How to ‘โต’ ในยุคหนี้ท่วม
โดยคุณสุรพล โอภาสเสถียร ผู้จัดการใหญ่ บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด
จะปรับตัวต่อวิกฤติการณ์หนี้ท่วมในปัจจุบันนี้อย่างไร เพื่อสร้างโอกาสและช่องทางในการเติบโต
โดยคุณสุรพล โอภาสเสถียร ผู้จัดการใหญ่ บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด
จะปรับตัวต่อวิกฤติการณ์หนี้ท่วมในปัจจุบันนี้อย่างไร เพื่อสร้างโอกาสและช่องทางในการเติบโต
3 วิธีง่าย ๆ ที่จะทำให้ครูไทย ห่างไกลหนี้
ในวันที่หนี้ครูไทย พุ่งไกลกว่า 1.2 ล้านล้านบาท !
อะไรที่ทำให้ครูไทยเป็นหนี้ เพราะเงินเดือนน้อย รายจ่ายมาก เพราะระบบที่เอื้อต่อการกู้ หรือเพราะค่านิยมทางสังคม
มนุษย์ต่างวัยชวนมาฟังจากปากคำของครูรุ่นใหม่ ร่วมด้วย ดร.อัจฉรา โยมสินธุ์ อาจารย์ประจำภาควิชาการเงิน คณะบริหารธุกิจ ม.กรุงเทพ ที่จะมาวิเคราะห์สาเหตุ พร้อมชี้ 3 วิธีง่าย ๆ ที่จะทำให้ครูไทย ห่างไกลหนี้
รายงานตัวเลขหนี้ครูในปัจจุบันชี้ให้เห็นว่า มีครูเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่ไม่เป็นหนี้ และหากเราจะมองหาครูที่เป็นทั้งนักวางแผนทางการเงิน
ขวนขวายสร้างรายได้เสริม ใช้จ่ายไม่เกินตัว ก็คงจะยิ่งมีน้อยลงไปอีก
‘ครูแบงค์’ เจนณรงค์ นบนอบ ครูรุ่นใหม่ วัย 32 ปี เป็นหนึ่งในนั้น
ครูแบงค์เป็นครูสอนวิชาดนตรีมา 6 ปี เขาไม่เคยเป็นหนี้สักบาท มีชีวิตแบบพออยู่ พอกิน พอประมาณ สร้างภูมิคุ้มกันด้วยการ
ทำอาชีพเสริม ด้วยการปลูกผักสลัดขาย จนสามารถสร้างรายได้เสริมต่อเดือนกว่า 30,000 บาท และมีเงินเก็บจากการทำอาชีพเสริมถึง 200,0000 บาท ไปติดตามวิธีคิดของ “ครูรุ่นใหม่หัวใจพอเพียง” ที่น่าจะเป็นแบบอย่างให้กับครูรุ่นใหม่ได้ ในคลิปนี้เลย
ในวันที่ครูไทยกว่า 80 % ต้องเป็นหนี้ ‘มนุษย์ต่างวัย‘
ชวนคุณมารู้จักกับ ครูดวงใจ วัฒนมะโน วัย 63 ปี ต้นแบบครูไทยที่ไม่เพียงลอยตัวพ้นปัญหาหนี้สิน แต่ยังเกษียณออกมาฟิน ๆ เพราะมีเงินออมมากกว่า 2 ล้านบาท
แม้ครูดวงใจจะเริ่มต้นอาชีพด้วยเงินเดือนเพียง 1080 บาท แต่เมื่อศึกษาจนฉลาดในการลงทุน บั้นปลายชีวิตเลยไม่ต้องว้าวุ่นกับเรื่องเงินทอง
พบกับ 3 เคล็ดลับของครูดวงใจ ที่จะมาไขข้อข้องใจ เป็นครูอย่างไร ไม่ให้เป็นหนี้
Digital Ploan คำย่อในเวลานี้ของสินเชื่อส่วนบุคคลแบบดิจิทัล
ทันทีที่มีการเปิดตัว เกณฑ์สินเชื่อส่วนบุคคลดิจิทัล (Digital Personal Loan) ออกมา เพื่อส่งเสริมให้
1.ประชาชนเข้าถึงบริการทางการเงินในระบบได้ง่ายขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มที่ไม่มีรายได้ประจำ กลุ่มที่ไม่สามารถพิสูจน์รายได้ชัดเจน และกลุ่มที่ไม่มีทรัพย์สินที่สามารถใช้เป็นหลักประกัน ในส่วนนี้คนที่ทำงานด้านนโยบายสินเชื่อจะเรียกกลุ่มนี้ว่า lnvisible Banking Service หรือกลุ่มที่สถาบันการเงินมองไม่เห็นจึงไม่สามารถส่งมอบบริการทางด้านสินเชื่อด้วยต้นทุนและผลตอบแทนที่คุ้ม/มีกำไร ยังมีอีกพวกคือ Thin File Customers กลุ่มคือพวกที่มีประวัติ/ข้อมูลน้อยเกินไปที่จะทำการประเมินความเสี่ยงได้ คำถามคือด้วยกลไก กติกา และข้อมูลแนวจารีต (Traditional Data) ที่ใช้กันในปัจจุบันล้วนเป็นอุปสรรค/คือไม่มี/คือไม่เพียงพอในการประเมินความเสี่ยงในการให้กู้ แม้ว่าจำนวนเงินนั้นจะไม่ได้มากมาย เช่น ให้กู้ 20,000 บาทระยะเวลาคืนไม่เกิน 6 เดือน ดอกเบี้ยแพงก็ตาม
2.มีการประเมินความเสี่ยงก่อนการตัดสินใจให้สินเชื่อ ความเสี่ยงที่ต้องมีการประเมินคือ
2.1 ลูกค้ารายนี้คือคนเดียวกันกับที่ตัวลูกค้าบอกว่าฉันคือคนนี้ หรือ Who are who you say you are
2.2 ลูกค้ารายนี้มีความสามารถในการหาเงินจากแหล่งไหน อย่างไร เอามาชำระหนี้ หรือ Ability to pay
2.3 ลูกค้ารายนี้มีความตั้งใจ/เต็มใจระดับไหนในการจะเอาเงินที่ยืมไปมาคืนให้เจ้าหนี้ตามสัญญา หรือ Willingness to pay
2.4 ลูกค้ารายนี้ไม่มีหลักประกันอะไรที่จะให้เจ้าหนี้ถือเอาไว้กันการเบี้ยวหนี้หรือ กู้มือเปล่านั่นเอง
