Blog Page 86

เศรษฐกิจคิดง่ายๆ (ดิจิทัล) : ขายของไม่ดี กำไรไม่มี ใช้หนี้ไม่ทัน : วันจันทร์ที่ 3 สิงหาคม 2563

ขายของไม่ดี กำไรไม่มี ใช้หนี้ไม่ทัน

บทความวันนี้ขอเริ่มจากอาการที่ผู้เขียนสัมผัสจากบรรยากาศรอบตัวใน‪เช้าวันเสาร์‬ช่วงสายๆ ที่สวนรถไฟ เนื่องเพราะทุกวันหยุดสุดสัปดาห์ผู้เขียนและภรรยาจะพยายามใช้เวลาช่วงเช้าไปเดิน-วิ่งออกกำลังกายตามประสาของคนที่มีอายุการทำงานที่เหลืออยู่ไม่เกิน 5 ปีก็จะเกษียณแล้ว จากการเดินดูข้าวของทั้งของกิน ของใช้ ตลอดจนได้พูดคุยกับพ่อค้าแม่ขายเจ้าประจำ รวมทั้งพี่ๆ ที่คุ้นเคยในตลาดแห่งนั้นต่างพูดกันสามข้อความข้างต้นคือ

1. ขายของไม่ดี ต่างพบว่าผู้คนที่มาจับจ่ายใช้สอยหลังการออกกำลังกายในสวนสาธารณะแห่งนี้แล้ว ไม่ว่าจะเป็นสินค้าพวกอาหารสด อาหารทะเล อาหารปรุงสำเร็จ ผักผลไม้ ตลอดจนของใช้ เช่น เสื้อผ้า ซึ่งถ้าจะนับกันที่ราคาก็ต้องบอกว่าไม่แพงเลยนั้นต่างซื้อน้อยลง คือรู้สึกได้เลยว่าปริมาณการซื้อน้อยลง ซื้อกินใช้เท่าที่จำเป็น ไม่มีลักษณะซื้อเผื่อหรือซื้อไปฝาก ซึ่งก็สอดคล้องกับข้อมูลข่าวสารในกรุ๊ปไลน์ที่สื่อสารกันมากในช่วงนี้เรื่องให้ประหยัด เน้นประโยชน์ ใช้เท่าที่จำเป็น เพราะไม่รู้ว่าผลกระทบจากการแพร่ระบาด COVID-19 จะยาวนานยืดเยื้อขนาดไหนจะเลยปี 2564 จึงจะกลับมาพอที่จะคึกคักได้หรือไม่ การเก็บออม อดทนไม่กินใช้วันนี้เพื่อตุนกระสุนไว้ใช้วันหน้าจึงไม่ใช่เรื่องพูดกันแบบโลกสวยแล้ว แต่เป็นเรื่องที่ต้องลงมือทำกันจริงจัง ปริมาณการซื้อขายที่น้อยลงย่อมทำให้ยอดขายของแม่ค้าแต่ละเจ้าลดลง ตัวอย่างง่ายๆ แม่ค้าขายต้มเลือดหมูเป็นอาหารเช้า ปกติแล้วไม่เกิน 11.00 น. ต้องเตรียมเก็บร้านแล้ว แต่ทำไมยังมีของสดเหลือขายรอคนมาซื้อเพิ่มเติม คนที่นั่งทานส่วนใหญ่ที่เคยซื้อกลับไปเพิ่มก็แทบจะหาคนสั่งกลับบ้านหลังทานเสร็จน้อยลงอย่างเห็นได้ชัด

2. กำไรไม่มี มีการกล่าวถึงต้นทุนวัตถุดิบมีราคาเพิ่มขึ้นเช่นราคาเนื้อหมู ราคาค่าเช่าแผงที่ยังไม่ลดลงสอดคล้องกับสถานการณ์ มีการบ่นกันมากเรื่องค่าขนส่งทั้งที่ราคาน้ำมันก็ลดลงมามากพอสมควร ความขาดแคลนแรงงานจากประเทศเพื่อนบ้านในฐานะที่มาเป็นลูกจ้าง ลูกมือในการทำงาน ซึ่งก่อนหน้านั้นจะเห็นว่ามีกันแทบทุกร้าน ปัจจุบันมีเพียงบางร้าน และเห็นคนมาช่วยทำงานล้วนเป็นบุตรหลาน ญาติมิตรที่อาจจะเพิ่งจบการศึกษาประปราย การที่ต้นทุนคงที่ยังไม่ลดลงมา ขณะที่รายได้ลดลงย่อมส่งผลให้กำไรน้อยลงไป ลักษณะการค้าขายแบบประคองตัวไปแบบนี้จะเป็นไปอีกนานเท่าใดไม่มีใครรู้ได้

