนี้ผู้เขียนคิดว่าเป็นการบอกถึงปริมาณความเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดในระยะถัดไป​ เพราะการที่ติดต่อลูกหนี้ไม่ได้นั้น​ ถือได้ว่าเป็นสัญญานไม่ดี​ หากจะมีข้อมูล​เพิ่มว่าเป็นสินเชื่อประเภทใด​ จำนวนราย​ จำนวนบัญชี​ เป็น​ SME ขนาดใดจะช่วยให้ใครหลายคนเบาใจมากขึ้นว่าน่าจะ “เอาอยู่”
“จากเหตุผลดังกล่าวข้างต้น ธปท. จึงปรับมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้จากการให้สถาบันการเงินช่วยเหลือเป็นการทั่วไป เป็นการให้ความช่วยเหลือเชิงรุกและตรงจุดที่เหมาะสมกับความต้องการของลูกหนี้แต่ละราย (Targeted)” จุดนี้ผู้เขียนเห็นด้วยเป็นอย่างมาก​ มาตรการต้องไม่เหวี่ยง​แห​ แต่เลือกรักษา​ตามอาการ​ เพียงแต่การเข้ารักษาต้องเร่ง​ ต้องเร็ว​ เปิดเผยข้อมูล​ โปร่งใสให้เกิดการประเมินผลในระยะถัดไปได้​ เพราะถ้าเป็นข้อมูลในทางบวก​แล้ว​ มันก็เป็นข่าวดีที่ครบสมบูรณ์​ สิ้นข้อสงสัย​ กระจ่างใจในเวลาที่เริ่มระทึกใจจากปัจจัยเสี่ยงใหม่จากการชุมนุมแสดงความคิดเห็นทางการเมืองแบบดาวกระจาย..
ขอความอนุเคราะห์ท่านที่เกี่ยวข้องรับไปพิจารณาในการสื่อสารเพิ่มเติมด้วยนะครับ

เรื่องน่าอ่าน