3.ส่งเสริมให้มีการนำเอาเทคโนโลยีแบบดิจิทัลมาใช้ในการทำงานทุกขั้นตอนแบบชาญฉลาด แบบว่าตลอดเส้นทางการให้บริการเริ่มตั้งแต่ สมัครสินเชื่อ การแสดงตนของลูกค้า การพิสูจน์และยืนยันตัวตน ในตัวลูกค้า การให้ความยินยอม การตกลงเข้าทำสัญญา การลงนามทางอิเล็กทรอนิกส์ กระเป๋าเงินดิจิทัลหรือสมุดเงินฝากดิจิทัลเพื่อการรับโอนเงินกู้จากสถาบันการเงินผู้ให้บริการ
4.ส่งเสริมให้ใช้ข้อมูลทางเลือกอื่นหรือ Alternative Data ที่สามารถจัดหามาได้และมีความเชื่อถือสูงมากๆ จากแหล่งต่างๆ เข้ามาใช้ในการประเมินความเสี่ยง เช่น ข้อมูลการโอนเงินชำระเงิน ข้อมูลจากการใช้สาธารณูปโภค เป็นต้น อย่างไรก็ตาม การจะนำเอาข้อมูลนี้มาใช้ในระบบต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และในประเด็นเดียวกันทางการก็ผ่อนผันให้สถาบันการเงินคนปล่อยกู้ไม่ต้องยึดติดกับสลิปเงินเดือน กระแสเงินเข้าออกผ่านบัญชีเงินฝาก ตามแนวจารีตที่ทำติดต่อกันมาบนความทันสมัยแบบดิจิทัล 0.4 ถึง 3.0 อีกต่อไปถ้าจะให้บริการสินเชื่อประเภทนี้
5. ส่งเสริมสถาบันการเงินที่ประสงค์จะให้บริการต้องดำเนินการยื่นขออนุมัติ อนุญาต ตลอดจนการรายงานต่างๆเพื่อการกำกับดูแลของหน่วยงานทางการ โดยมีทั้งเกณฑ์คุณสมบัติ เกณฑ์ความสามารถ และเกณฑ์ความคิดสร้างสรรค์ในการนำเอาข้อมูลทางเลือก (Alternative Data) เป็นข้อมูลประกอบในการพิจารณาสินเชื่อ ตามสมมติฐาน ตามแบบจำลอง (Model)
เป้าหมายที่อยากเห็นคือ คนที่สถาบันการเงินมองไม่เห็นเพราะกติกาเก่าซึ่งประเมินไม่ได้ จะสามารถเป็นลูกหนี้เงินกู้ที่ดีในกติกาใหม่เพิ่มเติมนี้ได้อย่างเป็นสาระสำคัญในอนาคตดังความเห็นที่ปรากฏตามสื่อต่างๆ เช่น
ท่านผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ให้ข้อมูลที่น่าสนใจมากอย่างยิ่งว่า สินเชื่อประเภทนี้จะช่วยให้ประชาชนสามารถขอสินเชื่อบนฐานข้อมูลที่หลากหลายขึ้น จากเดิมที่ต้องใช้สลิปเงินเดือนยื่นขอสินเชื่อ ขณะที่ผู้ให้บริการทางการเงินก็สามารถใช้ข้อมูลของลูกค้าบนดิจิทัลแพลตฟอร์ม เพื่อประเมินความเสี่ยง อาทิ การชำระค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ รายได้หรือพฤติกรรมการซื้อขายออนไลน์ เป็นต้น ทั้งนี้ทางการได้ออกหลักเกณฑ์ให้ผู้ประกอบการเริ่มทำธุรกิจสินเชื่อบุคคลดิจิทัลได้แล้ว โดยผู้ประกอบการที่มีใบอนุญาตสินเชื่อบุคคลอยู่แล้ว หากต้องการทำสินเชื่อบุคคลดิจิทัล จะต้องแจ้งมาที่ ธปท. และแสดงให้เห็นว่ามีระบบงานพร้อมรองรับ ก็สามารถปล่อยกู้ได้ ส่วนผู้ที่ยังไม่มี ใบอนุญาตสินเชื่อบุคคล ก็สามารถขอใบอนุญาตทำธุรกิจสินเชื่อบุคคล เพื่อทำธุรกิจนี้ได้ ในกรณีที่มีความพร้อมเข้าเกณฑ์ที่กำหนด
ในฟากฝั่งของผู้ประกอบการธุรกิจการให้สินเชื่อส่วนบุคคลต่างออกมาตอบรับกับพัฒนาการครั้งนี้พร้อมไปกับการเปิดตัวในงาน Bangkok Fintech Fair 2020 อย่างคึกคัก ตัวอย่างเช่น
ผู้บริหารระดับสูง ของธนาคารพาณิชย์ ระบุว่าได้ศึกษาแนวทางการปล่อยสินเชื่อส่วนบุคคลดิจิทัล โดยเตรียมความพร้อมทางด้านเทคโนโลยีและ ขีดความสามารถทางด้านเทคโนโลยีในการวิเคราะห์ข้อมูลของลูกค้าในหลากหลายมิติ เพื่อนำมาประกอบการพิจารณาอนุมัติสินเชื่อให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย ได้แก่ กลุ่มลูกค้ารายย่อยของธนาคาร (Exiting client)
ด้านผู้บริหารระดับสูงของบริษัทบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคลรายใหญ่ได้ระบุว่า บริษัทมีการศึกษาและวางระบบ เพื่อรองรับการปล่อยสินเชื่อออนไลน์ไว้แล้ว อย่างไรก็ดี การปล่อยสินเชื่อออนไลน์เต็มรูปแบบ 100% ยังต้องรอเรื่องการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-KYC) รวมถึงในเรื่องลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์ (e-Signature) กระบวนการการปล่อยสินเชื่อ และการบริหารจัดการความเสี่ยง ให้สอดรับกับอัตราดอกเบี้ย อย่างไรก็ดี เราได้เตรียมโครงสร้างพื้นฐาน ไว้รองรับแล้ว