3. ใช้หนี้ไม่ทัน ปัญหานี้เกิดขึ้นและพูดกันแทบทุกที่ ผู้เขียนรู้สึกได้เลยว่ามันเป็นหัวข้อที่ถูกหยิบยกมาเป็นเรื่องที่ต้องคุยกันแบบว่า ทุกคนโดนกันถ้วนทั่ว ความไม่มีหนี้เป็นลาภอันประเสริฐยิ่งจริงๆ บางคนพูดถึงเรื่องหนี้บ้าน หนี้เช่าซื้อรถยนต์ที่กำลังจะหมดเวลาการชะลอการชำระหนี้ทั้งต้นเงินหรือต้นเงินและดอกเบี้ยตามมาตรการที่ทางการได้ออกมาช่วยเหลือ เหตุเพราะเวลานี้ทางสถาบันการเงินที่เป็นเจ้าหนี้ได้เริ่มส่ง SMS หรือมีการติดต่อสอบถามเกี่ยวกับความสามารถในการชำระหนี้ตามสัญญาเดิมก่อนมาตรการเมื่อเดือนมีนาคม-เมษายน 2563 แล้ว บางท่านก็บอกว่าถ้าเป็นธนาคารของรัฐก็ยังดีมีการยืดเวลาไปถึงต้นปี 2564 แต่ถ้าเป็นเอกชนหรือบริษัทเช่าซื้อก็น่าจะต้องเร่งหามาจ่าย สิ่งที่แทบทุกคนคิดคล้ายๆ กันก็คือ อยากให้ทอดเวลาช่วยประคองนี้ออกไปอีกสักนิด เช่น
(1) อาจขอจ่ายตามงวดที่ต้องส่งแต่ขอจ่ายไม่เต็มยอดได้หรือไม่ เช่น จ่ายได้แค่ครึ่งหนึ่งไปก่อน แล้วต้นปี 2564 ค่อยว่ากันใหม่
(2) ดอกเบี้ยที่คิดกันในช่วงนี้ขอให้ลดลงมาหน่อยได้หรือไม่ ตัวเลขแบบสองหลักเกิน 15% มันคงจะไม่ไหว อยากให้เห็นใจกันบ้างเพราะก่อนหน้านี้ก็คิดดอกเบี้ยกันไป ได้กำไรกันมากมานานแล้ว เวลานี้น่าจะเอื้อเฟื้อกันบ้าง ไม่อย่างนั้นในที่สุดทั้งเจ้าหนี้ ทั้งลูกหนี้ก็ได้กอดคอจมน้ำตายกันไปทั้งคู่
(3) มีบางกรณีเสนอข้อความเห็นน่าสนใจครับ เขาเสนออย่างนี้ว่า เงินที่ลูกหนี้ชำระเข้ามาได้ช่วงนี้ให้เอาไปตัดเงินต้นก่อน ส่วนดอกเบี้ยที่คิดเมื่อได้ลดอัตราลงมาหรือที่ชาวบ้านเรียกลดดอกเบี้ยลงมาแล้วนั้น ให้เอาไปแขวนไว้แล้วค่อยจ่ายกันปี 2564 ยอดเงินต้นที่ลดจะทำให้จ่ายดอกเบี้ยลดลง มันจะได้มีกำลังใจว่าหนี้ลดลง เขาก็เปรียบเทียบว่า เวลาเป็นหนี้เสีย เป็นหนี้ NPL ทำไมได้ลดดอกเบี้ย เอาเงินไปตัดเงินต้นก่อนได้ ทำไมเขาเป็นลูกค้าดีมาตลอด ไม่พูดไม่บ่นสักคำ ทำไมยังจะมารีดเลือดเอากับปูที่ถูกไวรัสระบาดทำร้ายในเวลานี้ ผู้เขียนได้ฟังและคิดตามก็ต้องบอกว่ามันคือ New normal ของฝั่งลูกหนี้ที่อยากจะเห็น