สำหรับคู่แข่งอีกรายซึ่งเป็นผู้เล่นรายใหญ่ในตลาด Consumer banking ก็ระบุว่าการปล่อยสินเชื่อ เราจะต้องมีการพิจารณาจากข้อมูลด้านอื่นๆ หรือเรียกว่า Information based lending ประกอบด้วย เช่น วิเคราะห์ประวัติการซื้อสินค้าออนไลน์ การชำระค่าสาธารณูปโภค เป็นต้น
แน่นอนว่าในช่วงเวลาที่เหลือของปี 2563 นี้เราๆ ท่านๆ จะได้เห็นการพัฒนาระบบร่วมกับแบบพันธมิตรระหว่างธุรกิจซื้อขายออนไลน์ (e-Commerce) รายใหญ่ กับธนาคารพาณิชย์เพื่อร่วมกันปล่อยสินเชื่อบุคคลดิจิทัล
“เราจะเจาะลูกค้ากลุ่มเป้าหมายที่เป็นผู้ซื้อหรือเป็นผู้ขายสินค้าผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ของพันธมิตร โดยการเข้าไปเป็นทางเลือกในการชำระเงินค่าสินค้า จากเดิมที่ลูกค้าจะชำระผ่านบัตรเดบิต บัตรเครดิต หรือกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-Wallet) ก็จะมีการเพิ่มเป็นสินเชื่อให้ลูกค้ามีเงินไปจ่ายหรือไปซื้อของมาขาย”
COVID-19 คือตัวเร่งให้เกิดการพัฒนาจริงๆ เรื่องที่คุยกันไม่ตกผลึกเช่น e-KYC e-Consent e-Signature e-Contract การให้บริการแบบไม่พบเห็นต่อหน้า หรือเรื่องข้อมูลทางเลือกก็เกิดขึ้นได้ ย้อนหลังไปให้หวนนึกถึงคำมั่นของวิทยากรทั้งหลายทั้งปวงในวันเปิดตัวสมาคมฟินเทคประเทศไทยที่เวทีแถวถนนรัชดาภิเษก ต้องขอบคุณโรคระบาดในปลายปี 2019 จริงๆ ที่มาผลักดันคำพูดในหลายปีก่อนมาเป็นจุดเริ่มที่จะเป็นจริงในปี 2020
5 พลังมหัศจรรย์ เพิ่มพลังการออม เตรียมพร้อมก่อนเกษียณ
บางครั้งชีวิตก็ไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ กว่าจะประสบความสำเร็จในแต่ละอย่างไม่ใช่เรื่องง่าย การออมเงินก็เช่นเดียวกันค่ะ เพราะกว่าเราจะเดินไปถึงเป้าหมายที่วาง หรือกว่าจะไปถึงแผนชีวิตเกษียณที่ตั้งไว้ก็ต้องมีล้มลุกคลุกคลาน หรือหมด Passion ในการเก็บออมบ้างเป็นเรื่องธรรมดา แต่อย่างที่มีคนเคยบอกไว้ค่ะ เหนื่อยได้ ท้อได้แต่ห้ามถอย เมื่อเริ่มรู้สึกว่าตนเองกำลังจะหมดพลัง หมดแพชชั่นในการออม เราต้องรีบปลุกพลังในตัวขึ้นมาค่ะ เพราะถ้าพลังหมดจนเป็นศูนย์เมื่อไหร่ แผนการเงินที่วางไว้เพื่อใช้ยามหลังเกษียณจะลำบากอย่างแน่นอน
และสำหรับใครที่เริ่มหมดพลัง และยังไม่รู้ว่าจะเดินหน้าไปถึงเป้าหมายชีวิตในวัยเกษียณได้อย่างไร ลองเพิ่มพลังการออมตามนี้กันดูนะคะ
พลังที่ 1 พลังความพยายาม
เวลาที่พลังการออมเริ่มลดน้อยลง อยากให้ลองนึกย้อนกลับไปมองเส้นทางที่เราพยายามมาจากจุดเริ่มต้นค่ะ กว่าที่เราจะเดินมาได้ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย เพราะฉะนั้นเมื่อเดินมาแล้วต้องไปถึงให้สุดค่ะ ให้กำลังใจตนเองสม่ำเสมอ พยายามเดินไปให้ถึงแผนที่วางไว้ และในท้ายที่สุดความพยายามที่เราสร้างมาจะไม่สูญเปล่าแน่นอนค่ะ
พลังที่ 2 พลังระยะเวลา
ความสำเร็จต้องใช้เวลาฉันใด การออมเงินก็ต้องใช้เวลาฉันนั้นค่ะ และยิ่งออมเร็วมากเท่าไหร่ก็ยิ่งรวยเร็วมากเท่านั้น หลายคนมักคิดว่าอยากจะมีเงินเยอะ ๆ แต่กลับไม่ให้เวลาให้เงินเติบโตงอกเงย หรือหวังรวยทางลัดในแบบผิด ๆ แผนชีวิตหลังเกษียณที่คิดว่าจะสุขสบายก็เป็นเรื่องยากแล้วล่ะค่ะ ดังนั้นหากต้องการใช้ชีวิตสุขสบายในยามเกษียณ ก็ต้องให้เวลาในการออมมาก ๆ เพราะยิ่งให้เวลาการออมนานเท่าไหร่ ยิ่งได้ผลตอบแทนกลับที่มาที่ดียิ่งขึ้นนะคะ
พลังที่ 3 พลังผลตอบแทน
แต่หากคิดว่าเรื่องของระยะเวลายังไม่ใช่การเพิ่มพลังในการออมที่ดี ลองเพิ่มพลังด้วยผลตอบแทนกันดูค่ะ เพราะสำหรับบางคนอาจไม่ได้มีระยะเวลาในการออมที่ยาวนานมากพอที่จะไปถึงเป้าหมายการเงินที่วางไว้ได้ แต่อัตราผลตอบแทนจากการออมและการลงทุน จะช่วยให้เงินก้อนเล็ก ๆ ที่เราลงไปเติบโตกลายเป็นเงินก้อนโตได้ เพียงแค่เราต้องรู้จักเลือกการลงทุนที่ให้ผลตอบแทนสูง เช่น กองทุนรวม หุ้น เป็นต้น แต่อย่าลืมนะคะว่ายิ่งได้ผลตอบแทนสูง ความเสี่ยงก็สูงตามมา ดังนั้นก่อนจะลงทุนควรศึกษาข้อมูลให้ดีก่อน เพราะพลังของผลตอบแทนที่ดีที่สุดคือการออมเงินและลงทุนอย่างไม่ประมาท
พลังที่ 4 พลังเป้าหมายในอนาคต
เป้าหมายและความฝันเป็นพลังเพิ่มการออมเงินชั้นดี ยิ่งถ้าหากเราวางเป้าหมายไว้ยิ่งใหญ่ จะยิ่งช่วยเพิ่มพลังให้เรามีแรงผลักดันในการออมเงินมากขึ้น เพราะเราจะยิ่งอยากไปถึงเป้าหมายที่วางไว้อย่างโดยเร็วที่สุด โดยเฉพาะการวางแผนเกษียณ เชื่อว่าทุกคนคงอยากมีชีวิตเกษียณที่สุขสบาย ฉะนั้นเราจึงควรนำเป้าหมายที่เพื่อเพิ่มพลังการออมให้ชีวิตสุขสบายในอนาคต
พลังที่ 5 พลังเก็บเล็กผสมน้อย
หลายคนอาจคิดว่าการออมเงินเงินเพื่อใช้หลังเกษียณจะต้องออมเยอะ ๆ ในแต่ละเดือน ซึ่งพอคิดแบบนี้ก็อาจส่งผลให้เรารู้สึกหมดพลัง หมดกำลังใจที่จะเก็บออมเงิน แต่ในความเป็นจริงแล้วเราสามารถออมเงินเพื่อไปถึงยามเกษียณไปด้วยจำนวนเงินที่เล็ก ๆ ได้ค่ะ
ตัวอย่างเช่น
นางสาวมีทรัพย์ อายุ 30 ปี วางแผนเกษียณตอนอายุ 60 ปี ถ้าหากนางสาวมีทรัพย์เริ่มออมเงินเดือนละ 5,000 บาท ลงทุนที่ได้อัตราผลตอบแทน 2% ต่อปี เป็นระยะเวลา 30 ปี เมื่ออายุครบ 60 ปี นางสาวมีทรัพย์จะมีเงินออมจำนวน 2,434,085 บาท
ทุกครั้งที่เริ่มรู้สึกหมดพลัง หมดกำลังใจในการออม ก็สามารถเพิ่มพลังการออมจากวิธีเหล่านี้ได้เลยนะคะ เริ่มการให้กำลังใจตนเอง ให้ระยะเวลาสร้างผลตอบแทนจนเติบโตเพื่อไปถึงแผนเกษียณที่วางไว้ในอนาคต แค่เริ่มจากการเก็บออมด้วยจำนวนเงินที่เล็ก ๆ เพียงเท่านั้นค่ะ
ในแต่ละวัน แต่ละเดือน เราต้องสูญเสียเงินกันไปเท่าไหร่กับรายจ่ายที่ไม่จำเป็น เชื่อว่าหลาย ๆ คนเมื่อมีเสียงแจ้งเตือนดังขึ้นพร้อมกับข้อความที่บอกว่า เงินเข้าบัญชีแล้ว คงดีใจกันไม่น้อยเลยใช่ไหมคะ เพราะถือเป็นช่วงเวลาที่เราจะได้นำเงินไปใช้จ่ายในสิ่งที่เราต้องการอย่างสบายใจ ซึ่งปัญหาที่ตามมานั่นก็คือ เงินไม่พอใช้ในแต่ละเดือน หรือใช้ชีวิตแบบเดือนชนเดือน นั่นเองค่ะ การใช้ชีวิตแบบนี้ในทุก ๆ เดือนจะส่งผลให้ในอนาคตของเราไม่มีเงินเก็บ ไม่มีวินัยทางการเงินที่ดี
เพราะฉะนั้น 4 วิธีอุดรายจ่ายนี้จะมาช่วยหยุดปัญหาการใช้เงินแบบเดือนชนเดือน ช่วยลดรายจ่ายที่ฟุ่มเฟือยให้มีเงินเหลือเก็บอย่างแน่นอนค่ะ
ข้อดีของการจดบันทึกรายรับ-รายจ่าย คือเราสามารถรู้ได้ว่าในแต่ละเดือนมีรายรับเข้ามาเท่าไหร่ และใช้ออกไปเท่าไหร่ ซึ่งง่ายต่อการจัดประเภทค่าใช้จ่าย และง่ายต่อการควบคุมลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็น จุดเริ่มต้นง่าย ๆ เพียงแค่พกสมุดเล็ก ๆ กับปากกาติดตัวไว้ตลอด เมื่อมีการจ่ายอะไรออกไปก็จดลงไปในแต่ละวัน หรืออาจจะมีแอปพลิเคชั่นรายรับ-รายจ่ายโหลดติดไว้ในเครื่องก็ได้เช่นกันค่ะ วิธีนี้จะช่วยให้เห็นภาพรวมรายจ่ายในแต่ละเดือน และช่วยให้เรามีเงินเก็บเพิ่มขึ้นได้ค่ะ
หากต้องการที่จะจัดการายจ่ายแต่ละเดือนให้อยู่หมัดและมีเงินเก็บเพิ่มเร็ว ๆ สิ่งสำคัญที่ควรทำคือ ตั้งกฎเหล็กค่าใช้จ่ายให้ชัดเจน ลิสต์แต่ละข้อว่าในแต่ละเดือนจะมีรายจ่ายอะไร และกำหนดจำนวนเงินของรายจ่ายนั้น ๆ เช่น ค่าอาหาร 5,000 บาทต่อเดือน, ค่าความบันเทิง 2,500 บาทต่อเดือน, ค่าเดินทาง 4,000 บาทต่อเดือน, ฉุกเฉิน 2,000 บาทต่อเดือน, เงินออมและเงินลงทุน 3,000 บาทต่อเดือน เป็นต้น ซึ่งการตั้งกฎด้วยการกำหนดจำนวนเงินแต่ละเดือนเช่นนี้จะช่วยให้เรารู้จักควบคุมรายจ่ายไม่ให้เกินกว่าที่กำนดไว้ได้ค่ะ
เชื่อว่าหลาย ๆ คนคงเคยมีพฤติกรรมที่ชอบเปรียบเทียบสินค้าที่มีความคล้ายกันก่อนซื้อไม่มากก็น้อย เพื่อต้องการได้สินค้าที่ราคาถูก และมีคุณภาพดี ซึ่งพฤติกรรมเช่นนี้ถือเป็นข้อดีค่ะ ถือเป็นการสร้างวินัยทางการเงินอย่างหนึ่งด้วย ช่วยให้เรารู้จักการเปรียบเทียบและหาสิ่งที่เหมาะสมกับตัวเรา และเป็นการควบคุมรายจ่ายแต่ละเดือนไปในตัว ฉะนั้นหากต้องการจะเริ่มต้นควบคุมรายจ่ายในแต่ละเดือนวิธีการเปรียบเทียบสินค้าก็เป็นทางเลือกที่ดีนะคะ