สุดท้ายครับ จากทีมข้อมูลของผู้เขียนที่ได้ตั้งคำถามว่าก่อนที่เศรษฐกิจเราจะเจอ COVID-19 นั้นเรามีลูกหนี้ที่อย่างน้อยหนึ่งบัญชีสินเชื่อของเขานั้นไม่สามารถชำระหนี้ได้เกิน 90 วันหรือสามงวดการชำระเป็นจำนวนถึง 3.8 ล้านลูกหนี้จากจำนวนลูกหนี้ที่ถือว่าบัญชีสินเชื่อยังไม่ปิดในระบบฐานข้อมูลของเครดิตบูโรที่ 22 ล้านลูกหนี้ (ถ้ารวมลูกหนี้ที่มีประวัติจัดเก็บในเครดิตบูโรทั้งเปิดอยู่และปิดไปแล้วจะมีจำนวน 28 ล้านลูกหนี้) ตัวเลขของลูกหนี้เหล่านี้ที่เป็นยอดมูลค่าสินเชื่อโดยประมาณคือ 9.5 แสนล้านบาท คิดเป็น 8% กว่าของมูลหนี้ทั้งหมด 11.7 ล้านล้านบาทที่จัดเก็บในระบบฐานข้อมูล ลูกหนี้เหล่านี้มีเส้นทางเดินไม่มากครับคือ หนึ่ง เข้าโครงการคลินิกแก้หนี้ สอง ปรับโครงสร้างหนี้ที่มีปัญหา (Troubled debt restructuring : TDR) กับเจ้าหนี้ สาม เข้าสู่กระบวนการทางคดี ต่อสู้กับเจ้าหนี้/ขอความเมตตาจากศาลท่านเท่าที่กฎหมายจะเอื้อเฟื้อให้ได้

ขายของไม่ดี กำไรไม่มี ใช้หนี้ไม่ทัน มันคือคำนิยามของบทสรุปว่า เศรษฐกิจไม่ดี วันนี้ เวลานี้ เราๆท่านๆ ไม่ได้สนใจแล้วกับคำอธิบายว่า เศรษฐกิจของเรานั้นปัญหาเกิดมาจากด้าน supply side หรือเรายังมี Policy space อีกเท่าไหร่ ไม่ได้ยินกับคำว่าต้องใช้โอกาสนี้ปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจแล้ว เราอาจต้องเลิกพูดกันแบบภาษาเทพ-ภาษาพรหม กันชั่วคราว

แล้วหันมาลงมือทำให้ชาวบ้านเดินดินกิน street foods เขาได้ลืมตาอ้าปากหายใจภายใต้หน้ากากผ้าได้สดชื่นเต็มปอดกันอย่างน้อยก็จนถึงสิ้นปี 2563 ได้จักเป็นพระคุณยิ่งครับ… ข้อความตอนท้ายของบทสนทนาก่อนถือน้ำเต้าหู้ที่ซื้อมากลับไปกินเป็นของว่างตอนบ่ายหลังการออกกำลังกายเพื่อให้แข็งแรงไม่ติดเชื้อโควิด 19

ค้างชำระนานเป็นปี ทำยังไงให้ชีวิต กลับมาดีได้?

ค้างชำระนานเป็นปี ทำยังไงให้ชีวิต กลับมาดีได้?

เป็นหนี้ค้างชำระอยู่ตั้งนานนนนนน อยากเปลี่ยนชีวิตการเงินให้กลับมาดี ต้องทำยังไง?
นี่คือ 7 คำแนะนำที่ใช้ได้จริง ในโลกแห่งความจริง เมื่อมีประวัติค้างชำระและเคลียร์แล้ว…ควรทำอะไรต่อไป

ค้างชำระนานเป็นปี ทำยังไงให้ชีวิต กลับมาดีได้?

1. ทำให้ตัวเราเป็นแค่ “คนเคยค้าง” ให้เร็วที่สุด

กล่าวคือรีบชำระหนี้ที่ค้างโดยด่วน

ค้างชำระนานเป็นปี ทำยังไงให้ชีวิต กลับมาดีได้?

2. ตั้งสติ สำรวจว่าที่เราเป็นหนี้จนมีปัญหาเพราะอะไร

เช่น
– ใช้จ่ายฟุ่มเฟือย
– รายจ่ายไม่สัมพันธ์กับรายได้
– วางแผนการเงินไม่รัดกุม
ตอบให้ตรง ซื้อสัตย์กับตัวเอง บอกต่อหน้าพระยิ่งดี

ค้างชำระนานเป็นปี ทำยังไงให้ชีวิต กลับมาดีได้?

3. ตั้งจิตให้มั่นว่า “ม้า มวย หวย บอลจะไม่ยุ่ง”

หากทำให้แช่งกับตัวเองว่าขอให้วิบัติ อย่าได้พบสิ่งดี ๆ อีกต่อไป วิธีการหักดิบแบบนี้ได้ผล ยิ่งเอาน้ำมนต์มาดื่มประกอบจะยิ่งดี

ค้างชำระนานเป็นปี ทำยังไงให้ชีวิต กลับมาดีได้?

4. สำรวจรายได้ว่ามาจากไหนได้บ้าง เดือนละเท่าไร และสำรวจรายจ่ายเป็นกลุ่ม

ดังนี้
– กลุ่ม 1: รายจ่ายพื้นฐานเพื่อการดำรงชีวิต
– กลุ่ม 2: สองรายจ่ายเพื่อการออม เช่น ตัดเงินเดือนเข้าสหกรณ์ออมทรัพย์ เงินฝากประจำ
– กลุ่ม 3: รายจ่ายที่เกิดจากอารมณ์อยากได้

ค้างชำระนานเป็นปี ทำยังไงให้ชีวิต กลับมาดีได้?

5. หาเงินเพิ่ม สร้างรายได้

เอาเงินที่ได้มาฝากเข้าบัญชีสม่ำเสมอ 6-12 เดือนต่อเนื่อง อดทนที่จะไม่ใช้ เพื่อเก็บเงินเอามาใช้ในยามจำเป็น

ค้างชำระนานเป็นปี ทำยังไงให้ชีวิต กลับมาดีได้?

6. เมื่อคิดจะสร้างหนี้อีกครั้ง ให้ถามตัวเองหน้ากระจก

– จะเอาเงินไปทำอะไร?
– จะวางแผนใช้คืนยังไง ทั้งหนี้เก่าและหนี้ใหม่?

หากหาคำตอบได้ จึงตามด้วยการตรวจเครดิตบูโรของตนเอง พร้อมคำตอบที่เตรียมไปชี้แจงว่าที่ค้างชำระเพราะอะไร

ค้างชำระนานเป็นปี ทำยังไงให้ชีวิต กลับมาดีได้?

7. ท้ายสุด เลิกโทษใครต่อใคร
ให้ทบทวนตนเอง หาให้เจอเหตุของการผิดนัด เพราะจะเป็นประวัติของตัวเราเอง

“ปัญหาการเงินเริ่มที่ไม่ออมเงิน ไม่ออมก่อนใช้ ไม่ออมก่อนกู้ ที่แย่ที่สุดคือเอาหนี้ใหม่มาใช้หนี้เก่า ซึ่งท้ายสุดก็จบด้วยการจ่ายไม่ได้นั่นเอง”

ค้างชำระนานเป็นปี ทำยังไงให้ชีวิต กลับมาดีได้?

ขอสินเชื่อไม่ผ่าน สถาบันการเงินแจ้งว่าเป็นเพราะ บูโรสูง หมายความว่ายังไง

ขอสินเชื่อไม่ผ่าน สถาบันการเงินแจ้งว่าเป็นเพราะ บูโรสูง หมายความว่ายังไง

อาจจะไม่ได้ค้างชำระ แต่มีปัญหาที่ “บูโรสูง” มันคืออะไรกันนะ?

“บูโรสูง” หมายถึงการที่ภาระหนี้ต่อเดือนสูง เมื่อเทียบกับรายได้ต่อเดือน โดยเมื่อรวมภาระหนี้ กับค่าผ่อนต่าง ๆ ทั้งหมดที่เราต้องจ่าย แล้วหารด้วยรายได้ต่อเดือนของเรา หากอัตราส่วนสูงเกินกว่าเกณฑ์ที่สถาบันการเงินแต่ละแห่งกำหนด ก็อาจเป็นเหตุให้ขอสินเชื่อไม่ผ่านได้ค่ะ

สมมติว่าเรามีเงินเดือน 20,000 บาท มีภาระผ่อนสารพัดอยู่เดือนละ 11,000 บาท ก็จะเหลือเงินแค่ 9,000 บาท เท่ากับมีเงินใช้จ่ายใน 1 เดือน (30 วัน) เพียงวันละ 300 บาท สถาบันการเงินก็อาจประเมินได้ว่าไม่น่าจะเพียงพอให้ใช้จ่ายตลอดเดือนนั่นเอง

ขอสินเชื่อไม่ผ่าน สถาบันการเงินแจ้งว่าเป็นเพราะ บูโรสูง หมายความว่ายังไง

คอลัมน์ เครดิตบูโรคิดเป็นเห็นต่าง : “จ่ายช้าเพราะลืม หรือได้รับสลิปช้า…ปัญหาบ้านๆ กับเครดิตบูโร” หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ฉบับวันศุกร์ 21 สิงหาคม 2563