กว่าจะหาเงินมาแต่ละบาทไม่ใช่เรื่องง่าย ก่อนที่จะใช้จ่ายอะไรจึงจำเป็นที่จะต้องคิดให้ดีก่อนค่ะ โดยเฉพาะสินค้าที่มีราคาแพงเกินกว่ารายรับ หรือสินค้าที่ไม่ได้มีความจำเป็นนักในชีวิตประจำวันของเรา แม้กระทั้งป้ายเซลล์สินค้า โปรโมชั่นลดราคาต่าง ๆ ที่มาล่อใจให้ซื้อ เพราะเมื่อลองคำนวณค่าใช้จ่ายให้ดีแล้วอาจไม่คุ้มกันแน่นอน ฉะนั้นหากไม่อยากให้เกิดรอยรั่วในกระเป๋า เราจึงจะต้องควบคุมรายจ่าย อุดรอยนั้นไว้ไม่ให้ร้าวขึ้นมานั่นเองค่ะ
แนวทางการควบคุมรายจ่าย หยุดการใช้เงินเดือนชนเดือนนี้เป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น สิ่งสำคัญที่สุดที่จะช่วยหยุดรายจ่ายฟุ่มเฟือยต่าง ๆ ได้คือการควบคุมตนเอง สร้างวินัยทางการเงินและวางแผนการเงินในแต่ละเดือนอย่างรัดกุม หากทำได้เราจะมีอิสรภาพการเงินในชีวิตที่ดีอย่างแน่นอนค่ะ
จ่ายหนี้บริษัทตามหนี้ที่ถูกต้อง
บทความของผมในวันนี้จะเป็นการชี้แจงข้อเท็จจริง ขั้นตอนการดำเนินการ และสิ่งที่ท่านผู้อ่านที่อาจพบปัญหาดังกล่าว โดยผมได้เอาเนื้อหามาจากสิ่งที่มีการสอบถามผ่านช่องทางต่างๆ ว่า เมื่อตนเองมีหนี้ที่ค้างชำระกับสถาบันการเงิน ต่อมาสถาบันการเงินได้โอนขายหนี้ที่ค้างชำระหนี้รายการนี้ออกไปให้กับบริษัทติดตามหนี้ หรือบริษัทบริหารสินทรัพย์ บริษัทที่รับซื้อหนี้ไปจากสถาบันการเงินก็จะจ่ายเงินค่าซื้อหนี้รายการนั้นโดยอาจจะซื้อหนี้แบบมีส่วนลดก็ได้ เช่น มูลหนี้ตามสิทธิตามบัญชีเท่ากับ 100บาทเขาอาจซื้อในราคา 50-60 บาท จะมากจะน้อยขึ้นอยู่กับว่าเขาจะไปตามหนี้ที่ซื้อมานั้นได้ยากหรือง่าย ตามตัวอย่าง ถ้าเขาไปตามหนี้นั้นมาได้ 70 บาท จากลูกหนี้ที่ไม่ยอมชำระกับสถาบันการเงิน บริษัทติดตามหนี้ หรือบริษัทบริหารสินทรัพย์ก็จะมีกำไร 10 บาท
ตัวลูกหนี้เองเมื่อได้ชำระหนี้กับบริษัทติดตามหนี้ หรือบริษัทบริหารสินทรัพย์แล้วก็จะถือว่า เข้าใจว่าตนเองไม่ได้เป็นหนี้เป็นสินกับสถาบันการเงินที่ตนเองค้างชำระไม่ยอมจ่าย และตนเองก็ไม่มีหนี้กับบริษัทที่รับซื้อหนี้มาอีกต่อไป เวลานี้อาจอยากจะไปทำธุรกิจธุรกรรมกับใครต่อใครก็ย่อมทำได้ไม่มีข้อห้าม แต่คนที่เราอยากจะไปทำธุรกิจธุรกรรมด้วยนั้น เขาอยากจะทำด้วยหรือไม่ก็เป็นสิทธิของเขานะครับจะไปบังคับเขาให้ทำตามแต่ใจเราอยากได้ อยากให้เป็นไม่ได้นะครับ
ลองมาดูคำถามจากคนที่เขาไปชำระหนี้ที่บริษัทติดตามหนี้สินเพราะเขาถูกทวงถาม เขาถูกเสนอให้ชำระหนี้ที่อาจน้อยกว่าที่ตนเองค้างชำระไว้กับสถาบันการเงินก็ได้ เรื่องมีดังนี้
…เมื่อผมได้รับแจ้งว่าหนี้ของผมที่มีการค้างชำระกับ Non Bank แห่งหนึ่งนั้นได้ถูกขายถูกโอนมายังบริษัทติดตามหนี้ชื่อ… (ขออนุญาตไม่ระบุนาม)… ต่อมาผมได้เจรจาจนตกลงชำระหนี้ให้ครบถ้วน เสร็จสมบูรณ์ซึ่งยอดหนี้ที่ชำระนั้นต่ำกว่าหนี้ที่ผมเคยมีอยู่กับสถาบันการเงิน ประกอบกับผมสามารถระดมเงินมาจ่ายได้ ผมจึงตัดสินใจชำระหนี้ตามยอดที่ตกลงกันและได้โอนเงินไปให้ พร้อมเก็บใบนำฝาก-Pay in ไว้เป็นหลักฐานเรียบร้อย ผมสบายใจมากขึ้นและตั้งใจจะไปขอสินเชื่อกับธนาคารแห่งหนึ่งเพื่อมาทำทุนดำเนินธุรกิจต่อไป จากวันที่ผมโอนเงินผมรอ 45 วันจึงได้รับหนังสือยืนยันการชำระหนี้และปิดบัญชีกับบริษัทติดตามหนี้ (หนังสือไม่ได้บอกว่าผมปิดบัญชีกับ Non Bank นะครับอันนี้ผู้เขียนขอแจ้ง)
หลังจากนั้นผมได้สอบถาม Non Bank ปรากฏว่า ผมยังมีประวัติว่าเคยเป็นหนี้ Non Bank อยู่ มาตรวจสอบประวัติเครดิตบูโร ในรายงานแสดงสถานะ 42 โอนหรือขายหนี้ให้กับนิติบุคคลหรือบริษัทบริหารสินทรัพย์ แต่มียอดหนี้คงค้างเท่ากับ 0 บาท เมื่อติดต่อไปที่บริษัทติดตามหนี้ ก็ได้คำแนะนำว่าให้ผมนำใบปิดบัญชีที่บริษัทตามหนี้ออกให้ มาดำเนินการที่เครดิตบูโร แต่เมื่อไปติดต่อยื่นเรื่องกับเครดิตบูโรแล้วทำไมไม่แก้ข้อมูลที่ผมมีกับ Non Bank ว่าปิดบัญชี ทำไมทำไม่ได้ครับ
เครดิตบูโรขอเรียนตอบอย่างนี้นะครับ
1. Non Bank ขายหนี้ออกไปและได้รับชำระค่าซื้อหนี้จากบริษัทติดตามหนี้แล้ว ยอดหนี้จึงเป็นศูนย์ ตามหนี้กับลูกหนี้ที่ค้างชำระไม่ได้แล้วเพราะสิทธิเรียกร้องได้โอนไปยังบริษัทติดตามหนี้แล้ว ที่เขาระบุในบัญชีนั้นว่าโอนหนี้