จ่ายช้าเพราะลืม หรือได้รับสลิปช้า…ปัญหาบ้านๆ กับเครดิตบูโร

ในช่วงที่ผ่านมา เครดิตบูโรได้มีโอกาสรับข้อมูลและความเห็น ข้อแนะนำตลอดจนคำถามต่างๆ มากมายทางออนไลน์ ในโอกาสนี้ผมขอนำเอาเรื่องของคนที่เป็นหนี้มาคุยกันสัก 2 เรื่องที่มักเป็นความเข้าใจผิดหรือคลาดเคลื่อนอยู่เสมอ ในโอกาสนี้ผมขอนำมาเล่าสู่กันฟังดังนี้นะครับ

คำถาม กรณีการจ่ายบัตรเครดิตล่าช้า อาจเพราะลืม หรือได้รับสลิปช้า บางครั้งแค่ช้ากว่าวันเดียว เครดิตบูโรก็เหมาว่าเรา “ไม่มีเครดิตแล้ว พอจะไปติดต่อสถาบันการเงิน ก็เลยไม่ได้อนุมัติ” ใช่หรือไม่

คำตอบ คือ ไม่ใช่และไม่เกี่ยวกับเครดิตบูโรในเรื่องการที่จะได้-ไม่ได้รับอนุมัติ เพราะว่าการจ่ายบัตรเครดิตล่าช้าไม่ว่าเพราะเหตุใดๆ ถ้ายังอยู่ในระยะเวลาไม่เกิน 30 วัน สถาบันการเงินจะส่งข้อมูลให้เครดิตบูโรบันทึกว่า “ไม่ค้างชำระ” ไม่มีการเหมารวมว่า “ไม่มีเครดิต”

คำว่าไม่มีเครดิตหมายถึง คนที่ไปทำสัญญากับใครเขาแล้วไม่ทำตามสัญญาเรียกว่า “สัญญาไม่เป็นสัญญา เป็นหนี้แล้วไม่ชำระหนี้” ต่างหาก

ท่านที่ถามลองเอาใจเขามาใส่ใจเราว่า หากเป็นเงินออมเงินสะสมของครอบครัวเรา หรือหากเป็นเงินที่เราไปเอามาจากญาติพี่น้องเรา (เอามาให้เขากู้ต่อ) สมมติว่ากลับข้างกันเราในฐานะเจ้าหนี้จะลืมวันเวลาที่ลูกหนี้ต้องมาชำระไหม ก็เรากับเขาสัญญากันแล้วใช่ไหมว่าวันนั้นวันนี้คนที่เป็นลูกหนี้จะมาชำระหนี้ มันไม่ใช่วันที่ทำได้ตามใจลูกหนี้นะครับว่าวันไหนๆ ก็ได้ จำความรู้สึกวันแรกที่ลูกหนี้ได้รับเงินจากเจ้าหนี้ได้มั้ยวันนั้นคำว่า “สัจจะคืออะไร” คำว่า “คำพูดนั้นเวลาพูดออกไปแล้วมันเป็นนายเรานะคืออะไร”

ตัวของท่านลูกหนี้ที่ถามหากท่านมาเป็นเจ้าหนี้บ้าง ท่านจะยอมรับข้ออ้างที่บอกว่าลืมได้ไหม ท่านจะรับข้ออ้างว่าก็ไม่ได้แจ้งทวงมาเป็นหนังสือนี่จะไปจ่ายได้ยังไง หรือไม่ได้รับหนังสือทวงหนี้ในเวลาที่กำหนดทำให้ไปจ่ายหนี้ไม่ทัน ก็แล้วทำไมงวดก่อนหน้านั้นๆ ท่านจ่ายได้ทันเวลาตามที่กำหนดถามใจตัวเองก่อนภายใต้ศีลและธรรมในฐานะชาวพุทธว่า สิ่งที่ยกมานั้นเป็นข้ออ้างหรือเหตุผล “กรรมเป็นเครื่องชี้เจตนา” การยอมรับว่าพลาดหลง หมุนไม่ทัน ไม่มีเจตนาและหาทางเยียวยาแก้ไขจะดีกว่าหรือไม่

ทำไมเราโทษทุกคนที่เกี่ยวข้องยกเว้นตัวเราทั้งๆ ที่เราเป็นคนได้รับประโยชน์จากการได้เงินกู้ในวันแรกไปแล้ว และขอยืนยันว่าเครดิตบูโรไม่เคยแจ้งให้สถาบันการเงินทราบว่า ผู้ใดเป็นคนมีเครดิตหรือไม่มีเครดิตแต่อย่างใด เราทำไม่ได้เพราะผิดกฎหมาย มีโทษติดคุกติดตารางครับ
ท่านที่ถามก็รู้อยู่เต็มอกว่าการอนุมัติหรือไม่อนุมัตินั้น เป็นดุลยพินิจของสถาบันการเงิน และโดยทั่วไปสถาบันการเงินจะนำปัจจัยต่างๆ เช่น รายได้มีมากพอชำระหนี้ที่กำลังขอกู้หรือไม่ มีอาชีพมั่นคงหรือไม่ อายุ หลักประกัน ภาระหนี้ที่มีอยู่ในปัจจุบันมีมากหรือน้อยเมื่อเทียบกับรายได้

ส่วนประวัติการชำระหนี้เก่าที่มีอยู่ในช่วงเวลาที่ผ่านมาเป็นอย่างไร ค้างชำระหรือไม่ค้างชำระ มีการระบุเหตุผลและความจำเป็นในการขอสินเชื่อครั้งนี้หรือไม่ จะเอาเงินไปทำอะไร ไปกินไปใช้หรือไปลงทุนทำมาหากิน สร้างงานสร้างอาชีพ และภาวะเศรษฐกิจในขณะนั้นเป็นอย่างไรบ้าง เป็นต้น มาพิจารณาประกอบกัน เครดิตบูโรไม่ได้มีส่วนร่วมหรือเกี่ยวข้องกับการอนุมัติสินเชื่อ

หากท่านใดมีข้อสอบถามเพิ่มเติมสามารถติดต่อได้ที่ consumer@ncb.co.th ได้ครับเพราะ “ความจริง เป็นสิ่งที่ไม่ตาย”

เงินเดือนออก จ่ายอะไรก่อนดี!?

เงินเดือนออก จ่ายอะไรก่อนดี!?

เงินเดือนออก จ่ายอะไรก่อนดี!?
เรียงลำดับตาม “รายจ่าย 3 ชั้น” เลยค่ะ เผลอแป๊บเดียว มีเงินเก็บเหลือเฟือแน่นอน

เงินเดือนออก จ่ายอะไรก่อนดี!?

เคยค้างชำระ แต่ปิดหนี้แล้ว จะขอสินเชื่ออีกได้ไหม?

เคยค้างชำระ แต่ปิดหนี้แล้ว จะขอสินเชื่ออีกได้ไหม?

“เคยมีประวัติค้างชำระในเครดิตบูโร แต่จ่ายหนี้หมดแล้ว จะขอสินเชื่อใหม่กับสถาบันการเงินได้ไหม?”

ในกรณีที่เคยค้างชำระ แต่ต่อมาชำระหนี้จนหมด และปิดบัญชีแล้ว การจะขอสินเชื่อใหม่ สถาบันการเงินจะมีข้อพิจารณา ดังนี้
1. มีการค้างชำระเกิดขึ้นมาจริงหรือไม่
2. การค้างชำระในอดีตเกิดจากเหตุอะไร
3. ระยะเวลาในการค้างยาวนานแค่ไหน​ ร้ายแรงขนาดไหน
4. จำนวนเงินที่ค้างชำระมีมากน้อยแค่ไหน
5. ต่อมามีการปิดยอดที่ค้าง​ใช่หรือไม่​ ถ้าใช่​ จากเดือนที่เริ่มค้างจนมาถึงวันที่ปิดยอด​ เป็นระยะเวลานานหรือสั้นแค่ไหน
6. มีการค้างชำระและกลับมาปิดหนี้กี่ครั้งในช่วงเวลาที่ผ่านมา

เครดิตบูโรไม่มีสิทธิอนุมัติ หรือร่วมตัดสินใจที่จะให้หรือไม่ให้สินเชื่อกับใคร แต่มีหน้าที่ในการรวบรวมและจัดเก็บประวัติการชำระหนี้ตามที่เกิดขึ้นจริง โดยข้อมูล​เหล่านี้​ จะมาเป็นตัวสร้างความเชื่อมั่นให้กับสถาบันการเงิน​ ว่าถ้าเขาอนุมัติสินเชื่อให้ใหม่ เหตุการณ์​ค้างชำระจะเกิดขึ้นอีกหรือไม่​ ถ้าดูปัจจัยเหล่านี้ประกอบกัน แล้วเขามั่นใจว่าจะไม่มีการค้างชำระอีกแล้ว​ ก็มีโอกาสที่จะได้รับอนุมัติสินเชื่อใหม่ได้ค่ะ

เคยค้างชำระ แต่ปิดหนี้แล้ว จะขอสินเชื่ออีกได้ไหม?