2. ตัวลูกหนี้ไปจ่ายหนี้กับคนที่ซื้อหนี้มา ดังนั้นก็ปิดบัญชีกับเจ้าหนี้คนปัจจุบัน ได้เอกสารมาว่ายืนยันการชำระหนี้แต่ตัวลูกหนี้ต้องดูเอกสารดีๆนะครับว่าเอกสารนั้นต้องระบุว่ารับรองการชำระหนี้ ไม่มีหนี้ต่อกัน ที่ภาษาชาวบ้านเรียกว่าใบรับรองปิดบัญชี ที่เข้าใจผิดคิดว่าเอาเอกสารข้อเสนอให้ชำระหนี้กับใบนำฝากหรือ Pay in มาประกอบกันไม่ได้นะครับ
3. เนื่องจากบริษัทติดตามหนี้ไม่ได้เป็นสมาชิกเครดิตบูโร เขาจึงส่งเอกสารข้อมูลมาให้ไม่ได้ เพราะเขาไม่มีหน้าที่ เขาได้แต่แนะนำ และเขาควรจะแจ้งจะแนะนำตั้งแต่ตอนต้น เพื่อป้องกันการเข้าใจผิด
4. ตัวลูกหนี้เอาเอกสารใบรับรองการปิดบัญชีมาที่เครดิตบูโร เครดิตบูโรจะบันทึกข้อมูลไว้เหนือบัญชีของ Non Bank ว่าหนี้ตามบัญชีนี้ได้ถูกขายออกไปให้กับบริษัทติดตามหนี้ ต่อมาลูกหนี้ได้ชำระหนี้ มีการรับรองว่าไม่มีหนี้ต่อกันแล้ว ตามความจริง
5. เวลาจะไปขอเงินกู้ที่ใหม่ก็แล้วแต่ เขาว่าจะพิจารณาพร้อมเรื่องอื่นๆ เช่น รายได้ อาชีพ ความมั่นคง ภาระต่างๆ หลักประกันรวมมาถึงประวัติการชำระหนี้ เขาก็จะเห็นข้อมูลทั้งหมดตามข้อ 4 ครับ
เล่ามาถึงตรงนี้ท่านผู้อ่านคงจะมองออกนะครับว่า เครดิตบูโรให้ข้อมูลตามจริง การวิเคราะห์ว่าจะให้หรือไม่ให้ เครดิตบูโรไม่ได้ร่วมพิจารณา ไม่มีอำนาจไปยุ่งเกี่ยวครับ เป็นเรื่องคนที่ขอกู้กับคนที่ให้กู้โดยแท้จริงครับ
จะคิดใหม่ในโลกใหม่ได้ ต้องทิ้งนิสัยเก่า ความคิดเก่า ธรรมเนียมเก่า และวัฒนธรรมเก่า
ตั้งแต่เราได้เจอกับไวรัสตัวใหม่ที่ชื่อ COVID-19 นับแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2563 ยันมาจนเดือนกันยายนปีนี้ และคาดว่าจะต้องอยู่กับเขาแบบยังไม่มีวัคซีน จนมีการค้นพบวัคซีน และมีการผลิต/แจกจ่ายกันจนทั่วโลก 7.6 พันล้านคน อาจต้องใช้เวลาถึงปลายปี 2565 ขณะที่สำนักวิจัยของธนาคารกรุงไทยระบุว่า การท่องเที่ยวจะฟื้นตัวกลับมาอาจต้องใช้เวลา 3-4 ปี สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) บอกกับเราว่าต้องอยู่กับเขาน่าจะ 3 ปี จนเมื่อเร็วๆ นี้เรารักษาสถิติไม่พบผู้ติดเชื้อในประเทศจบที่ 101 วัน(ไม่ทะลุสถิติ 105 วัน) นักเศรษฐศาสตร์ที่มีชื่อเสียงบางท่านบอกว่า เราจะค่อยๆ ฟื้นตัวหากไม่มีการระบาดใหญ่ในแบบทุลักทุเล ประการสุดท้ายการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกน่าจะไม่เกิน 3% การค้าการขายน่าจะไม่คึกคัก คำว่าการปรับตัวอาจไม่เพียงพอไปแล้ววันนี้ มีรุ่นพี่ผู้เขียนซึ่งเก่งมากๆและเป็น CEO ของอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ของประเทศบอกว่า ในชีวิตนี้ไม่นึกว่าต้องสั่งหยุดสายการผลิตของโรงงานเพื่อป้องกันชีวิตคนงานทั้งหมดท่ามกลางเสียงคัดค้านก่อนมีการปิดเมือง พอปิดเมืองจริง คนที่ค้านต่างกลับมาเห็นด้วยและยอมรับความจริง รุ่นพี่ท่านนี้บอกกับผมว่า เรากำลังอยู่ในโลกใบใหม่ ที่ไม่เหมือนเดิม และจะไม่มีวันเหมือนเดิม เราทุกคนเหมือนคริสโตเฟอร์ โคลัมบัสที่ค้นพบโลกใหม่ ต้องทำอย่างไรจึงจะอยู่กับชนพื้นเมืองแบบไม่ต้องฆ่าฟันกัน เมื่อไปถามผู้คนระดับผู้นำองค์กร หรือผู้บริหารระดับสูงขององค์กร จะพบคำตอบว่า บริหารงานแบบรักษาตัวตามอาการ ไม่วางแผนยาว เน้นการปฏิบัติที่ปลอดภัยของคนในบังคับบัญชาพร้อมกับการไปสู่เป้าหมายเดือนต่อเดือน เดินทีละก้าว กินข้าวทีละคำ ประการสุดท้ายแกบอกกับผู้เขียนว่า จะเกษียณก่อนกำหนดแน่นอน เพื่อเอาเวลาที่เหลืออยู่ในชีวิตออกเดินทางท่องเที่ยวทั่วประเทศไทยให้ครบทุกจังหวัดตามความฝันที่เคยตั้งเป้าหมายไว้เมื่อเริ่มทำงานใหม่ๆ ผู้เขียนถามว่าทำไมจะต้องรีบขนาดนั้น คำตอบคือ ชีวิตยังมีอะไรต้องทำมากกว่าการแบกภาระในหน้าที่การงานอันเป็นสิ่งสมมติ ตอนนี้เราเจอ COVID-19 เดี๋ยวเราต้องเจอ COVID-22 หรือ COVID-25 แน่ๆ ไม่ปีใดก็ปีหนึ่ง สำหรับเราๆ ท่านๆ ที่ยังมีภาระต้องแบกหาม ยังต้องดำเนินชีวิตกันต่อ ฝภายใต้สถานการณ์ โรคซ้ำกรรมซัด วิบัติเป็น มิเห็นที่พึ่งพาจะอาศัย ก็ต้องขออนุญาตหารือว่า แนวทางที่จะเดินเผชิญกรรมต่อไปในวันพรุ่งนี้และวันต่อๆ ไปที่เรียกว่า ชีวิตวิถีใหม่ หรือชีวิตในนิยามใหม่ หรือชีวิตในความปกติใหม่ ก็ต้องทำอย่างน้อย 3-4 อย่างดังนี้