4 วิธีบอกรักในวันแม่

4 วิธีบอกรักในวันแม่

หลายๆ คน เมื่อโตขึ้นการบอกรักแม่ อาจจะเป็นสิ่งที่ดูเคอะเขินอยู่ไม่น้อย
ไม่ต้องห่วงไปค่ะ วันนี้เรามีวิธีบอกรักคุณแม่ ที่ไม่ต้องเอ่ยคำว่ารัก แต่สร้างความอุ่นใจ และอบอุ่นให้กับคุณแม่ ในช่วงวันแม่แบบนี้มาฝากกันค่ะ

1. เปิดบัญชีเงินฝาก
เลือกเปิดบัญชีเงินฝากประจำแบบผู้สูงอายุ เพราะจะได้รับอัตราดอกเบี้ยที่สูง และยังมีเงื่อนไขความคุ้มครองพิเศษในด้านอื่นๆ อีกด้วยค่ะ

2. ซื้อประกันสุขภาพ
เมื่ออายุมากขึ้น ก็เริ่มมีปัญหาสุขภาพตามมา ดังนั้นการซื้อประกันสุขภาพ จึงถือเป็นการสร้างความคุ้มครอง ดูแลชีวิตของคนที่เรารักในรูปแบบหนึ่งค่ะ

3. อาหารเสริม หรือคอร์สเพื่อสุขภาพ
เมื่ออายุมากขึ้นเรื่องสุขภาพถือเป็นเรื่องที่สำคัญ ลองหาคอร์สสุขภาพ หรืออาหารเสริมเพื่อบำรุงร่างกายให้กับแม่ดูสิคะ นอกจากเป็นการบอกรักทางอ้อมแล้ว ยังเป็นการสื่อความหมายว่าให้คุณแม่อยู่กับเราไปนานๆ อีกด้วยค่ะ

4. เงินเดือนก้อนแรกยกให้แม่
สำหรับใครที่เพิ่งเริ่มต้นทำงาน เมื่อได้เงินเดือนก้อนแรกมา ลองนำเงินไปให้แม่สิคะ แม่อาจจะไม่ได้อยากได้เงินจากเรา แต่เป็นการแสดงความกตัญญูให้กับแม่ เชื่อว่าท่านต้องภูมิใจและมีความสุขอย่างแน่นอน

ใครที่ไม่กล้าบอกรักคุณแม่ในวันแม่ วิธีเหล่านี้ก็สามารถนำไปเป็นไอเดียปรับใช้กันได้นะคะ ขอให้ทุกคนมีความสุขในช่วงวันแม่นี้ค่ะ

4 วิธีบอกรักในวันแม่

ข่าวเครดิตบูโร 003/2563 : เครดิตบูโรสอดรับนโยบายแบงก์ชาติตรวจเครดิตบูโรฟรี ให้ลูกหนี้โควิดปรับโครงสร้างหนี้ 10,000 ราย ที่เข้าคลินิกแก้หนี้

ข่าวเครดิตบูโร 003/2563       

ข่าวประชาสัมพันธ์

เครดิตบูโรสอดรับนโยบายแบงก์ชาติตรวจเครดิตบูโรฟรี ให้ลูกหนี้โควิดปรับโครงสร้างหนี้ 10,000 ราย ที่เข้าคลินิกแก้หนี้

 7 สิงหาคม 2563 :  กรุงเทพฯ ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (แบงก์ชาติ) ได้ประกาศมาตรการพื้นฐานขั้นต่ำเพื่อช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ระยะที่ 2 เรื่องการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ โดยผู้ให้บริการทางการเงินต้องเร่งปรับปรุงโครงสร้างหนี้ให้แก่ลูกหนี้ โดยคำนึงถึงความสามารถในการชำระหนี้ เพื่อช่วยบรรเทาภาระให้ลูกหนี้ เช่น โดยการขยายระยะเวลาการชำระหนี้ เปลี่ยนสินเชื่อจากระยะสั้นเป็นระยะยาว เลื่อนการชำระค่างวด ลดดอกเบี้ย การคิดดอกเบี้ยในอัตราที่ต่ำกว่าอัตราตลาด และกรณีลูกหนี้ได้รับผลกระทบจนเป็น NPLs ขอให้พิจารณาชะลอการยึดทรัพย์ และต้องจัดให้มีช่องทางหรือกลไกแก้ไขหนี้ในลักษณะเดียวกับคลินิกแก้หนี้นั้น สำหรับผลกระทบของ “โควิด-19” ส่งผลให้จำนวนลูกหนี้บัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล (หนี้บัตร) มีแนวโน้มกลายเป็นหนี้เสียสูงขึ้น “คลินิกแก้หนี้” ได้ปรับเงื่อนไขการให้บริการ เพื่อให้การช่วยเหลือขยายวงกว้าง ครอบคลุมลูกหนี้ที่ต้องการความช่วยเหลือทางการเงินได้มากขึ้น

นายสุรพล โอภาสเสถียร ผู้จัดการใหญ่ บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด (เครดิตบูโร) เปิดเผยว่า เครดิตบูโรเป็นหน่วยงานที่กำกับดูแลโดยคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลเครดิต (กคค.) ภายใต้แบงก์ชาติและกระทรวงการคลัง  ซึ่งเครดิตบูโรเป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้างพื้นฐานทางการเงิน เป็นองค์กรหลักในการให้บริการข้อมูลเครดิตที่มีคุณภาพสำหรับสถาบันการเงิน และส่งเสริมให้ประชาชนมีวินัยทางการเงินเพื่อสร้างเสริมเสถียรภาพให้กับระบบเศรษฐกิจของประเทศ  ทั้งนี้ เพื่อสอดรับมาตรการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของแบงก์ชาติและเป็นส่วนหนึ่งในการบรรเทาภาระลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤติโควิด-19  รวมทั้งเล็งเห็นความสำคัญของโครงการ “คลินิกแก้หนี้” โดยบริษัท บริหารสินทรัพย์สุขุมวิท จำกัด (บสส.) หรือ SAM  เครดิตบูโรจึงร่วมสนับสนุนโครงการดังกล่าวในการให้บริการตรวจเครดิตบูโร…โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย (ฟรี) จำนวน 10,000 ราย (หนึ่งหมื่นราย) คิดเป็นมูลค่า 1,000,000 บาท (หนึ่งล้านบาท) ผู้ที่เข้าร่วมโครงการดังกล่าวสามารถรับอีคูปองได้ที่คลินิกแก้หนี้ และนำไปตรวจเครดิตบูโร…ฟรี ได้ที่ศูนย์ตรวจเครดิตบูโร 5 แห่ง (เฉพาะกรณีตรวจบุคคลธรรมดาเท่านั้น ไม่รับกรณีมอบอำนาจ) ได้แก่          1.ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) สำนักงานใหญ่ อาคาร 2 ชั้น 2 จันทร์ -ศุกร์ 9.00-16.30 น. 2.อาคารเพิร์ล แบงก์ค็อก ชั้น 3 โซนธนาคาร (BTS อารีย์ ทางออก 1) จันทร์-ศุกร์ 9.00- 18.00 น.  3.สถานีรถไฟฟ้า BTS ศาลาแดง (ภายในสถานี) จันทร์-ศุกร์ 9.00-18.00 น. 4.สถานีรถไฟฟ้า BTS อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ (ภายในสถานี) จันทร์-อาทิตย์ 9.00-18.00 น. และ 5.ห้างเจ-เวนิว (นวนคร) ชั้น 3 ติดประกันสังคม จันทร์-อาทิตย์ 9.00-18.00 น. ทั้งนี้ ผู้เข้าร่วมโครงการฯ สามารถสอบถามรายละเอียดการขอรับอีคูปองดังกล่าวได้ที่คลินิกแก้หนี้ Call Center โทร. 02 610 2266 หรือ www.debtclinicbysam.com

นอกจากนี้ ขอเตือนประชาชนอย่าหลงเชื่อหากมีการแอบอ้างชื่อเครดิตบูโรที่จะสามารถช่วยท่านปรับปรุงโครงสร้างหนี้ หรือช่วยเรื่องอื่นๆ โดยเรียกเก็บค่าใช้จ่ายดำเนินการเป็นการตอบแทน เครดิตบูโรไม่มีนโยบายหรือร่วมกับบุคคลใดช่วยเคลียร์หนี้ ชำระหนี้ หรือเจรจากับสถาบันการเงินแทนลูกหนี้ และไม่มีการเคลียร์แบล็กลิสต์หรือปิดบูโร แต่อย่างใดทั้งสิ้น หากมีผู้ใดแอบอ้างชื่อเครดิตบูโรหรืออ้างว่าสามารถทำเรื่องดังกล่าวได้ ท่านอาจถูกหลอกลวง โปรดแจ้งเครดิตบูโรที่อีเมล consumer@ncb.co.th

 

 

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมกรุณาติดต่อ

บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด (เครดิตบูโร) ฝ่ายธุรกิจสัมพันธ์และภาพลักษณ์องค์กร

E-mail: ilovebureau@ncb.co.th / website: www.ncb.co.th / facebook: www.facebook.com/ilovebureau

เรื่องน่าอ่าน