1.ทิ้งนิสัยเก่า นิสัยที่บอกว่าอะไรก็ได้ นิสัยที่ยังไงก็ได้ นิสัยที่ว่าเดี๋ยวค่อยทำก็ได้ นิสัยที่ว่าการเรียนรู้ใหม่จะทำให้เกิดความเหน็ดเหนื่อย ต้องเลิกครับ ยืนยันว่าต้องเลิก คำว่าต้องกันไว้ก่อน ชิงลงมือก่อน อดเปรี้ยวไว้กินหวาน อดทนไม่กินใช้สิ้นเปลืองเพื่อเก็บออมมาใช้ยามจำเป็นต้องออกกำลังกายให้ร่างกายแข็งแรง จะต้องถูกนำมาใช้ในการปฏิบัติตนประจำวันเลยทีเดียว
2.ความคิดเก่าต้องเลิก ความคิดที่ว่าข้าอาบน้ำร้อนมาก่อนต้องจบ หรือเชื่อว่าคนมีประสบการณ์ในอดีตจะเกิดความสำเร็จในอนาคตไม่จริงอีกต่อไป หรือเชื่อพี่เถอะเรื่องแบบนี้ไม่มีทางจะเกิดขึ้น หรือการดูถูกคนรุ่นใหม่ คนทำงานใหม่ว่า พวกคุณจะไปรู้อะไรกับโลกในปัจจุบัน ที่จริงแล้วคือคนพูดนั้นได้ตกยุคไปแล้ว การเล่นไลน์เป็น การยกเอาเรื่องในยูทูปมาบรรยายว่าตนเองรู้เรื่องนั่นนี่แล้วจะถือว่าตนเองทันยุคทันสมัย คงจะเป็นได้เพียงการสะกดจิตตัวเองว่าฉันเก่ง ฉันรู้ เท่านั้น ความคิดใหม่วันนี้น่าจะเป็นว่า กระบวนการคิด การเรียนรู้ที่จะคิดต่อจากคนคิดต่างโดยไม่ติดกับดักความคิดเดิมๆ ของตนคือสิ่งที่สำคัญที่สุด เพราะเรากำลังอยู่ในโลกที่เรา “ไม่รู้ว่าเราไม่รู้อะไร”
3.ธรรมเนียมเก่าบางสิ่งอาจต้องเลิกโดยสิ้นเชิง เช่น ธรรมเนียมการประชุมที่ขาดการโต้แย้ง ฟังหัวโต๊ะอย่างเดียวต้องเลิก คนที่อยู่หน้างาน อยู่กับลูกค้าคือคนที่จะตอบคำถามได้ดีที่สุดว่า CEO ควรต้องสั่งการอะไรออกไป งานจึงจะจบแบบสวยๆ การศึกษาที่ได้รับจากสถาบันในอดีต เกรดหรือปริญญาในอดีตอาจไม่สำคัญกว่าจินตนาการของคนที่อยู่หน้างาน หรือคนที่พบเจอ pain point ของลูกค้า
4.วัฒนธรรมเก่าต้องเลิก นายว่าขี้ข้าพลอย เชื่อผู้ใหญ่หมาไม่กัด เดินตามหลังผู้ใหญ่สบายกว่า ได้ครับพี่ ดีครับนาย สบายครับผม เหมาะสมครับท่าน ต้องเลิกและต้องเลิกให้ได้ในองค์กรหากคิดจะรอดจากไวรัสที่กำลังทำร้ายการมีกิจกรรมทางเศรษฐกิจระหว่างกัน วัฒนธรรมที่เลวร้ายที่สุด ที่จะต้องรีบดำเนินการทำลายให้หมดสิ้นก็คือ ทำมากผิดมาก ทำน้อยผิดน้อย ไม่ทำก็ไม่ผิด หายใจทิ้งไปวันๆ แบบไม่คิดอะไร มีหัวเอาไว้คั่นหูสองข้างไม่ให้ติดกันก็พอ คงยากที่จะรอดจากการมีชีวิตการงานในอนาคต ตัวอย่างเช่น ถึงวันนี้การทำงานจากที่พักอาศัย/บ้าน อาจให้ประสิทธิภาพและลดต้นทุนขององค์กรได้อย่างเป็นกอบเป็นกำ ความเชื่อที่ว่าถ้าอยู่บ้านแล้วไม่มีทางจะมีสมาธิทำงานได้ไม่มีอีกต่อไปแล้ว การประชุมที่คณะกรรมการมีทั้งที่มาประชุมและที่ประชุมทางไกลเข้ามาได้กลายเป็นวัฒนธรรมการทำงานวิถีใหม่ไปแล้วเวลานี้
จะคิดใหม่ในโลกใหม่ได้ ต้องทิ้งนิสัยเก่า ความคิดเก่า ธรรมเนียมเก่า และวัฒนธรรมเก่า เพราะถ้าเราติดกับดักในความคิด ความรู้สึก ความรู้เรื่องตามที่เชื่อๆ กันมา สอนๆ กันมา นอกจากเราจะไม่ได้คิดใหม่ในโลกใหม่ เราอาจจะต้องอยู่กับความทุกข์ในโลกเก่าใบเดิม ที่ที่เคยให้ความสุขกับเรายามที่ไม่ต้องปรับปรุง เปลี่ยนแปลงตัวเอง
ขอบคุณครับ
Cookie | Duration | Description |
---|---|---|
cookielawinfo-checkbox-advertisement | 1 year | Set by the GDPR Cookie Consent plugin, this cookie records the user consent for the cookies in the "Advertisement" category. |
cookielawinfo-checkbox-analytics | 1 year | Set by the GDPR Cookie Consent plugin, this cookie records the user consent for the cookies in the "Analytics" category. |
cookielawinfo-checkbox-necessary | 1 year | Set by the GDPR Cookie Consent plugin, this cookie records the user consent for the cookies in the "Necessary" category. |
cookielawinfo-checkbox-others | 1 year | Set by the GDPR Cookie Consent plugin, this cookie stores user consent for cookies in the category "Others". |
CookieLawInfoConsent | 1 year | CookieYes sets this cookie to record the default button state of the corresponding category and the status of CCPA. It works only in coordination with the primary cookie. |
Cookie | Duration | Description |
---|---|---|
_clck | 1 year | Microsoft Clarity sets this cookie to retain the browser's Clarity User ID and settings exclusive to that website. This guarantees that actions taken during subsequent visits to the same website will be linked to the same user ID. |
_clsk | 1 day | Microsoft Clarity sets this cookie to store and consolidate a user's pageviews into a single session recording. |
_fbp | 3 months | Facebook sets this cookie to display advertisements when either on Facebook or on a digital platform powered by Facebook advertising after visiting the website. |
_ga | 1 year 1 month 4 days | Google Analytics sets this cookie to calculate visitor, session and campaign data and track site usage for the site's analytics report. The cookie stores information anonymously and assigns a randomly generated number to recognise unique visitors. |
_ga_* | 1 year 1 month 4 days | Google Analytics sets this cookie to store and count page views. |
CLID | 1 year | Microsoft Clarity set this cookie to store information about how visitors interact with the website. The cookie helps to provide an analysis report. The data collection includes the number of visitors, where they visit the website, and the pages visited. |
CONSENT | 2 years | YouTube sets this cookie via embedded YouTube videos and registers anonymous statistical data. |
MR | 7 days | This cookie, set by Bing, is used to collect user information for analytics purposes. |
SM | session | Microsoft Clarity cookie set this cookie for synchronizing the MUID across Microsoft domains. |
SRM_B | 1 year 24 days | Used by Microsoft Advertising as a unique ID for visitors. |
Cookie | Duration | Description |
---|---|---|
ANONCHK | 10 minutes | The ANONCHK cookie, set by Bing, is used to store a user's session ID and verify ads' clicks on the Bing search engine. The cookie helps in reporting and personalization as well. |
MUID | 1 year 24 days | Bing sets this cookie to recognise unique web browsers visiting Microsoft sites. This cookie is used for advertising, site analytics, and other operations. |
VISITOR_INFO1_LIVE | 5 months 27 days | YouTube sets this cookie to measure bandwidth, determining whether the user gets the new or old player interface. |
YSC | session | Youtube sets this cookie to track the views of embedded videos on Youtube pages. |
yt-remote-connected-devices | never | YouTube sets this cookie to store the user's video preferences using embedded YouTube videos. |
yt-remote-device-id | never | YouTube sets this cookie to store the user's video preferences using embedded YouTube videos. |
yt.innertube::nextId | never | YouTube sets this cookie to register a unique ID to store data on what videos from YouTube the user has seen. |
yt.innertube::requests | never | YouTube sets this cookie to register a unique ID to store data on what videos from YouTube the user has seen. |
Cookie | Duration | Description |
---|---|---|
VISITOR_PRIVACY_METADATA | 5 months 27 days | Website privacy floating bar. |
wpsp_cookie_0cc33907ad | session | Website popup banner. |